ผู้ใช้:Clumsy/คคปป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


การได้สิทธิมาโดยอายุความ (อังกฤษ: usucaption หรือ acquisition by prescription; ละติน: usucapio) เป็นการที่บุคคลหนึ่งได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งตามกฎหมายไทย ได้แก่ สิบปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และห้าปีสำหรับสังหาริมทรัพย์ พ้นอายุความนั้นแล้วบุคคลก็จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น[1] อายุความเช่นนี้เรียก "อายุความได้สิทธิ" (อังกฤษ: acquisitive prescription)

บทกฎหมายที่ให้เจ้าของทรัพย์สินเสียกรรมสิทธิ์แก่ผู้ครอบครองทรัพย์สินเช่นนี้ มีขึ้นเพื่อดัดนิสัยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนวนมากแต่ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นบำเหน็จรางวัลแก่ผู้นำทรัพย์สินนั้นไปทำประโยชน์แทน[2]

ศัพทมูล[แก้]

คำว่า "การได้สิทธิมาโดยอายุความ" เป็นศัพท์กฎหมายในระบบซีวิลลอว์ ขณะที่ "การครอบครองปรปักษ์" (อังกฤษ: adverse possession หรือ hostile possession; ฝรั่งเศส: possession adversative (IPA: pɔsesjɔ̃•advɛʀsatif /โปแซสซียง•อาดแวร์ซาตีฟ/)) เป็นศัพท์กฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

ในกฎหมายไทยนั้น คำว่า "ครอบครองปรปักษ์" ไม่ปรากฏที่ใช้เลย แต่ใช้ว่า "การได้สิทธิมาโดยอายุความ" (อังกฤษ: acquisition of ownership by prescription) ส่วน "ครอบครองปรปักษ์" นั้นเป็นศัพท์นิติศาสตร์ได้มาแต่วงการวิชาการของประเทศอังกฤษซึ่งใช้ระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งที่ว่า "ปรปักษ์" นั้น หมายความว่า เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทรัพย์สิน[3]

เหตุผล[แก้]

มานิตย์ จุมปา รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า[4]

"ทรัพย์สินนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ทรัพย์สินเมื่อถูกใช้ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนา การปล่อยทรัพย์สินทิ้งไว้โดยไม่ทำประโยชน์ย่อมมีผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนี้ ระหว่างผู้มีทรัพย์สินแต่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ กับผู้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ได้เข้าใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน มีปัญหาว่าใครควรจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน...[กฎหมาย] จึงตัดสินให้บำเหน็จรางวัลแก่ผู้มีความเพียรในการใช้ประโยชน์โดยให้กรรมสิทธิ์ [แก่เขา]"

ไชยยศ เหมะรัชตะ ศาสตราจารย์และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2550 ว่า[2]

"[การครอบครองปรปักษ์เป็นเรื่อง] อายุความได้สิทธิ...[กล่าวคือ เป็น] การได้สิทธิมาโดยการใช้สิทธินั้นติดต่อกันไปจนครบระยะเวลาตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการบำเหน็จรางวัลให้แก่ผู้มีความอุตสาหะพากเพียรพยายามมาเป็นเวลานานในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของผู้อื่น อีกทั้งยังมุ่งลงโทษผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งไม่ยอมดูแลใช้ประโยชน์อีกด้วย"

บทบัญญัติของกฎหมาย[แก้]

ประเทศ บทบัญญัติต้นฉบับ คำแปลบทบัญญัติ
ไทย ไทย ป.พ.พ.
บรรพ 1 หลักทั่วไป, ลักษณะ 3 ทรัพย์

"ม.147 อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อ หรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
Civil and Commercial Code
Book 1 : General Provisions, Title 3 : Things[5]

"Section 147. Accessories are movable things, which are, according to the usual local conception or clear intention of the owner of the principal thing, attached to such thing permanently for its management, use or preservation, and, by connection, adjustment or otherwise, brought by the owner into the relation with the principal thing, in which it must serve the principal thing.

Even though an accessory is temporarily served from the principal thing, it does not cease to be an accessory.

Saving special disposition to the contrary, the accessory follows the principal thing. "
เยอรมนี เยอรมนี Bürgerliches Gesetzbuch
Book 1 : General Part, Division 2 : Things and animals[6]

"Section 97 (Accessories).

(1) Accessories are movable things that, without being parts of the main thing, are intended to serve the economic purpose of the main thing and are in a spatial relationship to it that corresponds to this intention. A thing is not an accessory if it is not regarded as an accessory in business dealings.

