เซนต์แมรีส์สเตเดียม

พิกัด: 50°54′21″N 1°23′28″W / 50.90583°N 1.39111°W / 50.90583; -1.39111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซนต์แมรีส์สเตเดียม
เซนต์แมรีส์
แผนที่
ชื่อเดิมThe Friends Provident St Mary's Stadium
ที่ตั้งถนนบริทานเนีย เซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
พิกัด50°54′21″N 1°23′28″W / 50.90583°N 1.39111°W / 50.90583; -1.39111
ผู้ดำเนินการเซาแทมป์ตัน
ความจุ32,689 ที่นั่ง[1]
สถิติผู้ชม32,363 คน (ในนัดที่พบกับ โคเวนทรี ซิตี 28 เมษายน 2012)
ขนาดสนาม112 หลา x 74 หลา
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มค.ศ. 2000
เปิดใช้สนามสิงหาคม ค.ศ. 2001
งบประมาณในการก่อสร้าง32 ล้าน ปอนด์
การใช้งาน
เซาแทมป์ตัน (ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน)

เซนต์แมรีส์สเตเดียม (อังกฤษ: St Mary's Stadium) เป็นสนามเหย้าของ สโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตัน โดยสนามนี้ได้รับการประเมินระดับ 4 ดาว ของยูฟ่า ด้วยความจุ 32,689 ที่นั่ง โดยเป็นสนามฟุตบอล ที่ใหญ่ที่สุดของทางตอนใต้ในประเทศอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

ในยุค 1980 เมื่อ สโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตัน เริ่มขึ้นมาเป็นทีมระดับแนวหน้าในประเทศอังกฤษ ทางสโมสรก็ต้องการที่จะหาสนามใหม่ที่มีความจุผู้ชมได้มากกว่าสนามเดิม คือ สนามเดอะ เดล ซึ่งต้องสร้างสนามขึ้นมาใหม่เนื่องจากสนามเก่านั้นมีความแคบ และไม่เหมาะสมต่อการขยายสนามอีกต่อไป

เมื่อ เทย์เลอร์ รีพอร์ท สนามของ ฮิลล์สโบโรห์ นั้นต้องปรับปรุงสนามให้เป็นที่นั่งทั้งหมด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 ทางสโมสรเซาแทมป์ตัน ก็ต้องการที่จะปรับปรุงสนามให้เป็นที่นั่งเช่นกัน โดยสนามเดอะ เดล ปรับปรุงเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1993 แต่เมื่อปรับปรุงแล้ว ที่นั่งจึงเหลือแค่ 15,000 ที่นั่งเท่านั้น แต่การที่ เซาแทมป์ตัน เลื่อนชั้นขึ้นมาใน พรีเมียร์ลีก ในปี ค.ศ. 1992 ทำให้ เซาแทมป์ตัน ต้องการสนามที่มีความจุมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

หลังจากที่ เซาแทมป์ตัน ต้องการขยายสนาม เดอะ เดล ให้ถึง 25,000 ที่นั่ง แต่ไม่สามารถขยายได้อีก ทำให้ต้องย้ายมาตั้งสนามใหม่ อยู่ในย่าน สโตนแฮม ซึ่งเป็นใจกลางของเมือง เซาแทมป์ตัน และห่างจาก เดอะ เดล ครึ่งไมล์

การที่ย้ายสนามเหย้ามาอยู่ใกล้กับ โบสถ์เซนต์แมรี ซึ่งมี สโมสรฟุตบอลโบสถ์เซนท์แมรียังเม็น อยู่แล้วทำให้สโมสรก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น สโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตัน เซนท์แมรี แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น สโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตัน

โดยสนามเซนท์แมรีได้เริ่มสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 และสร้างเสร็จใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2001 โดยการปรับปรุงสนามและภูมิทัศน์รอบสนามครั้งนี้ ใช้เงินทั้งหมด 32 ล้านปอนด์ เซาแทมป์ตัน ได้ใช้สนามเหย้าแห่งนี้ ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2001 หลังจากย้ายมาจาก สนามเดอะ เดล ซึ่งสถิติเมื่อถึงสิ้นปีนั้น มีผู้ชมต่อนัดเพียงประมาณ 15,000 คนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเพียงครึ่งหนึ่งของความจุสนาม โดยการประเดิมสนามครั้งนี้ มีการแข่งขันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2011 โดยนัดนั้น เซาแทมป์ตันได้ชนะ เอสปันยอล จากสเปน ได้ 4-3

