คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
Faculty of Dentistry
Prince of Songkla University
ชื่อย่อทพ. / DENT
สถาปนา10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (40 ปี)
คณบดีรศ.ดร.ทพ.ทรงชัย ฐิตโสมกุล
ที่อยู่
15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
สี███ สีม่วงสุทธาสิโนบล
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เว็บไซต์https://www.dent.psu.ac.th

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Faculty of Dentistry : Prince of Songkla University) เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย ถัดจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันได้ผ่านการรับรองหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากทันตแพทยสภาแล้ว

ประวัติ[แก้]

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เพื่อเป็นสถาบันผลิตทันตแพทย์ในเขตภาคใต้ โดยเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกของภาคใต้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระจายทันตแพทย์สู่ชุมชนชนบทในภาคใต้ ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ ผลิตทันตบุคลากรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและระดับวุฒิบัตร โดยจัดการเรียนการเรียนการสอนทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ภายใต้การดูแลโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถด้าน วิชาการสาขาต่าง ๆ และด้านการวิจัย[1]

นอกจากนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางทันตกรรมของภาคใต้ โดยมีโรงพยาบาลทันตกรรมซึ่งเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา[2]

ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากมาย จากเจตนารมณ์เดิมที่ผลิตทันตแพทย์สนองความต้องการของชุมชนภาคใต้ มาเป็นการตอบสนองประชากรทั้งประเทศ รวมทั้งขยายบทบาททางวิชาการสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น

สาขาวิชา[แก้]

คณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ภาควิชา ดังนี้

  1. ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว
  2. ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
  3. ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
  4. ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์
  5. ภาควิชาศัลยศาสตร์
  6. ภาควิชาโอษฐวิทยา

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (6 ปี)

  • สาขาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

โรงพยาบาลทันตกรรม[แก้]

โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2529 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานคลินิกของนักศึกษาทันตแพทย์ และทันตบุคลากร เพื่อให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยในพื้นที่ภาคใต้ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางคลินิกทันตกรรม โดยมีการทำงานเป็นฝ่ายการรักษาและฝ่ายอำนวยการ[3]

ฝ่ายรักษาพยาบาลดูแลในเรื่องการบริการรักษาทางทันตกรรมโดยมีคลินิกต่าง ๆ ได้แก่

  1. คลินิกรวม 1
  2. คลินิกรวม 2
  3. คลินิกรวม 3
  4. คลินิกบัณฑิตศึกษาและเฉพาะทาง
  5. คลินิกรังสี
  6. คลินิกบริการทันตกรรมนอกเวลาราชการ

ฝ่ายอำนวยการ ทำหน้าที่สนับสนุนการให้การรักษาพยาบาล ได้แก่ งานเวชระเบียน งานเภสัชกรรม หน่วยเงินรายได้ งานเวชภัณฑ์กลาง งานห้องปฏิบัติการทันตกรรม งานวิศวกรรมซ่อมบำรุง งานสังคมสงเคราะห์ และงานธุรการโรงพยาบาลทันตกรรม[4]

โรงพยาบาลทันตกรรมเป็นสถานที่สำหรับการสนับสนุนงานวิจัย ทั้งงานวิจัยทางคลินิกและงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการทันตกรรม ของทั้งนักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษาหลังปริญญา และอาจารย์ทันตแพทย์ ทำให้เกิดงานวิจัยที่กว้างขวางมากขึ้น

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน[แก้]

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมการตรวจรักษา ให้บริการทางทันตกรรมตามพระราชดำริมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เพื่อให้ประชาชนผู้มีฐานะยากจน และด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยงบประมาณในการดำเนินงานทั้งหมดได้มาจากเงินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งค่าใช้จ่ายจำนวนมากเป็นการจัดซื้อเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และการดูแลบำรุงรักษา รวมทั้งการให้บริการรักษาทางทันตกรรม การดำเนินงานระยะเวลาต่อมาได้ขยายพื้นที่การให้บริการและรูปแบบกิจกรรมการรักษา การเผยแพร่ความรู้ด้านทันตกรรม และสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก[5]

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้น้อมรับพระราชดำริในการที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยได้มีสุขภาพช่องปากที่ดี จึงได้จัดทำโครงการออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานเป็นประจำโดยอาศัยความร่วมมือจากพื้นที่ในการร่วมส่งเสริมการให้บริการทางทันตกรรมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]