คุยกับผู้ใช้:Verine~thwiki

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม้ประดับ[แก้]

ความหมายของไม้ประดับคือพืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากรูปร่าง รูปทรง สีสันของลำต้นและใบ พืชชนิดนี้จะมีรูปทรง รูปร่าง สีสีนของลำต้นและใบสวยงามแตกต่างกันไป นิยมปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่ทั้งในพื้นดินและในกระถาง มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก

ความจำเป็นในการปลูกไม้ประดับ

เมืองไทยสมัยก่อน ธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากโดยเฉพาะป่าไม้ การตัดไม้ทำได้สนุกมือ ถึงกับมีบริษัทต่างชาติเข้ามาสัมปทานไม้สัก ความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติลดลง ทำให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติ วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธู์สัตว์ป่า และอื่นๆอีกหลายรูปแบบ

ในสังคมเมืองมีสิ่งปลูกสร้าง ผู้คนได้พยายามสร้างเทืองให้เป็นป่า โดยการนำต้นไม้ปลูกประดับซึ่งก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง ตราบใดที่รูปแบบการพัฒนาจากเมืองเล็กเมืองน้อยกลายเป็นเมืองใหญ่ ตึกรามสูง ต้นไม้ยิ่งทวีความจำเป็น
งานพัฒนาทางด้านไม้ดอกไม้ประดับมาทีหลังผลไม้กินได้ อาจจะเห็นกันในวงแคบระยะแรกๆ แต่นานเข้าแพร่กระจายไปสู่วงกว้าง ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือผู้เลี้ยงกล้วยไม้พบเห็นในกลุ่มผู้มีฐานะ
เหตุผลที่ไม้ดอกไม้ประดับได้รับความนิยมนั้นส่วนหนึ่งมาจากเมืองใหญ่ สิ่งก่อสร้างที่เป็นตึกและสิ่งปลูกสร้างมีความแข็งกระด้าง ต้นไม้สวยๆงามๆย่อมช่วยทำให้ความหยาบลดลง

อาจจะปลูกสอดแทรกใกล้กับอาคาร หรือนำตั้งประดับโดยตรง สังคมเมืองใหญ่ๆคนต้องดิ้นรนทำมาหากิน วันๆหนึ่งอาจจะนั่งในห้องแคบๆทั้งวัน หรือไม่ก็อยู่บนรถ หากมีที่พักผ่อน มีต้นไม้สวยๆจะช่วยให้ผ่อนคลายได้
ประเภทของไม้ประดับ
1.แบ่งตามความต้องการของแสงในการเจริญเติบโต แบ่งได้ 2 ประเภท

          1.1 พืชในร่ม (indoor plants) เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงต่ำ ควรปลูกในที่ร่มมีแสงรำไร จะทำให้พืชมีการสังเคราะห์แสงดี อย่าให้ถูกแดดจัด  เพราะจะทำให้ใบไหม้และตายได้เช่น

เฟิร์นต่าง ๆ สาวน้อยประแป้ง บอนสี เป็นต้น

          1.2  พืชกลางแจ้ง (Outdoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงสูง จึงจะทำให้ขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชทำได้ดี  พืชประเภทนี้จึงต้องปลูกกลางแจ้ง ถูกแดดจัดตลอดทั้งวันเช่น

กุหลาบ เข็ม ยี่โถ ดาวเรือง ดาวกระจาย ชวนชม เฟื่องฟ้า เป็นต้น 2. แบ่งตามลักษณะรูปทรงของลำต้น ใบ ได้แก่พรรณไม้ที่มุ่งเน้นความสวยงามที่รูปทรงของ ลำต้น พุ่ม ใบ แบ่งได้ดังนี้

           2.1. ไม้ยืนต้น (Tree)  ส่วนมากเป็นพรรณไม้ที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุยืนนานหลายปี มีดังนี้
           (1) ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงคู่  ได้แก่  ไม้ให้ร่มเงา เช่น ประดู่แดง ประดู่บ้าน จามจุรี ทองกวาว คูณ นนทรีย์ ตะแบก เสลา พิกุล ลั่นทม ไทร ชงโค ฯลฯ
และไม้ยืนต้นที่มีลักษณะพิเศษของลำต้น ใบ หรือทรงพุ่มสวยงาม เช่น เฟื่องฟ้าตอ โมกตอ ไม้ดัดไม้แคระ ซองออฟอินเดีย ฯลฯ (2) ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น จันทน์ผา ปาล์มชนิดต่าง ๆ (จั๋ง อินทผลัม ปาล์มน้ำมัน ตาล หมากเขียว หมกเหลือง หมากนวล ฯลฯ) 2. 2 ไม้พุ่ม (Shrub) เป็นพรรณไม้ที่ส่วนมากจะขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน หรือ ตัดชำ ปลูกแล้ สามารถบังคับพุ่มได้ มี 2 กลุ่ม ดังนี้ (1) ชนิดตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ เช่น หูปลาช่อน ชบาด่าง นีออน ลิ้นกระบือ เข็มเชียงใหม่ เข็มพิษณุโลก บานบุรีพุ่ม ฯลฯ (2) ชนิดซอยบังคับทรงพุ่ม จะใช้กับพรรณไม้ที่ต้องการให้ออกดอก และต้องการควบคุมความสูงของทรงพุ่ม เช่น เฟื่องฟ้า เข็มปัตตาเวีย เข็มมาเลเซีย เล็บครุฑ โกสน ฯลฯ 2.3 ไม้กอ เป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหัว หน่อหรือเหง้า ได้แก่ ขิงแดง ข่าด่าง รางทอง เขียวหมื่นปี กล้วยกำมะหยี่ เสน่ห์ขุนแผน กาเหว่าลาย หนวดปลาดุก

ม้าเวียน เศรษฐีไซ่ง่อน กำแพงเงิน กาบหอย สับปะรดสี ฯลฯ

            2.4 ไม้คลุมดิน เป็นพืชที่มีลำต้นสั้นหรือลำต้นมีลักษณะเลื้อยยาวแผ่คลุมดินได้ดี เช่น มันเทศด่าง ผกากรองเลื้อย
 3. แบ่งตามความสวยงามหรือการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของพรรณไม้ แบ่งได้ดังนี้
            3.1  พืชพรรณที่มีโคนต้นหรือรากสวยงาม เช่น ไทร โพธิ์ ชวนชม หมากเล็กหมากน้อย สนเลื้อย ฯลฯ
            3.2 พืชพรรณที่มีลำต้นแปลกสวยงาม เช่น ไม้ดัดไม้แคระ ปาล์มชนิดต่าง ๆ  ฯลฯ

อ้างอิง : [1] หนังสือ ไม้ประดับเศรษฐกิจ พานิชย์ ยศปัญญา

Your account will be renamed[แก้]

16:23, 20 มีนาคม 2558 (ICT)

Renamed[แก้]

19:48, 19 เมษายน 2558 (ICT)

  1. http://www.oknation.net/blog/starcocity/2007/07/22/entry-1