โดยการทำแฮตทริกครั้งแรกในสนามนี้ ไม่ใช่นักเตะของเซาแทมป์ตันที่เป็นผู้ทำแฮตทริก แต่เป็น สแตฟฟอร์ด บราวน์ นักเตะจาก อัลเดอร์ช็อท ทาวน์[2]

ภายในสนาม[แก้]

สนามนี้มีรูปทรงเป็นเหมือนชาม โดยมีสแตนดืที่มีความสูงเท่ากันทุกๆด้าน และมีหน้าจอขนาดยักษ์ 2 จอที่สามารถมองเห็นได้ทุกที่นั่ง

โดยสนามเซนท์ แมรีมีสแตนด์ทั้งหมด 4 ด้าน โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่อยู่ในทิศเดียวกันกับสแตนด์นั้นๆ ซึ่งสแตนด์หลัก (ทิศตะวันออก) มีชื่อว่า อิทเชน สแตนด์ มาจาก แม่น้ำอิทเชน ส่วนด้านตรงข้าม (ทิศตะวันตก) ตั้งชื่อว่า คิงส์แลนด์ สแตนด์ ส่วนสแตนด์ด้านหลังประตู ทางทิศใต้ชื่อว่า ชาเปล สแตนด์ ส่วนทิศเหนือ ชื่อว่า นอร์ทแฮม สแตนด์

โดยนอร์ทแฮม สแตนด์นั้น เป็นสแตนด์สำหรับเจ้าบ้าน ซึ่งมีการเชียร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของทีม โดยมีความจุ 4,250 ที่นั่ง หรือ 15% ของสนาม

ภาพมุมกว้าง ในสนามเซนต์แมรี ในนัดที่ เซาแทมป์ตัน พบกับ โคลเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในปี 2009
ด้านหน้าสนาม

ชื่อสนาม[แก้]

โดยชื่อสนามอย่างเป็นทางการนั้น สมัยที่เปิดสนามมีชื่อว่า 'เดอะ เฟรนด์ โพรวีเดนท์ เซนต์แมรีส์ สเตเดียม' ซึ่งหลังจากเปิดสนามแล้วทางสโมสรต้องการเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อของสปอนเซอร์หรือผู้สนับสนุนหลักของทีม แต่ทางแฟนคลับของทางสโมสรนั้นต่อต้านที่ไม่ให้เปลี่ยนชื่อสนาม และในต่อมา ปี ค.ศ. 2006 ผู้สนับสนุนใหม่อย่าง Flybe.com ก็ไม่ได้ต้องการซื้อสนามเพื่อเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด และต่อจากนั้นก็คงชื่อเดิมป็นต้นมา คือ 'เซนต์แมรีส์ สเตเดียม'

สถิติความจุผู้ชมในสนาม[แก้]

บรรยากาศภายในสนาม

โดยสนามนี้เป็นสนามที่เป็นที่นั่งทั้งหมด โดยมีความจุ 32,689 ที่นั่ง รวมไปถึงห้องสื่อมวลชนและห้องอื่นๆภายในสนาม เนื่องจากต้องมีการแยกสแตนด์ระหว่างทีมเหย้าและทีมเยือนใน นอร์ทแฮม สแตนด์ จึงต้องเว้นที่ว่างไว้เพื่อความปลอดภัยในแต่ละนัดการแข่งขัน สนามนี้จึงไม่ค่อยจะเต็มความจุ

โดยสถิติสูงสุดจนถึงปัจจุบัน เป็นนัดที่ เซาแทมป์ตัน พบกับ โคเวนตรี ซิตี ในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2012 โดยในนัดนั้น มีผู้ชมทั้งหมด 32,363 คน ส่วนนัดการแข่งขันที่มีผู้ชมน้อยที่สุดนั้น เป็นนัดที่ เซาแทมป์ตัน พบกับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด โดยนัดนั้นมีผู้ชมเพียง 13,257 คน[3]

รูปปั้นของ เท็ด เบดส์[แก้]

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2007 รูปปั้นของ เท็ด เบดส์ ได้ถูกเปิดตัวเพื่อระลึกถึงสโมสรด้วยเงินทั้งหมด 102,000 ปอนด์ ซึ่งรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ด้านนอก ฝั่งอิทเช็น สแตนด์ แต่เมื่อสร้างเสร็จไม่นาน รูปปั้นนี้กลับถูกประณามเป็นอย่างหนักเนื่องจากสัดส่วนขงรูปปั้นนี้ไม่เท่ากับตัวจริง ซึ่งรูปปั้นนี้มีสัดส่วนที่ไม่ถูกต้องเมื่อเทียบกับอดีตประธานสโมสรคนนี้

