ผู้ใช้:ชาวไทย/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าคนุตมหาราช
พระสาทิสลักษณ์ร่วมสมัยของพระเจ้าคนุตมหาราช จากหนังสือ ลิเบอร์วิเต ของโบสถ์นิวมินส์เตอร์ ค.ศ. 1031
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
ครองราชย์ค.ศ. 1016–1035
ราชาภิเษกค.ศ. 1017 ในนครลอนดอน
ก่อนหน้าพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2[1]
ถัดไปพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 1[1]
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์ค.ศ. 1018–1035
ก่อนหน้าพระเจ้าแฮรัลด์ที่ 2
ถัดไปพระเจ้าฮาร์ธาคนุต[1]
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ครองราชย์ค.ศ. 1028–1035
ก่อนหน้าพระเจ้าโอลาฟที่ 2
ถัดไปพระเจ้ามักนุสผู้ทรงธรรม
กษัตริย์ร่วมพระเจ้าสเวน คนุตสัน
พระราชสมภพประมาณ ค.ศ. 990[1][2]
ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 (พระชนมายุประมาณ 45 พรรษา)[1]
ชาฟท์สบรี ดอร์เซต ราชอาณาจักรอังกฤษ
ฝังพระศพโอลด์มีนสเตอร์ วินเชสเตอร์ ปัจจุบันพระอัฐิอยู่ที่อาสนวิหารวินเชสเตอร์ วินเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
ราชวงศ์คนุตลิงกา
พระราชบิดาพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด
พระราชมารดาไม่ทราบ อาจจะเป็น สเวโตสลาวาแห่งโปแลนด์ ซิกริด หรือ กันฮิลด์[ก]

พระเจ้าคนุต (อังกฤษ: Cnut ออกเสียง: /kəˈnjt/[3] นอร์สเก่า: Knútr inn ríki ออกเสียง: ˈknuːtr ˈinː ˈriːke;[ข] ราว ค.ศ. – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035) บ้างออกพระนามว่า คานูท (อังกฤษ: Canute) มีพระราชสมัญญาว่า มหาราช[4][5][6][7] ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ ตั้งแต่ ค.ศ. 1016 เดนมาร์ก ตั้งแต่ ค.ศ. 1018 และนอร์เวย์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1028 ตามลำดับ จวบจนเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1035[1] ราชอาณาจักรทั้งสามที่ถูกรวมเป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของพระองค์นี้ถูกเรียกว่าจักรวรรดิทะเลเหนือ

พระเจ้าคนุตทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษใน ค.ศ. 1016 โดยที่ยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเดนมาร์กควบคู่ไปด้วย ท่ามกลางกระแสการรุกรานของชาวไวกิงทั่วยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ การขึ้นครองราชบัลลังก์เดนมาร์กของพระองค์ในอีกสองปีต่อมาทำให้อังกฤษและเดนมารก์กลายเป็นรัฐที่มีพระประมุขร่วมกัน พระเจ้าคนุตทรงมุ่งที่จะรักษาฐานพระราชอำนาจนี้ไว้ ด้วยการหลอมรวมชาวเดนส์และอังกฤษเข้าด้วยกันผ่านทางพัทธะทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ พระเจ้าคนุตทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ที่นครทร็อนไฮม์ ใน ค.ศ. 1028 หลังจากทรงแย่งชิงราชบัลลังก์กับเจ้านายอื่น ๆ ในภูมิภาคสแกนดิเนเวียมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ พระองค์ยังทรงสามารถยึดครองเมืองซิกทือนาของสวีเดนได้อีกด้วย (ทรงออกเหรียญกษาปณ์ในเมืองนั้น ซึ่งมีการจารึกว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ แต่ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการยึดครองเมืองของพระองค์เหลือรอดมาเลย)[8] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงแผ่พระราชอำนาจเหนือสกอตแลนด์ด้วยเมื่อพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ใน ค.ศ. 1031 กระนั้นอิทธิพลของชาวแองโกล-นอร์สในสกอตแลนด์ก็มีเพียงเล็กน้อย และท้ายที่สุดก็จางหายไปหมดสิ้นหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต[9][10]

การยึดครองอังกฤษส่งผลให้ชนเดนส์สามารถเชื่อมอาณาเขตทางทะเลของเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริเวณที่พระเจ้าคนุตและพระราชบิดาของพระองค์ให้ความสนพระทัยมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีอิทธิพลเหนือดินแดนที่ชาวนอร์ส–เกลล์ปกครองเป็นอันมาก[11] การที่พระองค์ได้ครอบครองเขตมุขมณฑลของอังกฤษและเดนมาร์ก (ซึ่งพื้นที่หลังนี้ถูกอ้างสิทธิ์โดยราชรัฐอัครมุขนายกฮัมบวร์ค–เบรเมินของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) เป็นสิ่งที่ส่งเสริมพระเกียรติภูมิของพระองค์ท่ามกลางบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ (Magnate) ในโลกคริสเตียน และยังสามารถใช้เป็นข้อต่อรองกับคริสตจักรโรมันคาทอลิกได้อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น การต่อรองให้ลดราคาแพลเลียม [Pallium; ผ้าคลุมไหล่สำหรับนักบวช] โดยที่มีข้อแม้ว่าบรรดานักบวชยังคงต้องเดินทางมารับผ้าดังกล่าวด้วยตนเองเช่นเดิม หรือการต่อรองอัตราราคาค่าผ่านด่านที่ราษฎรของพระองค์ต้องจ่ายระหว่างทางไปกรุงโรม) หลังจากทรงเอาชนะนอร์เวย์และสวีเดนได้ใน ค.ศ. 1026 และเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจจากการไปร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของจักรพรรดิค็อนราทที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว พระเจ้าคนุตก็ทรงประกาศพระองค์เอง (ผ่านทางพระราชสาสน์ที่ทรงพระราชนิพันธ์ขึ้นเพื่อประทานแก่เหล่าข้าแผ่นดิน [Subjects] ทั้งหลาย) เป็น "พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษทั้งปวง เดนมาร์ก ชาวนอร์เวย์ แลบางพื้นที่ของชาวสวีด"[12] พระองค์ทรงใช้พระราชอิสริยยศในอังกฤษว่า "พระมหากษัตริย์แห่งแดนอังกฤษ" (ealles Engla landes cyning) ซึ่งต่างจากบรรดากษัตริย์ของชาวแองโกล–แซกซันเดิมที่ปกครองอังกฤษก่อนการเข้ามาของไวกิง ซึ่งใช้พระราชอิสริยยศว่า "พระมหากษัตริย์แห่งชนอังกฤษ" นอร์แมน แคนทอร์ นักสมัยกลางศึกษา (Medievalist) กล่าวว่าพระเจ้าคนุตทรงเป็น "พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาที่สุด" ในประวัติศาสตร์อังกฤษสมัยแองโกล–แซกซัน[13]

