ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวีปแอนตาร์กติกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วย[[แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา]] [[แผ่นน้ำแข็ง]]ซึ่งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มี[[น้ำจืด]]ประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร<ref name="howstuffworks"> {{cite web|url=http://science.howstuffworks.com/question473.htm|title=How Stuff Works: polar ice caps|publisher=howstuffworks.com|accessdate=13-07-2550}} {{en icon}}</ref>
ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วย[[แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา]] [[แผ่นน้ำแข็ง]]ซึ่งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มี[[น้ำจืด]]ประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร<ref name="howstuffworks"> {{cite web|url=http://science.howstuffworks.com/question473.htm|title=How Stuff Works: polar ice caps|publisher=howstuffworks.com|accessdate=13-07-2550}} {{en icon}}</ref>


จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือ[[ยอดเขาวินสันแมสซิฟ]] มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ใน[[เทือกเขาเอลส์เวิร์ท]] ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมี[[ภูเขาไฟ]]จำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือ[[ภูเขาไฟเอเรบัส]]บน[[เกาะรอสส์]] ในปี[[พ.ศ. 2547]] นักสำรวจ[[สหรัฐอเมริกา|ชาวอเมริกัน]]และ[[ประเทศแคนาดา|แคนาดา]]ค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำใน[[คาบสมุทรแอนตาร์กติก]] โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน<ref>{{cite web|url=http://www.nsf.gov/news/news_summ.jsp?cntn_id=100385|title=Scientists Discover Undersea Volcano Off Antarctica|publisher=United States National Science Foundation|accessdate=13-07-2550}} {{en icon}}</ref>
จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือ[[ยอดเขาวินสันแมสซิฟ]] มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ใน[[เทือกเขาเอลส์เวิร์ท]] ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะ


==อาณาเขตแอนตาร์กติกา==
==อาณาเขตแอนตาร์กติกา==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:15, 28 กรกฎาคม 2560

แอนตาร์กติกา
Antarctica
พื้นที่13,720,000 ตร.กม. (อันดับที่ 5)
ประชากร≈135 คน (ถาวร)
≈5,000 (ชั่วคราว)
(อันดับที่ 7)
เดมะนิมชาวแอนตาร์กติกา (Antarctican)
ประเทศ
เขตเวลาดูที่ เวลาในทวีปแอนตาร์กติกา
โดเมนระดับบนสุด.aq
เมืองใหญ่
ภาพถ่ายดาวเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา

แอนตาร์กติกา (อังกฤษ: Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง โดยได้ชื่อว่าเป็น "ทวีปสีขาว" (White Continen)[1] และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร (แต่มีสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป) สิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นได้แก่ เพนกวิน แมวน้ำ และสาหร่าย

แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ ("Terra Australis") ย้อนไปถึงยุคโบราณ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับกันว่ามีการพบเห็นทวีปแอนตาร์กติกาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) และลงเหยียบพื้นน้ำแข็งครั้งแรกในปีต่อมา อย่างไรก็ตาม แผนที่ของพลเรือเอกปีรี ไรส์ ที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ได้บรรจุดินแดนนี้ไว้ โดยมีรูปร่างคล้ายคลึงกับชายฝั่งแอนตาร์กติกา

ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ แต่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก (ความจริงแล้วไม่มีประชากรอยู่ถาวร) นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่มีระดับความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ความชื้นเฉลี่ยและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก โดยอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ คือ ลบ 82 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว[1]

การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้

เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่าง ๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายใต้น้ำแข็งที่หนากว่า 2,000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 2010 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร

ศูนย์วิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติกา

ดินแดนหลายส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่าง ๆ อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1,000 คน และจะเพิ่มเป็น 4,000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมกเมอร์โดที่อยู่ในเขตที่นิวซีแลนด์อ้างกรรมสิทธิ์เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1,000 คน

ภูมิประเทศ

แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิลรอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[2]

ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา แผ่นน้ำแข็งซึ่งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร[3]

จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซิฟ มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะ

อาณาเขตแอนตาร์กติกา

การอ้างสิทธิ์ดินแดนแอนตาร์กติกาตามสนธิสัญญาแอนตาร์กติก:
วันที่ ประเทศ ดินแดน ชื่อในภาษาท้องถิ่น ขอบเขตการอ้างสิทธิ์ แผนที่
1908  บริเตนใหญ่  บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี British Antarctic Territory 20° ตะวันตกถึง 80° ตะวันตก
1923  นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ รอสส์ดีเพนเดนซี Ross Dependency 150° ตะวันตกถึง 160 ตะวันออก
1924  ฝรั่งเศส เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์ อาเดลีแลนด์ Terre Adélie 142°2'ตะวันออก ถึง 136°11'ตะวันตกออก
1929  นอร์เวย์ นอร์เวย์ เกาะปีเตอร์ที่ 1 Peter I Øy 68°50′S 90°35′W / 68.833°S 90.583°W / -68.833; -90.583 (Peter I Island)
1933  ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี Australian Antarctic Territory 160°ตะวันออกถึง 142°2'ตะวันออก และ
136°11'ตะวันออกถึง 44°38'ตะวันออก
1939  นอร์เวย์ นอร์เวย์ ควีนมอดแลนด์ Dronning Maud Land 44°38'ตะวันออกถึง 20°ตะวันตก
1940  ชิลี ชิเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี Territorio Chileno Antártico 53°ตะวันตกถึง 90°ตะวันตก
1943  อาร์เจนตินา  อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา Antártida Argentina 25°ตะวันตกถึง 74°ตะวันตก
ไม่มี ดินแดนที่ไม่มีการอ้างสิทธิ์
(Marie Byrd Land)
90°ตะวันตกถึง 150°ตะวันตก
(ยกเว้นเกาะปีเตอร์ที่ 1)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "บันทึกการเดินทางสู่แอนตาร์กติกา: "สุดหล้าฟ้าเขียว"". ช่อง 3. 30 August 2014. สืบค้นเมื่อ 30 August 2014.
  2. Antarctica จากเวิลด์แฟกบุก เรียกข้อมูลวันที่ 13-07-2550 (อังกฤษ)
  3. "How Stuff Works: polar ice caps". howstuffworks.com. สืบค้นเมื่อ 13-07-2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น