(2) The temporary use of a thing for the economic purpose of another thing does not give it the quality of an accessory. The temporary separation of an accessory from the main thing does not deprive it of the quality of an accessory."
เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค
บรรพ 1 บททั่วไป, ภาค 2 ทรัพย์และสัตว์

"ม.97 (อุปกรณ์)

(1) อุปกรณ์ คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งมิได้เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่เป็นประธาน ทำหน้าที่สนองความมุ่งประสงค์ทางเศรษฐกิจของทรัพย์ที่เป็นประธาน และอยู่ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้นตามความมุ่งประสงค์ดังกล่าว ทรัพย์ย่อมไม่เป็นอุปกรณ์หากว่าในการค้าขายทางธุรกิจมิได้ถือให้เป็นเช่นนั้น

(2) การใช้ทรัพย์สิ่งหนึ่งเพื่อสนองความมุ่งประสงค์ทางเศรษฐกิจของทรัพย์อีกสิ่งหนึ่งไม่ทำให้ทรัพย์ที่ใช้นั้นเป็นอุปกรณ์ การแยกอุปกรณ์จากทรัพย์ที่เป็นประธานก็ไม่ทำให้ขาดจากการเป็นอุปกรณ์"

องค์ประกอบ[แก้]

บททั่วไป[แก้]

"บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์"
ป.พ.พ. ม.1382

การครอบครอง (อังกฤษ: possession) เป็นการที่บุคคลหนึ่งยึดถือทรัพย์สินอย่างใด ๆ ไว้เพื่อตนเอง ผู้ครองครองจึงได้ไปซึ่ง "สิทธิครอบครอง" (อังกฤษ: possessory right) เหนือทรัพย์สินนั้น แต่ไม่มี กรรมสิทธิ์(อังกฤษ: ownership) โดยสิทธิครอบครองนี้ไม่มั่นคงถาวรประดุจกรรมสิทธิ์[7]

ทว่า สิทธิครอบครองเช่นว่าอาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ได้โดยอายุความ (อังกฤษ: prescription) เมื่อกรณีมีองค์ประกอบครบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ม.1382 กล่าวคือ บุคคลได้ครอบครองทรัพย์สินอันอยู่ในกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่น และการครอบครองนั้นเป็นไปโดยสงบ โดยเปิดเผย โดยเจตนาเป็นเจ้าของ และโดยต่อเนื่องกันจนได้ระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คือ สิบปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และห้าปีสำหรับสังหาริมทรัพย์[8]

เป็นการครอบครองทรัพย์สินอันอยู่ในกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น[แก้]

"บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น"
ป.พ.พ. ม.1318
"ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ"
ป.พ.พ. ม.1319
"ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ท่านว่าสัตว์ป่าไม่มีเจ้าของตราบเท่าที่ยังอยู่อิสระ สัตว์ป่าในสวนสัตว์และปลาในบ่อหรือในที่น้ำซึ่งเจ้าของกั้นไว้นั้น ท่านว่าไม่ใช่สัตว์ไม่มีเจ้าของ

สัตว์ป่าที่คนจับได้นั้น ถ้ามันกลับคืนอิสระ และเจ้าของไม่ติดตามโดยพลันหรือเลิกติดตามเสียแล้ว ฉะนี้ ท่านว่าไม่มีเจ้าของ

สัตว์ซึ่งเลี้ยงเชื่องแล้ว ถ้ามันทิ้งที่ไปเลย ท่านว่าไม่มีเจ้าของ"
ป.พ.พ. ม.1320

ทรัพย์สินที่ถูกครอบครองปรปักษ์ต้องมิใช่ทรัพย์สินของผู้ครอบครองเอง ไม่ว่าผู้ครอบครองจะทราบว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นหรือไม่ทราบก็ตาม[9] หากเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของเพียงเข้าถือเอาก็ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. ม.1318-1322[10]

ทรัพย์สินบางประเภทไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ เช่น ที่ดินมือเปล่า, ทรัพย์สินที่เป็นของตนโดยพฤตินัย แต่ใส่ชื่อผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทน, ทรัพย์สินอันอยู่ในกรรมสิทธิ์ร่วม กล่าวคือ ตนและผู้อื่นร่วมกันเป็นเจ้าของ, สาธารณสมบัติของแผ่นดิน, ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามไว้ เช่น ธรณีสงฆ์, ทรัพย์สินทางปัญญา เพราะมีกฎหมายกำกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ไว้เป็นพิเศษแล้ว เป็นต้น[11]

