ทเวิร์ป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทเวิร์ป (TWRP)
ผู้ออกแบบOmniROM
นักพัฒนาTeam Win
วันที่เปิดตัว30 กรกฎาคม 2011; 12 ปีก่อน (2011-07-30)[1]
รุ่นเสถียร
3.7.0 / 10 ตุลาคม 2022; 17 เดือนก่อน (2022-10-10)[2]
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนซี++ , ซี , เชลล์ , make
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
แพลตฟอร์มแอนดรอยด์
ภาษาอังกฤษ สเปน รัสเซีย จีน และอื่นๆ
สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูรุ่น 3[3]
เว็บไซต์twrp.me

Team Win Recovery Project (TWRP) อ่านว่า ทเวิร์ป[4] เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เป็น custom recovery image สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์[5][6] โดยสามารถติดตั้งแล้วใช้แทน stock recovery image ที่มากับอุปกรณ์ ทเวิร์ปมีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้เป็นจอสัมผัส ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งเฟิร์มแวร์อื่นโดยสามารถสำรองข้อมูลปัจจุบันไว้ด้วย ซึ่งเป็นลูกเล่นที่ stock recovery image ที่มากับอุปกรณ์ปกติจะทำไม่ได้[6][7][8][9] ดังนั้น จึงมักจะติดตั้งซอฟต์แวร์นี้เมื่อจะแฟลช หรือติดตั้ง custom ROM หรือเมื่อจะรูตอุปกรณ์ (rooting)[10] ถึงแม้จะไม่ต้องรูตอุปกรณ์ก่อนจะติดตั้งซอฟต์แวร์นี้

ลักษณะและหน้าที่[แก้]

เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2016 เลข 3 ตัวแรกของซอฟต์แวร์จะเป็นเลขรุ่น ส่วนเลขตัวที่ 4 ซึ่งแยกจากเลขอื่นๆ ด้วยขีดใต้ จะเป็นตัวระบุอัปเดตสำหรับอุปกรณ์หนึ่งๆ โดยเฉพาะ อัปเดตอาจจะทำเพื่อให้เร็วขึ้น เป็นการแก้ปัญหาเร่งด่วน แก้บั๊ก หรืออาจเป็นอัปเดตธรรมดาๆ

วิธีติดตั้งหลัก (เรียกว่า การแฟลช) ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ จะต้องดาวน์โหลดรุ่นซอฟต์แวร์ที่ทำสำหรับอุปกรณ์นั้นโดยเฉพาะๆ แล้วใช้โปรแกรมเช่น ฟาสต์บูตหรือ Odin เพื่อแฟลชอุปกรณ์ มี custom ROM บางชนิดที่มาพร้อมกับทเวิร์ปโดยเป็น recovery image โดยปริยาย

ทเวิร์ปให้ทางเลือกแก่ผู้ใช้ในการสำรองข้อมูลทั้งหมดในอุปกรณ์ (รวมทั้งบูตโหลดเดอร์ ข้อมูลระบบ ข้อมูลแอป เป็นต้น) เพื่อใช้ในการย้อนคืนระบบเมื่อไรก็ได้ ยังมีตัวจัดการไฟล์ในตัวเพื่อลบไฟล์ที่เป็นปัญหา หรือเพื่อเพิ่มไฟล์เพื่อแก้ปัญหา จนถึงปี 2019 ทเวิร์ปยังรองรับการติดตั้ง custom ROM (คือ ระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น ลิเนียจโอเอส) เคอร์เนล ซอฟต์แวร์เสริม (เช่น แอปของกูเกิล, Magisk, ธีม) และ mods อื่นๆ

การล้างข้อมูล สำรองข้อมูล นำข้อมูลคืนมา และการเมานท์พาร์ทิชัน (partition mounting) ต่างๆ เช่น system, boot, userdata, cache และ internal storage เป็นลูกเล่นที่ทเวิร์ปรองรับ ทเวิร์ปรับรองการส่งไฟล์ผ่านเอ็มทีพี (Media Transfer Protocol) มีตัวจัดการไฟล์พื้นฐาน มีโปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินัล และสามารถจัดธีมได้ด้วย

ในเดือนมกราคม 2017 ทีมผู้พัฒนาได้เริ่มแจกจำหน่ายแอปแอนดรอยด์ใหม่ คือ ทเวิร์ปแอป[11] ซึ่งช่วยให้สามารถแฟลช recovery image ถ้าได้สิทธิ์รูต แต่ก็ไม่เหมือนกับ recovery image เพราะแอปไม่ใช่โอเพ่นซอร์สแม้จะให้ใช้ฟรี โดยยังสามารถติดตั้งแอปผ่าน TWRP recovery image สำหรับอุปกรณ์ทั้งที่ได้รูตและไม่ได้รูต[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "TWRP 1.x". TeamWin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2014-04-20.
  2. "TWRP Home page, with list of releases". TeamWin. สืบค้นเมื่อ 2023-05-26. Updated as releases added.
  3. TeamWin/android_bootable_recovery, TeamWin, 2023-03-18, สืบค้นเมื่อ 2023-03-20
  4. "TeamWin demos TWRP 2.0 recovery manager for Android, scoffs at your volume rocker (video)". Engadget (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
  5. "TWRP". TeamWin. สืบค้นเมื่อ 2016-02-07.
  6. 6.0 6.1 "What Is TWRP Recovery & How To Install & Use It On Android Devices". AddictiveTips. 2013-05-04.
  7. "Team Win Recovery Project 2.0 goes gold, tells your volume rocker to kiss off". Engadget. 2011-12-20.
  8. "What's a Custom Recovery? Exploring CWM, TWRP, and Friends". MakeUseOf. 2014-01-12.
  9. "Team Win Recovery Project Updated to 2.1". XDA Developers. 2012-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-04-20.
  10. "Rooting your Kindle Fire: a cautionary tale concluded". TechRepublic. 2014-03-31.
  11. Official TWRP App
  12. TWRP App installation screen

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]