ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90: บรรทัด 90:
* [[ไฟล์:Order of the Rajamitrabhorn (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์]] (ร.ม.ภ.) ได้รับการถวายเมื่อ [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2534]] จากประเทศ {{flagicon|Thailand}} [[ไทย]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/174/9724.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แด่ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นราชมิตราภรณ์)], เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๗๔ ง, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๙๗๒๔ </ref>
* [[ไฟล์:Order of the Rajamitrabhorn (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์]] (ร.ม.ภ.) ได้รับการถวายเมื่อ [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2534]] จากประเทศ {{flagicon|Thailand}} [[ไทย]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/174/9724.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แด่ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นราชมิตราภรณ์)], เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๗๔ ง, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๙๗๒๔ </ref>
*[[ไฟล์:Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG|80px]] [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]] (ม.จ.ก.) ฝ่ายหน้า ได้รับการถวายเมื่อ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2506]] จากประเทศ {{flagicon|Thailand}} [[ไทย]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/D/022/572.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๒ </ref>
*[[ไฟล์:Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG|80px]] [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]] (ม.จ.ก.) ฝ่ายหน้า ได้รับการถวายเมื่อ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2506]] จากประเทศ {{flagicon|Thailand}} [[ไทย]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/D/022/572.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๒ </ref>
* [[ไฟล์:Order of the Rajamitrabhorn (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์]] (ร.ม.ภ.) ได้รับการถวายเมื่อ [[พ.ศ. 2534]] จากประเทศ {{flagicon|Thailand}} [[ไทย]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/174/9724.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แด่ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นราชมิตราภรณ์)], เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๗๔ ง, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๙๗๒๔ </ref>
* [[ไฟล์:Legion_Honneur_GC_ribbon.svg|80px]] [[เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์]] ชั้นสูงสุด กร็อง-กรัวซ์ จากประเทศ {{flagicon|France}} [[ฝรั่งเศส]]
* [[ไฟล์:Legion_Honneur_GC_ribbon.svg|80px]] [[เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์]] ชั้นสูงสุด กร็อง-กรัวซ์ จากประเทศ {{flagicon|France}} [[ฝรั่งเศส]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:12, 14 ธันวาคม 2559

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 125
ครองราชย์7 มกราคม พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน
ราชาภิเษก12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
ก่อนหน้าจักรพรรดิโชวะ
รัชทายาทเจ้าชายนะรุฮิโตะ
ประสูติ23 ธันวาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
กรุงโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น[1]
อะกิฮิโตะ
จักรพรรดินีมิชิโกะ โชดะ
(พ.ศ. 2502 - ปัจจุบัน)
พระราชบุตรมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ
ฟุมิฮิโตะ เจ้าอะกิชิโนะ
ซะยะโกะ คุโระดะ
พระนามเต็ม
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
รัชศก
เฮเซ ( 7 มกราคม พ.ศ. 2532 - )
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโชวะ
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 明仁โรมาจิAkihito) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 125 ตั้งแต่โบราณกาลของญี่ปุ่น ในปัจจุบันนี้พระองค์เป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดิ

ในญี่ปุ่น การเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เท็นโน เฮกะ (ญี่ปุ่น: 天皇陛下โรมาจิtennō heika) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ และรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะเรียกว่า ยุคเฮเซ (ญี่ปุ่น: 平成โรมาจิHeisei) หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว อาจมีการขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ

พระราชประวัติ

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ปีโชวะที่ 8 (ค.ศ. 1933,พ.ศ. 2476) ณ พระราชวังโตเกียว พระองค์เป็นพระเจ้าลูกเธอลำดับที่ 5 ใน 7 พระองค์ ของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต (จักรพรรดิโชวะ) และสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ (จักรพรรดินีโคจุง) แต่เป็นพระราชโอรสพระองค์โต พระองค์ทรงดำรงพระยศเดิมเป็น เจ้าสึงุ (ญี่ปุ่น: 継宮โรมาจิสึงุ-โนะ-มิยะ)

อนึ่ง สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นี้เป็นพระประยูรญาติของ เจ้าหญิงพังจา (เกาหลี: 방자) มกุฎราชกุมารีองค์สุดท้ายของราชวงศ์เกาหลี

ตามลำดับการสืบสันตติวงศ์ของญี่ปุ่น พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทอันดับ 1 ของราชบัลลังก์เบญจมาศตั้งแต่ประสูติ และทรงเข้าพระราชพิธีสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร (ญี่ปุ่น: 立太子の礼โรมาจิริตไตชิ-โนะ-เร) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2502 มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวมิชิโกะ โชดะ การอภิเษกสมรสครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้ญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการอภิเษกของสตรีสามัญชนครั้งแรกกับราชวงศ์ญี่ปุ่น ทำให้นางสาวโชดะกลายเป็น มกุฎราชกุมารีมิชิโกะ

ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 จักรพรรดิโชวะ เสด็จสวรรคต เจ้าชายอะกิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นต่อทันที ตามโบราณราชประเพณี และมีการมอบของสามสิ่งในพระราชพิธีนั้น

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เข้าพระราชพิธีอภิเษกเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าหญิงมิชิโกะ มกุฎราชกุมารี ขึ้นเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สำนักพระราชวังญี่ปุ่น ได้ออกมาแถลงว่าจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะทรงมีพระราชกระแสรับสั่งต่อประชาชนในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นตรงกับเวลา 13.00 น. ตามเวลาในประเทศไทยซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าจะทรงมีพระราชกระแสสละราชบัลลังก์ให้กับ มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ พระราชโอรสองค์ใหญ่และในกรณีเมื่อจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงสละราชบัลลังก์แล้วก็จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล

พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่

พระอัจฉริยภาพทางด้านมีนวิทยา

ไฟล์:พระจักรญี่ปุ่น.jpg
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย ทรงฉายพระรูปร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี (ประทับยืนอยู่ทางซ้ายสุดของรูป)

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำผู้หนึ่ง ทรงศึกษาวิชามีนวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกะคุชุอิน กรุงโตเกียว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมายังประเทศไทย และทรงทูลเกล้าถวายปลานิลจำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนั้นได้โปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งการทดลองเลี้ยงนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จนปัจจุบัน ปลานิลกลายเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยก่อนหน้านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถทรงนำ เจ้าชายอะกิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร และเจ้าหญิงมิชิโกะ มกุฎราชกุมารี ได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2507

นอกจากนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2548 ได้การค้นพบปลาในตระกูลปลาบู่ทะเลชนิดใหม่ ซึ่งได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exyrias akihito และต่อมาก็ได้มีการค้นพบปลาบู่น้ำจืดสกุลใหม่ ซึ่งก็ได้มีการตั้งชื่อว่า Akihito เพื่อถวายเป็นพระเกียรติยศแด่พระองค์

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลเท็นโนเฮกะ
การแทนตนโบะกุ (บุรุษ) / วะตะชิ (สตรี)
การขานรับเฮกะ (陛下)
ลำดับโปเจียม1
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495: เจ้าสึงุ
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 - 7 มกราคม พ.ศ. 2532: มกุฎราชกุมาร
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน : สมเด็จพระจักรพรรดิ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

รายการที่แสดงต่อไปนี้ เป็นรายชื่อที่ยังไม่ครบถ้วน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่นดังต่อไปนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ราชตระกูล


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ก่อนหน้า สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ถัดไป
จักรพรรดิโชวะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ
เจ้าชายฮิโระฮิโตะ
ภายหลังคือ จักรพรรดิโชวะ

มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 - 7 มกราคม พ.ศ. 2532)
เจ้าชายนะรุฮิโตะ