ปรกติผู้ครอบครองปรปักษ์ซึ่งทรัพย์สินคือบุคคลธรรมดา (อังกฤษ: natural person) แต่นิติบุคคล (อังกฤษ: juridical person) ก็ทำได้ โดยผู้แทนของนิติบุคคลครอบครองทรัพย์สินไว้ในนามนิติบุคคลนั้น[9]

ฎ.4607/2540 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน และขอออกโฉนดโดยใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์, โจทก์ได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลา 26 ปีเศษ จึงได้่กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่จำเลยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้เป็นชื่อโจทก์ทั้งสอง ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์. ศาลฎีกาว่า การครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. ม.1382 จะต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น, ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งที่ดินของตนเองได้, พิพากษายกฟ้อง.

ฎ.426-427/2509 ที่พิพาทเป็นสนามบินใช้ในราชการกองทัพอากาศ มีหนังสือสำคัญสำหรับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จะครอบครองเอาเป็นของตนโดยจะยกเอาอายุความการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้

ฎ.843/2487 ที่ธรณีสงฆ์หมายถึงที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด แต่ไม่จำกัดว่าต้องเป็นที่มีผู้ยกให้ อาจได้มาโดยทางอื่น เช่น ซื้อ ก็ได้ ผู้ใดจะอ้างว่าครอบครองที่ของวัดไว้โดยปรปักษ์มิได้

เป็นการครอบครองโดยสงบ[แก้]

การครอบครองทรัพย์สินผู้อื่นไว้โดยปรปักษ์นั้นต้องดำเนินไปด้วยความสงบ เพราะกฎหมายไม่ต้องการให้แก่งแย่งชิงดีกันอันเป็นการทำลายความสงบเรียบร้อยของประชาชน[12]

ฎ.522/2480 จำเลยไปอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์ปกครองอยู่โดยโจทก์ชวนให้เข้าไปอยู่ และจำเลยได้ปลูกต้นไม้ลงในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าได้ปลูกในตอนไหน หรือครอบครองที่ดินตอนไหนเป็นส่วนเป็นสัด จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองและไม่ถือเป็นการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่ก่อน แม้เข้าไปอยู่ช้านานเพียงไรก็มิได้กรรมสิทธิ์

ฎ.1158/2495 โจทก์จำเลยเป็นความกันในศาลแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินกันมาครั้งหนึ่งแล้ว ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนนั้น ต่างก็แย่งกันเข้าทำนารายพิพาทถึงกับจะเกิดวิวาทกัน จนทั้งสองฝ่ายต่างขอความคุ้มครองขอให้ศาลเรียกมาประมูลทำนารายนี้ แต่ศาลไม่อนุญาต ในที่สุด โจทก์ได้เข้าทำนาพิพาทบางส่วน ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่า ในระหว่างคดีก่อนนั้น โจทก์ได้พยายามเข้าครอบครองเพื่อเอาที่พิพาทคืนอยู่เสมอมา หากแต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ ฉะนั้น จะฟังว่า จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาโดยนับเวลาในระหว่างที่เป็นความกันในคดีก่อนดังกล่าวแล้วเข้าด้วยกันไม่ได้

ฎ.2579-2580/2524 โจทก์เคยฟ้องจำเลยกับพวกขอให้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ผลแห่งคำพิพากษาก็คือโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ โจทก์ยังขืนอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้ง ๆ ที่โจทก์แพ้คดีทั้งสามศาล จึงเป็นการอยู่ในที่ดินของผู้อื่นโดยละเมิด หากจะนับเวลาครอบครองปรปักษ์ก็ต้องนับตั้งแต่ศาลฎีกาพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงสิบปี

แต่ถ้าทรัพย์สินที่ถูกครอบครองไว้โดยปรปักษ์ ถูกเจ้าของที่แท้จริงโอนต่อ ๆ กันบ่อยครั้งหรือหลายทอด อาจถือว่าการครอบครองนั้นไม่สงบ[13]

ฎ.2902/2535 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องว่า ตนทั้งสองได้ครอบครองที่ดินมีโฉนด โดยเข้าครอบครองเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วนับแต่ พ.ศ. 2509 เรื่อยมาจน พ.ศ. 2535 อันเป็นปียื่นคำร้องนี้ จึงขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสอง

ศาลไต่สวน ได้ความว่า จำเดิมที่ดินพิพาทเดิมเป็นของนายปลั่ง สุขแจ่ม ซึ่งต่อมาได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่นายแดง แจ้งสว่าง ใน พ.ศ. 2504 นายแดงได้จดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงนี้แก่นายแผ้ว กันเปี่ยมแจ่ม จน พ.ศ. 2509 จึงได้ไถ่ถอนจำนอง แล้วจดทะเบียนขายฝากแก่นายจรัญ ไมตรียานนท์ ในปีเดียวกัน ถึง พ.ศ. 2511 จึงจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก แล้วจดทะเบียนขายฝากให้แก่นางส้วน เจริญพงษ์นาวิน กับพวก อีกทีหนึ่ง โดยมิได้ไถ่ถอนการขายฝาก ครั้น พ.ศ. 2512 นางส้วนกับพวกได้จดทะเบียนโอนขายคืนให้แก่นายแดงดังเดิม ในปีนั้นเอง นายแดงยังได้จดทะเบียนขายฝากแก่เรือโทเล็ก เหลืองตระกูล โดยไม่มีการไถ่ถอนการขายฝาก ถึง พ.ศ. 2514 เรือโทเล็กจึงได้จดทะเบียนขายให้แก่นายประชุม ธรรมสุวรรณ ครั้น พ.ศ. 2519 นายประชุมได้จดทะเบียนแบ่งขายบางส่วนของที่ดินพิพาทให้แก่กรมทางหลวงเพื่อทำเป็นถนนสาธารณะ จน พ.ศ. 2522 นายประชุมได้จดทะเบียนโอนขายส่วนที่เหลือให้แก่นายมนู แซ่โง้ว และปีเดียวกันนั้น นายมนูได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่นายดำรง เจียมทองศรี อีกต่อหนึ่ง

ศาลเห็นว่า ด้วยเหตุที่มีการจดทะเบียนเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตลอดมาเกือบทุกปีนับแต่ที่ฝ่ายผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท การเข้าครอบครองนี้จึงถูกกระทบสิทธิมาตลอด ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาสิบปีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ม.1382 แม้ฝ่ายผู้ร้องได้ครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาโดยตลอดนับแต่ พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2535 แต่การครอบครองต้องเริ่มนับเวลาแต่ภายหลังที่นายดำรงได้ซื้อที่ดิน ซึ่งเมื่อนับแล้วยังไม่ครบสิบปีตามกฎหมาย ผู้ร้องทั้งสองก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

เป็นการครอบครองโดยเปิดเผย[แก้]

การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยปรปักษ์นั้นต้องเป็นไปโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้สาธารณชนประจักษ์ทราบถึงเจตนาของผู้ครอบครองที่จะยึดถือเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของตน และเพื่อเป็นธรรมแก่เจ้าของทรัพย์สินที่จะได้ทราบและมีโอกาสคัดค้านการครอบครองนั้นได้ตามกฎหมาย ดัง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ศาสตราจารย์ (พิเศษ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า[14]

"การครอบครองปรปักษ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย ไม่ปิดบังซ่อนเร้น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของที่จะได้มีโอกาสรู้เห็นและโต้แย้งได้ ดังนั้น การเข้าครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยแอบซ่อน เช่น เข้าครอบครองเฉพาะเวลากลางคืน หรือขุดอุโมงค์เข้าครอบครอง ถือว่าไม่เปิดเผย

อย่างไรก็ดี การเปิดเผยนี้ไม่ต้องถึงขนาดบอกกล่าวทำให้ประจักษ์แก่ผู้เป็นเจ้าของ ขอเพียงการครอบครองนั้นเปิดเผยต่อบุคคลทั่วไปก็เพียงพอ แม้เจ้าของจะไม่รู้ก็ถือว่าเปิดเผยแล้ว"

เป็นการครอบครองด้วยเจตนาเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน[แก้]

"การที่สิ่งก่อสร้างในที่ดินแปลงหนึ่งเอนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้น ไม่ใช่เป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น ฉะนั้น เจ้าของที่ดินที่สิ่งปลูกสร้างของตนรุกล้ำเข้าไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์เอาที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์หาได้ไม่"
ฎ.2077/2497
" โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกครอบครองที่ดินของโจทก์และตัดไม้สะแกของโจทก์ไป จึงขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย. จำเลยให้การว่า ที่ดินตรงที่โจทก์ฟ้องนี้เป็นที่ป่าสะแก ตนได้ครอบครองเป็นเจ้าของมาประมาณยี่สิบปีเศษแล้ว. ศาลชั้นต้นสั่งทำแผนที่ประกอบการพิจารณา ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ แต่ฟังว่าจำเลยได้เข้าปกครองมากว่าสิบปี โจทก์หมดอำนาจฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง.

