นาดิยะฮ์ มุรอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาดิยะฮ์ มุรอด
มุรอดใน ค.ศ. 2018
เกิดนาดิยะฮ์ มุรอด บาซี ฏอฮา
ค.ศ. 1993 (อายุ 30–31 ปี)
กูจู, ประเทศอิรัก
สัญชาติธงของประเทศอิรัก อิรัก
ผลงานเด่น
คู่สมรสAbid Shamdeen
รางวัล

นาดิยะฮ์ มุรอด บาซี ฏอฮา (อาหรับ: نادية مراد باسي طه; เกิด ค.ศ. 1993)[1] เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนยาซีดีชาวอิรัก[2][3][4][5]ที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี[3] ใน ค.ศ. 2014 เธอถูกลักพาตัวจากกูจู และถูกคุมตัวโดยรัฐอิสลามเป็นเวลาสามเดือน[6]

มุรอดเป็นผู้ก่อตั้ง Nadia's Initiative องค์กรที่มีเป้าหมาย "ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่ อาชญากรรมที่โหดร้าย และการค้ามนุษย์เพื่อรักษาและสร้างชีวิตกับสังคมใหม่"[7]

ใน ค.ศ. 2018 เธอและเดนิส มูเควกีร่วมกันรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับ "ความพยายามในการหยุดการใช้ความรุนแรงทางเพศในฐานะอาวุธสงครามและความขัดแย้งทางทหาร"[8] เธอยังเป็นชาวอิรักและผู้นับถือยาซีดีคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล[9]

ปัจจุบัน เธอเป็นผู้สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเลขาธิการสหประชาชาติ[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. By Editorial Staff (20 August 2018). "Iraqi Yazidi human rights activist Nadia Murad gets married". Kurd Net - Ekurd.net Daily News. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
  2. Murad, Nadia; Krajeski, Jenna (7 November 2017). The Last Girl: My Story of Captivity and My Fight Against the Islamic State (ภาษาอังกฤษ). Little, Brown Book Group. ISBN 9780349009766.
  3. 3.0 3.1 Siddique, Haroon; Maclean, Ruth (5 October 2018). "Nobel peace prize 2018 won by Denis Mukwege and Nadia Murad – as it happened". The Guardian.
  4. "Nobel Peace Prize awarded to Denis Mukwege and Nadia Murad". Deutsche Welle. 5 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  5. "Nadia Murad: One woman's fight against 'Islamic State'". Deutsche Welle. 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  6. Westcott, Lucy (19 March 2016). "ISIS sex slavery survivor on a mission to save Yazidi women and girls". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  7. "Nadia Murad". Forbes. สืบค้นเมื่อ 5 October 2018.
  8. "Announcement" (PDF). The Nobel Peace Prize. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.
  9. "Nobel Peace Prize winner Nadia Murad". BBC News. 5 October 2018.
  10. "Nadia-Murad-Basee-Taha". SDG Advocates (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nadia Murad