ปัญญาสชาดก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญญาสชาดก เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2000 - 2200 โดยเขียนไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น 50 ชาดก

โครงสร้างของปัญญาสชาดกมีลักษณะเลียนแบบนิบาตชาดกหรืออรรถกถาชาดกที่พระสงฆ์ชาวลังกาประพันธ์ไว้ อันประกอบด้วย ปัจจุบันวัตถุ อดีตนิทาน บทคาถาภาษิต และสโมธานหรือประชุมชาดก

เนื้อเรื่อง[แก้]

เนื้อหาสาระของปัญญาสชาดกเป็นการพรรณนาถึงเรื่องราวเกี่ยวกับจริยวัตรของตัวละครเอกในเรื่อง คือ พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งได้มีปณิธานมุ่งมั่นในการบำเพ็ญบารมีในชาติต่างๆอย่างมั่นคง ไม่ย่อท้อต่อความยากเข็ญและอุปสรรคนานาชนิด โดยปรารถนาสูงสุดเพียงได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเท่านั้น ซึ่งท้ายที่สุดของแต่ละชาติ พระโพธิสัตว์จะสามารถลุถึงสัมมาสัมโพธิญาณด้วยบารมีที่ถึงพร้อมตามแต่ละชาติ

ชื่อชาดกของปัญญาสชาดก[แก้]

ปฐมภาค[แก้]

มี 50 ชาดก

ปัจฉิมภาค[แก้]

มี 11 ชาดก

ชาดกแทรก[แก้]

มี 3 ชาดก