ราชสกุลจักรพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชสกุลจักรพงษ์
ตระกูลบรรพบุรุษราชวงศ์จักรี
ประเทศประเทศไทย
การสะกดในอดีตจักรพงศ์
นิรุกติศาสตร์จัก-กฺระ-พง
ภาษาสันสกฤต: चक्र (จกฺก)+वंश (วํส)
"เชื้อสายแห่งจักร"
ถิ่นกำเนิดกรุงเทพมหานคร
ก่อตั้ง5 มิถุนายน พ.ศ. 2472[1]
ต้นตระกูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ผู้นำคนปัจจุบันหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์
สถานที่พำนักวังจักรพงษ์
สถานที่พำนักในอดีตวังปารุสกวัน
ตระกูลที่เกี่ยวข้องราชสกุลรพีพัฒน์
ราชสกุลสวัสดิวัตน์
ตระกูลเดสนิตสกี
ตระกูลฮันเตอร์
ตระกูลสาขาตระกูล ณ พิศณุโลก

ราชสกุลจักรพงษ์ ในราชกิจจานุเบกษาสะกดว่า จักรพงศ์[1] เป็นราชสกุลที่สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีตราประจำราชสกุล เป็นจักรและตะบองไขว้กัน มีที่มาจากพระนามจักรพงษ์ ภาษาอังกฤษเขียนออกมาฝรั่งอ่านว่า จักรกระบอง[2]

ประวัติ[แก้]

ตราบนทางเข้าวังจักรพงษ์

ต้นราชสกุลจักรพงษ์คือสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือทูลกระหม่อมเล็ก พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชอนุชาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระเชษฐาธิราชในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถได้แหวกม่านประเพณีด้วยการเสกสมรสกับคัทริน เดสนิตสกี สุภาพสตรีจากจักรวรรดิรัสเซีย[ก] และทำให้พระราชชนกและพระราชชนนีทรงผิดหวังและกริ้วหนัก เพราะในขณะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถเป็นรัชทายาทลำดับที่สองแห่งการสืบราชสันตติวงศ์[3] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถว่า "ถ้ามีลูกออกมาแล้ว จะให้มันเป็นอะไร" สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถกราบบังคมทูลตอบว่า "ไม่ต้องเป็นอะไรเลย ให้มันเป็นมิสเตอร์ก็ได้"[4] หม่อมคัทรินประสูติพระโอรส "ลูกครึ่ง" และมีฐานันดรเป็นหม่อมเจ้าโดยอัตโนมัติคือหม่อมเจ้าพงษ์จักร[5] ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงประทานพระนาม[6]

ล่วงมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับหม่อมคัทรินเป็นสะใภ้หลวง และพระราชทานนามสกุลให้ว่า ณ พิศณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2456 สำหรับหม่อมคัทรินเป็นกรณีพิเศษ[7] ต่อมาหม่อมคัทรินหย่าร้างกับพระสวามีในปี พ.ศ. 2462[3] ออกจากสยามไปอยู่เซี่ยงไฮ้[8] ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถอยู่กินกับหม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ รพีพัฒน์ระยะหนึ่งโดยมิได้เสกสมรส[9] เพราะมิได้รับพระบรมราชานุญาต[10] ก่อนทิวงคตในปีถัดมา[11] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระกรุณาสงสารพระภาติยะซึ่งกำพร้าชนกชนนี จึงสถาปนาหม่อมเจ้าพงษ์จักรขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463[12] แต่ในปี พ.ศ. 2466 ทรงร่างกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2467 ให้ยกเว้นผู้มีพระชายาเป็นนางต่างด้าวจากการสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จึงถูกตัดออกจากการสืบราชสมบัติ เพราะมีหม่อมมารดาเป็นนางต่างด้าว[6]

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานราชสกุลแก่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระภาติยะว่า จักรพงศ์ ณ อยุธยา (Chakrabongs na Ayudhya) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472[1] โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งกับพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ว่า "อย่าแต่งงานกับสตรีต่างชาติ"[8] แต่ในปี พ.ศ. 2481 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ขอพระบรมราชานุญาตเสกสมรสกับเอลิสะเบธ ฮันเตอร์ (Elisabeth Hunter)[13] สตรีชาวสหราชอาณาจักรเชื้อสายอังกฤษและสกอต และมีธิดาคือหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ ทำให้ราชสกุลนี้มีเชื้อสายยุโรปมากขึ้น[8][14]

หม่อมราชวงศ์นริศราสมรสครั้งแรกกับแอลเลน เลวี (Allen Levy) ชายสหราชอาณาจักรเชื้อสายยิว จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลสามี[15] มีบุตรคือจุลจักร จักรพงษ์ แต่หลังการหย่าร้าง หม่อมราชวงศ์นริศราจึงกลับมาใช้ราชสกุลจักรพงษ์ตามเดิม แล้วสมรสอีกครั้งกับกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน ทอมสัน ลูกครึ่งไทย-อังกฤษ[16] ผู้มีมารดามาจากราชสกุลสวัสดิวัตน[17] มีบุตรชายอีกคนหนึ่งคือภูวสวัสดิ์[8] บุตรทั้งสองใช้ราชสกุลจักรพงษ์ตามมารดา มิได้สืบตามบิดาอย่างปรกติ จึงไม่ลงท้ายว่า ณ อยุธยา ต่อมาจุลจักรสมรสกับทัศนาวลัย องอาจอิทธิชัย นักแสดงหญิงชาวไทยมุสลิมเมื่อ พ.ศ. 2552 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาตามภรรยา ด้วยเหตุนี้ราชสกุลจักรพงษ์ในสายของจุลจักรจึงนับถือศาสนาอิสลาม[18][19]

