นรลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำรานรลักษณ์ เป็นตำราโหราศาสตร์ไทยประเภทหนึ่ง ว่าด้วยการทำนายลักษณะดีและร้ายของชายหญิงจากอวัยวะต่าง ๆ บนร่างกาย โดยเฉพาะอวัยะเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ อันได้แก่ อวัยวะเพศ เต้านม ขนในที่ลับ น้ำกาม กลิ่นกาย และพฤติกรรมของบุคคล เช่น การเดิน การนั่ง การขับถ่ายปัสสาวะ การแสดงออกเรื่องเพศ เป็นต้น เพื่อพยากรณ์เจ้าของลักษณ์นั้น ๆ ในด้านต่าง ๆ เช่น อายุ โชคลาภ ฐานะทางสังคม คู่ครอง บุตร โรคภัย และอาการผิดปกติต่าง ๆ เป็นต้น[1] การดูลายมือการถือเป็นหนึ่งในนรลักษณ์ศาสตร์แต่เน้นที่สัณฐานของมือและลายเส้นต่าง ๆ ที่อยู่บนฝ่ามือเท่านั้น[2]

สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณน่าจะใช้ดูลักษณะผู้น้อยหรือบุคคลใต้บังคับบัญชาเพื่อรายงานให้ผู้เป็นใหญ่ได้ทราบว่าคนเช่นนั้นมีลักษณะที่เป็นคุณหรือเป็นโทษควรคบหาไว้วางใจหรือใช้งานหรือไม่ วรรณกรรมในกลุ่มตำรานรลักษณ์หลายฉบับ หลายสำนวนทั้งที่เป็นใบลาน สมุดไทยดำ สมุดไทยขาว สมุดถือเฝ้า และที่พิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้ว ต้นฉบับที่พบมีทั้งที่เป็นตำราดูลักษณะดีร้ายของบุคคลโดยเฉพาะและที่แทรกปะปนอยู่กับตำราอื่น ๆ อาทิ ตําราพรหมชาติ‎และตำราแพทย์แผนไทย[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สุกัญญา สุจฉายา. "ทัศนคติเรื่องเพศของคนไทย จากผลงานวิจัยชุดวรรณกรรมตำราเพศศาสตร์ของคนไทยภาคกลาง" (PDF). วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ.[ลิงก์เสีย]
  2. ณัฐพล บ้านไร่, ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย. "การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องพระเคราะห์ ทศา และนรลักษณ์ในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์และตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์ของไทย" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  3. "ลักษณ์เผื่อเลือก: ไขความลับเรือนร่างหญิงชายในอุดมคติจากตำรานรลักษณ์". ชนกพร พัวพัฒนกุล.