เอเอช-64 อาพาชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเอช-64 อาปาเช่
บทบาทเฮลิคอปเตอร์จู่โจม
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์ส
แมคดอนเนลล์ ดักลาส
โบอิง
บินครั้งแรก30 กันยายน พ.ศ. 2518
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2528-ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต1,048 ในปีพ.ศ. 2551[1]
มูลค่า18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2539) [1]
แบบอื่นอกุสต้าเวสท์แลนด์ อาปาเช่

เอเอช-64 อาปาเช่ (อังกฤษ: AH-64 Apache) (ออกเสียงในภาษาอังกฤษ สำเนียงอเมริกันว่า อ่า-พ้า-ชี่ แต่ชื่อเรียกในภาษาไทยที่รับรู้กันโดยทั่วไปคือ อาปาเช่ [2]) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองเครื่องยนต์ สี่ใบพัด พร้อมล้อสามล้อ และห้องนักบินแบบเรียงเดียวสำหรับสองที่นั่ง อาปาเช่ถูกพัฒนาในชื่อ โมเดล 77 โดยฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สให้กับโครงการของกองทัพบกสหรัฐเพื่อแทนที่เอเอช-1 คอบรา มันได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 เอเอช-64 มีจุดเด่นที่ปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม. คาลิเบอร์ที่จมูกของมัน เอเอช-64 ยังใช้เอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และไฮดรา 70 สี่ตำแหน่งบนปีกทั้งสองข้าง เอเอช-64 ยังมีระบบการอยู่รอดที่ดีเยี่ยมสำหรับเครื่องบินและลูกเรือในการต่อสู้ เช่นเดียวกับในกรณีที่มันตกเพื่อช่วยเหลือนักบิน

กองทัพบกเลือกเอเอช-64 แทนที่จะเป็นเบลล์ วายเอเอช-63 ในปีพ.ศ. 2519 ทำให้ฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สนั้นรางวัลเป็นสัญญาในการสร้าง ในปีพ.ศ. 2525 กองทัพบกยืนยันการผลิตเต็มรูปแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาสยังทำการผลิตและพัฒนาต่อหลังจากที่ซื้อบริษัทฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สมาจากซัมมา คอร์เปอร์เรชั่นในปีพ.ศ. 2527 ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 235 เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์ลำแรกได้ทำการบินและการผลิตครั้งแรกนั้นก็ถูกส่งให้กับกองทัพบกในปีพ.ศ. 2540 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 โบอิงและแมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นบริษัทโบอิง คอมพานี ในปัจจุบันโบอิงได้ทำการผลิตเอเอช-64 ต่อไป

การพัฒนา[แก้]

เฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ล้ำสมัย[แก้]

หลังจากการยกเลิกเอเอช-56 เชยีนตามโครงการของกองทัพอากาศและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ อย่างเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 และแฮร์ริเออร์ จัมพ์ เจ็ท กองทัพบกสหรัฐฯ ได้มองหาอากาศยานที่จะมาทำหน้าที่ต่อต้านยานเกราะซึ่งอยู่ใต้คำสั่งของกองทัพบก ในข้อสัญญาคีย์เวสท์ในปีพ.ศ. 2491 ห้ามให้กองทัพบกบังคับการเครื่องบิน กองทัพบกต้องการอากาศยานที่ดีกว่าเอเอช-1 คอบราทั้งในด้านอำนาจการยิง การทำงาน และพิสัย มันอาจต้องสามารถบินเรียบตามพื้นได้[3] เมื่อมาถึงจุดนี้กองทัพบกสหรัฐฯ ได้ประกาศร้องขอเฮลิคอปเตอร์โจมตีใดๆ ก็ตามที่ทันสมัยขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515[4]

ข้อเสนอดังกล่าวมีบิษัทผู้ผลิตยอมรับทั้งสินห้าบริษัทด้วยกัน คือ เบลล์ โบอิง เวอร์ทอล (ทำงานร่วมกับกรัมแมน) ฮิวส์ ล็อกฮีด และซิคอร์สกี้ ในปีพ.ศ. 2516 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ทำการเลือกเบลล์และฮิวส์ [5]

