ผู้ใช้:Patrick Joker/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความเสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย[แก้]

สาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัยเกิดจากความอ่อนแอของระบบการเมืองการปกครอง แคว้นต่างๆที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองอำนาจตั้งตนเป็นอิสระ มีการซ่องสุมกำลังเพื่อประโยชน์ส่วนตน บ้านเมืองยังไม่ได้รับการพัฒนาและยังอยู่ในยุคมืด การส่งสารเป็นไปด้วยความลำบากล่าช้า เมื่อเกิดปัญหาจนก่อให้ปัญหานั้นบานปลายและไม่สามารถแก้ไขได้แล้วจึงทำให้การแก้ขปัญหาเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนยังไม่ได้รับการศึกษา เจ้าเมืองกดขี่ทาสและกำลังพล ทุกฝ่ายต่างมองหาช่องทางเพื่อผลประโยชน์ ส่งผลให้อาณาจักรเสื่อมอำนาจลงไปในที่สุด[1]

เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อประมาณ พ.ศ.1841 อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มมีความเสื่อมอำนาจและอ่อนแอลง ซึ่งการเกิดความเสื่อมอำนาจและความอ่อนแอนี้ อาจมีปัจจัยมาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ

1.ความห่างเหินระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร

2.ความอ่อนแอในด้านการทหารและกำลังพล

3.การถูกขัดขวางเส้นทางเศรษฐกิจและการค้า

4.ปัญหาจากการเมืองภายนอกอาณาจักรสุโขทัย

5.การแตกความสามัคคีของคนในอาณาจักรสุโขทัย[2]

1.ความห่างเหินระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร[แก้]

เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วนั้น ระบบการปกครองแบบบิดากับบุตร ที่เรียกว่าระบบปิตุราชา เริ่มถูกละเลยและลดความสำคัญลง ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัญหาขัดแย้งและผลประโยชน์ของเมืองเล็กเมืองน้อยที่ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย จึงได้ริเริ่มใช้วิธีการปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น นำพระพุทธศาสนาและระบอบธรรมราชา มาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง ฐานะของกษัตริย์เปลี่ยนจาก พ่อขุน เป็น พระยา (พญา) และต่อมากลายเป็น พระมหาธรรมราชา มีความต้องการที่จะเพิ่มพูนพระราชอำนาจให้สูงส่งยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรจึงเหินห่างกัน ความผูกพันฉันบิดากับบุตรที่เคยมีมานั้นจึงค่อยๆเสื่อมคลายลง การให้ความร่วมมือที่เคยมี่อย่างใกล้ชิด และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันถดถอยลงไปด้วย อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มาจากจุดอ่อนรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นการกระจายอำนาจที่หละหลวม เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจในการบริหารและการควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตนเกือบจะเต็มที่ ราชธานีไม่สามารถควบคุมหัวเมืองได้อย่างรัดกุม จึงเปิดโอกาสให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็นอิสระได้โดยง่าย และต่างฝ่ายต่างมองหาเพียงผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น ไม่ให้ความสำคัญในด้านการช่วยเหลือหรือพึ่งพาอาศัย มีการแข็งข้อขึ้นในบางเขตอำนาจหรือพื้นที่ที่ห่างไกล

2.ความอ่อนแอในด้านการทหารและกำลังพล[แก้]

รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นช่วงเวลาสร้างบ้านสร้างเมือง บรรดาประชาราษฎรจึงผูกพันใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ทำให้ไพร่พลมีกำลังเข้มแข็งสามารถขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างขวาง ทั้งโดยการรบ และโดยการสวามิภักดิ์ด้วยความยำเกรงแสนยานุภาพ แต่เมื่อบ้านเมืองสงบราบคาบเป็นปกติสุข ว่างเว้นจากศึกสงคราม ประชาราษฎรก็หันมาสร้างสรรค์ชีวิตความเป็นอยู่ให้สุขสบายดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการศาสนานั้นนับว่าเจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเลื่อมใสศรัทธา และทรงสนับสนุนให้มีการสร้างวัดและศาสนสถานต่างๆ มากมาย ส่งผลให้เกิดความงอกงามทางศิลปวัฒนธรรม มีการแสดงการละเล่นต่างๆ ที่สร้างความรื่นรมย์ให้แก่ชีวิตมากขึ้น จนเป็นรากฐานวัฒนธรรมไทยมาจนปัจจุบันนี้ แต่การฝักใฝ่ในพระศาสนาและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมากมายนี้ได้ทำให้ภาวะความอ่อนแอทางการทหารเกิดขึ้น บรรดาประเทศราชและหัวเมืองต่างๆ จึงถือโอกาสแข็งข้อตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัย เช่น ประเทศราชมอญทางตะวันตก หัวเมืองทางภาคใต้ตลอดจนถึงแหลมมลายู และแคว้เนต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น และแคว้นอโยธยาทางฝั่งตะวันออก แคว้นสุพรรณภูมิ ทางฝั่งตะวันตก เป็นต้น ภายหลังเมื่อพระเจ้าอู่ทองตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น สุโขทัยก็เสื่อมลงอย่างชัดเจน จนในที่สุดต้องตกอยู่ในอำนาจของอยุธยา

