พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระอลงกต)
พระราชวิสุทธิประชานาถ

(อลงกต ติกฺขปญฺโญ)
คำนำหน้าชื่อพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นโท
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระบาทน้ำพุ ลพบุรี
อุปสมบทพ.ศ. 2521
พรรษา42
ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3
เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ

พระราชวิสุทธิประชานาถ นามเดิม อลงกต พลมุข ฉายา ติกฺขปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 เป็นผู้ให้การอุปการะช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี-เอดส์ หลายราย ปัจจุบันทางวัดยังคงรับผู้ป่วยมาดูแลอยู่เนือง ๆ

ประวัติ[แก้]

พระราชวิสุทธิประชานาถนามเดิม อลงกต นามสกุล พลมุข เกิดวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี บิดาของท่านเป็นข้าราชการกรมทางหลวง ส่วนมารดาได้จากไปเมื่อท่านมีอายุเพียง 3 ขวบ จากนั้นท่านได้รับการดูแลจากคุณย่า โดยใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบวินัยเคร่งครัด ร่วมกับพี่น้องอีก 5 คน

การศึกษา[แก้]

เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนโพธารามคุณารักษ์วิทยาคาร มัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ก่อนที่จะได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และเมื่อเข้าสู่วัย 25 ปี ได้อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารใน พ.ศ.2522 ได้รับฉายา "ติกฺขปญฺโญ" และเดินทางมาฝึกสมาธิที่ถ้ำเขาเขียวในเขตวัดพระบาทน้ำพุรูปเดียวเป็นระยะเวลาประมาณ 6-7 ปี ใน พ.ศ. 2529 ได้อุปสมบทและย้ายมาจำพรรษาสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ณ วัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และเริ่มศึกษาทางธรรมอย่างจริงจังโดยออกธุดงค์ ไปตามเขาและถ้ำต่างๆ หลายจังหวัด เป็นระยะเวลาประมาณ 2 - 3 ปี จนธุดงค์กลับมาที่จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2531 พระเถรานุเถระได้ขอให้มาจำพรรษาที่วัดพระบาทน้ำพุ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเจ้าอาวาส และได้ตั้งพระอาจารย์อลงกต ติกขปัญโญเป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติการทำงาน[แก้]

พ.ศ. 2535 เริ่มมีผู้ได้รับโรคเอชไอวีกันมากขึ้น ท่านจึงรับมาดูแล ทั้งป้อนอาหาร ซักเสื้อผ้า เช็ดตัวผู้ป่วย และให้กำลังใจเรื่อยมา ท่ามกลางกระแสการคัดค้านในเบื้องต้น มีการร้องเรียนให้ย้ายโครงการไปที่อื่น บ้างก็ประท้วงด้วยการไม่ใส่บาตร แต่ต่อมาท่านได้พยายามชี้แจงให้ผู้คนเข้าใจ จนเริ่มมีอาสาสมัครคอยให้การช่วยเหลือในหลายๆด้าน

ตำแหน่งงานทางคณะสงฆ์[แก้]

วัดพระบาทน้ำพุ

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[แก้]

จากการเสียสละอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยของท่าน จึงได้ส่งผลให้ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ดังต่อไปนี้

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

รางวัลพระราชทาน[แก้]

อื่น ๆ[แก้]

  • รางวัลคนดีศรีสังคม จากสโมสรโรตารี่
  • รางวัลพลเมืองดีเด่น จากสโมสรไลอ้อนส์
  • รางวัลบริการสังคมเพื่อคุณธรรม จากสำนักข่าวกรุงเทพมหานคร

สมณศักดิ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". mahathera.onab.go.th.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 113, ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539, หน้า 33
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 125, ตอน 3 ข, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 21
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 22 ข, 11 สิงหาคม 2559, หน้า 4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]