เข็มขัดไทเฮโย

พิกัด: 35°00′00″N 136°00′00″E / 35.0000°N 136.0000°E / 35.0000; 136.0000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ของเข็มขัดไทเฮโย โดยแสดงเส้นทางของโทไกโดชิงกันเซ็งและซังโยชิงกันเซ็ง

เข็มขัดไทเฮโย (ญี่ปุ่น: 太平洋ベルトโรมาจิTaiheiyō berutoทับศัพท์: ไทเฮโยเบรูโตะ) หรือ เข็มขัดแปซิฟิก หรือ ระเบียงเศรษฐกิจโทไกโด เป็นชื่อของเขตอภิมหานครในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่จังหวัดอิบารากิในภาคกลางไปจนถึงจังหวัดฟูกูโอกะในเกาะคีวชู ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตร มีประชากรกว่า 70 ล้านคน

เขตเมืองทางยาวนี้ ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่นตั้งแต่ภูมิภาคคันโตถึงโอซากะ และบริเวณทะเลในไปจนถึงฟูกูโอกะ ซึ่งเป็นแนวเส้นทางของทางรถไฟสายโทไกโดซังโย ทั้งนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมในตอนกลางคืนจะเห็นแสงไฟของเข็มขัดไทเฮโยเป็นแนวยาวได้อย่างชัดเจน[1]

จำนวนประชากรที่มากนั้นเป็นเพราะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่ ประกอบด้วยที่ราบคันโต ที่ราบคิไน และที่ราบโนบิ ซึ่งเอื้อต่อการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ท่ามกลางภูมิประเทศส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นที่เป็นภูเขา

เมืองหลัก[แก้]

ภาพถ่ายดาวเทียมตอนกลางคืน เปรียบเทียบระหว่างอภิมหานครนอร์ทอีสต์ในสหรัฐ (บน) และเข็มขัดไทเฮโย (ล่าง)
นครที่สำคัญในเข็มขัดไทเฮโย

รายชื่อเขตเมืองเรียงจากที่ตั้งเหนือสุดไปใต้สุด

เขตมหานคร[2] ภูมิภาค นคร/เมือง
ที่เป็นส่วนหนึ่ง
ประชากร
ค.ศ. 2010
(คน)
จีดีพี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มิโตะและปริมณฑล คันโต ฮิตาจินากะ 678,969 30,258
สึกูบะและปริมณฑล คันโต สึจิอูระ 847,292 37,132
โตเกียวและปริมณฑล คันโต ไซตามะ, ชิบะ, โยโกฮามะ, คาวาซากิ, ซางามิฮาระ 34,834,167 1,797,899
นูมาซุและปริมณฑล ชูบุ มิชิมะ 509,249 22,888
ชิซูโอกะและปริมณฑล ชูบุ ไยซุ, ฟูจิเอดะ 1,001,597 45,840
ฮามามัตสึและปริมณฑล ชูบุ อิวาตะ, ฟูกูโรอิ 1,133,879 54,258
โทโยฮาชิและปริมณฑล ชูบุ โทโยกาวะ 676,333 31,001
นาโงยะและปริมณฑล ชูบุ อิจิโนมิยะ, คาซูงาอิ, คูวานะ, คานิ 5,490,453 256,290
ยกกาอิจิและปริมณฑล คันไซ ซูซูกะ 621,689 29,072
เกียวโตและปริมณฑล คันไซ อูจิ, โอตสึ, คูซัตสึ 2,679,094 115,258
โอซากะและปริมณฑล คันไซ ซาไก, ฮิงาชิโอซากะ, นิชิโนมิยะ, นาระ 12,273,041 516,775
โคเบะและปริมณฑล คันไซ อากาชิ, คาโกงาวะ, ทากาซาโงะ 2,431,076 96,004
ฮิเมจิและปริมณฑล คันไซ ทัตสึโนะ 784,365 33,587
วากายามะและปริมณฑล คันไซ อิวาเดะ 584,852 24,592
โทกูชิมะและปริมณฑล ชิโกกุ อานัง 680,467 28,384
โอกายามะและปริมณฑล ชูโงกุ คูราชิกิ, โซจะ 1,532,146 63,101
ทากามัตสึและปริมณฑล ชิโกกุ มารูงาเมะ 830,040 34,722
ฟูกูยามะและปริมณฑล ชูโงกุ โอโนมิจิ 764,838 31,518
ฮิโรชิมะและปริมณฑล ชูโงกุ ฮัตสึกาอิจิ, ฟูจู 1,141,848 61,345
มัตสึยามะและปริมณฑล ชิโกกุ อิโยะ 642,841 24,509
คิตะกีวชูและปริมณฑล คีวชู ยูกูฮาชิ, โนงาตะ 1,370,169 55,693
ฟูกูโอกะและปริมณฑล คีวชู คาซูงะ, ชิกูชิโนะ, อิโตชิมะ 2,495,552 101,644
โออิตะและปริมณฑล คีวชู เบ็ปปุ 743,323 28,881

และอาจรวมถึง[ต้องการอ้างอิง]

เขตมหานคร ภูมิภาค นคร/เมือง
ที่เป็นส่วนหนึ่ง
ประชากร
ค.ศ. 2010
(คน)
จีดีพี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
คูมาโมโตะและปริมณฑล คีวชู อูกิ, โคชิ 1,102,398 39,763

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Satellite images of stable night time lights in Japan
  2. "Urban Employment Area". Center for Spatial Information Science, The University of Tokyo. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.

35°00′00″N 136°00′00″E / 35.0000°N 136.0000°E / 35.0000; 136.0000