3.การถูกขัดขวางเส้นทางเศรษฐกิจและการค้า[แก้]

ขณะที่สุโขทัยรุ่งเรืองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น เศรษฐกิจของสุโขทัยได้เจริญสูงสุดจนถึงขั้นมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรจีนทางทะเล สร้างความมั่นคั่งให้แก่สุโขทัยเป็นอย่างยิ่ง เส้นทางลำเลียงสินค้าที่สุโขทัยใช้นั้นคือเส้นทางแม่น้ำ อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง และไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยตรงได้ ต้องอาศัยผ่านเมืองมอญ และไปทางใต้ทางเมืองเพชรบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัย ยังถูกอาณาจักรอยุธยาปิดกั้น โดยสิ้นเชิงด้วยการให้เมืองเหล่านั้นประกาศเอกราชหรือถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา จึงได้มีความจำเป็นในการใช้เส้นทางขนส่งสิ้นค้าทางน้ำ โดยเฉพาะทางแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เมื่อแคว้นต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งตนเป็นอิสระ ส่งผลให้เส้นทางขนส่งสินค้าถูกตัดขาดไปโดยปริยาย การค้าขายของสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นเพียงการค้าโดยอาศัยเส้นทางบก ซึ่งทำได้ไม่กว้างขวาง และเมืองที่ทำการค้าด้วยก็เป็นเพียงเมืองเล็กๆ ทำให้เศรษฐกิจของสุโขทัยเสื่อมลง การทำมาหากินของราษฎรเริ่มฝืดเคือง เมื่อเศรษฐกิจอ่อนแอลงความอ่อนแอด้านอื่นๆ ก็ตามมา ทั้งยังมีพวกผู้ฉวยโอกาสจากผู้ที่ทำมาหากินอย่างสุจริต โจรปล้นทรัพยากรเพราะความอดอยาก การเรียกเก็บส่วยจากเจ้าเมือง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเป็นอันมาก ทำให้เศรษฐกิจสุโขทัยทรุดโทรม ขาดรายได้ทั้งการค้ากับต่างประเทศ และการค้าระหว่างเมืองต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจทรุดโทรมย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมทางการปกครองด้วย

4.ปัญหาทางการเมืองภายนอกอาณาจักรสุโขทัย[แก้]

บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มีการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาและทางตอนเหนือได้มีอาณาจักรล้านนาที่นับว่ามีแต่ความเก่าแก่ บีบอยู่ถึง 2 ด้านโดยเฉพาะอาณาจักรอยุธยาได้เข้ามารุกรานชายแดนสุโขทัยหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา จนถึงสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ต้องออกมาอ่อนน้อมยินยอมเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา

ในปี พ.ศ.1921 เมื่ออาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว จนถึงปีพ.ศ.1962

เสด็จสวรรคตที่เมืองสองแคว ได้เกิดจราจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง พญาบานเมืองกับพญารามคำแหง โดยสมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้เสด็จขึ้นมาระงับเหตุการณ์ ทั้งสองพระองค์ต้องออกมาถวายบังคม จึงโปรดเกล้าฯ ให้พญาบานเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองสองแคว เมื่อสิ้นรัชกาลนี้แล้วไม่ปรากฏผู้จะปกครองต่อไป อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองสองแคว จึงรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ.1981 โดยมีสมเด็จพระราเมศวร (พระบรมไตรโลกนาถ) ขึ้นมาปกครองดูแล 

ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1.เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง

2.เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง

3.เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง

4.เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง[3]

หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมบาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช

หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้

ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด[4]

5.การแตกความสามัคคีของคนในอาณาจักรสุโขทัย[แก้]

การแตกแยกภายในจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างเชื้อพระวงศ์ เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมอำนาจลง ปัญหาแย่งชิงอำนาจกันเองเกิดขึ้นครั้งแรกประมาณ พ.ศ.1890 อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการขาดความสามัคคีภายในอาณาจักรมีการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างเจ้านายภายในราชวงศ์สุโขทัยด้วยกันเอง เช่นก่อนที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ขึ้นครองราชสมบัติความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองมีมากขึ้น เนื่องจากการมีประชากรมากขึ้น ความใกล้ชิดของกษัตริย์ต่อราษฎรได้ลดลงไป ประกอบกับแนวความคิดการปกครองจากพ่อปกครองลูกได้แปรเปลี่ยนเป็นธรรมราชา เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองนอกจากนั้นวัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้เกิดความห่างเหินมีมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นแยกกันอยู่คนละส่วน อำนาจในการตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เพียงผู้เดียว

พระยาลิไทยได้ยกทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยมาปราบจลาจลที่กรุงสุโขทัย แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 เป็นเวลาเดียวกับที่พระเจ้าอู่ทองตั้งกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และต่อมากรุงศรีอยุธยามีอำนาจมากขึ้น ทำให้สุโขทัยไม่ปลอดภัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) จึงต้องทรงย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยไปที่พิษณุโลกเพื่อให้พ้นจากการแย่งอำนาจของอยุธยา แต่ไม่นานนัก ใน พ.ศ.1921 อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่พิษณุโลกก็ตกเป็นประเทศราชของอยุธยา และเป็นประเทศราชอยู่นานถึง 10 ปี จึงสามารถเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.1931 แม้อาณาจักรสุโขทัยจะเป็นอิสระได้อีกครั้งหนึ่ง แต่การเมืองภายในราชสำนักก็มิได้ราบรื่น มีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันอีกจนเกิดจราจลในตอนปลายรัชกาลที่ 7 ทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) ต้องทรงใช้กำลังทัพเข้าปราบปรามและปราบดาภิเษกขึ้นครองเมืองพิษณุโลก เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1942 แต่การแตกแยกก็ยังไม่จบสิ้น พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) เสด็จสวรรคตโดยมิได้ตั้งรัชทายาท ทำให้เกิดการแตกแยกในพระราชวงศ์อย่างรุนแรง พระราชโอรสของพระองค์ คือ พระยาบาลเมืองเป็นกษัตริย์ครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมาธิราช เป็น พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) แห่งอาณาจักรสุโขทัย และให้พระยารามครองเมืองสุโขทัย (ซึ่งเป็นเมืองเอก) พร้อมกับทูลขอพระนางสาขา พระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ ภายหลังเจ้าสามพระยาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 จึงผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าไว้ในอาณาจักรอยุธยา โดยส่งพระราเมศวร พระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งประสูติโดยพระนางสาขา พระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) ไปครองเมืองพิษณุโลกใน พ.ศ.1981 อาณาจักรสุโขทัยจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา นับเป็นการสิ้นสลายของอาณาจักรสุโขทัยแต่บัดนั้น[5][6]

สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังการกำจัดอิทธิพลของขอม การที่สุโขทัยสามารถกำจัดอิทธิพลของขอมไปได้ ย่อมแสดงว่าสังคมสุโขทัยเป็นสังคมที่มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นอย่างดี การได้ผู้นำที่เก่งกล้าสามารถย่อมก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนพลเมือง จึงทำให้มีการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ประกอบกับสังคมสุโขทัยยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ประชาชนได้รับการขัดเกลาจิตใจให้มีความละเอียดอ่อนทั้งในแง่ของอารยธรรมและในแง่ของศิลปกรรม ทำให้สามารถสร้างสรรค์ศิลปวิทยา ซึ่งได้สั่งสมเป็นมารดตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะชนชั้นทางสังคม

สังคมสุโขทัยประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ดังนี้

1.พระมหากษัตริย์ เป็นประมุขของอาณาจักร เป็นผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร เป็นผู้ปกครองประเทศ และเป็นผู้นำทัพในยามเกิดสงคราม

2.เจ้านายหรือขุนนาง ได้แก่ กลุ่มพระราชวงศ์และข้าราชการซี่งต่างมีหน้าที่ในการช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง คำว่า เจ้า ขุน และ ลูกเจ้า ลูกขุน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มพระราชวงศ์เข้ามารับหน้าที่เป็นข้าราชการฝ่ายปกครอง

3.พระสงฆ์ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักในสังคมสุโขทัย วัดและพระสงฆ์เป็นศูนสย์กลางของคนไม่จำกัดฐานะหรือเพศ พระมหากษัคริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนา จึงปกป้องคุ้มครองและอุปถัมภ์พระสงฆ์ด้วย กษัตริย์ เจ้านายหรือขุนนาง และพระสงฆ์ จัดเป็นชนชั้นปกครอง

4.ประชาชน คำที่นำมาใช้เรียกชนชั้นนี้ ได้แก่ ท่วย ลูกบ้าน ลูกเมือง ไพร่ ไพร่ฟ้าข้าไท ประชาชนจัดเป็นชนชั้นถูกปกครอง ในยามสงบยเป็นพลเรือน มีหน้าที่ ประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัว และจะต้องสละแรงงานของตนทำงานให้แก่อาณาจักรที่เป็นสาธารณะและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ในยามสงครามชายฉกรรจ์จะต้องเป็นทหารเข้าร่วมต่อสู้ป้องกันอาณาจักร ประชาชนหรือไพร่เป็นชนกลุ่มใหญ่ของสังคม[7][8]

กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สังคมสุโขทัยเป็นสังคมที่มีระเบียบแบบแผน ระเบียแบบแผนเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับมาพร้อมกับพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่เข่ามานั้น ได้พาลัทธิความเชื่อตามแบบศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เข้ามาด้วย ซึ่งนอกจากพิธีกรรมต่างๆ แล้วยังมีศาสตร์ในสาขาต่างๆ เช่น ธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วยปรากฏตามศิลาจารึกว่า มีกฎหมายและกระบวนการพิจารณาคดีที่จำเป็นแก่กาลสมัย เช่น

1.กฎหมายอาญาว่าด้วยลักษณะโจร บัญญัติเกี่ยวกับการลักทรัพย์ การลักพา และการฆ่าสัตว์

2.กฎหมายแพ่งว่าด้วยครอบครัวมรดก บัญญัติว่าทรัพย์สินของผู้ใด เมื่อถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมตกแก่ลูกหลาน ดังข้อความในจารึกว่า .......ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อดำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ปผ่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น.........

3.กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ บัญญัติให้มีตุลาการ พิจารณาอรรถคดีโดยธรรม ห้ามมิให้รับสินบนเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ดังข้อความในจารึกว่า ..........ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกวัน สวนดูแท้แล จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยชื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวทำนบใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด..........

4.กฎหมายว่าด้วยการถวายฎีกา บัญญัติว่า ผู้ใดต้องการถวายฎีกาแต่พระมหากษัตริย์ก็สามารถทำได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง พระมหากษัตริย์จะทรงรับฎีกาและตัดสินคดีด้วยพระองค์เอง ดังข้อความในจารึกว่า ...........ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกมือถาม สวนความแก่มั้นด้วยชื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..............[9]

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่นๆ

เมื่อเริ่มตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น กล่าวได้ว่าเมืองสุโขทัยอยู่ท่ามกลางอาณาจักรหรือหัวเมืองที่เป็นของชนชาติไทยกลุ่มอื่นหรือชนชาติอื่นซึ่งต่างเป็นอิสระมี่อำนาจมากบ้างน้อยบ้าง คือ

ทางตะวันออก มีอาณาจักรขอม และเมืองขึ้นของขอม

ทางใต้ มีพวกขอมเข้ามาตั้งราชธานีเป็นเมืองมหาอุปราชที่เมืองละโว้ และมีแคว้นของชนชาติไทยอีกหลายแคว้น เช่น แคว้นสุพรรณภุมิ (สุพรรณบุรี) และแคว้นนครศรีธรรมราช

ทางตะวันตก มีคนไทยตั้งถิ่นฐานเป็นอิสระอยู่หลายเมือง เช่น เมืองฉอด ซึ่งมีอำนาจเข้มแข็งอยู่ก่อนสุโขทัย ถัดออกไปเป็นเมืองของชาติมอญ

ทางเหนือ มีเมืองในอาณาจักรล้านนา สภาพแวดล้อมตามที่กล่าวข้างต้นทำให้เห็นว่า อาณาจักรสุโขทัยจำเป็นต้องมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรหรือเมืองต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์[10][11]

1.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรล้านนามาตลอด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง ทรงดำเนินนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรล้านนาให้แน่นแฟ้มยิ่งขึ้น เพราะเป็นชนชาติไทยด้วยกัน คือ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรล้านนามีบุคคลสำคัญ คือ พ่อขุนมังราย เจ้าเมืองเงินยาง และพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทั้งสามองค์เป็นมิตรสนิทสนมกันมาแต่เยาว์วัย เมื่อมีอำนาจปกครองบ้านเมือง จึงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ใน พ.ศ.1835 พ่อขุนมังรายสร้างราชธานีใหม่ มีชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พ่อขุนรามคำแหงและพ่อขุนงำเมืองก็ได้ให้ความร่วมมือ ตลอดระยะเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระผู้ปกครองอาณาจักรทั้งสองฝ่ายต่างเป็นมิตรไมตรีกัน ผลดีเกิดขึ้นจากการมีสัมพันธไมตรีอันดีของอาณาจักรไทยด้วยกันระหว่างสุโขทัยและล้านนา คือ สร้างความมั่นคงให้แก่ชนชาติไทยต่างพวกกันให้เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน ต่างช่วยเหลือซี่งกันและกัน สร้างความเจริญก้าวหน้าด้วยกัน โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และยังมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กันและกัน การเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันเป็นเกราะป้องกันศัตรูได้อย่างดี คือ ทำให้อาณาจักรอื่นไม่กล้ารุกราน

2.ความสัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราช อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทำให้ได้รับผลดีหลายประการ คือ สุโขทัยรับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในสุโขทัย และได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างดี ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมืองนครศรีธรรมราชเข้าร่วมอยู่ในอาณาจักรสุโขทัย สร้างความมั่นคงแก่สุโขทัย

3. ความสัมพันธ์กับลังกา อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรึอินทราทิตย์ เริ่มมีความสัมพันธ์กับลังกาในทางพระพุทธศาสนาโดยผ่านเมืองนครศรีธรรมราช เจ้ากรุงลังกาได้ ถวายพระพุทธสิหิงค์แก่สุโขทัย ในสมัยต่อมาก็มีพระเถระจากสุโขทัย เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ก็โปรดเกล้า ฯ ให้ไปพิมพ์รอยพระพุทธบาทของลังกามาประดิษฐไว้บนยอดเขาสุมนกูฎในเมืองสุโขทัยด้วย นอกจากนี้ยังได้เชิญพระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพัน (เมาะตะมะ หรือ มะตะบัน) ประเทศมอญ ซึ่งเป็นชาวลังกามาเป็นอุปัชฌาย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์

4.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรมอญ อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบานเมืองยังไม่มีสัมพันธไมตรีกับอาราจักรมอญที่ปรกฎชัด ต่อมาในรัชกาล พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสนับสนุน มะกะโท ชาวมอญ โดยรับไว้เป็นราชบุตรเขยแลได้ส่งเสริมจนมีโอกาสได้เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรมอญและพระราชทานพระนามไว้ว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว อาณาจักรมอญจึงสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัยตลอดรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง จนเมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วสิ้นพระชนม์แล้ว หัวเมืองมอญาจึงตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่อสุโขทัยอีก

5.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรลาว สมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจเหนือหัวเมืองลาวบางเมืองในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงทางฝั่งซ้าย คือ ทางด้านตะวันออก ถึงเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ ทางเหนือถึงเมืองหลวงพระบาง หัวเมืองลาวดังกล่าวจึงเป็นเมืองประเทศราชของสุโขทัย เมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหง หัวเมืองลาวได้ตั้งตนเป็นอิสระปกคองตนเอง ครั้นถึงพ.ศ.1896 – 1916 เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาวได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ตั้งอาราจักรลาวสุโขทัย การที่ลาวเข้มแข็งและมีอำนาจเป็นผลดีต่อไทย เพราะลาวได้หันไปต่อสู้กับขอม จนทำให้ขอมอ่อนอำนาจและไม่มีกำลังพอที่จะมารุกรานไทย อาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรลาวในช่วงนี้ จึงมีความสัมพันธ์ในทางสันติมิได้เป็นศัตรูต่อกัน

