อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์
อัครเดช ใน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดราชบุรี เขต 4
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร
เขตเลือกตั้งอำเภอบ้านโป่ง
คะแนนเสียง54,815
โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ผู้นำพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กันยายน พ.ศ. 2519 (47 ปี)
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
ประชาธิปัตย์ (2553–2566)

อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น มุ่ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติคนปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

อัครเดช เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่บ้านห้วยกระบอก ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายวุฒิพงษ์ วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ และนางสมจิตต์ วงษ์พิทักษ์โรจน์ อัครเดชเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ก่อนจะย้ายมาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาจบปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นยังเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-แคนาดา และปริญญาโท MBA (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร[1]

การทำงาน[แก้]

ในช่วงแรก อัครเดชเทำงานในการดูแลธุรกิจครอบครัวบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เขาได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร[2] จากนั้นได้ไปช่วยงาน สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังช่วยนายสรวุฒิหาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2554 ด้วย ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร และทำงานกับพรรคประชาธิปัตย์เรื่อยมา[1]

ในปี พ.ศ. 2556 เขาได้รับการทาบทามจาก เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้มาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอำเภอบ้านโป่ง ถึงแม้การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2557 จะเป็นโมฆะ แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้ลงสมัครในจังหวัดราชบุรี เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง[1]

ในปี พ.ศ. 2566 อัครเดชได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 2 อีกทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกพรรคในวันที่ 30 มิถุนายน ปีเดียวกัน[3] และยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 อีกด้วย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 https://www.opt-news.com/news/28302 อปท.นิวส์
  2. Wilasinee (2023-07-19). "ประวัติ อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส. รวมไทยสร้างชาติ ผู้ค้าน พิธา ชิงเก้าอี้นายกฯ". Thaiger ข่าวไทย.
  3. https://www.pptvhd36.com (2023-06-30). "เปิดตัวทีมโฆษก "รวมไทยสร้างชาติ" เน้นสื่อสารถึงประชาชน รองรับการขยายกลุ่มผู้สนับสนุนพรรค". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  4. "เปิดรายชื่อ 'ประธานกรรมาธิการ' ทั้ง 35 คณะ อย่างเป็นทางการ". THE STANDARD. 2023-10-05.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