โจทก์อุทธรณ์. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ต้นสะแกที่โจทก์กล่าวหาอยู่ในที่ดินตามโฉนดของโจทก์จริง ในเบื้องต้นต้องฟังว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ถูกต้องแล้ว, ทว่า จำเลยเพียงแต่เคยตัดต้นสะแกในที่รายนี้ไปใช้สอยบ้างเป็นบางครั้ง และฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เข้าปกปักรักษาที่ดินอย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองตามนัยแห่ง ป.พ.พ. ม.1382 จึงพิพากษากลับ ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์. จำเลยฎีกา, ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ ยกฎีกา."
ฎ.37/2483
"ผู้ร้องเข้าไปในที่ดินพิพาทเพียงสองครั้ง คือ เข้าไปขุดหน้าดินขายในระหว่าง พ.ศ. 2516-2517 และเข้าไปดูดทรายขายใน พ.ศ. 2526 ไม่ได้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นครั้งคราว และยังไม่ได้แสดงได้โดยแจ้งชัดว่าเป็นการใช้สิทธิยึดถือครอบครองเหนือที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องหาได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่"
ฎ.1539/2536

การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยปรปักษ์นั้นต้องเป็นไปด้วยเจตนาเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น อันเป็นเจตนาที่หนักแน่นกว่าการครอบครองทั่ว ๆ ไปที่เพียงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินนั้นไว้แก่ตน เพราะหากปราศจากเจตนาเข้าเป็นเจ้าของเช่นนี้แล้ว ย่อมแสดงว่าไม่ประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และไม่มีเหตุผลที่กฎหมายจะอวยกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ไม่ต้องการจะได้ไว้[3]

การครอบครองทรัพย์สินไว้แทนผู้อื่น แม้นานเพียงไร ก็ไม่ชื่อว่าครอบครองปรปักษ์ เพราะยังเคารพและรับรู้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ เช่น ผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่า, ตัวแทนครอบครองทรัพย์สินแทนตัวการ, ผู้ซื้อฝากครอบครองทรัพย์สินของผู้ขายฝาก หรือกรณีสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ก็ถือว่าผู้ซื้อฝากครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายแทนผู้ขายฝาก, บิดามารดาครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรผู้เยาว์, ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท, ผู้ให้กู้ถือที่ดินของผู้กู้ไว้ต่างดอกเบี้ย, ผู้ได้รับอนุญาตได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน เป็นต้น[15]

เป็นการครอบครองโดยต่อเนื่อง[แก้]

การครอบครองทรัพย์สินผู้อื่นไว้โดยปรปักษ์นั้นต้องเป็นไปในระยะเวลาอันต่อเนื่อง หากการครอบครองขาดตอนหรือไม่สม่ำเสมอ แสดงว่าผู้เข้าครอบครองละความเพียรพยายาม และไม่มีเหตุผลที่กฎหมายจะยกกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลฉะนี้ ซึ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ศาสตราจารย์ (พิเศษ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า "...ที่ว่าครอบครองติดต่อกันนี้ ไม่ได้หมายความถึงขนาดว่าจะต้องครอบครองอยู่ตลอดเวลาทุกวินาที ขอเพียงแต่ครอบครองมาโดยไม่มีช่องเว้นว่าง ก็ถือว่าครอบครองติดต่อกันแล้ว"[16]

อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ครอบครองขาดการยึดถือทรัพย์สินโดยไม่สมัครใจ หรือถ้ามีการโอนการครอบครองแก่กัน ป.พ.พ. วางบทบัญญัติว่า

"ม.1384 ถ้าผู้ครอบครองขาดยึดถือทรัพย์สินโดยไม่สมัคร และได้คืนภายในเวลาปีหนึ่งนับแต่วันขาดยึดถือ หรือได้คืนโดยฟ้องคดีภายในกำหนดนั้นไซร้ ท่านมิให้ถือว่าการครอบครองสะดุดหยุดลง

ม.1385 ถ้าโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ ถ้าผู้รับโอนนับรวมเช่นนั้น และถ้ามีข้อบกพร่องในระหว่างครอบครองของผู้โอนไซร้ ท่านว่าข้อบกพร่องนั้นอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนได้"

