นกอินทรีฮาร์ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นกอินทรีฮาร์ปี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยโฮโลซีน - ปัจจุบัน[1]
อินทรีฮาร์ปีที่ Parque das Aves ในFoz do Iguaçu ประเทศบราซิล
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: เหยี่ยว
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
วงศ์ย่อย: Harpiinae
Vieillot, 1816
สกุล: Harpia
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Harpia harpyja
ชื่อทวินาม
Harpia harpyja
(Linnaeus, 1758)
นกอินทรีฮาร์ปีหายากโดยตลอดถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน ตั้งแต่ประเทศเม็กซีโกถึงบราซิล (ทั่วพื้นที่)[4] และอาร์เจนตินา (เฉพาะตอนเหนือ) (หมายเหตุ: ข้อมูลที่ปรากฏในตรินิแดดและโตเบโกและหมู่เกาะเอบีซีนั้นไม่ถูกต้อง)
ชื่อพ้อง
  • Vultur harpyja Linnaeus, 1758

นกอินทรีฮาร์ปี (อังกฤษ: Harpy Eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Harpia harpyja) คือสายพันธุ์อินทรีที่อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา นกชนิดนี้เป็นที่รู้จักในฐานะ อินทรีฮาร์ปีอเมริกา เพื่อแยกจากอินทรีปาปัว ซึ่งบางครั้งเป็นที่รู้จักในชื่อ อินทรีฮาร์ปีนิวกินี หรืออินทรีฮาร์ปีปาปัว[5] นกอินทรีฮาร์ปีเป็นนกล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่และมีพลังมากที่สุดในทวีปอเมริกา[6] และมีขนาดใหญ่ที่สุดท่ามกลางสายพันธุ์อินทรีที่ยังมีอยู่ในโลก โดยปกติแล้วอาศัยอยู่ในป่าฝนเขตร้อนทางตอนใต้ ในระดับที่สูงกว่าชั้นของร่มไม้ (canopy layer) การทำลายที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติทำให้เห็นการสูญหายของนกชนิดนี้ในหลาย ๆ ส่วนของขอบเขตที่อยู่เดิมของมัน และเกือบที่จะถูกทำลายจนหมดสิ้นในทวีปอเมริกากลาง ในประเทศบราซิล นกอินทรีฮาร์ปียังเป็นที่รู้จักในฐานะเหยี่ยวหลวง (โปรตุเกส: gavião-real; royal-hawk)[7]

ในวัฒนธรรมมนุษย์[แก้]

ภาพนกอินทรีฮาร์ปีใน Maya codices จากหนังสือ Animal figures in the Maya codices ใน ค.ศ. 1910 โดยอัลเฟรด ทอสเซอร์ และโกลเวอร์ มอร์ริลล์ แอลเลน[8]

นกอินทรีฮาร์ปีเป็นนกประจำชาติปานามาและปรากฏในตราแผ่นดินปานามา[9]

นกชนิดนี้ปรากฏในหน้าหลังของธนบัตร 2,000 โบลิบาร์เวเนซุเอลา

นกอินทรีฮาร์ปีเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ Fawkes the Phoenix ในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์[10]และมีการใช้นกอินทรีฮาร์ปีในการแสดงเป็นนกอินทรีฮาร์ปีที่สูญพันธุ์ในรายการMonsters We Metของบีบีซี[11]

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Fossilworks: Harpia harpyja".
  2. BirdLife International (2022). "Harpia harpyja". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T22695998A197957213. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-3.RLTS.T22695998A197957213.en. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  3. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  4. "Aves de Rapina BR | Gavião-Real (Harpia harpyja)". avesderapinabrasil.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 2014-01-25.
  5. Tingay, Ruth E.; Katzner, Todd E. (23 February 2011). Rt-Eagle Watchers Z. Cornell University Press. pp. 167–. ISBN 978-0-8014-5814-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 October 2016.
  6. The illustrated atlas of wildlife. University of California Press. 2009. p. 115. ISBN 978-0-520-25785-6.
  7. "Programa de Conservação do Gavião-real". gaviaoreal.inpa.gov.br. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2014-01-25.
  8. Tozzer, Alfred M.; Allen, Glover M. Animal figures in the Maya codices. สืบค้นเมื่อ 25 November 2020 – โดยทาง Biodiversity Heritage Library.
  9. Goldish, Meish (2007). Bald Eagles: A Chemical Nightmare. Bearport Publishing Company, Incorporated. p. 29. ISBN 978-1-59716-505-1.
  10. Lederer, Roger J. (2007). Amazing Birds: A Treasury of Facts and Trivia about the Avian World. Barron's Educational Series, Incorporated. p. 106. ISBN 978-0-7641-3593-4.
  11. "Haast's eagle videos, news and facts". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-14. สืบค้นเมื่อ 2014-01-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]