แต่ละบริษัทสร้างเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบและเข้าสู่โปรแกรมทดสอบการบิน แบบ 77/วายเอเอช-64เอของฮิวส์เริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 ในขณะที่แบบ 409/วายเอเอช-61เอของเบลล์ทำการบินในวันที่ 1 ตุลาคม[5] หลังจากประเมินผลการทดสอบกองทัพบกได้เลือกวายเอเอช-64เอของฮิวส์ในปีพ.ศ. 2519 เหตุผลที่เลือกวายเอเอช-64เอยังรวมทั้งใบพัดหลักสี่ใบที่ทนทานกว่าและความไม่เสถียรของวายเอเอช-63[6]

เอเอช-64เอเข้าสู่ช่วงที่สองของโครงการ ขั้นตอนนี้มีเพื่อสร้างเอเอช-64 ก่อนการผลิตสามลำ และพัฒนาวายเอเอช-64เอต้นแบบสองลำและสำหรับทดสอบภาคพื้นดินหนึ่งลำ[7] อาวุธและระบบเซ็นเซอร์ยังถูกรวมและทำการทดสอบไปด้วย[5] มันยังรวมทั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์แบบใหม่[7]

เข้าสู่การผลิต[แก้]

ในพ.ศ. 2524 เอเอช-64เอสามลำก่อนการสร้างถูกยื่นให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ ให้ทำการทดสอบครั้งที่สอง การทดสอบของกองทัพบกนั้นสมบูรณ์แต่ก็ได้ทำารตัดสินใจให้พัฒนาเครื่องยนต์ ที700-จีอี-701 แบบใหม่ที่ให้กำลัง 1,690 แรงม้า[5] ในช่วงท้ายพ.ศ. 2524 เอเอช-64 ถูกตั้งชื่อว่า"อาพาชี่"ตามเผ่าพื้นเมืองของอเมริกัน ฮิวส์ถูกนำเข้าผลิตอย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ. 2525[5] ในปีพ.ศ. 2526 เฮลิคอปเตอร์ทำการผลิตครั้งแรกถูกนำเสนอที่ฮิวส์ในรัฐอริโซน่า ในพ.ศ. 2527 ฮิวส์ เฮลิคอปเตอร์ถูกซื้อโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสด้วยเงินจำนวน 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] เฮลิคอปเตอร์ตอ่มากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิงด้วยผู้ประสานงานของโบอิงและแมคดอนเนลล์ในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2540 ในปี 2529 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือบานปลายของเอเอช-64 คือ 7.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาประมาณอยู่ที่ 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [8]

ในช่วงกลางถึงปลายปีพ.ศ. 2523 แมคดอนเนลล์ ดักลาสศึกษาแบบพัฒนาของ"เอเอช-64บี"ที่มีห้องนักบินแบบใหม่ ระบบควบคุมการยิงใหม่ และการพัฒนาอื่นๆ ในปี 2531 ได้มีการลงทุนเข้าโครงการพัฒนาเพื่อพัฒนาเซ็นเซอร์และอาวุธและระบบดิจิตอลต่างๆ อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้วก็ปรากฏตัว มันถูกตัดสินใจยกเลิกโครงการพัฒนา สิ่งนี้นำไปสู่เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์ที่ดีกว่าในช่วงกลางถึงปลายปี 2533[9]

ในพ.ศ. 2547 บริษัทเจเนรัลอิเลคทริคเริ่มผลิตเครื่องยนต์ที700-จีอี-701ดีที่ทรงพลังมากขึ้น มันมีกำลัง 2,000 แรงม้า[10] ราคาทั้งสิ้นของโครงการเอเอช-64ดีอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดเดือนเมษายนพ.ศ. 2550[11]

การออกแบบ[แก้]

เอเอช-64 มีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบเจเนรัลอิเลคทริค ที700 สองเครื่องพร้อมกับท่อไอเสียทั้งสองด้าน อาปาเช่มีใบพัดหลักสี่ใบและใบพัดหางสี่ใบ ลูกเรือจะนั่งเรียงตามหลังกันโดยมีนักบินนั่งอยู่ด้านหลังเหนือนักบินผู้ช่วยหรือพลปืนที่อยู่ด้านหน้า ห้องนักบินและถังเชื้อเพลิงจะหุ้มด้วยเกราะที่ทำให้มันยังสามารถบินได้ถึงแม้ถูกยิงด้วยกระสุนขนาด 23 ม.ม.[12][13]

