มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 4
มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย
เสนอโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการภาสันต์ สวัสดิวัตน์
ขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
จำนวนตอน17
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญ​โรจน์, บริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด
ความยาวตอน110 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 HD
ออกอากาศ21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 –
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 4 เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหารของประเทศไทยเป็นฤดูกาลที่ 4 ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทางช่อง 7 HD[1][2] โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทย[3][4] ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีกรรมการคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)[5][6]

กติกา[แก้]

รอบคัดเลือก (Auditions)[แก้]

รอบคัดเลือกนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งกลุ่มตามความถนัดของตัวเอง กลุ่มละ 3 - 5 คน ในแต่ละรอบจะมีโจทย์วัตถุดิบหลัก 1 อย่าง เพื่อทำอาหาร 1 เมนูในเวลา 45 - 60 นาที โดยแต่ละกลุ่มมีผู้แข่งขันได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบจำนวนเท่าใดก็ได้ หรือไม่มีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบเลยก็ได้ ในรอบนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน และมีผ้ากันเปื้อนทั้งหมด 16 ผืน ดังนั้น หากแข่งขันครบแล้วและยังมีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบไม่ครบทุกคน ผู้ที่ตกรอบบางคนจะได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันรอบแก้ตัวเพื่อหาผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพิ่มเติม

รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)  [แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)[แก้]

ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ผู้เข้าแข่งขัน 16 คนสุดท้าย[แก้]

ชื่อ อายุ[^] ภูมิลำเนา อาชีพก่อนเข้ามาแข่งขัน ลำดับการแข่งขัน จำนวนชนะ
พรชนัน พัฒนาปัญญาสัตย์ (ลี่) 28 สมุทรปราการ ขายขนมออนไลน์ ชนะเลิศ
วันที่ 11 กรกฎาคม
6
ณัฐวัฒน์ เกษมวิลาศ (เตอร์) 19 กรุงเทพมหานคร นักศึกษา รองชนะเลิศ
วันที่ 11 กรกฎาคม
4
ปณิธี ตั้งศตนันท์ (จิมมี่) 23 กรุงเทพมหานคร ธุรกิจส่วนตัว 3
ธนพร ตีรณะวาณิช (แก้มยุ้ย) 28 เพชรบุรี พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ถูกคัดออก
วันที่ 4 กรกฎาคม
3
ชัชวาร บุญทอง (บิลลี่) 27 กาญจนบุรี ธุรกิจส่วนตัว ถูกคัดออก
วันที่ 20 มิถุนายน
5
ภัคพงศ์ สังข์วิเศษ (หมอบีม) 30 ระยอง สัตวแพทย์ ถูกคัดออก
วันที่ 13 มิถุนายน
3
ภูรินท์ พัฒนวิริยะวาณิช (ภู) 23 กรุงเทพมหานคร นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 23 พฤษภาคม
4
จิตนเร บุญแสงวัฒน์ (ธันวา) 22 พิษณุโลก นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 16 พฤษภาคม
0
พัชรมณฑ์ เจริญชัย (ฟ้า) 20 กรุงเทพมหานคร นักศึกษา 2
ฐณะวัฒน์ ชูประเสริฐโชค (เซฟ) 28 กรุงเทพมหานคร ครูสอนทำขนม ถูกคัดออก
วันที่ 25 เมษายน
2
อนันต์ รักดี (อิ๊บ) 28 นครศรีธรรมราช ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการมันสำปะหลัง ถูกคัดออก
วันที่ 18 เมษายน
2
ณัฐนันท์ ชุติมาจิรัฐติกร (นัน) 27 กรุงเทพมหานคร พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ถูกคัดออก
วันที่ 11 เมษายน
0
เวชกร เจริญปัญญาวุฒิ (สัญ) 29 กรุงเทพมหานคร ธุรกิจโรงพิมพ์ ถูกคัดออก
วันที่ 4 เมษายน
0
ธัญวลัย เลิศรัฐพงษ์ (แนท) 24 สงขลา ว่างงาน ถูกคัดออก
วันที่ 28 มีนาคม
0
ปฐมาภรณ์ อนุวนาวงศ์ (วิว) 25 กรุงเทพมหานคร ติวเตอร์สอนภาษา ถูกคัดออก
วันที่ 21 มีนาคม
0
อิสสลา ธนาดำรงศักดิ์ (เหลียน) 27 กรุงเทพมหานคร ว่างงาน ถูกคัดออก
วันที่ 15 มีนาคม
0

ข้อมูลการแข่งขัน[แก้]

ตารางการคัดออก[แก้]

อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15/16 16/17
1 ลี่ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน สูง ชนะ ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะเลิศ
2 เตอร์ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน รองชนะเลิศ
จิมมี่ ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ กดดัน สูง ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ
4 แก้มยุ้ย ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
5 บิลลี่ ต่ำ กดดัน ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ออก
6 บีม ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน ออก
7 ภู ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ สูง ออก
8 ธันวา ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง เสี่ยง เสี่ยง ผ่าน ออก
ฟ้า ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ออก
10 เซฟ ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ออก
11 อิ๊บ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ออก
12 นัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง กดดัน ผ่าน ผ่าน ออก
13 สัญ ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ออก
14 แนท ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ออก
15 วิว ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
16 เหลียน ต่ำ ออก
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ / Elimination test / Skill test )
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป ในการแข่งขันแบบคู่
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถเข้าแข่งขันในรอบทีมได้ และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่ที่ยืนเป็น 1 ในทีมที่แย่ที่สุด
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์

ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]

ตอนที่ 1-3 : รอบคัดเลือก[แก้]

ออกอากาศ 21 กุมภาพันธ์ 2564, 28 กุมภาพันธ์ 2564, และ 7 มีนาคม 2564

ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความถนัดของแต่ละคน โดยโจทย์รอบนี้จะเปลี่ยนไปตามความถนัดของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน

โจทย์ วัตถุดิบหลัก เวลาที่ได้ รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามการเรียกชื่อ)
ตอนที่ 1
เอเชียนทวิสต์ กุ้งมังกร 60 นาที วิว พล ซินโนนีม
ขนมหวาน มะเฟือง 60 นาที เซฟ ลี่ แก้มยุ้ย
ยกระดับอาหารไทย งูเห่า 60 นาที อิ๊บ ธันวา หมอบีม
ตอนที่ 2
อาหารฝรั่งเศส นกพิราบ 60 นาที เพลง แนท เหลียน
ไทยทวิสต์ ปลาสวาย 45 นาที บอล ภู หมอจ๋า กอล์ฟ บิลลี่
อาหารตะวันตก หางวัว 45 นาที จิมมี่ สัญ เตอร์
ตอนที่ 3
ยกระดับอาหารดั้งเดิม พาสตาเส้นสด 45 นาที นัน เนย ฟ้า โบว์
  ผู้ที่ผ่านเข้ารอบในรอบคัดเลือก
  ผู้ที่ไม่ผ่านในรอบคัดเลือก แต่ได้รับการคัดเลือกเข้าไปแข่งขันอีกครั้งในรอบแก้ตัว
  ผู้ที่ไม่ผ่านในรอบคัดเลือก และไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าไปแข่งขันอีกครั้งในรอบแก้ตัว

รอบแก้ตัว: เนื่องจากมีผู้เข้าแข่งขันเพียง 13 คนที่ผ่านเข้ารอบจากที่ต้องการจำนวน 16 คน จึงมีการแข่งขันนัดพิเศษเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันบางคนที่ถูกคัดออกได้กลับเข้าสู่รายการอีกครั้ง โดยกรรมการได้เลือกผู้เข้าแข่ง 6 คน ได้แก่ กอล์ฟ ลี่ เพลง หมอบีม อิ๊บ และโบว์ เข้ามาแข่งขันในรอบพิเศษนี้ โดยโจทย์รอบนี้คือ การสร้างสรรค์อาหารจากวัตถุดิบที่อยู่ในตู้เย็นของทุกบ้าน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบในตู้เย็นเท่านั้น มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน และผู้ที่ผ่านเข้ารอบคือ ลี่ หมอบีม และอิ๊บ

  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: ลี่ หมอบีม และอิ๊บ

ตอนที่ 4 : Duo Team Battle ครั้งแรก[แก้]

ออกอากาศ 14 มีนาคม 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบคู่: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นแปดคู่
สีของทีม สมาชิก
สีครีม จิมมี่และเหลียน
สีแดง เซฟและหมอบีม
สีเหลือง นันและอิ๊บ
สีส้ม ฟ้าและบิลลี่
สีเขียว วิวและลี่
สีฟ้า แก้มยุ้ยและภู
สีน้ำเงิน สัญและธันวา
สีม่วง แนทและเตอร์
  • สถานที่ : ชายป่าดงพญาเย็น ติดกับเทือกเขาพนมดงรัก ต. หมูสี อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา
  • วัตถุดิบ : วัวทั้งตัว ต้องแล่เอาเอง
  • โจทย์ : รังสรรอาหาร fine dining หนึ่งเมนู ที่มีอย่างน้อย 5 องค์ประกอบ ภายในเวลา 60 นาที ต้องจุดไฟด้วยเอง หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคู่ มีอยู่ 3 คู่ที่ผลงานมีความผิดพลาดมากที่สุด ไดแก่ จิมมี่และเหลียน, ฟ้าและบิลลี่, และ สัญและธันวา โดยทั้ง 3 คู่จะต้องไปแข่งขันกันต่อในบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ผู้เข้าแข่งขัน 3 คู่ที่ทำผลงานได้ผิดพลาดมากที่สุดจะต้องแข่งขันในรอบความละเอียดและความแม่นยำ ซึ่งโจทย์ในครั้งนี้คือ ข้าวหมูกรอบ ภายในเวลา 45 นาที โดยเกณฑ์การตัดสินคือ ข้าวไม่แฉะ, น้ำราดหมูกรอบข้นพอดี, ไข่ต้มยางมะตูมไม่สุกเกินไปและไม่ไหลเยิ้ม และ หมูกรอบ หนังกรอบ เนื้อไม่กระด้าง และชั้นของหมูกรอบไม่แยกจากกัน ในรอบนี้มี 1 จานที่ผิดพลาดมากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถจัดจานได้ทันเวลา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เหลียน

