ประมาณ ชันซื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประมาณ ชันซื่อ
ประธานศาลฎีกา
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าสวัสดิ์ โชติพานิช
ถัดไปศักดา โมกขมรรคกุล
ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2533[1] – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534[2]
ก่อนหน้าสวัสดิ์ โชติพานิช
ถัดไปประเสริฐ บุญศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มิถุนายน พ.ศ. 2479
ประเทศไทย
เสียชีวิต7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางอำพันศรี ชันซื่อ

ประมาณ ชันซื่อ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตประธานศาลฎีกา

ประวัติ[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479 เป็นบุตรอำมาตย์โทเอกยู้ ชันซื่อ เป็นน้องชายร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ อดีตประธานวุฒิสภา และอดีตประธานรัฐสภา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกดุษฎีกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเปปเปอร์ไดน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

สมรสกับนางอำพันศรี ชันซื่อ มีบุตร 3 คน คือ

การรับราชการ[แก้]

ประวัติรับราชการตำแหน่งสำคัญ อาทิ อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 5 ,ภาค 9 และ เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม สมัยวิกฤตตุลาการ ยุคคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ครองอำนาจ ก่อนก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาในปี 2535 - 2539 รวม 4 ปี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ริเริ่มหลักสูตรวิทยาลัยผู้บริหารงานยุติธรรมระดับสูง หรือ บยส. และริเริ่มการเสนอต่ออายุข้าราชการตุลาการที่ เกษียณอายุราชการ 60 ปี ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสถึงอายุ 65 ปี

นายประมาณยังเคยถูกลอบสังหารเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เมื่อปี 2536 แต่ตำรวจกองปราบปราม นำโดย พล.ต.ต.ล้วน ปานรศทิพ ผบก.ป. (ยศในขณะนั้น) จับกุมมือปืนได้ก่อนลงมือ มีการขยายผลจับกุมผู้ต้องหาอีกหลายคน กระทั่งไปสู่จับกุมผู้จ้างวานได้ในที่สุด ซึ่งต่อมาวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้พิพากษาจำคุก 25 ปี จำเลยอันประกอบด้วยนายสมพร เดชานุภาพ, นายเณร มหาวิไล, นายอภิชิต อังศุธรางกูล และ รศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ อดีตรองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

ประมาณ ชันซื่อ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สิริอายุได้ 70 ปี หลังเข้ารับการรักษาตัวที่ห้องไอซียู 8 ชั้น 9 โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

ก่อนหน้า ประมาณ ชันซื่อ ถัดไป
นายสวัสดิ์ โชติพานิช
ประธานศาลฎีกา คนที่ 28
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539)
นายศักดา โมกขมรรคกุล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/217/8936.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/200/11571.PDF
  3. ไทยรัฐ, http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=105950, 30 กันยายน 2551 เก็บถาวร 2008-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