อาคารวรรณสรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาคารวรรณสรณ์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง35 ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
สถานะแล้วเสร็จ
การใช้งานศูนย์การศึกษา
รายละเอียด
จำนวนชั้น18 ชั้น
(รวมชั้นใต้ดิน)
จำนวนลิฟต์4
เจ้าของบริษัท วรรณสรณ์ธุรกิจ จำกัด

อาคารวรรณสรณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 35 ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 เป็นศูนย์การศึกษาที่ประกอบด้วยโรงเรียนกวดวิชากว่า 20 สถาบัน ร้านอาหาร-ศูนย์อาหาร, ร้านหนังสือ, ศูนย์ทันตกรรมและความงาม เป็นอาคารสูง 18 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีลิฟต์ 4 ตัวเป็นแบบบริการด้านหน้า 3 ตัวและขนของด้านหลัง 1 ตัว มีพื้นที่ใช้สอย 38,614 ตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ได้กว่า 260 คัน รองรับนักเรียนสูงสุดได้เกือบ 20,000 คนต่อรอบ ซึ่งจะเห็นภาพการมาใช้บริการของนักเรียนและผู้ปกครองในลักษณะเช่นนี้ได้ในทุก ๆ ช่วง วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และช่วงปิดภาคการศึกษา

ประวัติของที่ดิน

อาคารวรรณสรณ์ ตั้งอยู่บนที่ดิน 2 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา โฉนด เลขที่ 1167 ผู้ที่เป็นเจ้าของดั้งเดิมคือ พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์ (ล้วน คชนันทน์) ข้าราชบริพารในรัชกาลที่ 6 ครอบครองตั้งแต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นมานิตนเรศร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 ซึ่งบนที่ดินแปลงนี้มีบ้านเก่าอยู่ 1 หลัง ต่อมาภายหลังทั้งบ้านและที่ดินแปลงนี้ได้ตกเป็นของครอบครัวนายรัชชปาลซิงห์ นารูลาและญาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 และบ้านหลังนี้ยังเคยให้เช่าเป็นที่ตั้งของสถานทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย อยู่ช่วงหนึ่ง ต่อมาได้เกิดปัญหา การแบ่งทรัพย์ที่ดินแปลงนี้จนเป็นความในชั้นศาลได้พิจารณานำทรัพย์ออกขายทอดตลาดผ่านกรมบังคับคดี ในวันที่ 28 ธันวาคม 2548 ซึ่ง นายอนุสรณ์ ศิวะกุล และนางอุไรวรรณ ศิวะกุล เป็นผู้ประมูลได้ เพื่อนำมาสร้าง อาคารวรรณสรณ์ (ในวันรับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สภาพของบ้านทรุดโทรมมากไม่มีหลังคา และพื้นอยู่แล้ว เนื่องจากผู้ครอบครองอยู่เดิมได้รื้อถอนออกไปจนหมด)

การจัดสรรพื้นที่

สถาบันกวดวิชาพิชญ์ศึกษา (ไบโอบีม) สาขาพญาไท อาคารวรรณสรณ์
บันไดเลื่อนในอาคารวรรณสรณ์ในช่วงวันธรรมดาก่อนสถาบันต่าง ๆ จะเปิดทำการ

อาคารมีทั้งหมด 15 ชั้น ประกอบด้วย ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562