นอกจากนี้ พระองค์ยังถูกนำมาอ้างถึงในตำนานสอนใจเรื่องพระเจ้าคนุตกับกระแสน้ำด้วย

การพระราชสมภพและสิทธิ์ในราชบัลลังก์[แก้]

พระเจ้าคนุตเป็นพระราชโอรสในเจ้าชายสเวน ฟอร์กเบียร์ด[1] และเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูท ราชวงศ์ของพระองค์เป็นผู้รวมแผ่นดินเดนมาร์กให้เป็นปึกแผ่น[14] ไม่มีข้อมูลใดบ่งบอกสถานที่หรือวันที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพ พระเจ้าฮาร์ทาคนุตที่ 1 เทียดของพระองค์ทรงเป็นต้นราชวงศ์ คาดกันว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ในช่วงต้นคริสตศวรรษที่ 10 ส่วนพระเจ้ากอร์มผู้อาวุโส พระปัยกา (ปู่ทวด) ของพระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่มีหลักฐานยืนยันทางประวัติศาสตร์ (สาเหตุที่ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า 'ผู้อาวุโส' ก็เพราะรายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์กเริ่มนับจากรัชกาลของพระองค์) พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูท พระราชอัยกาของพระเจ้าคนุตทรงปกครองเดนมาร์กในช่วงที่เริ่มมีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และตัวพระองค์เองก็ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกในภูมิภาคสแกนดิเวียที่เข้ารีตเป็นคริสตชนด้วย

บันทึกเหตุการณ์ ของเทตมาร์แห่งเมอร์ซบวร์ค และ บทสรรเสริญราชินีเอ็มมา ระบุว่าพระราชมารดาของพระเจ้าคนุตมีพระนามว่าสเวโตสลาวา (Świętosława) เจ้าหญิงชาวโปแลนด์ผู้เป็นพระธิดาในดยุกมิเอสโกที่ 1 แหล่งข้อมูลภาษานอร์สจากสมัยกลางตอนกลาง โดยเฉพาะ เฮล์มสกริงยา ของสนอร์ริ สตูลูซัน ก็บันทึกไว้ว่าพระราชมารดาของพระองค์เป็นเจ้าหญิงโปแลนด์เช่นกัน โดยออกพระนามว่ากุนฮิลด์ เป็นพระราชธิดาในบูริสลาฟ กษัตริย์แห่งวินแลนด์[15] เนื่องจากในบรรดาซากาของชาวนอร์สล้วนบันทึกตรงกันว่า กษัตริย์แห่งวินแลนด์ มีพระนามว่า บูริสลาฟ จึงสันนิฐานได้ว่าผู้บันทึกอาจจะสับสนระหว่างพระนามของดยุกมิเอสโก กับพระเจ้าโบเลสวัฟที่ 1 แห่งโปแลนด์ ผู้เป็นพระเชษฐาในเจ้าหญิงชาวโปแลนด์พระองค์นี้ อาดัมแห่งเบรเมินเขียนไว้ในชิ้นงานศาสตรนิพนธ์ของเขาเรื่อง เกสตา ฮัมมาบูรเกนซิส เอ็กเคลีเอ พอนติฟิคุม ว่าพระราชมารดาของพระเจ้าคนุต (ซึ่งตัวอาดัมเองก็มิได้ระบุพระนามของพระนางเอาไว้) คืออดีตราชินีแห่งสวีเดน ผู้เป็นพระมเหสีในพระเจ้าอีริค ผู้ชนะ และพระราชมารดาของพระเจ้าโอลอฟ สก็อทโคนุง[16] ทำให้ปัญหาเรื่องตัวตนของพระราชมารดาของพระเจ้าคนุตยิ่งทวีซับซ้อนขึ้นอีก เพราะ เฮล์มสกริงยา และซากาเรื่องอื่น ๆ ก็ระบุว่าว่าพระเจ้าสเวนได้อภิเษกกับราชินีม่ายแห่งสวีเดนจริง แต่พระนางมิใช่สตรีพระองค์เดียวกันกับพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งวินแลนด์ โดยนางผู้นี้มีนามว่าซิกริดผู้ทรนง ซึ่งพระเจ้าสเวนทรงอภิเษกสมรสด้วยหลังจาก กุนฮิลด์ เจ้าหญิงชาวสลาฟผู้มีพระประสูติกาลพระเจ้าคนุตสิ้นพระชนม์ลง[17] ทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับชาติกำเนิดและจำนวนพระมเหสีของพระเจ้าสเวนได้รับการเสนอขึ้น (ดูเพิ่มได้ที่บทความของซิกริดผู้ทรนงและกุนฮิลด์) แต่เนื่องจากงานเขียนของอาดัมเป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่มีการระบุว่าพระเจ้าคนุตและพระเจ้าโอลอฟ สก็อทโคนุงมีพระราชมารดาพระองค์เดียวกัน นักประวัติศาสตร์จึงมักเห็นตรงกันว่าอาดัมบันทึกส่วนนี้ผิดพลาดไป พระเจ้าสเวนจึงมีพระมเหสีสองพระองค์ คือเจ้าหญิงชาวสลาฟ เป็นพระมเหสีพระองค์แรก และราชินีม่ายแห่งสวีเดนเป็นพระมเหสีพระองค์ที่สอง พระเจ้าคนุตทรงมีพี่น้องร่วมพระราชมารดาอย่างน้อยหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าแฮรัลด์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ซึ่ง บทสรรเสริญราชินีเอ็มมา ระบุว่าทรงมีศักดิ์เป็นพระราชอนุชา

หลักฐานเล็กน้อยเกี่ยวกับพระเจ้าคนุตขณะทรงพระเยาว์สามารถพบได้ใน แฟลร์ทิยาร์ลบก แหล่งข้อมูลภาษาไอซ์แลนด์จากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งกล่าวถึงช่วงเวลาที่พระองค์ได้รับการอบรมวิชาการทหารจากธอร์เคล[18] น้องชายของซิเกิร์ด ยาร์ลแห่งดินแดนปรัมปราจอมสบอร์ก และผู้นำของคณะทหารรับจ้างจอมสไวกิง ที่ฐานที่มั่นของพวกเขาบนเกาะวอลลิน นอกชายฝั่งพอเมอเรเนีย วันพระราชสมภพของพระองค์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้แต่งานเขียนร่วมสมัยอย่าง บันทึกเหตุการณ์เทตมาร์ และ บทสรรเสริญราชินีเอ็มมา ก็มิได้ระบุถึงวันที่เสด็จพระราชสมภพ กระนั้นในบทกวี คนุตดราพา ที่ประพันธ์โดยสเคล อกตตรา สวาติ ก็มีบาทหนึ่งระบุไว้ว่าพระเจ้าคนุต "มีพรรษาไม่มาก" เมื่อพระองค์ทรงออกศึกเป็นครั้งแรก[19] บทกวีนี้ยังกล่าวถึงการศึกที่อาจจะเป็นการเปรียบเปรยถึงการรุกรานอังกฤษของพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดและการจู่โจมเมืองนอริชใน ค.ศ. 1003–04 ที่เกิดขึ้นหลังจากการสังหารหมู่ชาวเดนส์ในวันเซนต์ไบรซ์โดยชาวอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1002 หากพระเจ้าคนุตได้ทรงติดตามพระราชบิดาไปในศึกครั้งนี้ด้วย พระองค์อาจจะเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 990 หรืออย่างเร็วที่สุดคือ ค.ศ. 980 หากไม่ได้ทรงติดตามพระราชบิดาไปด้วย และบาทของกลอนดังกล่าวหมายถึงการศึกครั้งอื่น เช่น การพิชิตอังกฤษของพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดใน ค.ศ. 1013–14 พระองค์อาจจะเสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1000[20] มีประโยคหนึ่งจากผู้สรรเสริญ (เป็นคำใช้ที่เรียกผู้ประพันธ์ บทสรรเสริญราชินีเอ็มมา) ที่อ้างถึงกองทัพที่พระเจ้าคนุตทรงเป็นผู้นำในการพิชิตอังกฤษของพระองค์เมื่อ ค.ศ. 1015–16 ซึ่งระบุว่ากองกำลังประกอบไปด้วยชาวไวกิง "วัยฉกรรจ์" ทั้งหมด โดยมี "กษัตริย์" คนุตเป็นแม่ทัพ (ดูด้านล่าง)

คำบรรยายพระลักษณ์ของพระเจ้าคนุตตามที่ปรากฏใน คนุตลินกาซากา งานเขียนภาษาไอซ์แลนด์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีความว่า:

พระเจ้าคนุตมีพระวรกายที่สูงและกำยำ มีพระลักษณ์ที่หล่อเหลา ยกเว้นเสียแต่ตรงพระนาสิก (จมูก) ซึ่งมีลักษณะแคบ อยู่สูง (จากพระพักตร์) และค่อนข้างงุ้ม มีพระฉวี (ผิว) งาม และมีพระเกศา (ผม) หนา พระเนตรของพระองค์ดีกว่าคนทั่วไป สายพระเนตรของพระองค์นั้นทั้งหล่อเหลาและเฉียบคม

— คนุตลินกาซากา[21][22][23]

ข้อมูลเกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระเจ้าคนุตมีอยู่น้อยและไม่เป็นที่แน่ชัด จนกระทั่งจนกระทั่งทรงได้เป็นส่วนหนึ่งในกองทัพของพระราชบิดาในการพิชิตอังกฤษในช่วงฤดูร้อนของปี 1013 มีความเป็นไปได้ว่าพระองค์อาจจะได้เข้าร่วมการทัพโจมตีอังกฤษของพระราชบิดาเมื่อปี 1003 และ 1004 ด้วย แต่ก็ไม่มีหลักฐานมากพอที่จะสนับสนุนทฤษฎีดังกล่าว[24] การรุกรานอังกฤษใน ค.ศ. 1013 ถือเป็นหนึ่งในเหตุการ์ณสำคัญที่สุดในบรรดาการออกปลันของชาวไวกิงที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ หลังจากขึ้นฝั่งที่ฮัมเบอร์แล้ว[25] อังกฤษก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวไวกิงอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงปลายปีนั้นพระเจ้าแอเธลเรดผู้ไม่พร้อมก็เสด็จหนีไปยังนอร์ม็องดี พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองอังกฤษ และในช่วงฤดูหนาวนั้นก็ทรงริเริ่มการสร้างฐานพระราชอำนาจ ส่วนพระเจ้าคนุตทรงได้รับหน้าที่ดูแลกองเรือและฐานทัพที่เกนส์เบอโรในลิงคอล์นเชอร์