เฮลิคอปเตอร์นี้ติดอาวุธเป็นปืนกล เอ็ม230 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับหมวกของนักบินหรือควบคุมผ่านระบบมองกลางคืนได้ เอเอช-64 ยังติดตั้งอาวุธที่ปีกทั้งสองข้างของมันซึ่งจะประกอบด้วยขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม.และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-92 สติงเกอร์สำหรับป้องกันตัว[14]

เอเอช-64 ถูกออกแบบมาให้ทนทานกับสภาพแวดล้อมที่แนวหน้าและปฏิบัติการได้ทั้งในตอนกลางวันหรือกลางคืนและในสภาพอากาศที่ย่ำแย่โดยใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคของมัน อย่าง ระบบมองกลางคืน พลุล่อเป้า และหมวกแบบพิเศษ


ประวัติการใช้งาน[แก้]

สหรัฐอเมริกา[แก้]

เอเอช-64 ที่ฐานปฏิบัติการสไปเชอร์ในอิรักเมื่อปี 2548

อาปาเช่ถูกใช้ต่อสู้ครั้งแรกในการรุกรานปานามาเมื่อพ.ศ. 2532 เอเอช-64เอ อาปาเช่และเอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์มีบทบาทสำคัญในสงครามในตะวันออกกลางซึ่งรวมทั้งสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอมในอัฟกานิสถาน และปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก อาปาเช่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นนักล่ารถถังชั้นยอดและยังได้ทำลายยานเกราะนับร้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นของกองทัพอิรัก

ในปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เอเอช-64เอจำนวนแปดลำที่นำทางโดยเอ็มเอช-53 เพฟโลว์สี่ลำ ถูกใช้เพื่อทำลายที่มั่นเรดาร์ของอิรักเพื่อทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถเข้าไปในอิรักได้โดยไม่ถูกตรวจจับ[5] นี่เป็นการโจมตีครั้งแรกของดีเซิร์มสตอร์ม[5] อาปาเช่บรรทุกจรวดแบบไฮดรา 70 เฮลไฟร์ และถังเชื้อเพลิงสำรอง[15] ในช่วง 100 ชั่วโมงของสงครามบนพื้นมีเอเอช-64 ทั้งสิ้น 277 ลำเข้าร่วม อาปาเช่ได้ทำลายรถถังกว่า 500 คัน ยานเกราะขนบุคคลและยานพาหนะอื่นๆ จำนวนมากในปฏิบัติการดีเซิร์ทสตอร์ม[5]

การวางพลในบอลข่านได้เกิดขึ้นในช่วงความขัดแย้งในบอสเนียและคอซอวอในปลายปีพ.ศ. 2533 แต่อาปาเช่ก็เจอกับปัญหาซึ่งลดความมีประสิทธิภาพของพวกมัน วิกฤติยังรวมทั้งการขาดการฝึกฝนของลูกเรือและขาดแคลนอุปกรณ์มองกลางคืน ถังเชื้อเพลิง และความอดทนของอากาศยาน อาพาชี่หนึ่งลำตกขณะทำการฝึกในอัลบาเนียเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2542 ในที่สุดทั้งกองบินในบอลข่านก็ถูกทิ้งไว้สองสัปดาห์ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2543 นายพลดิก โคดี้นายทหารผู้บังคับบัญชากองพลขนส่งทางอากาศที่ 101 ในตอนนั้นได้เขียนบันทึกด้วยคำรุนแรงต่อหัวหน้ากองทัพบกถึงความผิดพลาดในการฝึกฝนและอุปกรณ์[16]

เอเอช-64ดีบินเหนือทาจิในอิรักเมื่อปี 2549

ในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักมีอาปาเช่หลายลำได้รับความเสียหายในการต่อสู้ซึ่งรวมทั้งหนึ่งลำที่ถูกยึดได้โดยทหารอิรักใกล้กับคาบาร์ลาในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 และได้เผยแพร่ในโทรทัศน์ของอิรัก เฮลิคอปเตอร์ที่ถูกยึดถูกทำลายด้วยการโจมตีทางอากาศหนึ่งวันหลังจากที่มันตก[17] การโจมตีในวันที่ 24 มีนาคมเพื่อจัดการกับกองพลยานเกราะของริพับลิกันการ์ดไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทางการสหรัฐฯ อ้างว่ามันเป็นเพราะลูกเรือรถถังได้วางกับดักในภูมิประเทศที่ซับซ้อนโดยใช้ปืนกลหนักของพวกเขาให้ได้ผลอย่างดี[18][19] ในขณะที่ฝ่ายอิรักอ้างว่าอาปาเช่หนึ่งลำถูกยิงตกโดยชาวนาที่ใช้ปืนไรเฟิล[20] เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวไม่เสียหายและทั้งนักบินและนักบินผู้ช่วยก็ไม่ได้รับบาดเจ็บ

