รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 เป็นรางวัลที่นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ในเครือบริษัทเดย์อาฟเตอร์เดย์จำกัด พิจารณามอบให้กับผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานด้านวงการบันเทิงในรอบปีพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน เป็นกระจกสะท้อนภาพรวม และยกระดับมาตรฐานของวงการบันเทิงไทย

หมวดหมู่และหลักเกณฑ์การพิจารณา[แก้]

รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 แบ่งผลงานด้านวงการบันเทิงออกเป็น 4 หมวด ประกอบด้วย ภาพยนตร์ ดนตรี โทรทัศน์ และละครเวที และมีสาขารางวัลในแต่ละหมวดรวมทั้งสิ้น 26 รางวัล โดยมีหลักเกณฑ์คัดเลือกผลงานที่มีวาระในการออกฉาย ออกจำหน่าย ออกอากาศ และเปิดทำการแสดงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2545 โดยทำการคัดเลือกผลงานในแต่ละสาขาให้เหลือ 3 ตัวแทนผู้เข้าชิงรางวัลโดยกองบรรณาธิการ จากนั้นจึงเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขามาพิจารณาคัดเลือกผลงานชนะเลิศ และให้ทรรศนะ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาด้านคุณภาพของผลงานเป็นอันดับแรก ด้านความคิดสร้างสรรค์เป็นอันดับที่สอง และด้านความสำเร็จกับความนิยมเป็นอันดับสุดท้าย โดยมีรายชื่อหมวด สาขารางวัล ผู้ชนะรางวัล และผู้เข้าชิงดังต่อไปนี้[1]

(ผู้ชนะรางวัล จะเน้นด้วย ตัวหนา)

หมวดภาพยนตร์[แก้]

ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม[แก้]

ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[แก้]

  • เป็นเอก รัตนเรือง จาก มนต์รักทรานซิสเตอร์
  • จิระ มะลิกุล จาก 15 ค่ำ เดือน 11
  • ออกไซด์ และแดนนี แปง จาก คนเห็นผี (The Eye)

นักแสดงชายยอดเยี่ยม[แก้]

นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[แก้]

ดนตรีและเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[แก้]

  • 15 ค่ำ เดือน 11 โดย Songbird
  • เกิร์ลเฟรนด์ 14 ใสกำลังเหมาะ โดย พีรสันติ จวบสมัย
  • มนต์รักทรานซิสเตอร์ โดย ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์

ใบปิดภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[แก้]

  • (ไม่มีผู้ได้รับรางวัล)
  • ธรณีกรรแสง ออกแบบโดย สตูดิโอกรุงเทพ
  • The Eye คนเห็นผี ไม่ระบุผู้ออกแบบ
  • พรางชมพู ออกแบบโดย ดอกเตอร์เฮด

แผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[แก้]

ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม[แก้]

  • เอมิลี(Amélie) กำกับ: ฌอง-ปิแอร์ เจอเนต์ (ฝรั่งเศส)
  • Hedwig and the Angry Inch กำกับ: จอห์น คาเมรอน มิทเชลล์ (สหรัฐอเมริกา)
  • Kairo กำกับ: คิโยชิ คุโรซาวะ (ญี่ปุ่น)

หมวดดนตรี[แก้]

เพลงยอดเยี่ยม[แก้]

ศิลปินชายยอดเยี่ยม[แก้]

ศิลปินหญิงยอดเยี่ยม[แก้]

ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม[แก้]

อัลบั้มเพลงป๊อบยอดเยี่ยม[แก้]

  • ชุดรับแขก โดย ธงไชย แมคอินไตย์
  • Palmy โดย ปาล์มมี
  • What's Love โดย รวมศิลปิน RS Promotion

อัลบั้มเพลงร็อคยอดเยี่ยม[แก้]

อัลบั้มเพลงอินดี้ยอดเยี่ยม[แก้]

มิวสิควิดีโอยอดเยี่ยม[แก้]

  • เซ็นเซอร์ โดย ก้านคอคลับ
  • เรือชูชีพ โดย เดธ ออฟ อะ เซลส์แมน
  • Dog โดย อะแค็ปเปล่า เซเว่น

ปกอัลบั้มยอดเยี่ยม[แก้]

  • The Olarn Classic โดย ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์
  • Magic Moment โดย ฟรายเดย์
  • Color Lab โดย The Photo Sticker Machine

ผู้สร้างสรรค์ยอดเยี่ยม[แก้]

  • ทีม General Gen. จากศิลปิน พลับ
  • RPG จากศิลปิน ปาล์มมี
  • R.S. Promotion จากศิลปิน ดีทูบี

หมวดโทรทัศน์[แก้]

ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม[แก้]

นักแสดงชายยอดเยี่ยม[แก้]

นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[แก้]

ผู้ประกาศหรือพิธีกรยอดเยี่ยม[แก้]

รายการบันเทิงยอดเยี่ยม[แก้]

รายการสาระยอดเยี่ยม[แก้]

หมวดละครเวที[แก้]

ละครเวทียอดเยี่ยมโดยมืออาชีพ[แก้]

  • เฟาสท์ โดย คณะละครมรดกใหม่
  • When a man love a man โดย Theatre BOX
  • ทึนทึก โดย แดสเอนเตอร์เทนเมนต์

ละครเวทียอดเยี่ยมโดยนักศึกษา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41