ซิโปรฟลอกซาซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซิโปรฟลอกซาซิน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าCiprobay, Ciloxan, Cipro, Neofloxin, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa688016
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
ช่องทางการรับยาปาก, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, เฉพาะที่ (หยอดตา หยอดหู)
ประเภทยาFluoroquinolone
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล70%[2]
การจับกับโปรตีน30%[2]
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (รวม CYP1A2)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ3.5 ชั่วโมง[2]
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • 1-cyclopropyl-6-fluoro-4-oxo-7-(piperazin-1-yl)-quinoline-3-carboxylic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
PubChem SID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
NIAID ChemDB
ECHA InfoCard100.123.026
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC17H18FN3O3
มวลต่อโมล331.347 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • C1CC1N2C=C(C(=O)C3=CC(=C(C=C32)N4CCNCC4)F)C(=O)O
  • InChI=1S/C17H18FN3O3/c18-13-7-11-14(8-15(13)20-5-3-19-4-6-20)21(10-1-2-10)9-12(16(11)22)17(23)24/h7-10,19H,1-6H2,(H,23,24) checkY
  • Key:MYSWGUAQZAJSOK-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ซิโปรฟลอกซาซิน (อังกฤษ: Ciprofloxacin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดฟลูออโรควิโนโลน ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค[3] เช่น การติดเชื้อที่กระดูกและข้อ การติดเชื้อในช่องท้อง ท้องเสียติดเชื้อบางชนิด การติดเชื้อในระบบหายใจ การติดเชื้อที่ผิวหนัง ไข้ไทฟอยด์ และการติดเชื้อในทางปัสสาวะ เป็นต้น[3] บางครั้งอาจใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษา ยานี้สามารถให้ได้ทางการกิน หยอดตา หยอดหู และฉีดเข้าหลอดเลือดดำ[3][4]

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเหลว[3] อาการไม่พึงประสงค์รุนแรงที่อาจพบได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ เส้นเอ็นฉีกขาด ประสาทหลอน เส้นประสาทบาดเจ็บ[3] อาจทำให้ผู้ป่วยไมแอสทีเนียเกรวิสมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่แย่ลงได้[3] อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของยานี้มากกว่าที่พบจากยาในกลุ่มเซฟาโลสปอรินแต่น้อยกว่าที่พบจากยาคลินดามัยซิน[5] การวิจัยกับสัตว์ชนิดอื่นก่อให้เกิดความกังวลต่อการใช้งานในการตั้งครรภ์[6] อย่างไรก็ตาม ไม่มีการพบปัญหาใด ๆ ในกลุ่มเด็กที่แม่นำยาชนิดนี้มาใช้[6] โดยพบว่ามีความปลอดภัยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[3] ฟลูออโรควิโนโลนรุ่นที่สองที่มีกิจกรรมในวงกว้างมักทำให้แบคทีเรียตาย[3][7][8]

มีการจดสิทธิบัตรซิโปรฟลอกซาซินใน ค.ศ. 1980 และเริ่มใช้งานใน ค.ศ. 1987[9][10] จัดให้อยู่ในรายการยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก[11][12] ทางองค์การอนามัยโลกจัดให้ซิโปรฟลอกซาซินอยู่ในกลุ่มยาที่มีความสำคัญอย่างมาก[13] โดยปรากฏใช้เป็นยาสามัญ[3][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ciprofloxacin Use During Pregnancy". Drugs.com. 7 January 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 Zhanel GG, Fontaine S, Adam H, Schurek K, Mayer M, Noreddin AM, Gin AS, Rubinstein E, Hoban DJ (2006). "A Review of New Fluoroquinolones: Focus on their Use in Respiratory Tract Infections". Treatments in Respiratory Medicine. 5 (6): 437–465. doi:10.2165/00151829-200605060-00009. PMID 17154673. S2CID 26955572.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "Ciprofloxacin Hydrochloride". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015.
  4. "Ciprofloxacin Hcl Drops". WebMD. 22 February 2018. สืบค้นเมื่อ 22 February 2018.
  5. Heidelbaugh JJ, Holmstrom H (April 2013). "The perils of prescribing fluoroquinolones". The Journal of Family Practice. 62 (4): 191–197. PMID 23570031.
  6. 6.0 6.1 "Prescribing medicines in pregnancy database". Government of Australia. 23 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2014.
  7. Ball P (July 2000). "Quinolone generations: natural history or natural selection?". The Journal of Antimicrobial Chemotherapy. 46 Suppl T1: 17–24. doi:10.1093/oxfordjournals.jac.a020889. PMID 10997595.
  8. Oliphant CM, Green GM (February 2002). "Quinolones: a comprehensive review". American Family Physician. 65 (3): 455–464. PMID 1185862.
  9. Oxford Handbook of Infectious Diseases and Microbiology. OUP Oxford. 2009. p. 56. ISBN 978-0-19-103962-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.
  10. Fischer J, Ganellin CR (2006). Analogue-based Drug Discovery. John Wiley & Sons. p. 500. ISBN 9783527607495.
  11. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  12. World Health Organization (2021). World Health Organization model list of essential medicines: 22nd list (2021). Geneva: World Health Organization. hdl:10665/345533. WHO/MHP/HPS/EML/2021.02.
  13. World Health Organization (2019). Critically important antimicrobials for human medicine (6th revision ed.). Geneva: World Health Organization. hdl:10665/312266. ISBN 9789241515528.
  14. Hamilton RJ (2014). Tarascon pharmacopoeia (15th ed.). Jones & Bartlett Publishers. p. 85. ISBN 978-1-284-05671-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]