อีซูซุ ฟาสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีซูซุ ฟาสเตอร์
Isuzu Faster
อีซูซุ ฟาสเทอร์ รุ่นที่ 2 (สหรัฐ)
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตอีซูซุ
เรียกอีกชื่อเชฟโรเลต แอลยูวี
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2515–2545
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถกระบะ
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าอีซูซุ วาสป์
โฮลเด้น WB (ในออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี 2527)
รุ่นต่อไปอีซูซุ ดีแมคซ์
อีซูซุ ฮอมเบร (อเมริกาเหนือ)

อีซูซุ ฟาสเตอร์ (อังกฤษ: Isuzu Faster) เป็นรถกระบะที่ผลิตและทำการตลาดโดยอีซูซุ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2515–2545 มีทั้งหมด 3 รุ่น (โฉม) เป็นรถกระบะรุ่นก่อนหน้าอีซูซุ ดีแมคซ์ (อังกฤษ: Isuzu D-Max) ยกเว้นในญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือ

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2515–2523)[แก้]

รุ่นที่ (โฉมที่) 1
เชฟโรเลต แอลยูวี (สหรัฐฯ)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่ออีซูซุ ฟาสเทอร์ (ประเทศไทย)
อีซูซุ เคบี
เบดฟอร์ด เคบี
เชฟโรเลต แอลยูวี
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2515–2523
แหล่งผลิตญี่ปุ่น: คานางาวะ
ประเทศไทย: สมุทรปราการ
อินโดนีเซีย: ชวาตะวันตด
ฟิลิปปินส์: ดาสมารีญาส
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง2 ประตู ไม่มีกระบะ
รถกระบะ 2 ประตู
รถกระบะ 4 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันอีซูซุ ฟลอเรียน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • 1.6 L G161 OHV I4 (เบนซิน)
  • 1.6 L G161Z I4 (เบนซิน)
  • 1.8 L G180Z I4 (เบนซิน)
  • 2.0 L C190 I4 (ดีเซล)
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 4-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 3-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,600 mm (102.4 in) (ฐานล้อสั้น)
  • 2,995 mm (117.9 in) (ฐานล้อยาว)
ความยาว
  • 4,405 mm (173.4 in) (ฐานล้อสั้น)
ความกว้าง
  • 1,600 mm (63.0 in)
น้ำหนัก1,099–1,290 kg (2,423–2,844 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปเชฟโรเลต เอส-10
เชฟโรเลต แอลยูวี 2 ประตู รุ่นปี 2523 (ชิลี)
ตัวถังสองตอน (4 ประตู)

อีซูซุญี่ปุ่นได้เปิดตัวรถกระบะ KB20/25 Series Faster ในปี 2515 รุ่นฐานล้อปกติถูกกำหนดให้เป็น "20" ในขณะที่ "25" หมายถึงรุ่นที่ยาวกว่า มาจาก อีซูซุ ฟลอเรียน ถูกผลิตมาเพื่อมาแทนที่ อีซูซุ วาสป์ (Isuzu Wasp) ซึ่งเป็นรถรุ่นปิกอัพของ อีซูซุ เบลเล็ตต์ (Isuzu Bellett)

เพื่อให้ขนาดภายนอกและเครื่องยนต์เป็นไปตามข้อบังคับของญี่ปุ่น แพลตฟอร์มดังกล่าวจึงถูกจัดอยู่ในประเภท "กะทัดรัด"

ในตลาดส่งออกส่วนใหญ่ อีซูซุ เปลี่ยนชื่อจากฟาสเทอร์ เป็น "อีซูซุ เคบี"[1] อย่างไรก็ตาม ฟาสเทอร์ มักจะจำหน่ายผ่านช่องทางค้าปลีกของเจเนรัล มอเตอร์ (GM) และจำหน่ายภายในแบรนด์ เชฟโรเลต ในชื่อ "เชฟโรเลต แอลยูวี" LUV เป็นตัวย่อสำหรับรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดเล็ก (light utility vehicle)[2] เบดฟอร์ด บริษัทรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในยุโรปของเจเนรัล มอเตอร์ยังจำหน่ายภายในชื่อ "เบดฟอร์ด เคบี"[3]