เอเอช-64ดีของอเมริกันปัจจุบันบินในอิรักและอัฟกานิสถานโดยปราศจากเรดาร์ระยะไกลเนื่องจากไม่มีภัยคุกตามของยานเกราะต่อกองกำลังของรัฐบาลร่วม[21] อาปาเช่ส่วนมากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักสามารถทำภารกิจต่อไปได้และบินกลับฐานอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น อาปาเช่ 33 ลำที่ใช้ในการโจมตีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 มี 30 ลำที่ได้รับความเสียหายจากการยิงของอิรักจนไม่สามารถซ่อมเแซมได้แต่มีเพียงลำเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถบินกลับฐาน[19] เมื่อถึงปี 2551 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ 11 ลำที่ถูกยิงตกโดนศัตรูตลอดทั้งสงครามและอีก 15 ลำตกในอิรักเพราะสาเหตุอื่น

อิสราเอล[แก้]

เอเอช-64เอ "เพเทน" ของกองทัพอากาศอิสราเอล
อาพาชี่ลองโบว์ที่งานแสดงอินเทอร์เนชั่นแนล แอโรสเปซ เอ็กซ์ฮิบิชั่น ในปี 2006

กองทัพอากาศอิสราเอลใช้อาปาเช่เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายมากมายด้วยขีปนาวุธนำวิถี เอเอช-64เอได้โจมตีและทำลายค่ายทหารบางส่วนของกลุ่มเฮซบอลลาห์ในเลบานอนเมื่อพ.ศ. 2533 เป็นการโจมตีในหลายสภาพอากาศและทั้งวันทั้งคืน ในอัล-อาซ่า อินทิฟาด้า กองทัพอิสราเอลได้ใช้อาปาเช่เพื่อสังหารกลุ่มผู้นำฮามาสอย่างอาห์เมด ยาซินและแอดนัน อัลกูลด้วยขีปนาวุธนำวิถี ในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและเลบานอนในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเมื่อปีพ.ศ. 2549 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ของกองทัพอากาศอิสราเอลสองลำชนกันทำให้นักบินหนึ่งคนเสียชีวิตและอีกสามคนบาดเจ็บสาหัส อีกอุบัติเหตุหนึ่งคือเอเอช-64ดี ลองโบว์ของกองทัพอิสราเอลตกที่สังหารนักบินสองคนเนื่องมาจากการขัดข้องทางทคนิค[22]

สหราชอาณาจักร[แก้]

สหราชอาณาจักรใช้อาปาเช่ลองโบว์รุ่นดัดแปลงที่เรียกว่าเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่และถูกเรียกว่าอาปาเช่ เอเอช มาร์ค1 โดยกองทัพบกอังกฤษ เวสท์แลนด์ได้สร้างดับบลิวเอเอช-64จำนวน 67 ลำ[23] ภายใต้ใบอนุญาตจากโบอิงที่แทนที่เครื่องยนต์ด้วยโรลส์-รอยซ์ที่ทรงพลังกว่า ใบพัดที่พับได้วำหรับการปฏิบัติการในกองทัพเรือเป็นอีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่สำคัญซึ่งทำให้อาปาเช่ของอังกฤษสามารถทำงานร่วมกับปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้โดยบินออกจากเรือที่บรรทุกมันมา เวสท์แบนด์อาปาเช่ได้เข้ามาแทนที่เวสท์แลนด์ลิงซ์ เอเอช7 ในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมของกองทัพบกอังกฤษ ดับบลิวเอเอช-64 ในปัจจุบันถูกวางพลในอัฟกานิสถานที่ซึ่งพวกมันทำหน้าที่โดดเด่นในการสนับสนุนกองกำลังของสหราชอาณาจักรและรัฐบาลร่วมในทางตอนใต้ของประเทศ[24] ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ของอังกฤษใช้เรดาร์ควบคุมการยิงของลองโบว์ในอัฟกานิสถานโดยกล่าวว่ามันช่วยเพิ่มความระวังต่อสถานการณ์[25]

