ชาวบัลติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัลติ
เด็กบัลติในตาราชิง
ประชากรทั้งหมด
ร้อยละ 28 ของประชากรในกิลกิต-บัลติสถาน (247,520 คน) (ค.ศ. 1998)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
กิลกิต-บัลติสถาน (ประเทศปากีสถาน)
ลาดัก (ประเทศอินเดีย)
ภาษา
บัลติ
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์[1]
ส่วนน้อยนับถือนิกายนูร์บัคชีอะฮ์, ซุนนี, ศาสนาพุทธแบบทิเบต และลัทธิบอน
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ปูริกปา, โภติ, ทิเบต, ดาร์ด

บัลติ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างชาวทิเบตกับชาวดาร์ด อาศัยในภูมิภาคกิลกิต-บัลติสถานของประเทศปากีสถาน และเมืองการ์คิล พบเป็นกลุ่มน้อย ๆ ในเมืองเลห์ ประเทศอินเดีย และพบกระจายอยู่ตามหัวเมืองหลักของประเทศปากีสถาน เป็นต้นว่า ลาฮอร์ การาจี อิสลามาบาด และราวัลปินดี

ภาษา[แก้]

ภาษาบัลติจัดอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต จากการศึกษาของรีด (1934) พบว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาดัก[2] ขณะที่ Tournadre (2005) พบว่าเป็นภาษาพี่น้องกับลาดัก[3]

ศาสนา[แก้]

เดิมชาวบัลตินับถือลัทธิบอนและศาสนาพุทธแบบทิเบต ในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาเผยแผ่แถบบัลติสถานผ่านนักบวชซูฟี หนึ่งในนั้นคือ อามีร์ กาบีร์ ซัยยิด อะลี ฮามาดานี (Kabeer Syed Ali Hamadani) ซึ่งเคยมาเผยแผ่ช่วงสตวรรษที่ 15 จนกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพล กระนั้นบัลติยังคงคติวัฒนธรรมก่อนอิสลามจากลัทธิบอนและพุทธแบบทิเบตไว้หลายอย่างจนมีลักษณะเฉพาะ เช่น การฉลุลวดลายสวัสดิกะอันเป็นสัญลักษณ์แห่งมงคล พบได้ตามมัสยิดเก่า และมีพิธีกรรมแสดงความเคารพต่อเทพลา (Lha) และลู (Lhu) ซึ่งเป็นเทพเจ้าในลัทธิบอน ตามความเชื่อในหมู่บ้าน

ชาวบัลติให้ความสำคัญต่อการชุมนุมในมัสยิดหรือคานกะฮ์ (Khanqah) โดยคานกะฮ์จะเป็นสถานที่ฝึกอบรมธรรมจริยา มีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มที่มีธรรมิกชนเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในภูมิภาค นักเรียนจะได้รับการการขัดเกลาและอบรม (ตัซกียะฮ์) ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ (การทำสมาธิและเพ่งพินิจ) ภายใต้การดูแลจากผู้ที่ผ่านการอบรมจนบรรลุแล้ว

มัสยิดในบัลติสถานส่วนใหญ่จะก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบทิเบต หลายแห่งสร้างด้วยไม้และประดับตกแต่งด้วยศิลปะอย่างโมกุลดั้งเดิม พบได้ในลาดักและการ์คิล ชาวมุสลิมทุกคนจะอดอาหารช่วงเดือนรอมฎอนและจะมีการเฉลิมฉลองหลังการละศีลอด

ปัจจุบันชาวบัลติส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แบ่งเป็นนิกายชีอะฮ์ร้อยละ 60, นิกายนูร์บัคชีอะฮ์ร้อยละ 30 และนิกายซุนนีร้อยละ 10[4] และมีชาวบัลติที่อาศัยแถบหุบเขาคาร์มังและการ์คิลตะวันตกยังนับถือลัทธิบอนและศาสนาพุทธราว 3,000 คน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bakshi, S.R. (1997). Kashmir: History and People. Sarup & Sons. p. 186. ISBN 978-81-85431-96-3.
  2. Balti Grammar, by A. F. C. Read. London: The Royal Asiatic society, 1934.
  3. *N. Tournadre (2005) "L'aire linguistique tibétaine et ses divers dialectes." Lalies, 2005, n°25, p. 7–56 [1]
  4. Bakshi, S. R. (1997-01-01). Kashmir: History and People (ภาษาอังกฤษ). Sarup & Sons. ISBN 9788185431963.
  5. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2006-06-12.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)