ฟาสต์บูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟาสต์บูต (Fastboot)
ผู้ออกแบบกูเกิล
ที่เก็บข้อมูลandroid.googlesource.com
รวมถึงAndroid SDK
ภาษาซี++
ประเภทโพรโทคอลการสื่อสารของเฟิร์มแวร์และการทำให้เกิดผล

สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ฟาสต์บูต (อังกฤษ: fastboot) เป็นชื่อของโพรโทคอลการสื่อสาร ของโหมดหนึ่งของบูตโหลดเดอร์ และของส่วนต่อประสานแบบรายคำสั่ง (command-line interface) ที่ทำให้สามารถแฟลชเฟิร์มแวร์, ปลดล็อกบูตโหลดเดอร์, แฟลชโปรแกรมกู้คืนแบบคัสทอม (custom recovery image), และทำการขั้นสูงอื่นๆ กับอุปกรณ์[1]

ฟาสต์บูตจะรวมอยู่ใน Android SDK ปกติสำหรับผู้พัฒนาหรือผู้ใช้ที่มีความชำนาญ เพื่อใช้เปลี่ยนระบบไฟล์แบบแฟลชของอุปกรณ์แอนดรอยด์ผ่านสายยูเอสบีจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ อุปกรณ์แอนดรอยด์จะต้องบูตให้อยู่ในโหมดฟาสต์บูต (Fastboot mode) แล้วฟาสต์บูตจึงจะยอมรับคำสั่งโดยเฉพาะๆ[2] ที่ส่งผ่านยููเอสบีแบบ bulk transfer ฟาสต์บูตในอุปกรณ์บางชนิดทำให้สามารถปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ของอุปกรณ์ แล้วติดตั้งโปรแกรมกู้คืนแบบคัสทอม (custom recovery image) และ custom ROM ได้

ไม่จำเป็นต้องเปิด USB debugging ในอุปกรณ์เพื่อใช้ฟาสต์บูต[3] เมื่อต้องการจะใช้ ก็ให้กดปุ่มต่างๆ โดยเฉพาะร่วมกันเมื่อบูตเครื่อง[4]

ฟาสต์บูตจะไม่มีอยู่ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ทั้งหมด[5] เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์อาจเลือกใช้ฟาสต์บูตก็ได้ หรือใช้โพรโทรคอลอื่นๆ ก็ได้[6]

ปุ่มร่วมกันที่กด[แก้]

อุปกรณ์ยี่ห้อต่างๆ จะมีปุ่มกดให้ดำเนินการฟาสต์บูตต่างๆ กัน[7]

  • เอชทีซี, Google Pixel และเสียวหมี่ - กดปุ่มเปิด/ปิดและลดเสียงพร้อมๆ กัน
  • โซนี่ - กดปุ่มเปิด/ปิดและเพิ่มเสียงพร้อมๆ กัน
  • กูเกิลเน็กซัส - กดปุ่มเปิด/ปิด เพิ่มเสียง และลดเสียงพร้อมๆ กัน

ในอุปกรณ์ซัมซุง (ยกเว้นเน็กซัสเอส และกาแลคซี เน็กซัส) จะต้องกดปุ่มเปิด/ปิด ลดเสียง และโฮมพร้อมๆ กันเพื่อจะเข้าในโหมด ODIN ซึ่งเป็นโพรโทคอลมีกรรมสิทธิ์ และเป็นชื่อซอฟต์แวร์/โปรแกรมด้วย โดยใช้แทนฟาสต์บูต

คำสั่ง[แก้]

คำสั่งฟาสต์บูตที่ใช้บ่อยที่สุดก็คือ

  • flash - เขียนทับพาร์ทิชันด้วยไฟล์ฐานสอง (binary image) จากคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์
  • flashing unlock/oem unlock *** - ปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ของผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อจะแฟลช custom ROM โดยส่วนที่ระบุว่า "***" ก็คือรหัสการปลดล็อกโดยเฉพาะของอุปกรณ์
  • flashing lock/oem lock *** - ล็อกบูตโหลดเดอร์ที่ได้ปลดล็อก
  • erase - การลบ partition หนึ่งๆ
  • reboot - รีบูตอุปกรณ์ให้เข้าไปในระบบปฏิบัติการหลัก หรือให้เข้าไปใน recovery image หรือให้เข้าไปในบูตโหลดเดอร์
  • devices - แสดงรายการอุปกรณ์พร้อมทั้งเลขอนุกรม (serial number) สำหรับอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต่ออยู่กับคอมพ์
  • format - ล้าง/จัดรูปแบบของพาร์ทิชันใหม่ โดยพาร์ทิชันจะต้องมีระบบไฟล์ที่อุปกรณ์รู้จัก
  • oem device-info - เช็คสถานะของบูตโหลดเดอร์
  • getvar all - แสดงข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับอุปกรณ์ (เช่น รหัสสากลประจำอุปกรณ์เคลื่อนที่ รุ่นบูตโหลดเดอร์ สถานะแบต)

การทำให้เกิดผล[แก้]

โพรโทคอลนี้ได้ทำให้เกิดผลในบูตโหลดเดอร์ของแอนดรอยด์ชื่อว่า ABOOT[8], โปรแกรมแตกสาขา (fork) จาก Little Kernel ของควอลคอมม์[9], TianoCore EDK II[10][11] และ Das U-Boot[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Fastboot Protocol Documentation". android.googlesource.com. สืบค้นเมื่อ 2019-07-07.
  2. Ravenscraft, Eric (2014-06-13). "The Most Useful Things You Can Do with ADB and Fastboot on Android". Lifehacker (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-07.
  3. Tamma, Rohit (2015). Learning Android forensics : a hands-on guide to Android forensics, from setting up the forensic workstation to analyzing key forensic artifacts. Donnie Tindall. Birmingham, UK. p. 113. ISBN 978-1-78217-444-8. OCLC 910639389.
  4. "How to Use ADB and Fastboot on Android (And Why You Should)". Makeuseof (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  5. "The Easiest Way to Install Android's ADB and Fastboot Tools on Any OS". Lifehacker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  6. Drake, Joshua J. (2014). Android hacker's handbook. Zach Lanier, Collin Mulliner, Pau Oliva, Stephen A. Ridley, Georg Wicherski. Indianapolis, IN: Wiley. ISBN 978-1-118-60861-6. OCLC 875820167.
  7. Tahiri, Soufiane (2016). Mastering mobile forensics : develop the capacity to dig deeper into device data acquisition. Birmingham, UK. ISBN 978-1-78528-106-8. OCLC 952135850.
  8. Hay, Roee (2017). "fastboot oem vuln: Android Bootloader Vulnerabilities in Vendor Customizations". USENIX. สืบค้นเมื่อ 2023-11-23.
  9. "fastboot.c\aboot\app - kernel/lk -". source.codeaurora.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  10. "Undocumented Fastboot Oem Commands". carlo.marag.no (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  11. "edk2/AndroidFastbootApp.c at master · tianocore/edk2". GitHub (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  12. u-boot/u-boot, u-boot, 2023-04-15, สืบค้นเมื่อ 2023-04-15

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]