ฮายามะ

พิกัด: 35°16′21″N 139°35′10″E / 35.27250°N 139.58611°E / 35.27250; 139.58611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮายามะ

葉山町
ศาลาว่าการเมืองฮายามะ
ศาลาว่าการเมืองฮายามะ
ธงของฮายามะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของฮายามะ
ตรา
ที่ตั้งของเมืองฮายามะในจังหวัดคานางาวะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของเมืองฮายามะในจังหวัดคานางาวะ (เน้นสีเหลือง)
ฮายามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ฮายามะ
ฮายามะ
 
พิกัด: 35°16′21″N 139°35′10″E / 35.27250°N 139.58611°E / 35.27250; 139.58611
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดคานางาวะ
อำเภอมิอูระ
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.06 ตร.กม. (6.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มิถุนายน 2012)
 • ทั้งหมด32,835 คน
 • ความหนาแน่น1,920 คน/ตร.กม. (5,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้สนดำญี่ปุ่น
• ดอกไม้กุหลาบพันปี
• สัตว์ปีกนกกระจ้อยญี่ปุ่น
หมายเลขโทรศัพท์046-876-1111
ที่อยู่ศาลาว่าการ2135 Horinouchi, Hayama-machi, Miura-gun, Kanagawa-ken
240-0192
เว็บไซต์http://www.town.hayama.lg.jp/

ฮายามะ (ญี่ปุ่น: 葉山町โรมาจิHayama-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ ตอนกลางของเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น ณ มิถุนายน 2012 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 32,835 คน ความหนาแน่น 1,920 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทั้งหมด 17.06 ตารางกิโลเมตร สถานที่สำคัญในเมือง เช่น พระตำหนักฮายามะ ที่สำนักพระราชวังญี่ปุ่นได้เข้ามาดูแลรักษาตั้งแต่ปี 1894[1]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ฮายามะที่อยู่ทางตอนบนของคาบสมุทรมิอูระ ติดกับอ่าวซางามิในมหาสมุทรแปซิฟิก พื้นที่ดังกล่าวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร โดยมีฤดูหนาวเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และฤดูร้อนที่ชื้น

เทศบาลข้างเคียง[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในยุคเอโดะ ส่วนทางตะวันออกของแคว้นซางามิทั้งหมดเป็นดินแดนเท็นเรียว ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ และปกครองโดยฮาตาโมโตะ (ซามูไรผู้ขึ้นตรงต่อโชกุน) หลายคน ในช่วงการปฏิรูปที่ดินในช่วงต้นของยุคเมจิในปี 1889 ได้มีการจัดโครงสร้างพื้นที่ใหม่โดยการรวมหกหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านฮายามะ และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเมืองในปี 1925

เศรษฐกิจ[แก้]

ถึงแม้ว่าไม่มีทางรถไฟเชื่อมต่อ แต่ฮายามะก็เป็นเมืองที่อยู่อาศัยหลักของผู้ที่เดินทางไปทำงานที่โตเกียวและโยโกฮามะ และมีสถานที่พักตากอากาศยอดนิยมเนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่น ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ เห็ดชีตาเกะ และเนื้อวัวยี่ห้อหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ "ฮายามะ-กีว"

การขนส่ง[แก้]

ทางหลวงสายหลักในฮายามะคือ ทางหลวงญี่ปุ่นหมายเลข 134 เมืองนี้ไม่มีรถไฟให้บริการ แต่คนมักเดินทางโดยใช้ทางรถไฟสายโยโกซูกะ ลงสถานีซูชิ หรือทางรถไฟสายหลักเคคิว ลงสถานีชินซูชิ (สถานีซูชิฮายามะ) ซึ่งเป็นสถานีที่ใกล้ที่สุดในเมืองข้างเคียง

เมืองพี่น้อง[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hayama Imperial Villa". Imperial Family of Japan.
  2. "City of Holdfast Bay". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2010.
  3. "Holdfast Bay wants to save the whales". Guardian Messenger. November 18, 2009. สืบค้นเมื่อ November 18, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]