อีซูซุ ฟาสเทอร์ ใช้รูปแบบฐานล้อของรถกระบะแบบดั้งเดิมที่มีโครงแบบขั้นบันไดและระบบกันสะเทือนหลังแบบแหนบเพลาสด ที่ด้านหน้าใช้ระบบกันสะเทือนแบบ A-arm ใช้การกำหนดค่าแบบอิสระ ระยะฐานล้อ 2,600 มม. (102.4 นิ้ว) ช่องสำหรับบรรทุกสัมภาระ 1,855 มม. (73.0 นิ้ว) ซึ่งต่างจากอีซูซุ วาสป์ รุ่นก่อนหน้าตรงที่ยังมีรุ่นฐานล้อยาว (KB25) ซึ่งมีระยะฐานล้อ 2,995 มม. (117.9 นิ้ว) ซึ่งมีช่องบรรทุกสัมภาระ 2,290 มม. (90.2 นิ้ว).[4]

ในปี พ.ศ. 2521 มีรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อวางจำหน่าย โดยมีรหัส KB40 จำหน่ายภายใต้ชื่อ "ฟาสเทอร์ โรดีโอ" (Faster Rodeo) ในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีรุ่น 4 ประตู (บนฐานล้อที่ยาวกว่า) การจำหน่ายสิ้นสุดลงในปี 2523 เมื่อมีการเปิดตัวรุ่นที่สอง เครื่องยนต์ที่ใช้ในตลาดส่วนใหญ่เป็นเบนซิน 1.6 ลิตร (1,584 ซีซี) แบบคาร์บูเรเตอร์ SOHC แถวเรียงสี่สูบ 94 แรงม้า (69 กิโลวัตต์) และเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ (KBD) 2.0 ลิตร (1,951 ซีซี) ที่ให้กำลัง 62 แรงม้า (46 กิโลวัตต์) ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 145 กม./ชม. (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และ 115 กม./ชม. (71 ไมล์ต่อชั่วโมง) สำหรับรุ่นเบนซินและดีเซลตามลำดับ ในประเทศญี่ปุ่น เครื่องยนต์โอเวอร์เฮดวาล์ว (G161) ได้รับการติดตั้งแต่เดิม ให้กำลัง 84 PS (62 กิโลวัตต์) ความเร็วสูงสุด 135 กม./ชม. (84 ไมล์/ชม.).[5]

ออสเตรเลีย

จีเอ็ม-โฮลเด้น นำเข้าอีซูซุ ฟาสเทอร์ เข้ามาในออสเตรเลียตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ภายใต้ชื่อ "เชฟโรเลต LUV" และเปลี่ยนชื่อเป็น "อีซูซุ เคบี" ในปี พ.ศ. 2520 ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยรุ่นที่สองในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 (ใช้ตรา "โฮลเด้น โรดีโอ")[6][7][8] โฮลเด้น เปิดตัว LUV ในออสเตรเลียด้วยเครื่องยนต์เบนซินสี่แถวเรียง 1.6 ลิตร ให้กำลังประมาณ 50 กิโลวัตต์ (67 แรงม้า) และแรงบิด 110 นิวตันเมตร (81 ปอนด์/ตารางฟุต)[8] ได้รับชื่อเสียงในเรื่องความทนทานในยุคแรกๆ รุ่นขับเคลื่อนล้อหลังดั้งเดิมเหล่านี้มีระบบเกียร์ธรรมดา 4 สปีด โครงสร้างฐานล้อสั้น และความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกประมาณ 1,000 กก. (2,200 ปอนด์)[8]

การปรับโฉมในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการขยายการผลิต LUV ปัจจุบันประกอบด้วยรุ่น KB20 ฐานล้อสั้น KB25 ฐานล้อยาวรุ่นใหม่ และรุ่น KB40 ฐานล้อสั้นขับเคลื่อนสี่ล้อ[8] รุ่น KB25 และ KB40 มีให้เลือกทั้งแบบไม่มีกระบะและแบบอเนกประสงค์ (รถกระบะ) มีให้เลือกทั้งเครื่องยนต์เบนซิน 1.6 ลิตร และดีเซลสี่สูบแถวเรียง 1.95 ลิตรที่เพิ่งวางจำหน่าย[8]

ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
1979 Isuzu KB (KB40), Australia
Bedford KB (KB25), Europe
อเมริกาเหนือ

เจนเนรัล มอเตอร์ รับผิดชอบในการจำหน่สยในอเมริกาเหนือ ด้วยเหตุนี้ อีซูซุจึงได้รับการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเชฟโรเลตในชื่อ "เชฟโรเลต LUV" มีเครื่องยนต์แบบเดียวคือ SOHC แถวเรียงสี่สูบ 1.8 ลิตร (1,817 ซีซี) ให้กำลัง 75 แรงม้า (56 กิโลวัตต์)

การจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515[2]

เพื่อหลีกเลี่ยงอัตราภาษีร้อยละ 25 สำหรับรถบรรทุกขนาดเล็ก (หรือที่เรียกว่าภาษีไก่) LUV จึงถูกนำเข้าในรูปแบบหัวกระสือ ซึ่งรวมถึงรถบรรทุกขนาดเล็กทั้งหมด ไม่รวมตู้บรรทุกสินค้าหรือกระบะท้าย และต้องเสียภาษีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น[9] ต่อจากนั้น กระบะจะถูกติดเข้ากับแชสซีและสามารถจำหน่ายเป็นรถกระบะขนาดเล็กได้

รูปลักษณ์ภายนอกของ LUV ได้รับการปรับปรุงเล็กน้อยสำหรับรุ่นปี 2517 แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งแรกเกิดขึ้นในปีรุ่นปี 2519 เมื่อมีการเพิ่มตัวเลือกเกียร์อัตโนมัติ 3-สปีดและดิสก์เบรกหน้า ให้กำลังสูงถึง 80 แรงม้า (60 กิโลวัตต์)

ในปี 2520 ยอดขายยังคงเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงภายนอกและเพิ่มตัวเลือกช่องบรรทุกสัมภาระขนาด 2,285 มม. (90 นิ้ว) พร้อมระยะฐานล้อที่ยาวขึ้น 2,995 มม. (118 นิ้ว) ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 71,145 คัน ในปี 2521 การเพิ่มระบบขับเคลื่อนสี่ล้อในปี 2522 ทำให้ LUV กลายได้รับความสนใจจากนิตยสาร Motor Trend และได้รับรางวัล "รถกระบะแห่งปี" [10]

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2523–2531)[แก้]

รุ่นที่ 2
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อ
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2523–2531
พ.ศ. 2523–2537 (อินโดนีเซียและละตินอเมริกา)
แหล่งผลิตญี่ปุ่น: ฟูจิซาวะ, คานางาวะ
โคลอมเบีย: โบโกตา
ชิลี: อาริกา
นิวซีแลนด์: เทรนแธม
ไทย: สำโรงใต้, สมุทรปราการ
ฟิลิปปินส์: ดาสมารีนาส
อินโดนีเซีย: เบอกาซี, ชวาตะวันตก (ถึง 2537)
ซูราบายา, ชวาตะวันออก (โฮลเดน ลินคา/ไรเดอร์)
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง2 ประตู ไม่มีกระบะ
รถกระบะ 2 ประตู
รถกระบะ 2 ประตู (Space Cab)
เอสยูวี 3/5 ประตู
รถกระบะ 4 ประตู (Crew Cab)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,650 mm (104.3 in) (ฐานล้อสั้น)
  • 2,995 mm (117.9 in) (ฐานล้อยาว)
ความยาว
  • 4,425 mm (174.2 in) (ฐานล้อสั้น)
  • 4,860 mm (191.3 in) (ฐานล้อยาว)
ความกว้าง
  • 1,600 mm (63.0 in)
น้ำหนัก1,099–1,450 kg (2,423–3,197 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าโฮลเดน WB (ออสเตรเลีย)
อีซูซี เคบี รุ่น 2 ประตู (ชิลี)
อีซูซี เคบี รุ่น 2 ประตู (ชิลี) 
โฮลเดน โรดีโอ (KBD26) 2 ประตู หัวกระสือ รุ่นปี 2524
โฮลเดน โรดีโอ (KBD26) 2 ประตู หัวกระสือ รุ่นปี 2524 
โฮลเดน โรดีโอ (KB) 2 ประตู รุ่นปี 2528 (นิวซีแลนด์)
โฮลเดน โรดีโอ (KB) 2 ประตู รุ่นปี 2528 (นิวซีแลนด์) 
โฮลเดน โรดีโอ (KB28) LS 2 ประตู รุ่นปี 2525–2528)
โฮลเดน โรดีโอ (KB28) LS 2 ประตู รุ่นปี 2525–2528) 
เชฟโรเลต แอลยูวี DLX 4 ประตู รุ่นปี 2531
เชฟโรเลต แอลยูวี DLX 4 ประตู รุ่นปี 2531 