ตอนที่ 5 : การทำอาหารจาก Signature dish ของเซเลบริตีเชฟ[แก้]

ออกอากาศ 21 มีนาคม 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา :ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งแรกของพวกเขาทั้ง 15 คน ด้วยวัตถุดิบจากนานาประเทศ ประกอบด้วย หัวผักกาด Rutabaga จากประเทศสวีเดน , ตับปลาอากิโมะ จากประเทศญี่ปุ่น , ซองยาโคซู จากประเทศเกาหลีใต้ , ไข่ข้าว จากประเทศฟิลิปปินส์ , หล่อฮังก๊วย จากประเทศจีน , ถั่ว จากประเทศบราซิล และเนื้อกระจอกเทศ มีเวลา 60 นาทีเท่ากันในการสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่พวกเขาไม่คุ้นเคยให้ออกมาเป็นจานที่ดีที่สุด กับผลการตัดสิน สามจานที่ดีที่สุดตกเป็นของแก้มยุ้ย, เซฟ และเตอร์ โดยเตอร์เป็นผู้ชนะในรอบนี้
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เตอร์
  • รอบคัดออก :จากการที่เตอร์เป็นผู้ชนะในรอบที่แล้ว เขาจึงได้ผ่านเข้ารอบไปโดยไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้ และมีสิทธิ์เลือกโจทย์ให้กับเพื่อนคนไหนก็ได้ โดยโจทย์การแข่งขันในครั้งนี้มาจาก 3 เซเลบริตี้เชฟแถวหน้าของประเทศไทย ก็คือ เชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร เชฟอ๊อฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธ์ และเชฟเอียน พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย กับโจทย์ Signature Dish "เมนูมังสวิรัติ โดยเมนูของเชฟพฤกษ์ คือ "ราวีโยลีถั่วลูกไก่ไส้ฟองเต้าหู้ผัดซอสหมูแดง" ซึ่งเป็นเมนูผสมระหว่างอาหารจีนและอิตาเลียน ข้อควรระวังคือสัดส่วนของถั่วลูกไก่ที่ผสมในแป้งราวีโยลีต้องพอเหมาะพอดี เมนูของเชฟอ๊อฟ คือ "ซาโมซาหรือกะหรี่ปั๊บอินเดียไส้แกงคั่วถั่วลูกไก่" ซึ่งเป็นเมนูผสมระหว่างอาหารไทยและอินเดีย จุดที่ยากที่สุดคือแป้งซาโมซาต้องมีความหนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และพับให้ได้รูปกรวยสามเหลี่ยมสวยงาม และเมนูของเชฟเอียน คือ "เชิญชั้น 2 จ้า" ซึ่งใครได้เมนูนี้ไปจะได้ผ่านเข้ารอบไปพร้อมกับเตอร์โดยไม่ต้องแข่งขัน ในรอบนี้ เตอร์ได้เลือกเมนูของเชฟพฤกษ์ให้ อิ๊บ หมอบีม วิว นัน และภู เลือกเมนูของเชฟอ๊อฟให้ บิลลี่ แนท จิมมี่ ลี่ และแก้มยุ้ย และเลือกให้ สัญ ธันวา ฟ้าและเซฟ ผ่านเข้ารอบต่อไปทันที ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน มีเวลาในการทำ Signature Dish ที่เตอร์เป็นผู้เลือกให้ออกมาสมบูรณ์แบบเหมือนต้นฉบับบมากที่สุดในทุกองค์ประกอบ 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ แนท และบิลลี่ เป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดี คือ นัน, วิว และหมอบีม คนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ วิว
  • ผู้ชนะ: บิลลี่
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: นัน, วิว และหมอบีม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: วิว

ตอนที่ 6 : MasterChef EDM Party แบบ Drive-in[แก้]

ออกอากาศ 28 มีนาคม 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ แนท และ บิลลี่ ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม สมาชิก
แนท สัญ, เตอร์, ลี่, นัน, อิ๊บ และธันวา
บิลลี่ เซฟ, แก้มยุ้ย, ภู, จิมมี่, หมอบีม และฟ้า

ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีม ทั้งสองทีมต้องทำ พาย หรือ พัฟ โดยเสิร์ฟแบบ “Drive-Thru” ให้กับผู้มาร่วมงาน "MasterChef EDM Party" แบบ Drive-in ซึ่งจะไม่มีใครลงจากรถ อันเนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยใน 1 กล่อง (2 ชิ้น) ต้องมีของคาว 1 ชิ้น ของหวาน 1 ชิ้น รวมทั้งหมด 402 ชิ้น (201 กล่อง) ทั้งหมดจำนวน 201 คน ในรถยนต์ 100 คัน โดยชุดพายของทีมสีแดง ประกอบด้วย ของคาว: ไก่ผัดโรยชีสเบคอน ของหวาน: ครีมชีสกล้วยข้าวโพดหวาน ส่วนชุดพายของทีมสีน้ำเงิน ประกอบด้วย ของคาว: Arrabiata Bolones น้ำพริกเผา ของหวาน: Bahama mama Almond วิปครีม โหระพาหวาน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้เป็น สเต็กโทมาฮอว์ค (Tomahawk Steak) บิสกิต และซอสเกรวี่ โดยสเต็กโทมาฮอว์คต้องมีความสุกระดับ มีเดียม-แรร์ (Medium-Rare) ข้างนอกเกรียม ข้างในนุ่ม มีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ อิ๊บ, ธันวา และแนท โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ แนท
  • ผู้ชนะ: เตอร์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: อิ๊บ, ธันวา และแนท
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แนท