เนเธอร์แลนด์[แก้]

กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้สั่งซื้อเอเอช-64ดี อาปาเช่จำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2539[26] เอเอช-64ดีของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่ใช้ลองโบว์ การใช้งานครั้งแรกของพวกเขาเกิดขึ้นในแอฟริกา พวกมันยังถูกวางพลร่วมกับเอเอช-64 ของสหรัฐฯ ในการเข้าสนับสนุนกองกำลังของนาโต้ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ในปี 2547 เอเอช-64 ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลในกองกำลังผสมที่อิรัก[27] ในเวลาเดียวกันอาปาเช่ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลที่คาบูลเพื่อช่วยเหลือกองทัพอากาศอิสราเอล ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2549 เนเธอร์แลนด์ได้ช่วยกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานด้วยการเพิ่มทหารขึ้นเป็น 1,400 นายและเอเอช-64 ก็ถูกส่งไปสนับสนุนเช่นกัน[28]


ผู้ใช้งานรายอื่น[แก้]

ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2546 กรีซได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำโดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมทั้งอาวุธและอื่นๆ) โดยตกลำละ 56.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ได้ซื้อเอเอช-64ดี ลองโบว์อาปาเช่ทั้งสิ้น 20 ลำในระหว่างพ.ศ. 2542 และพ.ศ. 2544 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ซื้อเอเอช-64เอทั้งสิ้น 30 ลำในปีพ.ศ. 2534 และ 2537 ซึ่งพวกมันในตอนนี้ได้พัฒนาเป็นเอเอช-64ดี[29] คูเวตได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ลองโบว์จำนวน 16 ลำ[30] ประเทศอื่นๆ ที่มีอาปาเช่ก็ได้แก่อียิปต์ ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[31]

เกาหลีใต้กำลังทบทวนแผนในการซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 36 ลำในขณะกำลังพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีภายในประเทศโดยมีหุ้นส่วนจากยูโรคอปเตอร์ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากยูโรคอปเตอร์ไทเกอร์[32]

ญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 50 ลำ[33] พวกมันจะถูกสร้างภายใต้ใบอนุญาตโดยอุตาหกรรมฟูจิด้วยการส่งเฮลิคอปเตอร์ลำแรกให้กับญี่ปุ่นในปี 2549 [34][35] หลังจากที่เริ่มการส่งในปี 2548[36] อาพาชี่ที่สร้างโดยฟูจิจะใช้ชื่อว่าเอเอช-64ดีเจบี[34]

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) วางแผนที่จะซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 30 ลำให้กับกองทัพบกในปี 2551[37] อินเดียได้ประกาศหาข้อเสนอสำหรับเฮลิคอปเตอร์จู่โจม 22 ลำให้กับกองทัพอากาศอินเดีย อาปาเช่ลองโบว์เป็นหนึ่งในหลายแบบที่เข้าแข่งขันในการสั่งซื้อของกองทัพอากาศอินเดีย[38] แต่โบอิงออกจากการแข่งขันในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2551[39]

แบบต่างๆ[แก้]

เอเอช-64ดีของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ในงานฟาร์นโบโรว์ แอร์โชว์เมื่อปี 2549

เอเอช-64เอ[แก้]

เอเอช-64เอเป็นรุ่นต้นตำหรับในการผลิตของเฮลิคอปเตอร์จู่โจม มันมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบจีอี ที700 ลูกเรือจะนั่งเรียงตามหลังกันในห้องนักบินที่หุ้มเกราะ

เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้มีอาวุธเป็นปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม.ซึ่งเชื่อมติดกับหมวกของพลปืน เอเอช-64เอจะบรรทุกสิ่งอื่นๆ ที่ปีกทั้งสองข้างของมันที่รวมทั้งขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม. และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-92 สติงเกอร์เพื่อป้องกันตัว

เอเอช-64บี[แก้]

