หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445
วังตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์
สิ้นชีพิตักษัย31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (81 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระราชทานเพลิง22 ธันวาคม พ.ศ. 2526
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ชายาหม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ กิติยากร
บุตร
  • หม่อมราชวงศ์ธีรา โคเมอร์
  • ท่านผู้หญิงศรี ลิมปิชาติ
  • หม่อมราชวงศ์เศาณ โสณกุล
ราชสกุลโสณกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระมารดาหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
อาชีพทหาร

พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) พระโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ท่านรับราชการทหารจนได้รับตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้ชำนาญการทหารบก รวมถึงเคยเป็นราชองครักษ์เวร[1]

พระประวัติ[แก้]

พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล เป็นพระโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และท้าววรจันทร์ (วาด)) และหม่อมเอม (กุณฑลจินดา) ประสูติปีขาล วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ วังตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ มีเจ้าพี่เจ้าน้อง รวม 12 องค์คือ

  1. หม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี
  2. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
  3. พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล
  4. หม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์
  5. หม่อมเจ้าวารเฉลิมฉัตร
  6. หม่อมเจ้านักขัตดารา
  7. หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก
  8. หม่อมเจ้าหญิงสิบพันพารเสนอ
  9. หม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค
  10. หม่อมเจ้าทวีธาภิเศก
  11. พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก
  12. หม่อมเจ้าหญิงอภิสิตสมาคม

ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงกัลยาณสมบัติ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ และหม่อมเจ้าหญิงอัปษรสมาน (เทวกุล) มีบุตร 4 คน และหลาน 6 คนคือ

  1. หม่อมราชวงศ์ธีรา สมรสกับปีเตอร์ โคเมอร์ มีบุตร 2 คนคือ
    1. พีรวุฒิ โคเมอร์
    2. เมธิต โคเมอร์
  2. หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เกิด)
  3. หม่อมราชวงศ์ศรี สมรสกับประพจน์ ลิมปิชาติ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นท่านผู้หญิง ในปี พ.ศ. 2546 มีบุตร 4 คนคือ
    1. พจกร ลิมปิชาติ
    2. ณพสิริ ลิมปิชาติ
    3. กิติสรา ลิมปิชาติ
    4. จิราภัสร ลิมปิชาติ

การศึกษา[แก้]

  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2462 – สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุด โรงเรียนนายร้อยทหารบก
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2466 – สำเร็จการศึกษาโรงเรียนนายร้อย Royal Military Academy ที่ Woolwith ประเทศอังกฤษ
  • 3 กันยายน พ.ศ. 2468 – สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายทหารช่าง School of Military

Engineering ที่ Chatham ประเทศอังกฤษ

  • 18 สิงหาคม พ.ศ. 2470 – สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนวิทยุของบริษัทมาร์โคนี (Marconi College) ที่ Chelmsford ประเทศอังกฤษ
  • 23 กันยายน พ.ศ. 2471 – สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายทหารสื่อสารทหารบก (Army School of Signals ที่ Catterick Camp ประเทศอังกฤษ

การทำงาน[แก้]

ตำแหน่ง[แก้]

  • 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – เข้าเป็นนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยทหารบก
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – เป็นนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารบก ช่างที่ 1 รักษาพระองค์
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2470 – เป็นนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2473 – ประจำกองบังคับการ ช.1 รักษาพระองค์
  • เมษายน พ.ศ. 2474 – ผู้บังคับการ ช.1 รอ.พัน.ส.1 ร้อย 2.
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2475 – ประจำกรมจเรทหารบก
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – ประจำกองบังคับการทหารช่างและสื่อสาร
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 – ประจำแผนกที่ 5 กรมจเรทหารบก
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – เป็นแม่กองรักษาการณ์ แผนกทหารสื่อสาร
  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2488 – ไปรักษาการผู้ช่วยแม่กอง รง.ส.ฝทบ. อีกตำแหน่งหนึ่ง
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2489 – เป็นหัวหน้าแผนกเทคนิค กรมจเร ส.
  • 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2490 – เป็นหัวหน้าแผนกเทคนิค กรมจเรทหารสื่อสาร
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2490 – เป็นราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์ และราชองครักษ์ประจำพระองค์[2]
  • 28 มิถุนายน พ.ศ. 2494 – เป็นนายทหารฝ่ายเทคนิค กรมจเรทหารสื่อสาร
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2494 – เป็นรองจเรทหารสื่อสาร
  • ตุลาคม พ.ศ. 2495 – รองเจ้ากรมทหารสื่อสาร
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2498 – ผู้ชำนาญการกองทัพบก[3]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 – ครบเกษียณอายุ

ตำแหน่งพิเศษ[แก้]

  • 28 มิถุนายน พ.ศ. 2500 จนเกษียณอายุ – ราชองครักษ์เวร[4]

ราชการทัพ[แก้]

สิ้นชีพิตักษัย[แก้]

พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงนํ้าดี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 สิริพระชนมายุ 81 ปี 1 เดือนพอดี

ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปพระราชทานเพลิงพระศพ ใน เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[8]

พระเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยศ[แก้]

พระยศทางทหาร[แก้]

  • 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2453: นักเรียนนายร้อยทหารบก
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2468: นายร้อยตรี[18]
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2470: นายร้อยโท[19]
  • 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473: นายร้อยเอก[20]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: นายพันตรี[21]
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2486: พันโท[22]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491: พันเอก[23]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2498: พลจัตวา[24]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2501: พลตรี[25]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนารายงานคณะราชทูตไทยไปสหรัฐอเมริกา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส" (PDF). finearts.go.th. กรมศิลปากร. 22 ธันวาคม 2526. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๒ ง หน้า ๓๔๗๖, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๕๗๘, ๒๕ ตุลาคม ๒๔๙๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๒๐๖๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๗๖ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลิกใช้กฎอัยการศึก, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๔ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๐ มกราคม ๒๕๐๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศใช้กฎอัยการศึก, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๘๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก พระบรมมหาราชวัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษหน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๕, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๗๐๕, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๕๔๓๓, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๕, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๖๖, ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๘๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๒, ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2020-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๓๑๕๙, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๕ ง หน้า ๑๙๒๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๔๙๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๒ มกราคม ๒๔๙๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๒๐, ๘ เมษายน ๒๕๐๑