ตอนที่ 7 : Skill Test แล่ปลาแซลมอนทั้งตัว[แก้]

ออกอากาศ 4 เมษายน 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา :ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งที่ 2 ของพวกเขาทั้ง 13 คน ด้วยวัตถุดิบคุณภาพดีในโจทย์ของหวานสุดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย รังนก น้ำผึ้ง มันม่วง แปะก๊วย พุทราจีนแห้ง แมคคาเดเมีย ถั่วแดงกวน ชีส สาคู มะพร้าวอ่อน อบเชย ขิงและพริกขี้หนู มีเวลา 60 นาทีเท่ากัน กับผลการตัดสิน สามจานที่ดีที่สุดตกเป็นของเซฟ, สัญ และจิมมี่ โดยเซฟเป็นผู้ชนะในรอบนี้
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เซฟ
  • บททดสอบทักษะการทำอาหาร : การแข่งขันบททดสอบทักษะการทำอาหารในครั้งนี้ คือ "แล่ปลาแซลมอนทั้งตัว" ให้ออกมาสมบูรณ์ทั้ง 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หัว ก้างและหางต้องติดกัน , ส่วนที่ 2 แล่เป็นชิ้นสเต๊กขนาดต่างๆ (Fillet Steak) , ส่วนที่ 3 แล่เป็นซาชิมิ (Sashimi) , ส่วนที่ 4 แล่ส่วนท้อง และส่วนสุดท้าย แล่ส่วนของครีบปลา มีเวลา 30 นาทีกับการแล่ปลาแซลมอนทั้งตัวให้ออกมาสมบูรณ์แบบตามโจทย์กำหนด และผู้เข้าแข่งขันจะได้ปลาคนละ 1 ตัวเท่านั้น สำหรับเซฟ ซึ่งเป็นผู้ชนะในรอบที่แล้ว จะได้ผ่านเข้ารอบไปเลยโดยไม่ต้องแข่งขัน หลังจากคณะกรรมการได้ตรวจสอบปลาแซลมอนของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบทักษะการทำอาหารคือ อิ๊บ และแก้มยุ้ยเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เตอร์ และ สัญ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ สัญ
  • ผู้ชนะ: อิ๊บ
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับผลงานแย่ที่สุด: เตอร์ และ สัญ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: สัญ

ตอนที่ 8 : การทำอาหารยกระดับต้มยำทะเลให้เป็นอาหารระดับ Fine Dining[แก้]

ออกอากาศ 11 เมษายน 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ อิ๊บ และ แก้มยุ้ย ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม สมาชิก
อิ๊บ ภู, บิลลี่, หมอบีม, เตอร์ และฟ้า
แก้มยุ้ย เซฟ, ธันวา, จิมมี่, ลี่ และนัน

ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีม ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารให้นักกีฬาไคท์เซิร์ฟชาวไทยและต่างประเทศ ทั้งหมดจำนวน 101 คน เนื่องจากนักกีฬาต้องใช้พละกำลังในการฝึกซ้อม อาหารที่จะต้องเสิร์ฟต้องเป็นอาหารที่พลังงานเพียงพอ และโจทย์ในการทำอาหารวันนี้คือ ”การยกระดับต้มยำทะเล” จะต้องทำยกระดับต้มยำทะเลให้กลายเป็นจานหรูระดับ Fine Dining ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผัก อยู่ครบถ้วนใน 1 จาน และเมื่อถึงเวลาเสิร์ฟต้องเสิร์ฟทันที เพื่อไม้ให้อุณหภูมิของอาหารเย็นชึ้ด มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 120 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “ปาเอยาทะเลเดือด โปรตีนของจานนี้เป็นรวมอาหารทะเล เสิร์ฟพร้อมกับข้าวปาเอย่าที่ผัดกับข่า ตะไคร้ และหญ้าฝรั่นแซฟฟรอน เครื่องเคียงเป็นเห็ดดอง” เมนูของทีมสีแดงคือ “ต้มยำสามสหายแห่งมหาสมุทร ประกอบด้วยมันบด พาเมซานชีส โปรตีนหลักเป็นซีฟู้ด เสิร์ฟพร้อมกับซอสต้มยำทะเล มะเขือเทศกงฟีและเห็ดผัดเนยมะนาว” โดยผลจากคณะกรรมการได้ลงคะแนน เป็นฝ่ายทีมสีแดงที่ชนะไปด้วย 75 คะแนน ส่วนสีน้ำเงินได้ไป 26 คะแนน

