เอชวีดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผ่นดิสก์แบบ HVD (Holographic Versatile Disc) เป็นเทคโนโลยีดิสก์แสงที่ล้ำหน้าอีกขึ้นหนึ่ง ซึ่งยังอยู่ช่วงของการวิจัยและพัฒนา และน่าจะมีความสามารถในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระบบการเก็บในแผ่นดิสก์แสงแบบบลูเรย์ (Blu-ray Disc) และเอชดีดีวีดี (HD DVD) ซึ่งนับว่ามีความจุสูงมากอยู่แล้ว

ดิสก์แบบนี้จะใช้เทคนิคอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า collinear holography โดยใช้เลเซอร์สองความถี่ นั่นคือ เลเซอร์สีแดง และเลเซอร์สีน้ำเงินเขียว โดยรวมแสงออกมาเป็นลำแสงเดียว เลเซอร์สีน้ำเงินเขียวนั้นจะทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่ลงระดับเป็นชอบอ้างอิงเลเซอร์จากชั้นผิวโฮโลกราฟใกล้ผิวบนสุดของแผ่น ขณะที่เลเซอร์สีแดงนั้นใช้เพื่ออ่านข้อมูลเซอร์โวจากชั้นผิวอะลูมิเนียมแบบซีดีตามปกติที่อยู่ใกล้ผิวชั้นล่างสุด

ข้อมูลเซอร์โวนั้นใช้เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของหัวอ่านเหนือแผ่นดิสก์ ซ่างคล้ายกับข้อมูลเซ็กเตอร์ แทร็ก และหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ทั่วไปนั่นเอง ในแผ่น CD หรือ DVD นั้น ข้อมูลเซอร์โวนี้จะแทรกอยู่ระหว่างข้อมูลทั้งหมด ชั้นผิวกระจกเงาเหลือบเป็นสีรุ่งระหว่างข้อมูลโฮโลกราฟ และข้อมูลเซอร์โว จะสะท้อนเลเซอร์สีน้ำเงินเขียว ขณะที่ปล่อยให้เลเซอร์สีแดงผ่านทะลุได้ วิธีการดังกล่าวจะป้องกันการแทรกแซงจากการหักเหของเลเซอร์สีน้ำเงินเขียวจากหลุมข้อมูลเซอร์โว และนับว่าเป็นข้อดีเหนือกว่าสื่อบันทึกโฮโลกราฟในอดีต ซึ่งมีการแทรกแซงเป็นอย่างมาก หรือขาดข้อมูลเซอร์โวโดยสิ้นเชิง ทำให้ไม่สามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีการขับ CD และ DVD ที่ใช้ในปัจจุบัน

แผ่นดิสก์เหล่านี้มีความจุข้อมูลสูงถึง 3.9 เทอราไบต์ (TB) ซึ่งมีค่าสูงถึงประมาณ 160 เท่าของแผ่นดิสก์ Blu-ray Disc แบบชั้นผิวเดียว นอกจากนี้ HVD ยังมีอัตราการส่งข้อมูล 1 จิกะบิต (Gbit)/บิต แผ่นดิสก์ HDV ขนาดความจุ 300 Gb นั้นคาดว่าจะเปิดตัวในราวเดือนกันยายน ปี 2006 นี่ โดย InPhase Technologies และในปีหน้า คงจะเปิดตัว HVD ที่มีความจุสูงขึ้น คือ 800 Gb ได้

โครงสร้างของแผ่นเอชวีดี
  1. เลเซอร์เขียน/อ่าน สีเขียว (532 นาโนเมตร)
  2. เลเซอร์ระบุตำแหน่ง/ที่อยู่ สีแดง (650 นาโนเมตร)
  3. โฮโลแกรม (ข้อมูล)
  4. ชั้นผิวโพลีคาร์บอน
  5. ชั้นผิวโฟโตพอลิเมอร์ (ชั้นผิวบรรจุข้อมูล)
  6. ชั้นผิวระยะไกล
  7. ชั้นผิวสีรุ้ง (สะท้อนแสดงสีเขียว)
  8. ชั้นผิวสะท้อนอะลูมิเนียม (สะท้อนแสงสีแดง)
  9. ฐานโปร่งใส

พันธมิตร HVD[แก้]

พันธมิตร HVD เป็นกลุ่มพันธมิตรผู้สนับสนุนอุตสาหกรรม HVD สำหรับการทดสอบและอภิปรายในเชิงเทคนิคในทุกแง่มุม ของการออกแบบและการผลิต HVD จากการร่วมงานนั้น ทำให้สมาชิกของกลุ่มพันธมิตรหวังว่าจะได้พัฒนา และขยายตลาดสำหรับเทคโนโลยีนี้

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พันธมิตร HVD ประกอบด้วยกลุ่มองค์กรดังต่อไปนี้

  • Alps Electric Corporation, Ltd.
  • CMC Magnetics Corporation
  • EMTEC International (บริษัทลูกของ MPO Group)
  • Fujifilm|Fuji Photo Film Company, Ltd.
  • Konica Minolta|Konica Minolta Holdings, Inc.
  • LiteOn Technology Corporation
  • Mitsubishi Kagaku Media Company, Ltd. (MKM)
  • Nippon Paint Company, Ltd.
  • Optware Corporation
  • Pulstec Industrial Company, Ltd.
  • Software Architects, Inc.
  • Suruga Seiki Company, Ltd.
  • Toagosei Company, Ltd.
  • Tokiwa Optical Corporation