เมื่อพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดเสด็จสวรรคตในวันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014 ตรงกับวันระลึกพระแม่มารีและพระเยซู[26] หลังจากขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษได้ไม่นาน เจ้าชายฮารัลด์ พระราชโอรสองค์เล็กจึงขึ้นครองราชบัลลังก์เดนมาร์กต่อจากพระองค์ ในขณะที่ชาวไวกิงและราษฏรในบริเวณเดนลอว์ลงมติเลือกพระเจ้าคนุตเป็นกษัตริย์อังกฤษทันที[27] แต่ขุนนางชาวอังกฤษไม่เห็นด้วย สภาวิททันจึงได้ทูลเชิญพระเจ้าแอเธลเรดกลับมาจากนอร์ม็องดี ไม่นานนักพระเจ้าแอเธลเรดก็ทรงนำทัพขับไล่พระเจ้าคนุต ซึ่งทรงหลบหนีกลับเดนมาร์กไปพร้อมกับกองทัพของพระองค์ โดยก่อนที่จะเสด็จกลับก็ทรงจับตัวประกันมาจำนวนหนึ่ง ทรงมีรับสั่งให้ทรมาณตัวประกันด้วยการตัดอวัยวะ ท้ายที่สุดแล้วตัวประกันเหล่านั้นถูกทิ้งไว้ที่ชายฝั่งของเมืองแซนด์วิชในเทศมณฑลเคนต์[28] หลังจากเสด็จกลับถึงเดนมาร์กแล้วพระเจ้าคนุตจึงเสด็จไปเข้าพบกับพระเจ้าฮารัลด์ที่ 2 พระราชอนุชา สันนิฐานว่าพระเจ้าคนุตทรงยื่นข้อเสนอให้ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ร่วมกัน แต่พระเจ้าฮารัลด์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย[27] มีการคาดคะเนว่าพระเจ้าฮารัลด์ทรงยื่นข้อเสนอใหม่ให้พระเจ้าคนุตเป็นแม่ทัพในกองกำลังรุกรานอังกฤษระลอกใหม่ โดยมีข้อแม้ว่าพระองค์จะต้องไม่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เดนมาร์ก[27] จะอย่างไรก็ดี พระเจ้าคนุตก็สามารถรวบรวมกองเรือเพื่อใช้ในการรุกรานได้สำเร็จ[28]

การพิชิตอังกฤษ[แก้]

หินรูนหมายเลขยู 194 พบในประเทศสวีเดน เป็นจารึกเกี่ยวกับไวกิงนามว่าเอลลี ซึ่งบันทึกไว้ว่าเขา "ได้รับพระราชทานบำเหน็ดจากพระเจ้าคนุตในอังกฤษ"

โบเลสวัฟที่ 1 ผู้กล้าหาญ ดยุกแห่งโปแลนด์ (ภายหลังทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์) พระราชมาตุลา (ลุงฝ่ายแม่) ของพระเจ้าคนุตได้ให้พระองค์ยืมทหารชาวโปลจำนวนหนึ่ง[29] ซึ่งอาจจะเป็นข้อตกลงที่ทรงให้ไว้กับพระเจ้าคนุตและพระราชอนุชาเมื่อคราวที่ทั้งสองพระองค์เสด็จไปรับพระราชมารดากลับเดนมาร์กในฤดูหนาว พระนางทรงถูกขับไล่จากราชสำนักภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าอีริค ผู้ชนะแห่งสวีเดนใน ค.ศ. 995 ซึ่งเปิดโอกาสให้พระเจ้าสเวนอภิเษกสมรสกับซิกริดผู้ทรนง พระมเหสีม่ายของพระเจ้าอีริค การอภิเษกสมรสดังกล่าวได้สร้างพันธมิตรระหว่างพระเจ้าโอลอฟ สก็อทโคนุง พระมหากษัตริย์สวีเดนพระองค์ใหม่กับราชวงศ์เดนมาร์กในขณะนั้น[29] เดนมาร์กจึงได้สวีเดนมาเป็นพันธมิตรในการรุกรานอังกฤษ อีกหนึ่งพันธมิตรของพระเจ้าคนุตคือ อีริค โฮกุนนาร์สัน เอิร์ลแห่งเลด ผู้ปกครองร่วมแห่งนอร์เวย์กับพี่ชายต่างมารดา สเวน โฮกุนสัน และมีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์เดนมาร์กด้วย นอร์เวย์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กมาตั้งแต่หลังยุทธการที่โซลเวเดอร์ เมื่อ ค.ศ. 999 ในระหว่างที่อีริคไปร่วมทัพของพระเจ้าคนุต โฮกุน บุตรชายของเขาเป็นผู้แทนในการปกครองนอร์เวย์ร่วมกับสเวน

ในหน้าร้อนของปี 1015 กองเรือของพระเจ้าคนุตก็เริ่มออกเดินทางไปยังอังกฤษพร้อมกับไพร่พลประมาณ 10,000 นาย ซึ่งส่วนมากเป็นทหารรับจ้าง[30] ด้วยกองเรือจำนวน 200 ลำ[31] กองทัพของพระองค์ถือเป็นการรวมตัวของชาวไวกิงจากทั่วสแกนดิเนเวีย กองกำลังของชาวไวกิงนี้จะเผชิญหน้ากับฝ่ายอังกฤษภายใต้การนำของเจ้าชายเอ็ดมันด์ผู้ทนทาน พระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าแอเธลเรดในสมรภูมิรบอันดุเดือดไปอีกกว่าสิบสี่เดือน

การขึ้นฝั่งในเวสเซกซ์[แก้]

ตามที่มีการบันทึกใน บันทึกเหตุการณ์ปีเตอร์บะระ หนึ่งในเอกสารสำคัญจากเอกสารชุด บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน ระบุไว้ว่าในต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 1015 "[พระเจ้าคนุต] ทรงมาถึงแซนด์วิช และทรงแล่นเรืออ้อมเคนต์เพื่อมุ่งตรงไปเวสเซกซ์ จนกระทั่งทรงมาถึงปากแม่นํ้าฟรูม กองทัพของพระองค์ขึ้นฝั่งที่ซัมเมอร์เซต ดอร์เซต และวิลต์เชอร์ "[32] นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทัพขนาดมหึมาที่สุดนับตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช[28] ข้อเขียนในบทสรรเสริญราชินีเอ็มมาบรรยายภาพกองเรือของพระเจ้าคนุตไว้ ดังนี้:

ณ ที่นั้นมีโล่หลากชนิด ซึ่งทำให้ท่านเชื่อได้ว่าไพร่พลจากนานาชนชาติได้มาถึงยัง ณ สถานนี้...หัวเรือเป็นประกายด้วยทองคำ แร่เงินสะท้อนแสงไปตามเรือหลายรูปทรง....ใครเล่าจะกล้าเชิดหน้าขึ้นมามองเหล่าราชสีห์ของศัตรู ต่างสั่นกระทาด้วยกลัวความระยับของทองคำและเหล่านักรบผู้น่าครันครามด้วยใบหน้าอันเรียบนิ่ง....เรือของพวกเขานำพามาซึ่งความตาย แลแตรของพวกเขาระยิบไปด้วยทอง ใครเล่าจะไม่รู้สึกหวั่นเกรงกษัตริย์ผู้มีกองทัพเช่นนี้? มิหนำซ้ำ กองกำลังนี้มิมีไพร่พลใดที่เป็นทาสหรือผู้ที่เคยเป็นทาส ไม่มีคนซาติกำเนิดตํ่าต้อย ไม่มีไพร่พลที่อ่อนแอด้วความชราของอายุ ด้วยพวกเขาทั้งหมดต่างเป็นผู้มีชาติตระกูล แลแข็งแรงด้วยกำลังวังชาของคนวัยหนุ่ม ชำนาญการต่อสู้ทุกแขนงแลการเรือ พวกเขาเคลื่อนที่ด้วยความเร็วยิ่งกว่าพลทหารม้า

— บทสรรเสริญราชินีเอ็มมา[33]

เวสเซกซ์ซึ่งอยู่ภายใต้ปกครองโดยราชวงศ์ของพระเจ้าแอเธลเรดมาเป็นเวลานานยอมจำนนกับกองกำลังของพระเจ้าคนุตในปลายปี 1015 ดังเช่นที่ยอมจำนนกับกองกำลังของพระราชบิดาของพระองค์เมื่อสองปีก่อนหน้า[28] ณ จุดนี้ เอ็ดริก สโตรนา เอลโดแมนแห่งเมอร์เซีย หนีออกจากทัพของพระเจ้าแอเธลเรดไปพร้อมกับเรือ 40 ลำ รวมถึงลูกเรือจำนวนหนึ่ง และเข้าไปสวามิภักดิ์กับพระเจ้าคนุต[34] ผู้แปรพักตร์อีกคนได้แก่ธอร์เคล ผู้นำของคณะทหารจอมสไวกิง ซึ่งได้เข้าสวามิภักดิ์กับฝ่ายอังกฤษเมื่อปี 1012[28] และทำการรบกับชาวไวกิงกลุ่มอื่น ๆ เมื่อคราวการรุกรานของพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด สาเหตุของการแปรพักตร์อาจจะสามารถอธิบายได้โดยเรื่องที่มีการบันทึกไว้ใน จอมสไวกิงซากา ซึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่คณะทหารรับจ้างชาวจอมสไวกิงถูกโจมตีถึงสองครั้งขณะทำงานในอังกฤษ โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุโจมตีสองครั้งนั้นมีชายชื่อเฮนนิงค (Henninge) พี่น้องของธอร์เคลรวมอยู่ด้วย[35] หากธอร์เคลเคยเป็นผู้อบรมวิชาการทหารถวายพระเจ้าคนุตเมื่อครั้งทรงพระเยาว์จริงอย่างที่มีบันทึกไว้ใน แฟลร์ทิยาร์ลบก ข้อเท็จจริงนี้ก็จะสามารถช่วยอธิบายได้ทำไมพระองค์จึงยอมรับการเข้าสวามิภักดิ์ของเขา แม้จะทรงทราบดีว่าคณะจอมสไวกิงมีชื่อเสียในด้านมีความภักดีต่อผู้ว่าจ้างน้อยกว่าถิ่นภูมิลำเนาของตนก็ตาม กองเรือจำนวน 40 ลำที่เอ็ดริกนำมาด้วย ซึ่งโดยมากเชื่อกันว่าเป็นกองเรือของเขตเดนลอว์[35]แท้จริงแล้วอาจจะเป็นของธอร์เคล[36]

การรุกขึ้นเหนือ[แก้]

เมื่อถึงต้นปี 1016 กองกำลังไวกิงได้ข้ามแม่น้ำเทมส์และเร่งรุดหน้าไปยังวาร์วิคเชอร์ ในขณะที่ความพยายามต้านทานการรุกรานของเจ้าชายเอ็ดมันด์ไม่สัมฤทธิ์ผล นักบันทึกเหตุการณ์ (Chronicler) ระบุว่ากองทัพอังกฤษพากันแยกย้ายเพราะไม่ได้พบกษัตริย์หรือประชาชนชาวลอนดอน[37] การโจมตีในช่วงกลางฤดูหนาวโดยพระเจ้าคนุตสร้างความเสียหายไปทั่วเมอร์เซียตะวันออก การระดมพลอีกครั้งหนึ่งทำให้ชาวอังกฤษรวมตัวกันได้ และคราวนี้พระเจ้าแอเธลเรดก็เสด็จมาตรวจกองทัพด้วยตัวพระองค์เอง กระนั้น "มันก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก" พระเจ้าแอเธลเรดเสด็จกลับลอนดอนด้วยความกลัวว่าพระองค์กำลังจะถูกทรยศ[37]ในขณะที่เจ้าชายเอ็ดมันด์เสด็จไปทางเหนือเพื่อไปร่วมทัพกับอูห์เรด เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรีย แล้วจึงมุ่งหน้าไปยังสแตฟฟอร์ดเชอร์ ชาร์ปเชอร์และเชชเชอร์ ในเมอร์เซียตะวันตก[38] ทั้งสองอาจจะต้องการเข้ายึดพื้นที่ปกครองของเอ็ดริก สโตรนา การที่พระเจ้าคนุตทรงเข้ายึดครองนอร์ทัมเบรีย บีบให้อูห์เรดต้องกลับไปยอมแพ้ต่อพระเจ้าคนุต[39] พระองค์อาจจะเป็นผู้ส่งเธอร์บรันชาวโฮล อริชาวนอร์ทัมเบรียของอูห์เรดไปสังหารเขากับผู้ติดตาม เป็นไปได้ว่าเมื่อถึงจุดนี้ อีริค โฮกุนนาร์สัน พร้อมกับกองกำลังชาวสแกนดิเวียจึงเริ่มเข้ามาสบทบกับกับพระเจ้าคนุต[40] และบรรดายาร์ล (เอิร์ล) ผู้กรำศึกชาวนอร์เวย์ได้ถูกส่งไปปกครองนอร์ทัมเบรีย

