เบนโซไพรีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างทางเคมีของเบนโซไพรีน

เบนโซไพรีน เป็นสารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น C20H12 เป็นไฮโดรคาร์บอนไม่มีสี มีวง 5 วง โดยเป็นโครงสร้างของไพรีนที่เพิ่มหมู่ฟีนิลลีน (phenylene) มีไอโซเมอร์ 2 ชนิดคือ benzo[a]pyrene และbenzo[e]pyrene สารเคมีที่ใกล้เคียง ได้แก่ cyclopentapyrenes dibenzopyrenes indenopyrenes และ naphthopyrenes PAHs 5 วงที่ใกล้เคียงกันได้แก่ picene, benzofluoranthenes, และperylene.[1] เบนโซไพรีนเป็นปัญหาเพราะสามารถทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอ ขัดขวางทรานสคริบชัน จัดเป็นสารมลพิษและสารก่อมะเร็ง พบเบนโซไพรีนได้ในน้ำมันดิน และควันบุหรี่ มัหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเบนโซไพรีนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปอด [2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. W. D. Betts "Tar and Pitch" in Kirk‑Othmer Encyclopedia of Chemical Technology, 1997, John Wiley & Sons, New York. doi:10.1002/0471238961.20011802052020.a01
  2. Denissenko, Pao, A, Tang, M, et al 1996 "Preferential formation of benzo[a]pyrene adducts at lung cancer mutational hotspots in P53." Science 274(430-432) http://www.sciencemag.org/cgi/content/abstract/274/5286/430?ijkey=7dd94e096ea549bac90bce0ec51acb6422cbb1a4&keytype2=tf_ipsecsha )