  • ชั้น B1-B2 ลานจอดรถ
  • ชั้น 1: ธนาคารกรุงไทย ร้านสะดวกซื้ออะตอมมินิมาร์ท ร้านอาหารเจฟเฟอร์ ร้านอาหารบาราซะกะราเม็ง ร้านอาหารเชสเตอร์ ร้านของหวานฮอกไกโด มิลค์
  • ชั้น 2: ศูนย์อาหารวรรณสรณ์ และ ร้านเครื่องดื่ม
  • ชั้น 3: ร้านเครื่องเขียนสมใจ คลินิกทันตกรรม โรงเรียนกวดวิชาบีทีเอ็ส (BTS) และ ร้านกาแฟมอคค่า สเตชัน
  • ชั้น 4-15 ศูนย์รวมสถาบันกวดวิชา และร้านค้าอื่น ๆ ประกอบด้วย
    • ชั้น 4: สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ (Ondemand) เอเลเวล (A-Level) และ สถาบันกวดวิชาบ้านวิชากร
    • ชั้น 5: สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์ซุปเค (Sup K Centre), สถาบันกวดวิชาภาษาญี่ปุ่นวี (We Japanese), สถาบันกวดวิชาภาษาจีน หง เหล่าซือ (Hong Laoshi)
    • ชั้น 6: ศูนย์ออกกำลังกาย ฟีตดี ฟิตเนส (Fit-D Fitness)
    • ชั้น 7: สถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษจิ๊กซอว์ อิงลิช (Jigsaw English), สถาบันสอนภาษาอังกฤษสปีค เอ้าท์ (Speak Out), สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์ โอ-พลัส (O-Plus)
    • ชั้น 8: สถาบันกวดวิชาไบโอบีม (Bio Beam), ร้านพรินท์โกโกพรินท์ (Go Go Print)
    • ชั้น 9: สถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษเอ็นคอนเซ็ปต์ (Enconcept), สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติอินเตอร์พาสส์ (Interpass), สถาบันกวดวิชาโซไซไทย (Soci-Thai), บริษัทแฮปปี้เอ็มพีเอ็ม จำกัด (ห้องประชุมธัชพล กุลบุตร)
    • ชั้น 10: ร้านอาหาร, สถาบันกวดวิชาสังคมศึกษาครูป็อป, สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติ พรีเมียร์ เพรพ (Premiere Prep), สถาบันสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ทริพเพิ่ล เอ (AAA Thai), ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อในประเทศนิวซีแลนด์ เอ็นแซด สตั้ดดี้ (NZ Study), สถาบันกวดวิชาฟีโนมีโนน
    • ชั้น 11: สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ อิกไนท์ บาย ออนดีมานด์ (Ignite by Ondemand) และ เลิร์นนิ่ง ฮับ (Learning Hub), สถาบันอะลีบาบา อีคอมเมิร์ช, สถาบันกวดวิชายูเรก้า (EUREKA)
    • ชั้น 12: สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์อาจารย์อรรณพ, สถาบันสอนการแต่งหน้าเอ็สเอ็มเอ เมคอัป อะคาเดมี่ (SMA Make-up Academy), สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ ดิ อิงลิชสตาร์ อะคาเดมี่ (The Englistar Academy) และ แบล็คเฟิร์ด สกูล ออฟ อิงลิช (Blackford School of English)
    • ชั้น 12A: สถาบันกวดวิชาแอพพลายด์ ฟิสิกส์ (Applied Physics), สถาบันกวดวิชาไบโอบีม (Bio Beam)
    • ชั้น 14-15: สถาบันกวดวิชาวรรณสรณ์ (เคมี อาจารย์อุ๊)
  • ชั้น 16 สำนักงานบริษัท

ต่อไปนี้คือสถาบันกวดวิชาที่เคยเปิดทำการภายในอาคารวรรณสรณ์

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับที่ดิน

ที่ดินของอาคารวรรณสรณ์นั้นไม่ใช่วังลักษมีวิลาศของพระนางเธอลักษมีลาวัณ และไม่ใช่สถานที่ที่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ดังที่มีหลายคนเข้าใจผิด[1] จากหลักฐานโฉนดที่ดินระบุชัดเจนว่า จมื่นมานิตย์นเรศร์ (ล้วน คชนันท์น) หรือ พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์ เป็นผู้ครอบครองที่ดินมาตั้งแต่แรกเมื่อปี พ.ศ. 2460 แล้วถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้ครอบครองอื่นๆ หลายครั้ง ในความเป็นจริงนั้น วังลักษมีวิลาศตั้งอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามกับอาคารวรรณสรณ์ ปัจจุบันเป็นอาคารศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์ (BSC) ที่หัวมุมถนนสี่แยกพญาไทเช่นเดียวกัน ดังมีประวัติอย่างชัดเจนอยู่ในหนังสือ “ประภาคารแห่งอนาคต” ของศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์ ซึ่งมีรูปภาพและข้อความปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ [2]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

  • อาคารวรรณสรณ์มีชื่อเล่นที่นักเรียนนิยมเรียกกันว่า อุ๊แลนด์ หรือ อุ๊แลนด์ ดินแดนแห่งความรู้ อันมาจากชื่อของอาจารย์อุ๊ (อุไรวรรณ ศิวะกุล) ผู้ก่อตั้งอาคาร[3]
  • อาคารวรรณสรณ์มักถูกเลือกเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์และละครโดยมักถูกใช้เป็นฉากหลังของสถาบันกวดวิชา เช่น สถาบันกวดวิชาในภาพยนตร์เรื่องไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ก็ถ่ายทำในอาคารเป็นหลัก

อ้างอิง

  1. Land History, Wannasorn Tower
  2. ความเป็นมาของอาคารวรรณสรณ์
  3. http://somsrisudsuay.blogspot.com/2008/03/13.html?m=1