เจ้าชายเอ็ดมันด์ยังคงประทับอยู่ในลอนดอน โดยทรงตั้งทัพอยู่ที่หลังกำแพงเมือง และทรงได้รับการเลือกเป็นกษัตริย์หลังจากพระเจ้าแอเธลเรดสวรรคตในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1016

การล้อมกรุงลอนดอน[แก้]

ภาพเขียนสีวิจิตร แสดงการปะทะระหว่างพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 (ซ้าย) และพระเจ้าคนุต (ขวา) จาก โครนิคา มาจอร์รา ประพันธ์และวาดภาพประกอบโดยแม็ทธิว แพริส

พระเจ้าคนุตเสด็จกลับไปทางทิศใต้ และกองทัพเดนมาร์กก็เริ่มทำการแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยกองแรกทำหน้าที่ไล่ตามพระเจ้าเอ็ดมันด์ ซึ่งสามารถตีฝ่าไพร่พลออกไปได้ก่อนที่พระเจ้าคนุตจะเข้าปิดล้อมกรุงลอนดอน พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงหลบหนีไปยังเทศมณฑลเวสเซกซ์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางพระราชอำนาจของราชสำนักอังกฤษมาแต่ครั้งโบราณ ในขณะที่อีกกองหนึ่งทำหน้าที่ล้อมรอบกรุงลอนดอนไว้ พร้อมกันนั้นก็มีการสร้างกำแพงกั้นนํ้า ขึ้นที่ทางเหนือและทางใต้ของตัวเมือง อีกทั้งยังมีการขุดคูนํ้าเลาะผ่านทางชายฝั่งแม่นํ้าเทมส์ไปจนจรดทิศใต้ เพื่อสะดวกต่อการล่องเรือลองชิป ขึ้นไปขัดขวางการสื่อสารของฝ่ายอังกฤษ

มีการปะทะเกิดขึ้นที่เพนเซลวูดในเทศมณฑลซัมเมอร์เซต โดยสันนิษฐานว่าเนินในป่าเซลวูด เป็นสมรภูมิของทั้งสองฝ่าย[41] การรบพุ่งเกิดตามมาที่เชอร์สตัน ในเทศมณฑลวิลต์เชอร์ การต่อสู้กินเวลาสองวันแต่ไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด[42]

พระเจ้าเอ็ดมันด์สามารถกู้กรุงลอนดอนกลับมาได้อยู่ระยะหนึ่ง ทรงผลักดันและตีกองทัพเดนมาร์กจนแตกพ่ายไปหลังทรงข้ามแม่นํ้าเทมส์ที่เบรนท์ฟอร์ด [41] แต่ก็ทรงเสียไพร่พลเป็นจำนวนมากเช่นกัน พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยล่าถอยไปยังเวสเซกซ์เพื่อเกณฑ์ไพร่พลใหม่ ชาวเดนส์เข้าปิดล้อมกรุงลอนดอนอีกครั้ง แต่หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการรุกคืบ พวกเขาจึงล่าถอยไปยังเคนต์ โดยมีการต่อสู้เกิดขึ้นบ้างประปราย ซึ่งลงเอยด้วยการรบที่ออตฟอร์ด ต่อมา เอ็ดริก สโตรนาแปรพักตร์กลับไปเข้ากับพระเจ้าเอ็ดมันด์อีกครั้ง[43] พระเจ้าคนุตจึงตัดสินพระทัยล่องเรือไปทางเหนือของแม่นํ้าเทมส์ เสด็จขึ้นฝั่งที่เอสเซกซ์ และทรงเดินทางไปจนถึงแม่นํ้าออร์เวลล์ เพื่อเข้าปลันเทศมณฑลเมอร์เซีย[41]

การยึดกรุงลอนดอนด้วยสนธิสัญญา[แก้]

ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1016 กองกำลังของชาวเดนส์ถูกโจมตีโดยกองทัพของพระเจ้าเอ็ดมันด์ ระหว่างที่ฝ่ายเดนส์กำลังล่าถอยไปที่เรือ อันนำไปสู่ยุทธการแอชชิงดัน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นที่แอชชิงดอน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่แอชดอน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเอสเซกซ์ ระหว่างการชุลมุนนั้นเอง เอ็ดริก สโตรนา ซึ่งอาจจะแกล้งทำอุบายแปรพักตร์เพื่อลวงฝ่ายอังกฤษ ได้ทำการถอยทัพออกจากสนามรบ ทำให้ฝ่ายอังกฤษพ่ายแพ้อย่างราบคาบ[44] พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จหนีไปทางตะวันตก พระเจ้าคนุตทรงไล่ตามพระองค์ไปจนถึงกลอสเตอร์เชอร์ ซึ่งอาจจะมีการสู้รบเกิดขึ้นอีกที่บริเวณป่าดีน เนื่องจากพระเจ้าเอ็ดมันด์ได้ทำการผูกมิตรกับผู้นำบางส่วนของชาวเวลส์[41]

บนเกาะใกล้หมู่บ้านเดียร์เฮสต์ พระเจ้าคนุตและพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้บาดเจ็บ ทรงเสด็จมาพบกันเพื่อเจรจาเงื่อนไขสงบศึก ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันว่าจะใช้แม่น้ำเทมส์เป็นตัวแบ่งเขตแดน โดยฟากเหนือแม่นํ้าขึ้นไปจะตกเป็นของชาวเดนส์ ในขณะที่ฟากทางใต้ รวมไปถึงกรุงลอนดอน จะยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายอังกฤษ ดินแดนทั้งสองจะถูกรวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้พระเจ้าคนุตเมื่อพระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคต ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน ไม่กี่สัปดาห์หลังจากสนธิสัญญาได้รับการลงนาม แหล่งข้อมูลบางชิ้นกล่าวว่าพระเจ้าเอ็ดมันด์ถูกลอบปลงพระชนม์ กระนั้นสาเหตุการสวรรคตของพระองค์ก็ไม่เป็นที่แน่ชัด[45] ชาวเวสเซกซ์ยอมรับพระเจ้าคนุตเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่โดยดี[46] พระองค์ได้รับการราชาภิเษกโดยไลฟิง อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ณ กรุงลอนดอน ใน ค.ศ. 1017[47]