เทคโนโลยีคู่แข่ง[แก้]

HVD ไม่ใช่เทคโนโลยีเพียงตัวเดียวในสื่อบันทึกแบบออปติคัล ความจุสูงรุ่นใหม่ ทาง InPhase Technologies ได้พัฒนาดิสก์แบบออปติคัล ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 1.6 TB โดยมีอัตราการถ่ายข้อมูลถึง 120MBps ส่วนทาง Hitachi Maxell, Ltd. ก็เข้ามาในตลาดนี้เหมือนกัน โดยเสนอแผ่นดิสก์ขนาดความจุ 300GB โดยมีอัตราการส่งข้อมูล 20MBps ด้วยความจุในการบันทึกข้อมูลสูงขนาดนี้ ทำให้ดูเหมือนว่าจะเป็นเทคโนโลยนีที่ดีกว่าทั้งแผ่นดิสก์ HD-DVD และ Blu-ray อย่างไรก็ตาม เครื่องอ่าน HVD ในปัจจุบันมีราคาสูง ราว 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ และแผ่นดิสก์ HVD แบบชั้นเดียวนั้น ปัจจุบันมีราคาประมาณ 120 ดอลลาร์สหรัฐ ตลาดสำหรับ HVD นั้นในตอนนี้ยังไม่ใช่ตลาดสำหรับผู้บริโภคทั่วไป แต่เพราะสำหรับผู้ที่ต้องการการบันทึกขนาดใหญ่มากๆ เท่านั้น

การประยุกต์ใช้[แก้]

หนังสือในหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า "Library of Congress" (LC) นับเป็นหนึ่งในหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหนังสือทั้งสิ้น ถ้าคิดเป็นตัวอักษรแล้ว กว่า 20 เทอราไบต์ หากไม่นับภาพแล้ว เราสามารถบรรจุเนื้อหทั้งหมดในแผ่นดิสก์เหล่านี้ได้เพียง 6 แผ่นกว่าๆ เท่านั้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการส่งข้อมูลนั้น มีค่าประมาณ 1 จิกะบิต/วินาที นั่นคือ เท่ากับ 0.125 จิกะไบต์/วินาที หรือ 128 เมกะไบต์/วินาที ซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับสื่อบันทึกข้อมูลรุ่นก่อนนี้ ที่มีอัตราการถ่ายข้อมูลโดยเฉพาะในระดับกิโลไบต์/วินาทีเท่านั้น เมื่อเทียบกันแล้ว ดิสก์ CD-ROM อัตรา 56x สามารถถ่ายข้อมูลได้สูงสุด 8.4 เมกะไบต์/วินาที ส่วน DVD ที่ความเร็ว 16x นั้น มีอัตราการถ่ายข้อมูลที่ 22 เมกะไบต์/วินาที และฮาร์ดดิสก์ที่เร็วที่สุด 15k rpm มีอัตราการถ่ายโอยข้อมูลประมาณ 100 เมกะไบต์/วินาที

ด้วยอัตรานี้ จะใช้เวลาเพียง 4.7 วินาที ในการถ่ายโอนข้อมูลภาพยนตร์ที่มีบีบอัดอย่างสูง (600 MB) และใช้เวลาถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 8 ชั่วโมง 40 นาที สำหรับแผ่น DVD ภาพยนตร์ 820 เรื่อง (ความจุโดยประมาณของแผ่น 3.9 TB)

แบนด์วิดธ์ระดับจิกะบิตนั้น มีค่าประมาณ 2 เท่าของแบนด์วิดธ์ข้อมูล ที่จำเป็นต้องใช้โอนถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบสี ความละเอียด 1280 x 720 ชนิดที่ไม่บีบอัด ที่มีอัตราฉายภาพ 24 เฟรมต่อวินาที และข้อมูลเสียง PCM ขนาด 24 บิต 192 k แบบไม่บีบอัด 6 แชนแนล สำหรับความจุ 1 เทอราไบต์ แผ่น HVD แผ่นหนึ่งจะสามารถบันทึกข้อมูลเนื้อหาเหล่านี้ได้นานประมาณ 4 ชั่วโมง

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ออปติคอลดิสก์ (ดิสก์แสง)

เลเซอร์ดิสก์ (ค.ศ. 1978) - เลเซอร์ฟิล์ม (ค.ศ. 1984) - ซีดี - วีซีดี (ค.ศ. 1993) - ดีวีดี (ค.ศ. 1996) - DVD-Video (ค.ศ. 1996) - มินิดีวีดี - ซีวีดี (1998) - เอสวีซีดี (1998) - เอฟเอ็มดี (2000) - EVD (2003) - FVD (2005) - UMD (2005) - VMD (2006) - HD DVD (2006) - Blu-ray Disc (BD) (2006) - เอวีซีเอชดี (2006) - Tapestry Media (2007) - Ultra HD Blu-ray (2010) - เอชวีดี (TBA) - PH-DVD (TBA) - Protein-coated disc (TBA) - Two-Photon 3-D (TBA)