อาร์เอชเอ็น (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Railcar Hitachi-Nippon Sharyo / RHN
รถดีเซลรางอาร์เอชเอ็น ที่สถานีรถไฟท่านาแล้ง
ประจำการพ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน
ผู้ผลิตฮิตาชิ และ นิปปอน ชาเรียว
เข้าประจำการพ.ศ. 2513 - 2514
จำนวนที่ผลิต56 คัน (รถกำลัง 28 คัน / รถพ่วง 28 คัน)
รูปแบบการจัดขบวน[พซข.]+[กซข.]
หมายเลขตัวรถพซข.21 - 48 ,
กซข.1021 - 1048
ความจุผู้โดยสาร80 ที่นั่ง/คัน (พซข.21 - 48)
74 ที่นั่ง/คัน (กซข.1021 - 1048)
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงซ่อมบำรุงโรงรถจักรนครราชสีมา
สายที่ให้บริการสายตะวันออกเฉียงเหนือ
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังเหล็กกล้า
ความยาว20.800 เมตร
ความกว้าง2.763 เมตร
ความสูง3.596 เมตร
ความสูงชานชาลา0.50 เมตร / 1.10 เมตร
จำนวนประตู4 (ข้างละ 2)
รูปแบบการจัดวางล้อ1A-A1
ความเร็วสูงสุด90 กม./ชม.
น้ำหนัก31.80 ตัน (รถพ่วง)
38.45 ตัน (รถกำลัง)
น้ำหนักกดเพลา7.95ตัน (รถพ่วง)
9.61 ตัน (รถกำลัง)
ระบบส่งกำลังไฮดรอลิก
เครื่องยนต์Cummins NHH 220 B1 (เดิม)
Cummins N855-R2
กำลังขับเคลื่อน220 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (เดิม)
235 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (ปัจจุบัน)
ระบบปรับอากาศพัดลม
ระบบเบรกลมอัด (2 สูบ)
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร

อาร์เอชเอ็น (RHN) หรือรถดีเซลรางฮิตาชิ เป็นรถดีเซลรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถท้องถิ่น สั่งซื้อจากบริษัทฮิตาชิ และนิปปอน ชาเรียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 - 2514 มีต้นแบบมาจาก อาร์เอช (RH) ที่สั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510

ประวัติ[แก้]

หลังจากการใช้งานอาร์เอช (RH) เป็นที่น่าพอใจจึงมีการสั่งซื้อ อาร์เอชเอ็น (RHN) มาเพิ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 - 2514 เดิมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้รถดีเซลรางทั้งสองรุ่นนี้ทำขบวนรถชานเมือง และ รถธรรมดา เนื่องจากมีความคล่องตัวในการใช้งานมากกว่าการใช้รถจักรลากตู้โดยสาร โดยประจำการที่โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ เป็นกำลังหลัก แต่ภายหลังจากการสั่งซื้อ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอ็นเคเอฟ (NKF) ช่วงปี พ.ศ.2526 - 2528 อาร์เอชเอ็น (RHN) ก็ได้ถูกลดบทบาทลง และมีการถยอยย้ายไปประจำการที่โรงรถจักรนครราชสีมา และ ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลอง โดยปัจจุบันอาร์เอชเอ็น (RHN)ได้ประจำการที่โรงรถจักรนครราชสีมา โดยทำขบวนรถท้องถิ่นสายตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก เช่น เส้นทาง นครราชสีมา-หนองคาย, นครราชสีมา-อุบลราชธานี, แก่งคอย-บัวใหญ่, แก่งคอย-ขอนแก่น และ มักจะมีการนำไปเสริมขบวนรถด่วนในช่วงเทศกาลโดยทำขบวนร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอ็นเคเอฟ (NKF)

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

รถดีเซลรางอาร์เอชเอ็น ลายสีเก่าในปี 2554
รถดีเซลรางอาร์เอชเอ็น ลายสีพิเศษสำหรับสายหนองคาย–ท่านาแล้ง
  • ประเภท : รถดีเซลราง
  • ชื่อรุ่น : RHN (Railcar Hitachi-Nippon Sharyo)
  • รุ่นเลขที่:
    • พซข.21 - 48 (รถพ่วงดีเซลราง) จำนวน 28 คัน
    • กซข.1021 - 1048 (รถกำลังดีเซลราง) จำนวน 28 คัน
  • เครื่องยนต์  : Cummins NHH 220 B1 (เดิม)
    Cummins N855-R2 (ปัจจุบัน)
  • กำลังขับเคลื่อน : 220 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (เดิม)
    235 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (ปัจจุบัน)
  • ระบบขับเคลื่อน : ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Converter)
  • ความเร็วสูงสุด : 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • น้ำหนักตัวรถ : 31.80 ตัน (รถพ่วง)
    38.45 ตัน (รถกำลัง)
    • มีห้องขับ : 37.090 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) 38.906 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน)
    • ไม่มีห้องขับ : 35.960 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) 37.730 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน)
  • น้ำหนักกดเพลา : 7.95ตัน (รถพ่วง)
    9.61 ตัน (รถกำลัง)
  • ประตูขึ้น-ลงรถ : ประตูอัตโนมัติ 4 ประตู ข้างละ 2 ประตู
  • จำนวนที่นั่ง : 80 ที่นั่ง/คัน (พซข.21 - 48)
    74 ที่นั่ง/คัน (กซข.1021 - 1048)
  • ผู้ผลิต : Hitachi, Ltd. / Nippon Sharyo, Ltd. , ประเทศญี่ปุ่น
  • ปีที่เข้าประจำการ: ตุลาคม 2513 - กุมภาพันธ์ 2514

