จักรพรรดิจิมมุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิจิมมุ
神武天皇
พระบรมสาทิสลักษณ์ในปี ค.ศ. 1940

จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 1
11 กุมภาพันธ์ 660 ปีก่อนคริสตศักราช – 9 เมษายน 585 ปีก่อนคริสตศักราช[1][2]
พระนามหลังสวรรคตคุนโยมิ: คามุ ยามาโตะ อิวาเรบิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (神日本磐余彦天皇),
หรือ คามุ ยามาโตะ อิวาเรบิโกะ โนะ มิโกโตะ (神倭伊波礼毘古命)
อนโยมิ: จักรพรรดิจิมมุ (神武天皇)
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิซูอิเซ

พระราชสมภพ13 กุมภาพันธ์ 711 ปีก่อน ค.ศ.
ประเทศญี่ปุ่น
พระบรมนามาภิไธยฮิโกโฮโฮเดมิ (彦火々出見)
สวรรคต9 เมษายน 585 ปีก่อน ค.ศ. (126 พรรษา)
ประเทศญี่ปุ่น
พระราชบิดาอูงายาฟูกิอาเอซุ
พระราชมารดาธิดาทามาโยริ
พระสนม
ศาสนาชินโต
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยก่อตั้งประเทศญี่ปุ่น
สุสานหลวงของจักรพรรดิจิมมุ

จักรพรรดิจิมมุ (ญี่ปุ่น: 神武天皇โรมาจิJinmu-tennō) พระนาม คามูยามาโตะ อิวาเรบิโกะ เป็นจักรพรรดิในตำนานองค์แรกของญี่ปุ่นตามคำกล่าวของ นิฮงโชกิ และ โคจิกิ[1] เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติตามประเพณีเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] ในตำนานญี่ปุ่น พระองค์เป็นทายาทของเทพีแห่งดวงอาทิตย์ อามาเตราซุ ผ่านทางหลานชายของเธอ นินิงิ โนะ มิโกโตะ เช่นเดียวกับทายาทของเทพเจ้าพายุ ซูซาโนโอะ พระองค์เริ่มการสำรวจทางทหารจาก ฮิวงะ ใกล้กับ ทะเลเซโตะใน ยึด ยามาโตะ และสร้างที่นี่ให้เป็นศูนย์กลางอำนาจของพระองค์ ในญี่ปุ่นสมัยใหม่

การขึ้นครองสิริราชสมบัติในตำนานของจักรพรรดิจิมมุถูกกำหนดให้เป็น วันชาติ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1940 ในญี่ปุ่น การตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของจักรพรรดิจิมมุเป็นเรื่องอันตราย[5]

นักประวัติศาสตร์ได้เน้นย้ำว่าไม่มีหลักฐานยืนยันการมีอยู่ของจักรพรรดิจิมมุ โดยที่นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าการเล่าเรื่องการก่อตั้งญี่ปุ่นนั้นเป็นตำนาน และจักรพรรดิจิมมุเป็นบุคคลในตำนาน

นิรุกติศาสตร์[แก้]

ตำนานโคจิกิกล่าวไว้อีกว่าจักรพรรดิจิมมุเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษา 126 พรรษาซึ่งพระนาม "จิมมุ" นี้เอง ถูกเรียกขานภายหลังพระองค์สวรรคตเป็นนามที่บุคคลในรุ่นต่อมาใช้เรียกปฐมจักรพรรดิซึ่งมีความหมายที่แท้จริง คือ "เทพผู้ทรงฤทธิ์" หรือ "พระเจ้านักรบ"

ตำนาน[แก้]

การมีตัวตน[แก้]

นักวิชาการสมัยใหม่ได้ตั้งคำถามถึงการมีตัวตนอยู่จริงของจักรพรรดิญี่ปุ่น 9 พระองค์แรก ซึ่งจักรพรรดิซูจิง จักรพรรดิองค์ที่ 10 เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่พิสูจน์ได้ว่ามีตัวตนอยู่จริงในศตวรรษที่สามหรือสี่ ทั้งนี้ในยุคประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ได้ยอมรับว่า เป็นไปได้น้อยมากว่าหลงเหลือบันทึกใด ๆ ถึงการมีตัวตนของจักรพรรดิ 9 พระองค์แรก[6] นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ได้ถือว่า จักรพรรดิ 9 พระองค์แรกนี้ เป็นจักรพรรดิในตำนาน[3][7] คติชนญี่ปุ่นเชื่อว่า ยุคสมัยก่อนจักรพรรดิจิมมุ เป็นยุคของพระเจ้า[8]

ตำนานของชินโต[แก้]

