สามัคคีสมาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามัคคีสมาคม
ตราสัญลักษณ์ของสามัคคีสมาคม
ก่อตั้งพ.ศ. 2444
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเภทสมาคมนักศึกษา
สมาชิก
ประมาณ 10,000 คน
เว็บไซต์www.samaggisamagom.com

สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษ: Samaggi Samagom, The Thai Students’ Association in UK) ได้ถือกำเนิดครึ่งในปี พ.ศ. 2444 โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในสมัยนั้น) เพื่อเป็นสมาคมที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แก่บรรดาประชาชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินชีวิตในประเทศที่ห่างจากบ้านเกิดและสามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเต็มที่

สามัคคีสมาคมก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2444 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ไม่นาน ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระองค์แรกของสมาคม นับเป็นสมาคมแห่งแรกของคนไทยในสหราชอาณาจักร และแห่งเดียวเท่านั้นที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่แรก ทั้งยังเป็นสมาคมนักเรียนไทยและสมาคมคนไทยในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดอีกด้วย

นับแต่นั้นเป็นต้นมา สามัคคีสมาคมก็ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมและเป็นสื่อกลางในการสรรค์สร้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในระหว่างนักเรียนไทย และระหว่างคนไทยในสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นเวทีแห่งการเผยแพร่ขนมธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และเชิดชูเกียรติแห่งประเทศไทยสู่ชาวอังกฤษอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันสามัคคีสมาคมมีสมาชิกเป็นสมาคมนักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วสหราชอาณาจักรกว่า 65 มหาวิทยาลัย

สามัคคีสมาคมเป็นแหล่งรวมบุคคลชั้นนำในหลายๆสาขาที่เป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ กรรมการและสมาชิกสามัคคีสมาคมภายหลังได้เป็นบุคคลสำคัญมากมาย เช่น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายกรณ์ จาติกวณิช, นายนพดล ปัทมะ, ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, นายอานันท์ ปันยารชุน, ศ.เติมศักดิ์ กฤษณามระ, ศ.ดร.กำแหง พลางกูร, ศ.ดร.พัทยา สายหู, นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล, เป็นต้น.

ธรรมนูญสามัคคีสมาคม สามัคคีสมาคมบริหารงานภายใต้ธรรมนูญสามัคคีสมาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดที่ได้รับการยกร่างแก้ไขฉบับเดิมที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

ผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม[แก้]

สามัคคีเกมส์[แก้]

สามัคคีเกมส์ (อังกฤษ: Samaggi Games)เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาชาวไทยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วทั้งสหราชอาณาจักรได้มีโอกาสได้แข่งขันกีฬาร่วมกัน เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี เสริมสร้างน้ำใจนักกีฬา รวมถึงทำความรู้จักเพื่อนใหม่จากต่างมหาวิทยาลัย กีฬาที่จัดแข่งเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เทนนิส สควอช แชร์บอล แบดมินตัน เซปักตะกร้อ ปิงปอง หมากรุกไทย เป็นต้น โดยในปัจจุบันกีฬาสามัคคีเกมส์เป็นกีฬาประจำปีของนักเรียนไทยที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรซึ่งมีนักเรียนไทยเข้าร่วมปีละกว่า 3,000 คน ทั้งยังมีการจัดกีฬาประจำภาคในแต่ละภาคอีกด้วย

สัมมนาวิชาการประจำปี[แก้]

กิจกรรมสัมมนาวิชาการประจำปี (อังกฤษ: Samaggi Conference) จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2551 และจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำเสนอผลงานทางด้านวิชาการ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคมศึกษา ฯลฯ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้อภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อหรือประเด็นต่างๆ[1] โดยในปัจจุบันได้มีการเปิดให้นักเรียนไทยในทุกระดับได้แสดงผลงานทางวิชาการ และมีการเชิญบุคคลสำคัญมาบรรยายเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนไทยเป็นประจำทุกปี เช่น ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน, ศ.ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

กิจกรรมบันเทิง สามัคคีคอนเสิร์ต ในแต่ละปีจะมีการเชิญนักร้องที่มีชื่อเสียงจากประเทศไทยมาเปิดคอนเสิร์ต และในบางปีได้มีการจัดการประกวดวงดนตรีของนักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่างๆด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้นับเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จมากอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีนักเรียนไทยและประชาชนชาวไทยทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

สามัคคีสาร[แก้]

สามัคคีสาร (อังกฤษ: Samaggi Sara) เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อสรุปผลงานของสามัคคีสมาคมในรอบปี สามัคคีสารมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 ในอดีตสามัคคีสารเป็นหนังสือที่รวบรวมบทความต่างๆ ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ จากนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษ และยังได้ร่วมบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศไทยในสายตาของคนไทยผ่านมุมมองที่เปิดกว้าง เช่น ช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สงครามโลกครั้งที่สอง เหตุการณ์เดือนตุลา ฯลฯ บุคคลที่ได้ส่งผลงานลงวารสารหลายท่านได้เป็นนักคิด นักเขียน นักเรียกร้องทางการเมือง ที่สำคัญหลายคน อาทิเช่น ปรีดี พนมยงค์, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, เสน่ห์ จามาริก, ไชยยันต์ ชัยพร, ส. ศิวรักษ์, ธีรยุทธ บุญมี เป็นต้น[2]

สามัคคีสมาคมในภูมิภาคต่าง ๆ[แก้]

เนื่องด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จำนวนนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น (คาดว่าน่าจะประมาณ 9,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลประมาณ 1,500 คน) ซึ่งปัจจุบันสามัคคีสมาคมมีสมาชิกเป็นสมาคมนักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วสหราชอาณาจักรกว่า 65 มหาวิทยาลัย สามัคคีสมาคมได้ปรับรูปแบบของสมาคมเพื่อรองรับและเข้าถึงสมาชิกให้มากขึ้นโดยแบ่งการทำงานย่อยลงเป็น 6 ภูมิภาคดังนี้

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]