ในปีพ.ศ. 2534 หลังจากปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเอเอช-64บีเป็นการพัฒนาจากเอเอช-64เอจำนวน 254 ลำ การพัฒนารวมทั้งใบพัดแบบใหม่ ระบบจีพีเอส ระบบนำร่อง และวิทยุแบบใหม่ สภาได้อนุมัติเงินจำนวน 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเริ่มการพัฒนาอาปาเช่ รุ่นบี โครงการบีถูกยกเลิกในปี 2535[5] วิทยุ การนำร่อง และจีพีเอสได้ถูกนำไปติดตั้งในอาปาเช่แบบเอในเวลาต่อมา

เอเอช-64ซี[แก้]

ด้วยทุนจากสภาในปลายปี 2534 ส่งผลในโครงการพัฒนาเอเอช-64เอเป็นเอเอช-64บี+ ทุนอีกมากเปลี่ยนแผนไปพัฒนาเอเอช-64ซี รุ่นซีนั้นมีความคล้ายคลึงกับลองโบว์ยกเว้นเรดาร์ขนาดใหญ่และเครื่องยนต์แบบใหม่ อย่างไรก็ดีในปีพ.ศ. 2536 รุ่นซีก็ถูกระงับ[5]

การพัฒนายังคงดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตามเนื่องมาจากความแตกต่างเดียวระหว่างแบบซีกับแบบดีคือเรดาร์ซึ่งสามารถย้ายไปติดกับอีกแบบหนึ่งได้ การตัดสินใจก็คือทั้งสองแบบไม่แตกต่างกัน

เอเอช-64ดี[แก้]

เอเอช-64ดี "ซาราฟ" ของกองทัพอากาศอิสราเอล
เอเอช-64ดีของกองทัพอากาศสิงคโปร์

รุ่นที่ก้าวหน้าอย่างเอเอช-64ดีอาปาเช่ลองโบว์ติดตั้งเซ็นเซอร์และระบบอาวุธที่พัฒนา หัวใจของการพัฒนาที่เหนือกว่าแบบเอก็คือเรดาร์ทรงโดมแบบเอเอ็น/เอพีจี-78 ที่ติดตั้งอยู่ที่ด้านบนของใบพัดหลัก ด้วยตำแหน่งที่สูงขึ้นของเรดาร์ทรงโดมทำให้การตรวจจับวิถีโค้งของขีปนาวุธจากศัตรูได้ในขณะที่มันซ่อนตัวอยู่หลังสิ่งกีดขวาง นอกเหนือจากนั้นโมเดมวิทยุผสมผสานกับเซ็นเซอร์ซึ่งทำให้อาพาชี่แบบบดีนั้นมีข้อมูลของเป้าหมายร่วมกับเอเอช-64ดีลำอื่นได้หากลำหนึ่งมองไม่เห็นเป้าหมาย สิ่งนี้ทำให้กลุ่มของอาปาเช่สามารถเข้าปะทะศัตรูจำนวนมากได้โดยเปิดเผยเพียงแค่เรดาร์ทรงโดมของเอเอช-64ดีลำใดลำหนึ่ง

อากาศยานนี้ถูกติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ที700 จีอี 701ซีที่ทรงพลังมากกว่าและห้องนักบินที่รวมเป็นห้องเดียว โครงสร้างส่วนหน้าถูกขยายเพื่อรองรับระบบใหม่ นอกจากนี้มันยังมีความสามารถในการอยู่รอด การสื่อสาร และการนำร่อง

บล็อก 2 อาปาเช่ลำแรกถูกส่งให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2546 บล็อก 2 มีระบบการสื่อสารแบบดิจิตอลเพื่อการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต[40]

บล็อก 3 เป็นการพัฒนาในปี 2551 ที่มีรวมทั้งการทำให้ระบบเป็นดิจิตอลมากขึ้น ระบบวิทยุที่เชื่อมต่อกัน ระบบขับเคลื่อนและเครื่องยนต์ที่พัฒนา ความสามารถในการควบคุมยูเอวี ใบพัดเหล็กผสมแบบใหม่ และล้อลงจอดที่พัฒนา การทดสอบใบพัดใหม่ประสบความสำเร็จในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2547 มันเพิ่มความเร็วของอาพาชี่ อัตราการไต่ระดับ และความจุ[40]

อาปาเช่รุ่นส่งออก[แก้]