  • ทีมที่ชนะ: สีแดง
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้คือ ช็อกโกแลตลาวา เสิร์ฟพร้อมไอศกรีมชาเขียวและอัลมอนด์ครัมเบิล โดยช็อกโกแลตลาวา ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 3.5 นิ้ว เนื้อเค้กด้านนอกต้องนุ่ม ละมุน เมื่อผ่าออกไส้ช็อกโกแลตต้องนุ่มเหนียว และไหลออกมาเป็นลาวา ไอศกรีมชาเขียว เนื้อสัมผัสและรสชาติต้องเหมือนตามต้นฉบับ และอัลมอนด์ครัมเบิลต้องกรอบ สีเหลืองสวย ไม่จับตัวกันเป็นก้อน มีเวลาในการทำอาหาร 40 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ จิมมี่และนัน โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ นัน
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: จิมมี่ และ นัน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: นัน

ตอนที่ 9 : การทำอาหารสร้างสรรวัตถุดิบที่อยู่ในกล่องให้เข้ากัน[แก้]

ออกอากาศ 18 เมษายน 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ แมลงดานา ร่วมกับวัตถุดิบเสริมในห้องอุปกรณ์อย่างจำกัด โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 11 คน จะต้องรังสรรค์เมนูให้กลายเป็นจานที่ไม่ธรรมดาออกมา มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ หมอบีม , ธันวา และ บิลลี่ โดยบิลลี่ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: บิลลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ บิลลี่ ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ การทำอาหารแต่ละกล่องที่มีจำนวนวัตถุดิบไม่เท่ากัน ความยากคือต้องชูรสชาตืวัตถุดิบทุกชนิดที่อยู่ในกล่องออกมาให้ได้ในเมนูเดียว วัตถุดิบกล่องแรกคือ ซี่โครงแกะ กล่องที่ 2 คือ ซี่โครงแกะ กล้วยหอมและปลาร้า และกล่องสุดท้ายได้แก่ ซี่โครงแกะ กล้วยหอม ปลาร้า มะยงชิด ปลาทู ไข่ปลาริวกิว และช็อกโกแลต โดยบิลลี่มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบในการทำอาหารแต่ละกล่องที่มีจำนวนวัตถุดิบไม่เท่ากันให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยบิลลี่ได้เลือกกล่องที่ 1 ให้แก้มยุ้ย, ลี่ และฟ้า เลือกกล่องที่ 2 ให้ภู, เตอร์ และหมอบีม และเลือกกล่องสุดท้ายให้ธันวา, อิ๊บ, เซฟ และจิมมี่ โดยมีเวลาในการทำจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ จิมมี่ และลี่เป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ ธันวา อิ๊บ และ เซฟ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ อิ๊บ
  • ผู้ชนะ: จิมมี่
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ธันวา อิ๊บ และ เซฟ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: อิ๊บ

ตอนที่ 10 : การทำอาหารให้กับโต๊ะจีนงานแต่ง เสิร์ฟ 4 เมนู ให้กับแขก 180 คน[แก้]

ออกอากาศ 25 เมษายน 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ ลี่ และ จิมมี่ ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม สมาชิก
จิมมี่ เซฟ, ฟ้า, เตอร์ และ ธันวา
ลี่ หมอบีม, แก้มยุ้ย, บิลลี่ และภู

ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งนี้ ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่โรงแรมบันยันทรี ย่านสาทร กรุงเทพมหานคร โดยบททดสอบในครั้งนี้คือ ทำอาหาร 4 อย่างในรูปแบบ "โต๊ะจีน" ได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) หรือสลัด ด้วยวัตถุดิบ "หอยเชลล์โฮตาเตะ" , เมนูซุป ด้วยวัตถุดิบ "ล็อบเตอร์ (กุ้งมังกรเลน)" , อาหารจานหลัก (Main Dish) ด้วยวัตถุดิบ "ปลาเต๋าเต้ย" และเมนูของหวาน ด้วยวัตถุดิบ "นมข้นหวานและผลไม้มงคลของจีน (ประกอบด้วย แก้วมังกร, สาลี่, ลูกพลับ, ส้ม และ ทับทิม)" เพื่อเลี้ยงแขกในงานพิธีมงคลสมรส บอล มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 จำนวน 180 คน (แบ่งกันนั่งโต๊ะละ 8 คน จำนวน 22 ชุดครึ่ง: โดยโต๊ะที่ 23 จะนั่งได้ครึ่งนึงคือ 4 คน) ทั้ง 2 ทีม มีเวลาในการทำอาหารทั้งหมด 3 ชั่วโมง และมีเวลาในการเสิร์ฟแต่ละเมนูเพียง 15 นาทีเท่านั้นและต้องเสิร์ฟให้เสร็จก่อนที่คู่บ่าวสาวจะเริ่มพิธีตัดเค้ก หากทีมใดเสิร์ฟล่าช้าหลังจากช่วงพิธีบ่าวสาวเริ่มตัดเค้ก จะถูกหักคะแนนตามจำนวนจานที่เสิร์ฟ จากผลการตัดสินทำให้ทีมสีน้ำเงินเป็นทีมที่ชนะ ด้วยคะแนน 94 ต่อ 86 คะแนน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ เอกส์ เบนิดิกต์ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่มีต้นกำเนิดมาจากมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีองค์ประกอบดังนี้ ชั้นล่างสุดที่เป็นขนมปังมัฟฟิน วางด้วยเบคอน ตามด้วยไข่ดาวน้ำ หรือโพชเอ้ก ปิดท้ายด้วยการราดฮอลแลนเดซซอสที่ด้านบนสุด สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ ในการทำเมนู "เอกส์ เบนิดิกต์" จำนวน 2 ที่กับไข่ไก่ ที่มีให้เพียงจำนวน 5 ฟองเท่านั้น โดยที่โพชเอ้ก หรือไข่ดาวน้ำ ภายนอกต้องมีผิวเรียบลื่น สัมผัสนุ่มลิ้น เมื่อตัดออกมาไข่แดงด้านในต้องไหลเยิ้มเป็นลาวา และฮอลแลนเดซซอส ต้องข้นไม่เหลวเกินไป ไม่แตกตัว ไม่จับตัวเป็นลิ่ม และรสชาติต้องเหมือนกับต้นฉบับ มีเวลา 25 นาที ในการทำอาหาร หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน สามอันดับอาหารที่แย่ที่สุดคือ ฟ้า โดยมีปัญหาที่ฮอลแลนเดซซอส, ธันวา มีปัญหาที่ไข่ดาวน้ำดิบเกินไป และ เซฟ มีปัญหาที่ไข่ดาวน้ำสุกเกินไป และคนที่ถูกคัดออกจากการแข่งขัน คือ เซฟ เนื่องจากฮอลแลนเดซซอสไม่ได้ผ่านความร้อน ทำให้มีรสชาติที่ไม่ตรงตามต้นฉบับ
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: ฟ้า, ธันวา และ เซฟ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เซฟ

