เจ็ดพระธาตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ็ดพระธาตุ หมายถึงพระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญในภาคเหนือ 7 แห่ง แต่ละแห่งเป็นที่เคารพบูชาอย่างสุงสุดของชาวล้านนา แต่ละพระบรมธาตุมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่สำคัญ มีอายุการก่อสร้างมากกว่าพันปี สะท้อนถึงความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของอาณาจักรล้านนาได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ละแห่งมีตำนานกล่าวว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอัน ได้แก่

  1. พระบรมธาตุหริภุญชัย วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เมืองลำพูน บรรจุพระเกศบรมธาตุ (กระดูกส่วนศีรษะ) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  2. พระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เมืองเชียงใหม่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์ใหญ่ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  3. พระบรมธาตุศรีจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง เมืองเชียงใหม่ บรรจุพระทักษิณโมลีธาตุ (กระดูกพระเศียรเบื้องขวา) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  4. พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา บรรจุพระเกศาธาตุ (ผม) และพระอัฐิธาตุพระนลาตเบื้องขวา พระเมฆิยะ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  5. พระบรมธาตุดอยตุง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) เมืองเชียงราย บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้ายธาตุ (กระดูกไหปลาร้าข้างซ้าย) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  6. พระบรมธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ บรรจุพระเกศาธาตุ (ผม) และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้าย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  7. พระบรมธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง เมือง น่าน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า