รุ่นอื่นจำนวนมากได้ถูกดัดแปลงมาจากทั้งเอเอช-64เอและเอเอช64ดีสำหรับการส่งออก ทางอังกฤษได้สร้างเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-64ดีพร้อมกับระบบมากมายที่แตกต่างออกไปและรวมทั้งเครื่องยนต์ที่ใหม่และทรงพลังยิ่งขึ้น

ซีอาปาเช่[แก้]

เอเอช-64เอรุ่นสำหรับกองทัพเรือถูกเสนอให้กับกองนาวิกโยธินและกองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 ถึงพ.ศ. 2530[6] คอนเซปท์มากมายมีทั้งการเปลี่ยนล้อที่ใช้ลงจอด การบิน และอาวุธที่ได้รับการปรับปรุง[41] การให้ทุนกับรุ่นของกองทัพเรือนั้นไม่สำเร็จและทางนาวิกโยธินก็ยังคงใช้เอเอช-1 ซูเปอร์คอบราต่อในปี 2551[6]

ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

แผนที่โลกที่แสดงกองทัพที่ใช้เอเอช-64 อาปาเช่ สีแดงคือผู้ใช้งานในปัจจุบัน สีเขียวคือกำลังอยู่ในโครงการ
ธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์
  • กองทัพอากาศอียิปต์ได้สั่งซื้อเอเอช-64เอจำนวน 36 ลำในปีพ.ศ. 2538 และถูกพัฒนาให้เป็นเอเอช-64ดีในปีพ.ศ. 2548[33] อียิปต์มีเอเอช-64ดีในปฏิบัติการ 35 ลำเมื่อเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศกรีซ กรีซ
  • กองทัพกรีกมีเอเอช-64เอจำนวน 20 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำในการสั่งซื้อเมื่อปี 2548[33] กรีซมีเอเอช-64เอจำนวน 20 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 8 ลำในปี 2551[42]
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
  • กองทัพอากาศอิสราเอลมีเอเอช-64เอจำนวน 37 ลำและเอเอช64ดีจำนวน 11 ลำในคลังแสงเมื่อเดือนมกราคมปี 2551[42]
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
  • กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 50 ลำในปี 2548[33] และมีใช้งานอยู่ 2 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศคูเวต คูเวต
  • กองทัพอากาศคูเวตได้สั่งซื้อเอเอช64ดีจำนวน 16 ลำในปีพ.ศ. 2547[43] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 6 ลำใช้งานในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
  • กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้รับเอเอช-64ดีจำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2548[33] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 29 ลำในปี 2551[42]
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
  • กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียมีเอเอช-64เอจำนวน 12 ลำ พวกมันจะถูกพัฒนาให้เป็นเอเอช-64ดี ลองโบว์ในปีพ.ศ. 2553[44]
 สิงคโปร์
  • กองทัพอากาศสิงคโปร์มีเอเอช-64ดีจำนวน 18 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • กองทัพอากาศสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ได้รับเอเอช-64เอจำนวน 30 ลำในปี 2548[33] ทางกองทัพมีเอเอช-64เอจำนวน 12 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 14 ลำในเดือนมกราคมปี 2551[42]
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
  • กองทัพบกสหรัฐฯ มีเอเอช-64 จำนวน 698 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]

รายละเอียด เอเอช-64 อาปาเช่[45][แก้]

