พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระยาอนุมานราชธน)
พระยาอนุมานราชธน
(ยง เสฐียรโกเศศ)
ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2492
นายกคณะกรรมการแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสถาปนามหาวิทยาลัย
ถัดไปพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
หลีกวงหยง

14 ธันวาคม พ.ศ. 2431
เมืองพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
เสียชีวิต12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (80 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร)
สัญชาติไทย
คู่สมรสละไม อุมารัติ
บุตร10 คน
บุพการี
  • หลี เสฐียรโกเศศ (บิดา)
  • เฮียะ เสฐียรโกเศศ (มารดา)
การศึกษาโรงเรียนบ้านพระยานานา
โรงเรียนอัสสัมชัญ
อาชีพข้าราชการ นักเขียน นักวิชาการ
ลายมือชื่อ
อาชีพนักเขียน
นามปากกาเสฐียรโกเศศ
ผลงานที่สำคัญกามนิต-วาสิฏฐี

ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมและเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2531 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

ประวัติ[แก้]

ชาติกำเนิด[แก้]

พระยาอนุมานราชธน เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ที่เรือนไม้หลังหนึ่ง ติดคูด้านใต้วัดพระยาไกร แถวโรงเลื่อยบริษัทบอร์เนียว ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลพระยาไกร อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร (ซึ่งปัจจุบันคือแขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของนายหลีกับนางเฮียะ มีชื่อเดิมว่า หลีกวงหยง ต่อมา ได้เปลี่ยนเป็น ยง และได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเสฐียรโกเศศ [1] ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามอนุมานราชธนเป็นชื่อสกุล[2]

การศึกษา[แก้]

เมื่ออายุราวห้าหกขวบได้เริ่มเรียนหนังสือกับบิดา โดยต้องตื่นตั้งแต่ตีห้ามาอ่านหนังสือ ครั้นอายุได้สักสิบขวบมารดาก็พาไปฝากเข้าโรงเรียนบ้านพระยานานา อยู่แถวใต้ปากคลองวัดทองเพลง เป็นนิวาสถานเดิมของพระยานานาพิพิธ บุตรชายคนหนึ่งของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โรงเรียนนี้สอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เด็กชายยงเรียนได้เร็วมากกว่าคนอื่นเพราะได้เรียนหนังสือมาแล้วกับบิดา

ต่อมาจึงเข้าเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ในปี พ.ศ. 2443 ได้เลขประจำตัว อสช 1112[3] ขณะนั้นโรงเรียนใช้ระบบการสอนเป็นภาษาอังกฤษ มีการสอนภาษาไทยบ้างสัปดาห์ละสองชั่วโมงเท่านั้น ยง เสฐียรโกเศศ ได้เล่าเรียนจบชั้นมัธยม 4 พอขึ้นชั้นมัธยม 5 ก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะครอบครัวมีฐานะไม่ดี รวมทั้งมีพี่น้องหลายคนและพระยาอนุมานราชธนเป็นบุตรคนโต กระนั้นท่านกลับศึกษานอกระบบโรงเรียนและศึกษาตลอดชีวิต ด้วยมีนิสัยรักความรู้ กระทั่งได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทย

การทำงาน[แก้]

หลังออกจากโรงเรียนท่านได้เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการไปฝึกหัดผสมยาที่โอสถศาลาของรัฐบาล และได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในตอนกลางคืน แต่เมื่อมิได้รับเบี้ยเลี้ยง จึงลาออกไปทำงานโรงแรมโอเรียนเต็ล ได้เงินเดือนๆ ละ 60 บาท ทำได้ไม่ถึงปีจึงลาออกไปทำงานที่กรมศุลกากรในตำแหน่งเสมียน เงินเดือนๆ ละ 50 บาท ทั้งนี้เพื่อมีเวลาพักผ่อนมากกว่าและรับยกเว้นเกณฑ์เข้าเป็นทหารด้วย ที่กรมศุลกากร พระยาอนุมานราชธนได้พบนายนอร์แมน แมกสแวล ผู้เป็นทั้งหัวหน้าและเป็นผู้สอนภาษาอังกฤษให้พระยาอนุมานราชธนจนแตกฉาน รับราชการก้าวหน้ามาโดยตลอด และได้เลื่อนตำแหน่งจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ ตามลำดับ

จนถึงปี พ.ศ. 2467 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุมานราชธน มีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 1000[4]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีเหตุต้องออกจากราชการในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดี แต่สองปีถัดมา หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) ซึ่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ได้ชวนให้กลับมารับราชการที่กรมศิลปากร และด้วยความรู้ความสามารถของท่านจึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นตามลำดับ ตำแหน่งสุดท้ายได้เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งภายหลังการเกษียณอายุราชการและการต่ออายุราชการหลายครั้ง จึงออกจากราชการมารับบำนาญ

ครอบครัว[แก้]

พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

พระยาอนุมานราชธน สมรสกับคุณหญิงละไม อนุมานราชธน (สกุลเดิม อุมารัติ) บิดาและมารดาแยกทางกันจึงอาศัยอยู่กับป้า ชื่อ แม่หมออี้ ซึ่งเป็นชีอยู่นิกายคริสต์คาทอลิก นางสาวละไมจึงเข้ารีตตามป้าไปด้วย

ความรักของพระยาอนุมานราชธนกับคุณหญิงอนุมานราชธนเป็นรักแรกพบ มีความประทับใจเมื่อแรกเห็นจึงพยายามทำความรู้จัก และขอคุณหญิงอนุมานราชธนแต่งงานโดยเหตุที่ว่าเธอเป็นแม่บ้านแม่เรือนรู้จักจัดการต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และคงปรนนิบัติมารดาและพี่น้องของท่านให้ได้รับความสะดวกสบายได้

ท่านมิได้จัดงานเลี้ยง เนื่องจากทางครอบครัวโดยเฉพาะมารดาไม่พอใจกับสะใภ้ที่เข้ารีตผู้นี้ คุณหญิงอนุมานราชธนท่านก็มีขันติอดทนอดกลั้นเป็นอย่างดี พระยาอนุมานราชธนก็มีความซื่อสัตย์ต่อภริยาเป็นอย่างยิ่ง มิได้มีภริยาอื่นเพิ่มเติมอีก

พระยาอนุมานราชธน และคุณหญิงอนุมานราชธน มีบุตรธิดาร่วมกัน 10 คน ดังรายนามต่อไปนี้

  • นางสมไสว เหราบัตย์
  • นายสมจัย อนุมานราชธน
  • เด็กหญิงสมปอง อนุมานราชธน
  • นางสมศรี สุกุมลนันทน์
  • นางสาวภัทรศรี อนุมานราชธน
  • ศาสตราจารย์มัลลี เวชชาชีวะ
  • นายยรรยง อนุมานราชธน
  • นายญาณิน อนุมานราชธน
  • พันตำรวจเอก บรรยง อนุมานราชธน
  • ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวัน อนุมานราชธน

หลังเกษียณอายุแล้ว ท่านก็ยังคงเขียนหนังสือและตำราออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะงานเขียนร่วมกับพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ซึ่งมักทำงานด้วยกันโดยใช้นามปากกาว่า เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เรียบเรียงหนังสือ ตำรา และวรรณกรรมอันทรงคุณค่าออกมาเป็นจำนวนมาก

พระยาอนุมานราชธนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512

บรรดาศักดิ์และยศ[แก้]

  • 18 มกราคม พ.ศ. 2454 เป็น ขุนอนุมานราชธน[5]
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 เป็น หลวงอนุมานราชธน มีตำแหน่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 600[6]
  • 21 กรกฎาคม 2462 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[7]
  • 22 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็น พระอนุมานราชธน มีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 800[8]
  • 30 ธันวาคม 2463 – อำมาตย์ตรี[9]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2467 เป็น พระยาอนุมานราชธน มีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 1,000[10]
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ลาออกจากบรรดาศักดิ์[11]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2491 กลับคืนมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุมานราชธนตามเดิม[12]

ผลงานสำคัญ[แก้]

ผลงานสำคัญของพระยาอนุมานราชธนในช่วงเวลา 80 ปีเศษแห่งชีวิตของท่านมีมากนับเป็นหนังสือได้มากกว่า 200 รายการ ดังปรากฏในเว็บไซต์ของคลังปัญญาชนสยาม ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับงานวรรณกรรมของประเทศไทย เรียงตามลำดับปีที่ตีพิม์เท่าที่ทราบดังนี้

ผลงานที่ทราบปีที่ตีพิมพ์[แก้]

ปีที่ตีพิมพ์ที่ปรากฏเป็นปีตีพิมพ์ที่ทราบ มีหลายรายการที่มีการตีพิมพ์มาก่อนแล้ว เช่น หิโตปเทศ ที่ตีพิมพ์โดย "โรงพิมพ์ไท" มาตั้งแต่ครั้งแรกร่วมงานกับพระสารประเสริฐ หรือ "นาคะประทีป"

ผลงานที่ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจปีที่ตีพิมพ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 8 ลำดับที่ 688, เล่ม 30, 21 ธันวาคม พ.ศ. 2456, หน้า 2133.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล, เล่ม 59, ตอนที่ 33 ง, 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2485, หน้า 1351.
  3. "บุคคลที่มีคุณูปการ". สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.
  4. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 3403. 1 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 28, วันที่ 28 มกราคม ร.ศ. 130, หน้า 2441.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 33, วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2459, หน้า 2391.
  7. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 37, วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2463, หน้า 3255.
  9. พระราชทานยศ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 41, วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467, หน้า 3403.
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  12. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับคืนมีบรรดาศักดิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (22 ง): 1607. 27 เมษายน 2491. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๙๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๖๙๑, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๖, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ถัดไป
ไม่มี ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 1
(พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2492)
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล