ผู้ใช้:Kelos omos1/สุรเชษฐ์ หักพาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลจัตวา
สุรเชษฐ์ หักพาล
ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 เมษายน พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม พ.ศ. 2560[1] – 8 เมษายน พ.ศ. 2562[2]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
คู่สมรสดร. ศิรินัดดา หักพาล
บุพการี
  • ด.ต. ไสว หักพาล (บิดา)
  • สุมิตรา หักพาล (มารดา)
การศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
มหาวิทยาลัยมหิดล (ปริญญาโท สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)[3]
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 31
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 47
ชื่อเล่นโจ๊ก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจโท

พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล[4][5] เป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง[6] รองผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.)[3] และผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ)[7][8] จนกระทั่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งโอนย้าย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ให้เป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งปัจจุบันเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562[2][9] นอกจากนี้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏฺิบัติการพิเศษ ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว รองผู้บังคับการจังหวัดสงขลา ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จ.สงขลา และ ผู้กำกับการกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)[3]

ประวัติ[แก้]

พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ชื่อเล่น โจ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของดาบตำรวจ ไสว หักพาล และนางสุมิตรา หักพาล สมรสกับ ดร. ศิรินัดดา หักพาล (พานิชพงษ์) สำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธ และโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 31 ระดับชั้นปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 47 ระดับปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบันฑิต สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยมหิดล และระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[3][10]

การทำงาน[แก้]

เริ่มต้นรับราชการตำรวจ[แก้]

ร.ต.ต. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น เริ่มรับราชการตำรวจในตำแหน่งรองสารวัติ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จนได้รับการแต่งตั้งเลื่อนขั้นเป็นสารวัตรในกองวินัย ต่อมาเป็นสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 4 กองกำกับการ 5 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 2 กองกำกับการ 3 จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จนได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และเป็นผู้ช่วยนายเวรตำรวจราชสำนักประจำให้กับ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[11][12]

ระดับผู้กำกับการ[แก้]

หลังจากได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพันตำรวจเอกในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พ.ต.อ. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น ได้รับตำแหน่งผู้กำกับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่อำนวยการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[12] จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 จึงได้เป็นผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์[11] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ได้เป็นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 ถูกส่งไปเป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[12] และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการณ์ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาส่วนหน้า รับผิดชอบพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาที่เป็น 'พื้นที่สีแดง' เสี่ยงต่อภัยความไม่สงบบริเวณชายแดนภาคใต้[2]

ระดับผู้บังคับการและผู้บัญชาการ[แก้]

ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 พ.ต.อ. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจตรี ในตำแหน่งผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานงานกับนายกรัฐมนตรี รายงานต่อ พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลังจากในทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557[12][2] ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ จนกระทั่งวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 เข้ามาทำหน้าที่รักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว จนได้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[12] จนวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจโท และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้่าเมือง[6]

ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย จนวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ขาดจากตำแหน่งหน้าที่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อโอนไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทนักบริหารระดับสูง ในตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[11][12] และให้ถูกเพิ่มรายชื่อในบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558 เพื่อได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องด้วยมีมูลกรณี เมื่อถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ทำให้เสียหายแก่ทางราชการหรือทำให้ประชาชนเดือดร้อน[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ, เล่ม 134, ตอนพิเศษ 12 ง, 12 มกราคม 2560, หน้า 13
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ด่วน!”บิ๊กตู่”ใช้ม.44 โอน”บิ๊กโจ๊ก”เป็นขรก.พลเรือน นั่งที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกฯ โดนสอบด้วย
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 พลตำรวจตรี สุรเชษฐ์ หักพาล นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 31 เลขประจำตัว 17592 รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2560 สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ
  4. ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพลตำรวจ 319 ราย
  5. ราชกิจจานุเบกษา โปรดเกล้าฯพระราชทานยศ พล.ต.ต สุรเชษฐ์ หักพาล เป็น พล.ต.ท.
  6. 6.0 6.1 โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ตำรวจดำรง 254 ตำแหน่ง-"บิ๊กโจ๊ก" นั่ง ผบช.สตม.เต็มตัว
  7. ตั้ง 'สุรเชษฐ์ หักพาล' นั่งผู้ช่วยโฆษก 'ประวิตร' ช่วยด้านกฎหมาย
  8. “ประวิตร”ตั้ง”สุรเชษฐ์”ผช.โฆษกรองนายกฯ
  9. คำสั่ง หัวหน้าคสช. โอนย้าย"บิ๊กโจ๊ก" เป็นข้าราชการพลเรือน
  10. ชะตาชีวิต "นายพล" คนดัง "สุรเชษฐ์ หักพาล" ในเส้นทางสีกากีก่อนถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุ
  11. 11.0 11.1 11.2 ย้อนอ่าน เส้นทาง ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล’ ฉายา ‘โจ๊ก หวานเจี๊ยบ’ ก่อนเป็น ขรก.พลเรือน
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 เส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล
  13. หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งเด้ง "บิ๊กโจ๊ก" พ้น สตช. ไปเป็น ขรก. พลเรือน