อิทธิพลในเส้นทางเดินเรือตะวันตก[แก้]

ใน ค.ศ. 1014 ขณะที่พระเจ้าคนุตกำลังทรงเตรียมการรุกรานอังกฤษอีกครั้ง ในเวลาเดียวกัน กองทัพของหลายฝ่ายได้มาประจัญหน้ากันในยุทธการที่คลอนทาร์ฟ ที่ท้องทุ่งนอกกำแพงเมืองดับลิน มีล มอร์ดา แม็ค มูร์ชาดา กษัตริย์แห่งไลนสเตอร์ และพระเจ้าซิกทริงจ์ที่ 2 ผู้ปกครองราชอาณาจักรดับลิบของชาวนอร์ส-เกลิก ได้ส่งทูตไปยังอาณาจักรต่าง ๆ ของชาวไวกิงเพื่อขอความช่วยเหลือในการกบฎต่อต้านไบรอัน โบรู จอมกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ ซีเกิร์ดผู้แข็งแกร่ง เอิร์ลแห่งออร์กนีย์[48] ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังทั้งหมดของชาวนอร์ส ด้านพระเจ้าไบรอัน โบรู ทรงขอความช่วยเหลือจากชาวอัลบานาซ (Albannaich) ซึ่งนำโดย ดอมเนล แมค ไอร์มินน์ แมค แคลนนิก มอนเมอร์แห่งมาร์[49] กองทัพพันธมิตรไลนสเตอร์-นอร์สพ่ายแพ้ และแม่ทัพทั้งสอง คือ เอิร์ลซีเกิร์ดและพระเจ้ามีล มอร์ดาถูกฆ่าและปลงพระชนม์ในการรบตามลำดับ พระเจ้าไบรอัน พระราชโอรสกับพระราชนัดดาของพระองค์ และดอมเนล มอนเมอร์แห่งมาร์ ก็เสด็จสวรรคตและเสียชีวิตในการรบเช่นเดียวกัน กองกำลังพันธมิตรของพระเจ้าซิกทริงจ์แตกพ่ายไป ถึงกระนั้นพระองค์ก็สามารถเสด็จหนีรอดมาได้ ผลของการศึกครั้งนี้ทำให้ตำแหน่งจอมกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ตกไปอยู่กับมีล เชชเนล แมค ดอมนีลจากราชวงศ์โอนีลล์อีกครั้ง[50]

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดช่วงเวลาอิสระระยะสั้นในบริเวณทะเลไอริชสำหรับชาวไวกิงในดับลิน และสุญญากาศทางการเมืองที่แพร่กระจายไปทั่วบริเวณเส้นทางเดินเรือตะวันตกของกลุ่มเกาะตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก พระเจ้าคนุตทรงนับเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความโดดเด่นท่ามกลางผู้ที่พยายามเข้ามาแทนที่สุญญากาศทางการเมืองนั้น "ผู้ซึ่งความเป็นผู้นำของชาวสแกนดิเวียจะทำให้พระองค์มีอิทธิพลอันโดดเด่นต่อเหล่านิคมในทิศตะวันตก และการที่พระองค์ทรงควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญของพวกเขา ทำให้พระองค์มีความได้เปรียบทางเศรษกิจในการครอบงำทางการเมือง"[51] เหรียญกษาปณ์ที่ออกโดยพระเจ้าซิกทริงจ์ที่ 2 bearing Cnut's quatrefoil type—in issue c. 1017–25—sporadically replacing the legend with one bearing his own name and styling him as ruler either 'of Dublin' or 'among the Irish' provides evidence of Cnut's influence.[52] Further evidence is the entry of one Sihtric dux in three of Cnut's charters.[53]

In one of his verses, Cnut's court poet Sigvatr Þórðarson recounts that famous princes brought their heads to Cnut and bought peace.[54] This verse mentions Olaf Haraldsson in the past tense, his death at the Battle of Stiklestad having occurred in 1030. It was therefore at some point after this and the consolidation of Norway that Cnut went to Scotland with an army,[55] and the navy in the Irish Sea,[56] in 1031, to receive, without bloodshed, the submission of three Scottish kings: Maelcolm, the future King Maelbeth and Iehmarc.[9] One of these kings, Iehmarc, may be one Echmarcach mac Ragnaill, an Uí Ímair chieftain and the ruler of a sea-kingdom of the Irish Sea,[57] with Galloway among his domains. Nevertheless, it appears that Malcolm adhered to little of Cnut's power, and that influence over Scotland died out by the time of Cnut's death.[10]

Further, a Lausavísa attributable to the skald Óttarr svarti greets the ruler of the Danes, Irish, English and Island-dwellers[58]—use of Irish here being likely to mean the Gall Ghaedil kingdoms rather than the Gaelic kingdoms. It "brings to mind Sweyn Forkbeard's putative activities in the Irish Sea and Adam of Bremen's story of his stay with a rex Scothorum (? king of the Irish) [59] [&] can also be linked to... Iehmarc, who submitted in 1031 [&] could be relevant to Cnut's relations with the Irish".[56][โปรดขยายความ]

เชิงอรรถ[แก้]