สมาชิกราชสกุล[แก้]

สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถและหม่อมคัทริน
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์และหม่อมเอลิสะเบธ
ชั้นที่ 1
ชั้นที่ 2
ชั้นที่ 3
ชั้นที่ 4
ชั้นที่ 5
  • ทัศนจักร จักรพงษ์ (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)[20]
  • ปารุสก์ จักรพงษ์ (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)[21]
หมายเหตุ ตัวเอียง คือสมาชิกราชสกุลอันเนื่องมาจากการเสกสมรส/สมรส และ "†" คืออดีตสมาชิกราชสกุล

พงศาวลี[แก้]

พงศาวลีราชสกุลจักรพงษ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์
จุลจักร จักรพงษ์ภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์
ทัศนจักร จักรพงษ์ปารุสก์ จักรพงษ์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ

หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ ซึ่งเป็นหลานสาวของคัทริน ระบุว่า "...จริง ๆ แล้วยังไม่ชัดเจนว่าหม่อมย่า [หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก] เป็นคนรัสเซียที่เกิดในยูเครนหรือเป็นคนยูเครนแท้ ๆ [...] แล้ว [หม่อมย่า] ก็รักยูเครนตลอด พอกลับไปที่ยูเครนก็จะใส่ชุดยูเครน เพราะฉะนั้นถ้าพูดตามประสาของสมัยนี้ หม่อมย่าก็ self-identified ว่าเป็นยูเครน..."[22]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น 5" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0ก): 21. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-28. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. วิษณุ เครืองาม. โลกนี้คือละคร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2554. หน้า 118.
  3. 3.0 3.1 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (10 มกราคม 2560). "คำมั่นสัญญาของหม่อมแหม่ม". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. วีระยุทธ ปีสาลี (10 สิงหาคม 2561). "สะใภ้เจ้า : จากสตรีสามัญสู่สายสัมพันธ์แห่งราชตระกูล". ศิลปวัฒนธรรม. (39:10),หน้า 72-77
  5. "๖๘. ตึกพยาบาล (๑)". จดหมายเหตุวชิราวุธ. 1 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 สุพจน์ ด่านตระกูล. "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต". ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ประกาศพระราชทานนามสกุลพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 832. 27 กรกฎาคม 2456.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "ม.ร.ว.นริศรา พระธิดาพระองค์จุลจักรพงษ์ เผยชีวิตการเป็นเจ้าลูกครึ่ง". สนุกดอตคอม. 4 กุมภาพันธ์ 2552. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (22 สิงหาคม 2561). "ชีวิตรักหม่อมแคทยา และประเพณีอันน่ารังเกียจ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ส. ศิวรักษ์. รากงอกก่อนตาย. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2555, หน้า 202
  11. "เข้าใจปัจจุบันรู้จักอดีต ชมวังปารุสก์รำลึกถึง 'เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ'". วอยซ์ทีวี. 13 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศยกหม่อมเจ้าเปนพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0ก): 152. 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. วีระยุทธ ปีสาลี (10 สิงหาคม 2561). "สะใภ้เจ้า : จากสตรีสามัญสู่สายสัมพันธ์แห่งราชตระกูล". ศิลปวัฒนธรรม. (39:10),หน้า 79-80
  14. "เปิด "บ้านจักรพงษ์" คุยสตรีไทย "ม.ร.ว.นริศรา" กับเรื่องราว 2 ชีวิต". สนุกดอตคอม. 4 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Book reviews". Motor Sport Magazine. เมษายน 2525. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "ราชสกุล 'ราชวงศ์จักรี' ร่วมส่งเสด็จ ร.9". มติชนออนไลน์. 23 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. กษิดิศ อนันทนาธร (8 พฤศจิกายน 2560). ""ชีวิตของพ่อ : ท่านชิ้น ผู้อาภัพ" – ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน". The 101 World. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. ""ฮิวโก้-ฮาน่า" ประกาศแต่งแน่ 21 มี.ค.ลั่นแม้ต่างศาสนา-การเมือง แต่ก็รักกันได้". MGR Online. 3 กุมภาพันธ์ 2552. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "เปิดชีวิตคู่!! 'ฮิวโก้'พบรัก'ฮาน่า'เจอกฎห้ามเป็นข่าวกลัวครหาสะใภ้เจ้า สามีสมถะทิ้งเงินปีละ 20 ล." ข่าวสด. 31 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "คลอดแล้ว ! "น้องฮาร์เปอร์" ลูกชายคนแรก"ฮิวโก้-ฮาน่า"". โพสต์ทูเดย์. 20 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "ฮิวโก้ ฮาน่า ได้ลูกชายคนที่ 2 ตั้งชื่อ "น้องฮันเตอร์"". สนุกดอตคอม. 1 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. กนกวรรณ เกิดผลานันท์ (25 กุมภาพันธ์ 2565). "'ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์'เผย 'หม่อมย่ารักยูเครน'". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)