เป็นการครอบครองที่ได้ระยะเวลาตามกฎหมาย[แก้]

ทรัพย์สินทั่วไป[แก้]

"บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์"
ป.พ.พ. ม.1382

ถ้าทรัพย์สินที่ถูกครอบครองโดยปรปักษ์เป็นสังหาริมทรัพย์ ต้องได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี หรือถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี เสียก่อนผู้ครอบครองจึงจะได้กรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. ม.1382

ทรัพย์สินที่ได้มาเพราะกระทำความผิด[แก้]

การได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์[แก้]

สังหาริมทรัพย์[แก้]

อสังหาริมทรัพย์[แก้]

การสิ้นสุดลงของการครอบครอง[แก้]

ผลของการเป็นอุปกรณ์[แก้]

"อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
ป.พ.พ. ม.147 ว.2 และ ว.3

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ประธาน เว้นแต่มีการกำหนดกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ซื้อขายรถยนต์กัน ผู้ขายจะไม่ส่งมอบยางอะไหล่กับแม่แรงรถหาได้ไม่ เว้นแต่ผู้ซื้อผู้ขายจะตกลงกันว่าไม่ต้องส่งมอบ[17] ทั้งนี้ เพราะอุปกรณ์เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เจ้าของทรัพย์ประธานได้ตกลงโอนอุปกรณ์ของทรัพย์ประธานด้วยในเวลาเดียวกัน[18]

อนึ่ง อุปกรณ์ แม้แยกจากทรัพย์ประธานเป็นการชั่วคราว ก็ไม่ทำให้ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ประธานนั้น เช่น นาย ก มีรถยนต์ใช้มานานหลายสิบปี โดยมีแม่แรงเป็นอุปกรณ์ของรถยนต์นั้นเสมอมา, เมื่อนาย ก ซื้อรถยนต์คันใหม่ ได้ย้ายแม่แรงจากรถยนต์คันเก่ามาใช้สอยกับรถยนต์คันใหม่, ครั้นเมื่อนาย ก ขายรถยนต์คันเก่าให้แก่นาย ข เขาต้องส่งมอบแม่แรงประจำรถคันเก่าให้ด้วย เว้นแต่ผู้ซื้อผู้ขายจะตกลงกันว่าไม่ต้องส่งมอบ[19]

มีข้อสังเกตว่า อุปกรณ์นั้นไม่มีการรวมสภาพเข้ากับทรัพย์ประธานจนแยกกันไม่ออกเช่นเดียวกับส่วนควบ อุปกรณ์นั้นสามารถแยกออกจากทรัพย์ประธานได้โดยไม่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ทั้งสอง[17]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, 2551 : ออนไลน์.
  2. 2.0 2.1 ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2527 : 713.
  3. 3.0 3.1 มานิตย์ จุมปา, 2551 : 361.
  4. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 354.
  5. Thailand Civil and Commercial Code (online), Online : n.d.
    Civil and Commercial Code of Thailand, Book 1 : General Provisions, Title 3 : Things
  6. Langenscheidt Translation Service, 2009 : Online.
    German Civil Code, Book 1 : General Part, Division 2 : Things and animals, Section 90 (Concept of the thing)
  7. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 309.
  8. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 310.
  9. 9.0 9.1 มานิตย์ จุมปา, 2551 : 358.
  10. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 356.
  11. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 356-358.
  12. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 360.
  13. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 369.
  14. เสนีย์ ปราโมช, 2525 : 446.
  15. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 365.
  16. เสนีย์ ปราโมช, 2525 : 452.
  17. 17.0 17.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Manit-98
  18. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 99.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Manit-97

อ้างอิง[แก้]

ภาษาไทย[แก้]

  • ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549). พจนานุกรมกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9742883653.
  • ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2527). กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหา่วิทยาลัย.
  • บัญญัติ สุชีวะ. (2551). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 11, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภา. ISBN 9789741611089.
  • พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล). (2502). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2. กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภา.
  • ราชบัณฑิตยสถาน.
    • (2543). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123529.
    • (2544). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123758.
    • (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
    • (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • มานิตย์ จุมปา. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยทรัพย์สิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 9789740323006.
  • ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551, 10 มีนาคม). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • เสนีย์ ปราโมช. (2521). กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

ภาษาต่างประเทศ[แก้]

  • Langenscheidt Translation Service. (2009). German Civil Code. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).
  • Thailand Civil and Commercial Code (online). (n.d.). [Online]. Available: <click>. (Accessed: 26 September 2009).