  • ผู้สร้าง บริษัท โบอิง ,แมคดอนเนลล์ ดักลาส,และฮิวส์
  • เครื่องยนต์ 2 ยีอี ที 700-จีอี-701ซี ให้แรงขับ 1,890 แรงม้า
  • ยาว 15.47 เมตร
  • สูง 4.95 เมตร
  • กว้าง 5.23 เมตร
  • พื้นที่ใบพัดประธาน 168.11 ตารางเมตร
  • พื้นที่ใบพัดหาง 6.13 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 5,352 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสูงสุด 10,107 กิโลกรัม
  • จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก
  • เพดานบินใช้งาน 6,400 เมตร
  • เพดานบินตรวจการณ์ 4,115 เมตร
  • ความเร็วสูงสุด 365 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • รัศมีทำการ 407 กิโลเมตร
  • อาวุธ ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 230 เชนกัน ขนาด 30 มม. อัตรายิง 625 นัด/นาที
    • อาวุธต่อต้านรถถัง เอจีเอ็ม 114 เฮลไฟล์
    • จรวดขนาด 2.75 นิ้ว
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศขนาดเบานำวิถีด้วยอินฟราเรด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Boeing AH-64 Apache". Jane's: All the World's Aircraft. Jane's Information Group. 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543. สืบค้นเมื่อ 2006-06-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Dictionary.com
  3. Bishop 2005, pp. 5-6.
  4. OAVCSA 1973, p. 10.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 Bishop 2005.
  6. 6.0 6.1 6.2 Donald 2004.
  7. 7.0 7.1 The Boeing AH-64 Apache, vectorsite.net, July 1, 2007.
  8. 8.0 8.1 Donald 2004, p. 119.
  9. Donald 2004, pp. 150-153.
  10. "T700-GE-701D Engine Awarded U.S. Army Qualification" เก็บถาวร 2008-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, GE Aviation, 4 November 2004.
  11. AH-64D Apache Longbow, Deagel.com
  12. Donald 2004, p 110.
  13. INTRODUCTION FILM FOR A NEW GENERATION OF ATTACK HELICOPTER - THE AH-64 APACHE เก็บถาวร 2009-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Official US Army video at Real Military Flix
  14. "Helicopter rescue bid for Marine"
  15. Taylor, Thomas. "Lightning in the Storm" Hippocrene Books (2003). ISBN 0-7818-1017-5.
  16. Apaches Are Ailing Warriors
  17. "Downed Apache Blown Up"[ลิงก์เสีย]
  18. "U.S. Apache pilots taken prisoner", CNN.
  19. 19.0 19.1 Fred Kaplan. "Chop the Chopper: The Army's Apache attack-helicopter had a bad war". Slate. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  20. "A city and regime steel for reckoning to come". Sydney Morning Herald, 26 March 2003.
  21. Defense News[ลิงก์เสีย]
  22. "Boeing Leads Inquiry Into Israeli Apache Crash"[ลิงก์เสีย]
  23. "British Army Receives 67th Apache In Ceremony Held At The Farnborough Airshow 2004" เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, AgustaWestland, 21 July 2004.
  24. "UK troops in first Taleban action", BBC, 23 May 2006.
  25. "Brits See Longbow As Key To Apache Ops", DefenseTech.org, November 27, 2007.
  26. "Boeing Delivers 30th AH-64D Apache to Royal Netherlands Air Force"
  27. "Six Apaches to Iraq to boost security" เก็บถาวร 2007-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, government.nl news archive
  28. "More Dutch troops for Afghanistan", BBC
  29. UAE’s 30-Helicopter Apache Upgrade Program Underway
  30. Kuwait Runs Apache Longbow Contract to $262.2 M
  31. $67.6M to Convert US and Foreign AH-64s to AH-64D Apache Longbows
  32. "South Korea Bids to Buy Second-Hand US Attack Choppers". The Korea Times.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 Bishop 2005, pp. 40-44.
  34. 34.0 34.1 The Boeing AH-64 Apache. Vectorsite.net, 01 July 2007. Retrieved on November 7, 2008.
  35. Fuji Heavy Industries Delivers First Apache Longbow Helicopter to Japanese Government under Boeing Licensing Agreement. Retrieved on November 7, 2008.
  36. Boeing AH-64D Longbow Apache.[ลิงก์เสีย] Retrieved on November 7, 2008.
  37. "Taiwan to Buy Apaches to Counter China Threat". Defense News. 2007-07-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-07.
  38. India seeks 22 attack helicopters. Retrieved on November 9, 2008.
  39. Govindasamy, Siva. "Bell, Boeing quit Indian attack helicopter contest". Flight International, 10 October 2008.
  40. 40.0 40.1 "AH-64A/D Apache Attack Helicopter, USA". สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.
  41. McDonnell Douglas AH-64 "Sea Apache" project, Aviastar.org, accessed November 11, 2007.
  42. 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 42.6 42.7 42.8 "World Military Aircraft Inventory". 2008 Aerospace Source Book. Aviation Week and Space Technology, January 28, 2008.
  43. Donald 2004, p. 157.
  44. [http://www.worldtribune.com/worldtribune/WTARC/2008/me_saudis0668_11_04.asp Saudis are top arms buyer in developing world. Retrieved on November 16, 2008.
  45. Octavio Diez:Combat Helicopters,Udyat,Spain,2006.ISBN 84-931055-2-X

ดูเพิ่ม[แก้]