ตอนที่ 11 : การทำอาหารจากวัตถุดิบที่ปรารถนา[แก้]

ออกอากาศ 16 พฤษภาคม 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ วัตถุดิบพรีเมี่ยม ได้แก่ โอโทโร่ เนื้อวากิว ฟัวกรา ขาปูทาราบะ เห็ดทรัฟเฟิล ต้นหอมญี่ปุ่น หน่อไม้ฝรั่ง สตรอว์เบอรี่ ข้าวโพด คาเวียร์ และทองคำเปลว โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 9 คน จะต้องรังสรรค์เมนูให้กลายเป็นเมนูหรูระดับ MasterChef มีเวลาในการทำอาหาร 30 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ ลี่ , จิมมี่ และ แก้มยุ้ย โดยลี่ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: ลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ลี่ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก เชฟสมศักดิ์ รารองคำ นายกสมาคมเชฟแห่งประเทศไทยและกรรมการผู้ตัดสินการแข่งขันทำอาหารเวทีโลก (World Association of Chefs Societies) มาร่วมเป็นกรรมการตัดสินอาหารของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 คน โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ โปรตีนราคาถูก ได้แก่ เครื่องในหมู 3 ชนิด ความยากคือต้องสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเมนูหรูระดับ MasterChef วัตถุดิบกล่องแรกคือ ตับหมู ราคากิโลกรัมประมาณ 90 บาท กล่องที่ 2 คือ กระเพาะหมู ราคากิโลกรัมประมาณ 70 บาท และกล่องสุดท้ายได้แก่ ปอดหมู ราคากิโลกรัมประมาณ 25 บาท โดยลี่มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยลี่ได้เลือกกล่องที่ 1 ให้แก้มยุ้ยและฟ้า เลือกกล่องที่ 2 ให้ภู, บิลลี่ และหมอบีม และเลือกกล่องสุดท้ายให้ธันวา, เตอร์ และจิมมี่ โดยมีเวลาในการทำจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ ภูและสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ จิมมี่, ฟ้า และธันวา โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ฟ้า และธันวา
  • ผู้ชนะ: ภู
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: จิมมี่, ฟ้า , ธันวา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ฟ้า , ธันวา

ตอนที่ 12: การทำอาหารยกระดับหอยทอดให้เป็นเมนูระดับมาสเตอร์เชฟ[แก้]

ออกอากาศ 23 พฤษภาคม 2564

ในครั้งนี้เนื่องจากเชฟเอียนติดภารกิจสำคัญทำให้ไม่สามารถมาร่วมตัดสินได้ จึงได้มีการเชิญเชฟอ๊อฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย มาเป็นกรรมการตัดสินแทนเชฟเอียน

