ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

พิกัด: 13°47′02″N 100°27′30″E / 13.783882°N 100.458235°E / 13.783882; 100.458235
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(องค์การมหาชน)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2532
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (แปรสภาพเป็นองค์การมหาชน)
สำนักงานใหญ่20 ถนนบรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี210.278 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
เอกสารหลัก
เว็บไซต์SAC.or.th

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation)) เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมและความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมบันทึกความรู้ในรูปแบบต่างๆ สนับสนุนการสร้างความรู้ใหม่ และเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าให้แก่ประชาชนทั่วไป

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในปี พ.ศ. 2532 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๓ รอบ ในปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้เสนอให้ปรับโครงสร้างศูนย์ฯ ด้วยการจัดรระบบรูปแบบที่ไม่ต้องขึ้นกับระบบราชการ ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542

ปี พ.ศ. 2541 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ดำเนินการกิจกรรมทางวิชาการอย่างสมบูรณ์ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของศูนย์ฯ ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542

หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาของการจัดรูปแบบนอกระบบราชการในปี พ.ศ. 2543 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ศูนย์ฯ เป็นองค์การมหาชน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม จึงโอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ดังเช่นปัจจุบัน

หน่วยงานภายใน[แก้]

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร แบ่งส่วนงานออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • สำนักวิชาการและสารสนเทศ
  • สำนักอำนวยการ
  • งานตรวจสอบภายใน

โครงการสำคัญ[แก้]

  • โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย
  • โครงการฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถินในประเทศไทย
  • โครงการฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย

ที่อยู่[แก้]

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170, โทรศัพท์ 0 2880 9429, แฟกซ์ 0 2880 9332

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°47′02″N 100°27′30″E / 13.783882°N 100.458235°E / 13.783882; 100.458235