การใช้งาน[แก้]

อาร์เอชเอ็น (RHN) เป็นรถดีเซลรางที่มีรูปแบบการใช้งานเป็นชุด โดยใน 1 ชุดจะมีรถ 2 คัน เป็นรถกำลังดีเซลรางแบบมี2เครื่องยนต์ และ รถพ่วงดีเซลรางแบบไม่มีเครื่องยนต์ ใช้วิธีฉุดลากและดันกลับ โดยมีห้องขับควบคุมทั้ง 2 คัน

รถดีเซลรางRHN 1 ชุด

รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ[แก้]

  • รุ่นเลขที่ กซข.1021 – 1048

มีเครื่องยนต์ในตัว 2 เครื่องยนต์ ความจุผู้โดยสาร 74 ที่นั่ง ไม่มีห้องน้ำในตัวรถ

รถพ่วงดีเซลรางมีห้องขับ[แก้]

  • รุ่นเลขที่ พซข.21 – 48

ไม่มีเครื่องยนต์ แต่มีถังน้ำในตัว ความจุผู้โดยสาร 80 ที่นั่ง มีห้องน้ำในตัวรถ

รถดีเซลรางRHN 1 ชุด

ด้านการใช้งาน[แก้]

โดยทั่วไปจะสามารถใช้งานร่วมกับ อาร์เอช (RH) เนื่องจากใช้ระบบเดียวกัน แต่ก็ได้มีการดัดแปลงระบบให้สามารถใช้ร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN), เอ็นเคเอฟ (NKF) และ เอทีอาร์ (ATR) ได้อีกด้วย

ติดเครื่องปรับอากาศ[แก้]

ช่วงปี พ.ศ.2555 - 2556 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทดลองนำ พซข.21 และ พซข.25 นำมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เปลี่ยนเบาะที่นั่งใหม่และได้ทดสอบหลายครั้ง แต่ติดปัญหาทางวิศวกรรม ปัจจุบันยังไม่มีการนำออกมาใช้งาน

สายแม่กลอง[แก้]

อาร์เอชเอ็น (RHN) เคยถูกนำไปใช้ในทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลองในช่วงสั้น ๆ ช่วงปี พ.ศ.2531 ถึงช่วงปี พ.ศ.2540 โดยใช้ร่วมกับ อาร์เอช (RH)

  • พซข.30, กซข.1030, กซข.1044 สายบ้านแหลม-แม่กลอง
  • พซข.27, กซข.1025 สายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
พซข.27 ที่เคยใช้ในสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย

บริจาคให้กัมพูชา[แก้]

22 เมษายน พ.ศ.2562 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบ อาร์เอชเอ็น (RHN) ให้กับกัมพูชาที่สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก โดยได้มอบจำนวน 2 ชุด รวม 4 คัน ได้แก่ พซข.40, พซข.45, กซข.1035 และ กซข.1038

ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]

ปัจจุบัน
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 415/418 นครราชสีมา - หนองคาย - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417/416 นครราชสีมา - อุดรธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421/422 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 425/426 ลำชี - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 427/428 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 429/430 นครราชสีมา - บัวใหญ่ - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 ชุมทางแก่งคอย - ขอนแก่น - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 437/438 ชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางแก่งคอย (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถรวมที่ 481/482 หนองคาย - ท่านาแล้ง - หนองคาย (ใช้ RHN บางครั้ง)
  • ขบวนรถรวม 483/484 หนองคาย - ท่านาแล้ง - หนองคาย (ใช้ RHN บางครั้ง)
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/72 กรุงเทพอภิวัฒน์ - อุบลราชธานี - กรุงเทพอภิวัฒน์ (เสริมเฉพาะช่วงเทศกาล)
  • ขบวนรถด่วนที่ 75/76 กรุงเทพอภิวัฒน์ - หนองคาย - กรุงเทพอภิวัฒน์ (เสริมเฉพาะช่วงเทศกาล)