  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งนี้มีถึง 2 กล่องด้วยกัน แบ่งออกเป็นกล่องอาหารประเภทคาวและหวาน ซึ่งในวัตถุดิบในกล่องอาหารคาวนั้นประกอบไปด้วยพอร์คชอป, ชีส, เห็ดพอตเทอเบโล่, มะเขือเทศเชอรี่, ข้าวรีซอตโต้, โรสแมรี่, หอมใหญ่, เบบี้แครอท, พาร์สลีย์, ถั่วหวาน, ไวน์แดง และนมถั่วเหลือง และวัตถุดิบในกล่องของหวานประกอบไปด้วยช็อกโกแลต, เบอร์รี่รวม, มะม่วงสุก, ลูกพีช, แมคคาเดเมีย, น้ำผึ้ง, ครีมชีส, วอลนัท, ฝักวานิลลา, แป้งพัฟเพสทรี และนมถั่วเหลือง และคนที่มีสิทธิ์เลือกประเภทอาหารให้กับผู้เข้าแข่งขันทุกคนก็คือผู้ชนะจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนั่นก็คือภู โดยภูได้เลือกกล่องของหวานให้กับลี่และแก้มยุ้ย แปลว่า จิมมี่ เตอร์ บิลลี่ หมอบีม และภู ได้ทำวัตถุดิบจากกล่องอาคารคาว โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คน มีเวลา 60 นาที ในการรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่ได้รับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนเหลือ 30 นาทีสุดท้าย ทุกคนยกเว้นภูจะต้องสลับกล่องและเริ่มต้นทำใหม่ทั้งหมด หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ ลี่, ภู และหมอบีม
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: ลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ในการแข่งขันครั้งนี้ได้รับเกียรติจากร้าน "แดงราชาหอยทอด" มาเป็นผู้สาธิตในการทำหอยทอด และโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกระดับหอยทอดให้เป็นเมนูระดับมาสเตอร์เชฟ โดยใช้วัตถุดิบ "หอยนางรมขนาดจัมโบ้" ภายใน 60 นาที ส่วน ลี่ ผู้ชนะจากรอบที่แล้ว จะได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ เมื่อกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มีเพียง 1 จานที่ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์ โดยในรอบนี้ ผู้ที่ถูกคัดออกคือ ภู
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ภู

ตอนที่ 13: การทำอาหารจากเตาไมโครเวฟ[แก้]

ออกอากาศ 13 มิถุนายน 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา : กล่องปริศนาในรอบนี้ ภายในมีใบหน้าของเชฟป้อมและเชฟเอียน คนละ 3 กล่อง ผู้เข้าแข่งขันที่ได้ใบหน้าของใครจะต้องทำอาหารตามที่เชฟทั้งสองสาธิตให้ดูในเวลา 30 นาที และผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องจดสูตรเอง เมนูของเชฟป้อมคือ "ยำทวาย" และเมนูของเชฟเอียนคือ "Maguro & Ocean Trout Mosaic" ผู้เข้าแข่งขันที่จะต้องทำเมนูของเชฟป้อมคือ ลี่, จิมมี่ และ แก้มยุ้ย และผู้เข้าแข่งขันที่จะต้องทำเมนูของเชฟเอียนคือ เตอร์, บิลลี่, และหมอบีม ทุกคนมีเวลา 60 นาทีในการทำเมนูดังกล่าว และผู้ที่ทำได้ดีที่สุดในแต่ละเมนูจะเป็นผู้ชนะ
  • ผู้ชนะ: แก้มยุ้ยและเตอร์
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แก้มยุ้ยและเตอร์ ผู้ชนะจากรอบที่แล้ว จะได้ผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ ส่วนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยใช้อุปกรณ์ให้ความร้อน คือ เตาไมโครเวฟ โดยจะใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนอื่นไม่ได้ ในเวลา 60 นาที เมื่อกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว สองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ บิลลี่และหมอบีม โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ หมอบีม
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: บิลลี่และหมอบีม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: หมอบีม

ตอนที่ 14: การทำอาหารปิ่นโตเดลิเวอรี[แก้]

ออกอากาศ 20 มิถุนายน 2564

ตั้งแต่ตอนที่ 14 เป็นต้นไป ได้ถ่ายทำรายการโดยมีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการแยกผู้เข้าแข่งขันและกรรมการให้อยู่คนละสตูดิโอ ลดจำนวนทีมงานในแต่ละสตูดิโอ และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

  • การแข่งกล่องปริศนา : ในสัปดาห์นี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จะต้องแข่งขันนอกสถานที่ ภายในครัวของบ้านห้าหลังในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง โดยกรรมการจะไม่อยู่กับผู้เข้าแข่งขัน แต่จะมีการใช้ระบบ Live Streaming สื่อสารกับผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดได้ ในรอบแรกเป็นบททดสอบกล่องปริศนา ภายในมีวัตถุดิบสำหรับทำเครื่องแกงไทยและปิ่นโต 1 เถา ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องรับฟังเมนูอาหารที่กรรมการจะสั่งโดยผู้เข้าแข่งขันจะไม่ทราบว่ากรรมการทั้งสามคนจะสั่งอาหารเมนูอะไรในเวลาใด และจะต้องเสิร์ฟอาหารทั้งหมดพร้อมข้าวสวย ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารปิ่นโต เมื่อเวลา 55 นาทีสุดท้าย เชฟป้อมสั่งฉู่ฉี่ปลาทูสูตรดั้งเดิม เมื่อถึงเวลา 40 นาทีสุดท้าย หม่อมหลวงภาสันต์สั่งหลนปูเค็ม ในเวลา 20 นาทีสุดท้าย เชฟเอียนสั่งเมนูตับ โดยแล้วแต่ผู้เข้าแข่งขัน และเมื่อถึงเวลา 10 นาทีสุดท้าย คุณป๊อก สั่งไข่เป็ดดาว 3 ฟองจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เมื่อหมดเวลาแล้วอาหารปิ่นโตทั้งหมดของทั้ง 5 คนจะถูกขนส่งมายังสตูดิโอของกรรมการ และผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องล้างอุปกรณ์ทำอาหารทั้งหมดเองเพื่อใช้ในการแข่งขันรอบต่อไป หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ ลี่
  • ผู้ชนะ: ลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ครั้งสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำเมนูอาหารโดยใช้เทคนิก Molecular Gastronomy ภายใน 60 นาที และจะต้องคำนึงถึงการขนส่งมายังสตูดิโอของกรรมการ ทั้งนี้ ลี่ ผู้ชนะจากรอบที่แล้ว จะต้องทำการแข่งขันด้วย แต่ได้รับสิทธิพิเศษ คือ สามารถปรึกษาเชฟเอียนได้ตลอดการแข่งขัน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที ระหว่างที่ผู้ชนะใช้สิทธิพิเศษ ทางรายการจะตัดสัญญาณการติดต่อกับผู้เข้าแข่งขันอื่นชั่วคราวเพื่อไม่ให้ได้รับสิทธิ์ในการรับฟังคำแนะนำของเชฟเอียน ในการชิมอาหารรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่รู้เมนูและคำวิจารณ์ของผู้เข้าแข่งขันคนอื่น และหลังจากชิมอาหาร จะประกาศผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ บิลลี่
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: บิลลี่