ตามความเชื่อของชินโต มีอยู่ว่า จักรพรรดิจิมมุสืบเชื้อสายมาจากจันทรเทพ สึกูโยมิ และ สุริยะเทพี อามาเตราซุ ซึ่งทั้งสองมีโอรสนาม อาเมะ โนะ โอชิโฮมิมิ ซึ่งโอรสองค์นี้ก็มีโอรสอีก นาม นินิงิ' สุริยเทพีจึงส่งนินิงิ โนะ มิโกโตะไปยังเกาะญี่ปุ่นซึ่งที่สุดเขาก็ได้แต่งงานกับ ธิดาโคโนฮานะ ซากูระ และมีโอรส 3 องค์ หนึ่งในเหล่าโอรสนั้นมีนามว่า อิเกโฮโฮเดมิ หรืออีกนามคือ ยามาซาชิ ฮิโกะ เขาแต่งงานกับ ธิดาโทโยตามะ ธิดาในเทพรีวจิง เทพเจ้าแห่งผืนนที ทั้งสองมีโอรสองค์เดียว นาม ฮิโกนางิซะ ทาเกอูงายะ ฟูกิอาเอซุ โอรสองค์นี้ถูกทอดทิ้งจากบิดาและมารดาตั้งแต่เกิดเขาจึงติดตาม ธิดาทามาโยริ น้องสาวของมารดาของเขา ซึ่งในที่สุดพวกเขาก็แต่งงานกันและมีโอรสสี่องค์ ซึ่งโอรสสุดท้องนี้มีนามว่า คามูยามาโตะ อิวาเรบิโกะ หรือก็คือ จักรพรรดิจิมมุ [9]

การอพยพของจิมมุ[แก้]

จิมมุเห็นนกศักดิ์สิทธิ์บินผ่านในขณะที่พวกเขากำลังเดินทางไปทางตะวันออก

ตำนานโคจิกิและนิฮนโชกิบันทึกว่า บรรดาพี่น้องจิมมุเกิดในทากาชิโอะทางตอนใต้ของคีวชู (จังหวัดมิยาซากิในปัจจุบัน) ได้ตัดสินใจที่จะอพยพไปทางทิศตะวันออก จากภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสมแก่การตั้งอาณาจักรพี่ชายของจิมมุ อิตสึเซะ โนะ มิโกโตะ ได้พาตระกูลอพยพไปทางตะวันออกผ่านทะเลเซโตะใน ด้วยความช่วยเหลือของประมุขท้องถิ่น นาม ซาโอะ เน็ตสึฮิโกะ เมื่อพวกเขามาถึงนานิวะ (โอซากะในปัจจุบัน) ณ ที่นั่น พวกเขาก็ได้พบกับประมุขท้องถิ่น นาม นางาซูเนฮิโกะ พวกเขาได้รบกับนางาซูเนฮิโกะ ในการรบนั้นทำให้อิตสึเซะตายในการรบ

จิมมุตระหนักว่า การที่พวกเขาพ่ายแพ้นั้น มาจากพวกเขารบไปทางทิศตะวันออกซึ่งเข้าหาพระอาทิตย์ ดังนั้นแล้ว เขาจึงตัดสินใจย้ายมาอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรคิอิ เพื่อที่จะรบไปทางตะวันตก พวกเขาก็มาถึงคูมาโนะ จากการนำพาของอีกาสามขานามว่า ยาตางาราซุ พวกเขาเดินทางต่อไปยังยามาโตะ ณ ที่นั่น พวกเขาได้รบกับนางาซูเนฮิโกะอีกครั้ง และได้รับชัยชนะ

ในยามาโตะ มีบุคคลนาม นิงิฮายาฮิ โนะ มิโกโตะ เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพใน ทากามางาฮาระ ดินแดนแห่งเทพ เดิมเขาถูกพิทักษ์โดยนางาซูเนฮิโกะ แต่เมื่อนิงิฮายาฮิได้พบกับจิมมุแล้ว เขายอมรับในตัวของจิมมุ ณ จุดนี้เอง ทำให้จิมมุกล่าวว่าจะขึ้นครองบัลลังก์แห่งญี่ปุ่น

สายโลหิต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Jimmu", Japan: An Illustrated Encyclopedia (1993), Kodansha, ISBN 978-4069310980.
  2. "Genealogy of the Emperors of Japan" at Kunaicho.go.jp; retrieved August 28, 2013.
  3. 3.0 3.1 Kelly, Charles F. "Kofun Culture", Japanese Archaeology. April 27, 2009. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "kelly" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
    • Kitagawa, Joseph (1987). On Understanding Japanese Religion, p. 145, ที่ Google Books; excerpt: "emphasis on the undisrupted chronological continuity from myths to legends and from legends to history, it is difficult to determine where one ends and the next begins. At any rate, the first ten legendary emperors are clearly not reliable historical records."
    • Boleslaw Szczesniak, "The Sumu-Sanu Myth: Notes and Remarks on the Jimmu Tenno Myth", in Monumenta Nipponica, Vol. 10, No. 1/2 (Winter 1954), pp. 107–126. doi:10.2307/2382794. JSTOR 2382794.
  4. Trevor, Malcolm (2001). Japan: Restless Competitor: The Pursuit of Economic Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Psychology Press. p. 79. ISBN 978-1-903350-02-7.
  5. Brinkley, Frank. (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era, p. 21, p. 21, ที่ Google Books; excerpt, "Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kammu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.
  6. Kitagawa, Joseph. (1987). On Understanding Japanese Religion, p. 145, p. 145, ที่ Google Books; excerpt, "... emphasis on the undisrupted chronological continuity from myths to legends and from legends to history, it is difficult to determine where one ends and the next begins. At any rate, the first ten legendary emperors are clearly not reliable historical records."
  7. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Jindai" in Japan Encyclopedia, p. 421, p. 421, ที่ Google Books; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ archive.today.
  8. Nussbaum, "Chijin-godai" in Japan Encyclopedia, p. 111, p. 111, ที่ Google Books.
ก่อนหน้า จักรพรรดิจิมมุ ถัดไป
ไม่มี
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(660 ปีก่อนค.ศ. - 585 ปีก่อน ค.ศ.)
จักรพรรดิซูอิเซ