ลีออน เคราซ์ อดีตประธานสโมสร กล่าวว่า เขาจะช่วยในการส่งเสริมและให้เงินทุนในการแก้ไขรูปปั้นที่มีสัดส่วนที่ไม่ถูกต้องนี้ และหลังจากนั้นต่อมาอีก 1 สัปดาห์หลังจากการเปิดตัวรูปปั้น ทีมงานที่มีส่วนในการสร้างรูปปั้นนี้ ได้นำรูปปั้นนี้ออกจากด้านหน้าของสนาม โดยรูปปั้นใหม่ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2008[4]

การแข่งขันนัดประวัติศาสตร์ที่สนาม[แก้]

สนาม เซนต์แมรีส์ สเตเดียม ได้เป็นสนามเหย้าให้กับ ทีมชาติอังกฤษ โดยนัดนั้นได้พบกับ ทีมชาติมาซิโดเนีย ใน เดือนธันวาคม ค.ศ. 2002 จบเกมแล้วเสมอกัน 2-2 โดยนัดนั้น ทีมชาติอังกฤษได้ประตูจาก เดวิด แบ็คแคม และ สตีเฟน เจอร์ราร์ด และนอกจากนั้นยังมีนัดที่พบกับ ทีมชาติญี่ปุ่น และ ทีมชาติไนจีเรีย อีกด้วย

โดยสนามนี้ยังได้เคยจัดการแข่งขัน ยูฟ่าคัพ หรือ ยูฟ่ายูโรปาลีก ในปัจจุบัน โดยนัดนั้น เซาแทมป์ตัน เปิดสนามพบกับ สเตอัว บูคาเรสท์ ทีมจาก โรมาเนีย จบเกมเสมอกันไป 1-1

และสนามนี้ก็ยังเคยจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนอายุไม่เกิน 21 ปีอีกด้วย หรือ U-21 โดยเป็นสนามเหย้าให้กับ ทีมชาติอังกฤษ ชุดอายุไม่เกิน 21 ปี พบกับ ทีมชาติไอร์แลนด์ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 โดยจบเกมอังกฤษชนะ 3-0 และหลังจากนั้นในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2011 อังกฤษสามารถชนะนอร์เวย์ได้ 2-0 ในสนามแห่งนี้

โดยตามสถิติของทีมชาติอังกฤษชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 19 ปี ยังไม่เคยแพ้เมื่อเล่นในสนาม เซนต์แมรีส์ อีกด้วย

รับใช้งานสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ฟุตบอล[แก้]

โดยสนามนี้เป็นสนามสไตล์โมเดิร์น และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมไปถึงห้องประชุม และห้องสูท

ในนอร์ทแฮม สแตนด์นั้น มีศูนย์ศึกษาเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้จากนอกห้องเรียน นอกจากนั้นยังมีสำนักงานการฝึกอบรมของสโมสรอีกด้วย โดยองค์กรที่สโมสรจัดตั้งมานั้นเล็งเห็นในการช่วยให้เยาวชนหนุ่มสาว ที่เพิ่งเรียนมาใหม่ๆ ได้มีงานทำ ด้วยการก่อตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพ

นอกจากนั้นยังใช้เป็นที่จัดงานพรอม ของโรงเรียนในเมือง เซาแทมป์ตัน อีกด้วย

สนามนี้ยังเป็นที่จัดงานภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์อีกด้วย ซึ่งก็มีภาพยนตร์หลายๆเรื่อง ที่มาจัดในสนามแห่งนี้ เช่น คาสิโน รอเยล และยังมีคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดังหลายๆคน ที่มาจัดในสนามนี้ เช่น เอลตัน จอห์น ในปี ค.ศ. 2005 และ บอง โจวี ในปี ค.ศ. 2006[5]

นอกจากนี้ สนามนี้ยังเป็นสำนักงานใหญ่ของ สำนักงานการพยาบาลทางอากาศ แฮมป์ไชร์แอนด์อิสเล ตั้งแต่เมื่อสำนักงานนี้ก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007[6]

และในปี ค.ศ. 2015 สนามนี้จะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Football League. "Southampton Club Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  3. Gibb, Ian (4 February 2009). "Southampton 1 Sheffield Utd 2: Snowball fight puts Blades in the mood for victory". Daily Mail. London.
  4. "Second Ted Bates statue unveiled". BBC News. 22 March 2008. สืบค้นเมื่อ 13 March 2008k.
  5. "Bon Jovi Announce Tour". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (www.bonjovi.com)เมื่อ 2007-11-07. สืบค้นเมื่อ 5 November 2007.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  7. "England will host 2015 World Cup". BBC Sport. 28 July 2009. สืบค้นเมื่อ 24 October 2011.