วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีน – ปัจจุบัน, 50–0Ma
พญาแร้ง (Sarcogyps calvus) จัดอยู่ในวงศ์ Aegypiinae หรือ แร้งโลกเก่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: เหยี่ยว
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
Vieillot, 1816
วงศ์ย่อย

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ

นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์[1][2][3]แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง

สกุล[แก้]

  • วงศ์ย่อย Elaninae - (8 ชนิด)
  • วงศ์ย่อย Perninae - (14 ชนิด)
  • วงศ์ย่อย Aegypiinae
  • วงศ์ย่อย Gypaetinae[4]
  • วงศ์ย่อย Buteoninae - (100 ชนิด, อาจเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีที่มาจากสองสายบรรพบุรุษหรือมากกว่า หรือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแต่ไม่ได้รวมทายาททั้งหมดไว้ในกลุ่ม)
    • สกุล Geranoaetus
    • สกุล Buteo (อาจเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแต่ไม่ได้รวมทายาททั้งหมดไว้ในกลุ่ม อาจรวม Leucopternis และ Parabuteo)
    • สกุล Parabuteo
    • สกุล Buteogallus (อาจเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแต่ไม่ได้รวมทายาททั้งหมดไว้ในกลุ่ม, อาจรวม Leucopternis)
    • สกุล Busarellus
    • สกุล Leucopternis (อาจเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีที่มาจากสองสายบรรพบุรุษหรือมากกว่า)
    • สกุล Kaupifalco
    • สกุล Butastur
    • สกุล Harpyhaliaetus
    • สกุล Geranospiza
  • วงศ์ย่อย Aquilinae[4]
    • สกุล Spizaetus
    • สกุล Nisaetus
    • สกุล Lophaetus (อาจเป็นชื่อพ้องของ Ictinaetus)
    • สกุล Stephanoaetus
    • สกุล Polemaetus
    • สกุล "Hieraaetus"
    • สกุล Aquila (กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแต่ไม่ได้รวมทายาททั้งหมดไว้ในกลุ่ม)
    • สกุล Ictinaetus
  • วงศ์ย่อย Circinae - (16 ชนิด)
  • วงศ์ย่อย Polyboroidinae
  • วงศ์ย่อย Milvinae - (14 ชนิด)
  • วงศ์ย่อย Accipitrinae - (55 ชนิด)
  • วงศ์ย่อย Circaetinae - (ประมาณ 12 ชนิด)
  • วงศ์ย่อย Haliaeetinae[4]
  • วงศ์ย่อย Harpiinae[4]
  • วงศ์ย่อย Melieraxinae[4]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]