จักรพรรดิโวลุซิอานุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โวลุซิอานุส
จักรพรรดิโรมัน

อาจจะเป็นรูปสลักของจักรพรรดิโวลุซิอานุสที่พิพิธภัณฑ์โบซ์-อาร์ต เดอ ตูร์[1]
พระนามเต็ม กาอิอุส วิบิอุส อาฟินิอุส กัลลุส เวลดุมนิอานุส โวลุซิอานุส (ตอนประสูติ)[2]
กาอิอุส วิบิอุส โวลุซิอานุส ไกซาร์ (ค.ศ. 251)[2]
อภิไธย อิมแปราตอร์ ไกซาร์ กาอิอุส วิบิอุส อาฟินิอุส กัลลุส เวลดุมนิอานุส โวลุซิอานุส ออกุสตุส[2]
ครองราชย์
สมัย ป. สิงหาคม ค.ศ. 251 – สิงหาคม ค.ศ. 253 (ร่วมกับจักรพรรดิแตรโบนิอานุส กัลลุส)
ก่อนหน้า เดกิอุสและเฮเรนิอุส อิตรุสกุส
ถัดไป ไอมิลิอานุส
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต สิงหาคม ค.ศ. 253, อินแตร์อัมนา
พระราชบิดา แตรโบนิอานุส กัลลุส
พระราชมารดา อะฟินา เกมินา ไบบิอานา
หมวดหมู่: จักรพรรดิโรมัน
จักรพรรดิโรมันตะวันตก - จักรพรรดิโรมันตะวันออก

กาอิอุส วิบิอุส โวลุซิอานุส (เสด็จสวรรคตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 253) เป็นจักรพรรดิแห่งโรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 251 จนถึง ค.ศ. 253 พระองค์ทรงปกครองร่วมกับจักรพรรดิแตรโบนิอานุส กัลลุส ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์

หลังจากจักรพรรดิเดกิอุสและจักรพรรดิเฮเรนิอุส อิตรุสกุส ซึ่งเป็นพระราชโอรสและทรงเป็นผู้ปกครองร่วม เสด็จสวรรคตในสนามรบในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 251 จักรพรรดิแตรโบนิอานุส กัลลุสก็ทรงได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิในสนามรบโดยกองทหาร และจักรพรรดิกัลลุสก็ทรงสถาปนาโฮสติลิอานุส ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของจักรพรรดิเดกิอุสขึ้นรั้งตำแหน่งออกุสตุส (จักรพรรดิร่วม) และโวลุซิอานุสให้รั้งตำแหน่งไกซาร์ หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิโฮสติลิอานุสในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.ศ. 251 โวลุซิอานุสก็ได้รับการยกฐานะตำแหน่งออกุสตุส รัชสมัยสั้นๆ ของจักรพรรดิกัลลุสและจักรพรรดิโวลุซิอานุสเป็นที่ทราบกันดีในเรื่องการระบาดของโรคระบาด ซึ่งบางคนกล่าวว่าเป็นสาเหตุของการสวรรคตของจักรพรรดิโฮสติลิอานุส และเรื่องการทรงเป็นศัตรูกับจักรวรรดิซาเซเนียนและชนชาวกอธ จักรพรรดิโวลุซิอานุสและพระราชบิดาของพระองค์ทรงถูกสังหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 253 โดยทหารของพระองค์เอง ซึ่งหวาดกลัวกองกำลังของจักรพรรดิไอมิลิอานุส ซึ่งเป็นผู้แย่งชิงตำแหน่งจักรพรรดิที่กำลังเดินทัพไปยังกรุงโรม

อ้างอิง[แก้]

  1. "Buste de Volusianus". Musée des Beaux-Arts.
  2. 2.0 2.1 2.2 Cooley 2012, p. 498.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Cooley, Alison E. (2012). The Cambridge Manual of Latin Epigraphy. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9780521840262.