รุ่นที่ 3 (TF; พ.ศ. 2531–2545)[แก้]

รุ่นที่ 3
อีซูซุ ทีเอฟ 4 ประตู (อิตาลี)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่ออีซูซุ โรดีโอ (ญี่ปุ่นและไทย; รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ)
อีซูซุ ดราก้อน อายส์ (ประเทศไทย; 2539–45)
อีซูซุ ดราก้อน เพาเวอร์ (ประเทศไทย; 2543–45)
อีซูซุ ฟเวโก (ฟิลิปปินส์)
อีซูซุ อินเวเดอร์  (มาเลเซีย)
อีซูซุ อิปปอน (อิสราเอล)
อีซูซุ เคบี (แอฟริกาใต้)
อีซูซุ ปิกอัพ (อเมริกาเหนือ)
อีซูซุ ทีเอฟ
อีซูซุ ทีเอฟอาร์ (ประเทศไทย)
อีซูซุ ทีที ฟอร์ติโก
เชฟโรเลต แอลยูวี
เชฟโรเลต ที-ซีรีส์ (อียิปต์)
โฮลเดน โรดีโอ
ฮอนด้า ทัวร์มาสเตอร์ (ประเทศไทย)
โอเปิ้ล คัมโป
ว็อกซอล บราวา (สหราชอาณาจักร)
เบดฟอร์ด บราวา (สหราชอาณาจักร)
โฟตอน เอสยูพี (จีน)
จินเป่ย์ จินเตี้ยน เอสวาย10 (จีน)
เจียงหลิง เป่าเตี้ยน (จีน)
เจียงหลิง ฮันเตอร์ (ฟิลิปปินส์)
วินเนอร์เวย์ ZH6500/ZH1021LU2 (จีน)
ซินไค เซ็นจูรี่ (จีน)
ออโตราด เซ็นจูรี่ (จีน)
จีเอ็มซี ดรากอน (เม็กซิโก; 2539–44)
จีเอ็มซี อินเวเดอร์ (เม็กซิโก; 2541–45)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2531–2545
พ.ศ. 2535–2559 (จีน)
แหล่งผลิตชิลี: จีเอ็ม ชิลี อาริก้า
จีน: ปักกิ่ง (โฟตอน), เฉิ่นหยาง (จินเป่ย์), ฉงชิ่ง (ชิ่งหลิง), หนานชาง (เจียงหลิง)
โคลอมเบีย: จีเอ็ม โคลโมโตเรส โบโกตา
ญี่ปุ่น: ฟูจิซาวัะ
ฟิลิปปินส์: ดาสมารินาส (2532–35) บีนัน (2535–48) (ไอพีซี)[13]
โปรตุเกส: เวนดาส โนวาส (ITUK)
ประเทศไทย: สมุทรปราการ
ตูนีเซีย: ไกรวน (IMM)
สหรัฐ: ลาฟาแยต รัฐอินเดียนา
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังรถกระบะ 2 ประตู
รถกระบะ 2 ประตู (สเปซแคป)
รถกระบะ 4 ประตู (แคปโฟร์)
รุ่นที่คล้ายกันอีซูซุ วิซาร์ด (รุ่นแรก)
อีซูซุ แพนเทอร์ 
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์2.0 L 4G63 I4 (จีน - เจียงหลิง)
2.2 L I4 (จีน - จินเป่ย์)
2.2 L 115 hp (85 kW) C22NE / 22LE I4
2.3 L 4ZD1 I4
2.4 L I4 (จีน - เจียงหลิว)
2.5 L 4ZE3 I4 (จีน - ชิ่งหลิงอีซูซึ)
2.6 L 4ZE1 I4
2.5 L 4JA1-T
2.1 L td I4 (จีน - จินเป่ย์)
2.2 L td I4 (จีน - จินเป่ย์)
2.4 L td I4 (จีน - จินเป่ย์)
2.8 L 4JB1-T td I4
3.0 L 4HK1-TC1 td I4 (จีน - ชิ่งหลิงอีซูซุ)
3.0 L
4JH1-T
3.1 L
4JG2-T td I4
3.1 L
LG6 V6
3.2 L
6VD1 V6 "2.5.L 2500 cc Isuzu C240 (ดีเซล) (จีน)
ระบบเกียร์เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด
เกียร์ธรรมดา 5 สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,680 mm (105.5 in) (ฐานล้อสั้น)
  • 3,025 mm (119.1 in) (ฐานล้อยาว)
ความยาว
  • 4,425 mm (174.2 in) (ฐานล้อสั้น)
  • 4,940 mm (194.5 in) (ฐานล้อยาว)
  • 6,150 mm (242.1 in) (โรดีโอ แคมเปอร์)[14]
ความกว้าง
  • 1,690 mm (66.5 in)
น้ำหนัก1,295–1,698 kg (2,855–3,743 lb)

อ้างอิง[แก้]

  1. Ruiz (1986), p. 131.
  2. 2.0 2.1 "Chevrolet Colorado History". Edmunds. สืบค้นเมื่อ 6 May 2011.
  3. "Bedford KB (KB25) brochure (Europe, left-hand drive)". Bedford Vehicles. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  4. The Isuzu KB pick-up. More than ever, Your kind of pick-up. For your kind of work, Tokyo: Isuzu Motors Limited, December 1977, p. 8, E781-KB/KBD
  5. 自動車ガイドブック [Japanese motor vehicles guide book] (ภาษาญี่ปุ่น). 20. Japan: Japan Automobile Manufacturers Association. 30 October 1973: 230. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. Bebbington (2009), p. 279. "KB Rodeo: December 1980 to August 1988"; "GM-H had been importing light and heavy Isuzu trucks from Japan since the early 1970s. First of these was the Isuzu KB utility, sold as the Chevrolet LUV (Light utility Vehicle). The reputation and recognition of this little utility grew over time until in 1977, the Chevrolet name was deleted and the Isuzu nameplate was used instead. Late in 1980, KB received a major facelift [redesign]. With new sheetmetal, the opportunity was taken to re-badge the car yet again – this time as Holden Rodeo."
  7. "Holden Rodeo – Used Car Research". GoAuto. John Mellor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Holden Rodeo (Isuzu Utility)". GoAuto. John Mellor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 8 May 2011.
  9. Ikenson, Daniel (18 June 2003). "Ending the 'Chicken War': The Case for Abolishing the 25 Percent Truck Tariff" (PDF). Cato Institute. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.
  10. Gandy, Jim (1982-05-03). "Life with the P'UP". Autoweek. Vol. 32 no. 18. Crain Press Inc. p. 24. ISSN 0192-9674.
  11. Alfan, Charis (2016-06-26). "Holden Lincah/Holden Raider". Mobilmotorlama (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01.
  12. Raharja, Santosa Budi (September 24, 2018). "Embrio Mobil Nasional yang gagal: "Lincah" mobnas bagus yang gagal karena kendala penjualan" [Failed Embryo of a National Car: "Lincah" was a good car which failed due to sales constraints] (ภาษาอินโดนีเซีย).
  13. "Isuzu. Isuzu in the Philippines". Car-cat.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 25 July 2010.
  14. "Isuzu Rodeo 4WD Diesel Camper". Expeditional Portal. 24 May 2022.