พระราชมารดาของพระเจ้าคนุตยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงในวงการประวัติศาสตร์ บางทฤษฎีบอกว่าคือพระนางกันฮิลด์แห่งเว็นเด็น อีกทฤษฎีบอกพระนางไม่มีตัวตนหรือขาดหลักฐานที่น่าเชื่อถือ นักพงศวดารยุคกลาง เทตมาร์แห่งเมอร์ซบวร์ค และ อาดัมแห่งเบรเมิน บันทึกไว้ว่าพระเจ้าคนุตเป็นพระราชโอรสในเจ้าหญิงโปแลนด์ ผู้เป็นพระราชธิดาในดยุกมิเอสโกที่ 1 แห่งโปแลนด์ และพระขนิฐาในพระเจ้าโบเลสวัฟที่ 1 ผู้กล้าหาญ พระองค์อาจจะมีพระนามว่า "สเวโตสลาวา" (Świętosława) (ดูเพิ่มที่: ซิกริด สตอราดา) : ซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้ากับการที่มีทหารโปแลนด์ร่วมกองทัพของพระองค์เมื่อครั้งการพิชิตอังกฤษ และพระนามของพระขนิฐาของพระองค์ซึ่งเป็นภาษาสลาฟ สามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Santslaue Encomiast, Encomium Emmae, ii. 2, p. 18; Thietmar, Chronicon, vii. 39, pp. 446–47; Trow, Cnut, p. 40. Lawson 2010 เขียนไว้ว่าไม่มีผู้ใดทราบพระนามของพระนาง

พระนามในภาษาสมัยใหม่: เดนมาร์ก: Knud den Store หรือ Knud II นอร์เวย์: Knut den mektige สวีเดน: Knut den Store

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Weir, Alison (1989). Britain's Royal Families. Vintage. p. 30. ISBN 9780099539735.
  2. Somerville & McDonald 2014, p. 435.
  3. "Cnut". พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับคอลลินส์
  4. สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร. 2007. p. 149.
  5. "King Cnut The Great". Historic UK. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023.
  6. Laurence M. Larson Canute the Great G. P. Putnam's Sons 1912
  7. Canute 'The Great' (r. 1016-1035) เว็บไซต์ทางการของพระราชวงศ์สหราชอาณาจักร (2023)
  8. Graslund, B.,'Knut den store och sveariket: Slaget vid Helgea i ny belysning', Scandia, vol. 52 (1986), pp. 211–38.
  9. 9.0 9.1 Trow, Cnut, pp. 197–98.
  10. 10.0 10.1 ASC, Ms. D, s.a. 1031.
  11. Forte, Oram & Pedersen 2005, p. 196.
  12. Lawson 2004, p. 97.
  13. Cantor, The Civilisation of the Middle Ages, 1995: 166.
  14. Trow, Cnut, pp. 30–31.
  15. Snorri, Heimskringla, The History of Olav Trygvason, บทที่ 34, น. 141
  16. Adam of Bremen, History of the Archbishops of Hamburg-Bremen, บรรพ 2, บทที่ 37; ดูเพิ่มที่ (เรื่องเดียวกัน) บรรพ 2, บทที่ 33, เชิงความเห็น (Scholion) ที่ 25
  17. Snorri, Heimskringla, The History of Olav Trygvason, บทที่ 91, น. 184
  18. Trow 2005, p. 44.
  19. Douglas, English Historical Documents, pp. 335–36
  20. Lawson 2004, p. 160.
  21. Edwards, Paul and Pálsson, Hermann (trans.), Knytlinga saga: the history of the kings of Denmark, Odense University Press (1986), p. 43.
  22. Trow, Cnut, p. 92.
  23. John, H., The Penguin Historical Atlas of the Vikings, Penguin (1995), p. 122.
  24. Howard, Ian (2003). Swein Forkbeard's Invasions and the Danish Conquest of England, 991– 1017. Woodbridge: Boydell Press. p. 67. ISBN 0-85115-928-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021.
  25. Ellis 1993, p. 182.
  26. วิลเลียมแห่งมาล์มสบรี Gesta Regnum Anglorum น. 308–10
  27. 27.0 27.1 27.2 Sawyer, History of the Vikings, น. 171
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4 Lawson 2004, p. 27.
  29. 29.0 29.1 Lawson, Cnut, น. 49.
  30. Bolton, Timothy (2009). The Empire of Cnut the Great: Conquest and the Consolidation of Power in Northern Europe in the Early Eleventh Century (ภาษาอังกฤษ). Brill. p. 248. ISBN 978-90-04-16670-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 12 October 2021.
  31. Trow, Cnut
  32. Garmonsway, G.N. (ed. & trans.), The Anglo-Saxon Chronicle, Dent Dutton, 1972 & 1975, Peterborough (E) text, s.a. 1015, น. 146.
  33. Campbell, A. (ed. & trans.), Encomium Emmae Reginae, Camden 3rd Series vol. LXXII, 1949, น. 19–21.
  34. G. Jones, Vikings, p. 370
  35. 35.0 35.1 Trow, Cnut, p. 57.
  36. Lawson 2004, p. 161.
  37. 37.0 37.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lawson, Cnut, p. 27
  38. Lawson, Cnut, p. 28.
  39. Anglo-Saxon Chronicles, pp. 146–49.
  40. Trow, Cnut, p. 59.
  41. 41.0 41.1 41.2 41.3 Lawson 2004, p. 28.
  42. บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน, น. 148–50
  43. บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน, น. 150–51
  44. บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน, น. 151–53
  45. บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน, น. 152–53; Williams, A., Æthelred the Unready the Ill-Counselled King, Hambledon & London, 2003, pp. 146–47.
  46. Stenton 1971, p. 393.
  47. Lawson 2004, pp. 82, 121, 138.
  48. McGettigan 2013, pp. 61–63.
  49. Ní Mhaonaigh 2018, pp. 131–156.
  50. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ellis, Celt & Saxon, p. 182
  51. Forte, Oram & Pedersen 2005, p. 227.
  52. Hudson, Knutr, pp. 323–25.
  53. Hudson, Knutr, pp. 330–31.
  54. Townend 2012, p. 660.
  55. Forte, Oram & Pedersen 2005, pp. 197–198.
  56. 56.0 56.1 Lawson 2004, p. 102.
  57. Forte, Oram & Pedersen 2005, p. 198.
  58. Lausavisur, ed. Johson Al, pp. 269–70
  59. Lawson 2004, pp. 31–32.