อำเภอบินตูลู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบินตูลู
อำเภอในรัฐซาราวัก
ธงของอำเภอบินตูลู
ธง
ที่ตั้งของอำเภอบินตูลู
ที่ตั้งหน่วยงานบริหารเมืองบินตูลู
รัฐบาลท้องถิ่นองค์กรรการพัฒนาแห่งบินตูลู (Bintulu Development Authority; BDA)
การปกครอง
 • ผู้อำนวยการองค์กรฮาจิ อิสมาลี บิน อาจิ มูฮัมหมัด ฮานิส
 • นายอำเภอตูอาห์ อานัค ซูนี
พื้นที่
 • ทั้งหมด7,220.40 ตร.กม. (2,787.81 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2008, ประมาณการ)
 • ทั้งหมด186,100 คน
 • ความหนาแน่น26 คน/ตร.กม. (67 คน/ตร.ไมล์)
ชาติพันธุ์
 • อีบัน38.3%
 • จีน17.9%
 • เมลาเนา11.4%
 • อื่นๆ32.4%

อำเภอบินตูลู (อังกฤษ: Bintulu District) เป็นหนึ่งใน 2 อำเภอของเขตบินตูลู, รัฐซาราวัก, ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่รวมประมาณ 7,220.40 ตารางกิโลเมตร มีเมืองขนาดใหญ่ที่สุด 2 เมือง คือ เมืองบินตูลู และเมืองเซอบาอูห์ มีหน่วยปกครองย่อยที่ขึ้นตรงต่ออำเภอบินตูลู 1 แห่ง คือ ตำบลเซอบาอูห์

ประชากร[แก้]

จากการประมาณการในปี ค.ศ. 2008 คาดว่าอำเภอบินตูลูมีประชากรราว 186,100 คน โดยส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองบินตูลู

ชาติพันธ์[แก้]

ประชากรในเขตอำเภอบินตูลูนั้นมีความหลากหลายทางชาติพันธ์ค่อนข้างมาก กล่าวคือ มีทั้งกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิม เช่น อีบัน เมลาเนา ออรังอูลู เคอดะยัน รวมไปถึงชาติพันธ์ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ ได้แก่ ชาวมลายู จีนฮั่น ส่วนการกระจายตัวของชาติพันธุ์ต่างๆในอำเภอพบว่า ชาวอีบันส่วนมากจะพบหนาแน่นในเขตชนบทของอำเภอบินตูลู เช่น ตำบลเซอบาอูห์ เป็นต้น ส่วนชาวเมลาเนานั้นจะตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวกันอยู่ในเขตเมืองบินตูลูและชุมชนโดยรอบ ได้แก่ เมืองบินตูลู เมืองเซอบาอูห์ หมู่บ้านปานดัน และหมู่บ้านลาบัง ในกรณีของชาวมาเลย์ซึ่งไม่ได้มีพื้นเพเดิมอยู่ในบินตูลูนั้น กลับกลายเป็นชาติพันธุ์หลักของบินตูลู มีการแต่งงานกันข้ามชนเผ่าระหว่างชาวมาเลย์กับชาวเมลาเนา เนื่องจากมีความเชื่อทางศาสนาเหมือนกัน ส่วนชาวจีนนั้นจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นเขตธุรกิจ ได้แก่ บินตูลู เซอบาดู และเมืองท่ากีดูรอง พบได้บางส่วนที่หมู่บ้านกัวลาเคอบูลู และหมู่บ้านเจอลาลอง และกลุ่มชาติพันธุ์สุดท้าย คือ ออรังอูลู เช่น เกินยะห์ กะยัน ตาตาอู เปอนัน และปูนัน เป็นต้น โดยชาวเปอนัน และปูนันจะพบกระจายทั่วไปไม่พบการก่อตั้งเป็นชุมชนเฉพาะเหมือนกับชาวอีบัน โดยส่วนใหญ่มักอยู่ตามเขตชนบท เช่น หมู่บ้านคาคุสและเจอลาลอง ส่วนชาวเคอดะยัน ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับเผ่าอื่น แต่พบการรวมตัวเป็นชุมชนในบริเวณนยาเลา (Nyalau areas) ห่างจากเมืองบินตูลูไป 100 กิโลเมตรใกล้กับเขตมีรี

ในปัจจุบัน มีการอพยพของแรงงานต่างถิ่นเข้าไปในอำเภอบินตูลูเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเติบโตของธุรกิจปิโตรเคมีในแถบนี้ ซึ่งคาดว่ากลุ่มแรงงานอพยพในอำเภอบินตูลูนั้นคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 จากประชากรรวมทั้งอำเภอ

ประชากรในอำเภอบินตูลูจำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์[1][2]
อำเภอ ประชากรรวม มาเลย์ อีบัน บีดายูห์ เมลาเนา ภูมิบุตรอื่นๆ จีน อื่นๆที่ไม่ใช่ภูมิบุตร ไม่มีสถานะพลเมือง
บินตูลู 186,100
(84.5%)
17,500
(9.4%)
71,300
(38.3%)
2,500
(1.4%)
21,200
(11.4%)
8,700
(4.7%)
33,300
(17.9%)
900
(0.4%)
30,700
(16.5%)

เศรษฐกิจ[แก้]

การคมนาคมขนส่ง[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

ทางหลวงสายแพน-บอร์เนียว เป็นถนนใหญ่สายหลักที่เชื่อมระหว่างอำเภอบินตูลูกับพื้นที่อื่นในรัฐซาราวัก ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่าอำเภอบินตูลูจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากซีมีลาเจา (Similajau) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่มีชื่อว่า Sarawak Corridor of Renewable Energy นอกจากนี้ภาครัฐยังมีโครงการที่จะสร้างท่อนำส่งก๊าซเชื่อมต่อไปจากรัฐซาบะฮ์ยังเมืองท่ากีดูรอง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบินตูลูอีกด้วย

การศึกษา[แก้]

สถานศึกษาในอำเภอบินตูลูนั้นส่วนใหญ่เป็นระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีระดับมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว คือ มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia; UPM) ซึ่งมาตั้งสาขาอยู่ในอำเภอบินตูลู ส่วนสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ในเขตบินตูลูนั้นจะตั้งอยู่ในเขตอำเภอบินตูลู ส่วนสถานศึกษาระดับประถมศึกษานั้นจะมีอยู่กระจายไปทั่วทั้งเขต ในเขตนี้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนเพียงแห่งเดียวคือ โรงเรียนไคดี (SM Kai Dee) ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับชาวซาราวักเชื้อสายจีน นอกจากนี้ยังสถาบันการศึกษาภายในหน่วยงานภาครัฐที่เปิดดำเนินการภายในอำเภอบินตูลูอยู่หลายแห่ง เช่น สถาบันเกียตมารา (GIATMARA), สถานบันวิจัยเคมีศึกษาแห่งมาเลเซีย (Institut Kimia Malaysia; IKM), สถานบันฝึกสอนเทคโนโลยีชั้นสูง (Advance Technology Training Centre; ADTEC) และมีวิทยาลัยเอกชน 1 แห่ง คือ วิทยาลัยเซอดาไม (Kolej Sedamai)

การสาธารณสุข[แก้]

ความปลอดภัย[แก้]

การบริการจากภาครัฐ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sarawak Journal (2005). "Sarawak Ethnic Statistic". สืบค้นเมื่อ 26 December, 2017. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Sarawak Journal (2005). "Sarawak Ethnic Statistic". สืบค้นเมื่อ 26 December, 2017. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)