6.ความมสัมพันธ์กับจีน แม้จีนจะอยู่ห่างไกล แต่มีอำนาจมาก จึงแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศต่างๆ ในแถบนี้ ในสมัยพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ (กุบไลข่าน) ได้ส่งพระราชสาสน์มายังสุโขทัยเตือนให้นำเครื่องบรรณาการไปถวายพระองค์ ครั้งสำคัญคือเมื่อ พ.ศ.1837 พ่อขุนรามมคำแหงทารงเห็นว่าหากนิ่งเฉยหรือขัดขืน อาจเกิดสงครามกับจีนได้ จึงโปรดให้แต่งราทูตนำเครื่องบรรณาการไปถวายกษัตริย์จีน สุโขทัยและจีนจึงมีไมตรีต่อกัน มีผลดีทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง คือ มีการติดต่อค้าขายกับจีน และได้รับศิลปะการทำเครื่องเคลือบ ซึ่งต่อมาเรียกว่า เครื่องสังคโลก ผลิตเป็นสินค้าออกเป็นที่นิยมมาก นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ในการเดินเรือทะเลจากจีนสามารถนำเรือบรรทุกสินค้าไปค้าขายกับนานาประเทศได้ ส่วนทางการเมืองก็ได้รับความเชื่อถือจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากจีนให้การรับรองไม่ต้องถูกปราบปรามเหมือนบางประเทศ ส่งผลให้สุโขทัยมีการแลกเปลี่ยนซิ้อาขายกับจีนและประเทศอื่นๆ ขยายตลาดกว้างขวางขึ้น

7.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอม พ่อขุนรามคำแหงเริ่มขยายอำนาจไปทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เข้าโจมตีอาณาจักรขอม โดยได้รับการสนับสนุนาจากจักรพรรดิกุบไลข่าน การทำสงครามนำความเสียหายให้แก่ขอม เป็นการทำลายอำนาจทางการเมืองของขอมที่เคยมีอยุ่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้สิ้นสุดลง

8.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาได้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) เป็นพระมหากัตริย์พระองค์แรก ได้รับการสนับสนุนจากแคว้นละโว้และสุพรรณภูมิ จึงมีความเข้มแข็งมาก ได้สถาปนาราชอาณาจักรไม่ขึ้นต่อสุโขทัย ซี่งช่วงเวลานี้ตรงกับรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ (ลิไทย) ในระยะแรกที่กรุงศรีอยุธยาสถาปนาเป็นอาณาจักรนี้ สุโขทัยอละอยุธยาได้มีการสู้รบกันเป็นครั้งคราว จนกระทั่ง พ.ศ.1921 ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 สุโขทัยก็ตกเป็นประเทศราชาของอยุธยาซึ่งมีพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เป็นกษัตริย์ แม้ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) จะประกาศอิสรภาพจากอยุธยาได้สำเร็จ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ราชโอรสของพระองค์ก็แย่งชิงราชสมบัติกัน เป็นเหตุให้สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยายกทัพขึ้นไปไกล่เกลี่ย ทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) สวรรคต เจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้ทรงส่งพระราเมศวร พระราชโอรสที่เกิดจากพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกซี่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย สุโขทัยจึงถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักราสุโขทัย[12][13][14][15] [16]

  1. https://sites.google.com/site/social00083/bth-thi-9
  2. toom.samroiwit.ac.th/yupacai/book/1.pdf
  3. https://sites.google.com/site/social00083/bth-thi-9
  4. http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1669
  5. www.kpjhospital.com/images/PDF_File/km/km1/km14.pdf
  6. http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1669
  7. http://xn--12ccq7bxa0ee0dwa6bfdb3grh.blogspot.com/2014/09/blog-post_85.html
  8. https://sites.google.com/site/social00083/bth-thi-9
  9. toom.samroiwit.ac.th/yupacai/book/2.pdf
  10. trueplookpanya.com/learning/detail/1669
  11. http://xn--12ccq7bxa0ee0dwa6bfdb3grh.blogspot.com/2014/09/blog-post_85.html
  12. https://sites.google.com/site/social00083/bth-thi-9
  13. http://xn--12ccq7bxa0ee0dwa6bfdb3grh.blogspot.com/2014/09/blog-post_85.html
  14. http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1669
  15. อาณาจักรสุโขทัย
  16. toom.samroiwit.ac.th/yupacai/book/1.pdf