ตอนที่ 15-16: การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ[แก้]

ออกอากาศ 27 มิถุนายน 2564 และ 4 กรกฎาคม 2564

ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะได้เข้ามาในสตูดิโอที่มีการตกแต่งเหมือนรอบคัดเลือก โดยการแข่งขันรอบนี้จะใช้โจทย์การแข่งขันเหมือนกับรอบคัดเลือก ในรอบนี้จะแข่งขันทั้งหมด 3 รอบ โดยแต่ละรอบจะมีผู้ชนะ 1 คน เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทันที และเนื่องจากว่าผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน มาจากสายขนมหวาน 2 คน และอาหารตะวันตก 2 คน รายการจึงทดสอบผู้เข้าแข่งขันด้วยโจทย์อื่น ๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันทุกคนไม่ได้พบเจอดังต่อไปนี้ และหมุนวงล้อแห่งบุญกุศลเพื่อเลือกโจทย์ที่จะใช้ในแต่ละรอบ

โจทย์ วัตถุดิบหลัก เวลาที่ได้
เอเชียนทวิสต์ กุ้งมังกร 60 นาที
ยกระดับอาหารไทย งูเห่า 60 นาที
อาหารฝรั่งเศส นกพิราบ 60 นาที
ไทยทวิสต์ ปลาสวาย 45 นาที
ยกระดับอาหารดั้งเดิม พาสตาเส้นสด 45 นาที
  • รอบที่ 1 : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ "'งูเห่า" ในการยกระดับอาหารไทย ในเวลา 60 นาที ถือเป็นโจทย์ที่วัดใจผู้เข้าแข่งขันว่าจะไปต่อหรือหยุดที่รอบนี้ เมื่อเหลือเวลา 30 นาที มีวัตถุดิบปริศนา "นมสด" เพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเมนูขนมหวานที่จะรับประทานร่วมกับเมนูงูเห่าของแต่ละคน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ ลี่
  • ผู้ชนะ : ลี่
  • รอบที่ 2 : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ "'ปลาสวาย" ในโจทย์อาหารไทยทวิสต์ ในเวลา 45 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ เตอร์
  • ผู้ชนะ : เตอร์
  • รอบที่ 3 : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ "นกพิราบ" ในโจทย์อาหารฝรั่งเศส ในเวลา 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ จิมมี่
  • ผู้ชนะ : จิมมี่
  • ผู้ที่ถูกคัดออก : แก้มยุ้ย

ตอนที่ 16-17: การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ[แก้]

ออกอากาศ 4 กรกฎาคม 2564 และ 11 กรกฎาคม 2564
  • รอบชิงชนะเลิศ : ผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนได้แก่ ลี่, เตอร์ และจิมมี่ จะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสามเมนูได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers), อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) โดยจะแข่งทีละเมนู แต่ละเมนูมีเวลาทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟคนที่ 4 ของประเทศไทย
  • ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 4 : ลี่

อ้างอิง[แก้]

  1. ""มาสเตอร์เชฟ ซีซั่น 4" กลับมาแล้ว! เปิดตัวสุดเร้าใจภารกิจพิชิตผ้ากันเปื้อน". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  2. "มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ ซีซั่น 4 พร้อมแจกโจทย์สุดหิน ค้นหาเซฟคนต่อไป". dara.trueid.net. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  3. "มาสเตอร์เชฟ ซีซั่น 4 เปิดรับสมัครคนที่มีใจรักการทำอาหาร". thairath. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  4. "โอกาสมาแล้ว! เปิดรับสมัคร MasterChef Thailand Season 4 : สนามข่าวบันเทิง". news.ch7.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  5. ""มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซั่น 4" เปิดตัวสุดเร้าใจ!! 3 กรรมการจัดเต็ม.. แจกโจทย์สุดเข้ม..ฝ่าด่านพิชิตผ้ากั้นเปื้อน". mgronline. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  6. ""มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซั่น 4" เปิดตัวสุดเร้าใจ". komchadluek. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]