คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
Faculty of Science, Prince of Songkla University
ชื่อย่อวท. / SC
คติพจน์วิทยาศาสตร์สร้างค่าสร้างคน “สปิริต” งามล้นคนวิทยาฯ
สถาปนา8 เมษายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีศ.ดร.อัญชนา ประเทพ
ที่อยู่
เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
สี███ สีเหลือง
มาสคอต
อะตอม
เว็บไซต์www.sci.psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Science, Prince of Songkla University) เป็นคณะที่ตั้งในวิทยาเขตหาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เป็นที่รู้จักแห่งหนึ่งในภาคใต้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน งานวิจัยและบริการวิชาการ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประวัติ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในปีเดียวกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย พร้อมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2510 เพื่อรับภาระงานสอนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นการเตรียมรับการขยายงานเพื่อก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยมีสำนักงานชั่วคราวที่ตึกคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตามคณะวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 และมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกัน คณะวิทยาศาสตร์จึงถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะอย่างเป็นทางการ และคณะได้จัดตั้งภาควิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ขึ้นเป็นสามภาควิชาแรก

พ.ศ. 2512 คณะได้เริ่มรับนักศึกษาของคณะฯเองในสาขาวิชาเคมีและคณิตศาสตร์เป็นรุ่นแรก ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนโดยอาจารย์ของคณะฯ แล้ว ยังได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย ในปีเดียวกันนั้นคณะได้ก่อตั้งภาควิชาชีววิทยาขึ้นเป็นภาควิชาที่สี่

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 คณะวิทยาศาสตร์ได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว มาดำเนินการสอน ณ ศูนย์ศึกษาอรรถกระวีสุนทร ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในปีถัดมาคณะได้จัดตั้งหน่วยงานรวมทางด้านพรีคลินิก 5 หน่วยวิชา ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี เภสัชวิทยา และสรีรวิทยา เพื่อบริการด้านการเรียนการสอนแก่นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเพิ่งได้รับการจัดตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 คณะได้เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นรุ่นแรก ในปีต่อมา คณะได้อนุมัติในการตั้งหน่วยงานทางพรีคลินิกทั้ง 5 หน่วย ขึ้นเป็นภาควิชา พร้อมกันนั้นได้มีการจัดตั้งหน่วยวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปขึ้น

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ. 2529 คณะวิทยาศาสตร์จึงเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยในขณะนั้น ภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบ และในอีกสองปีต่อมา ได้มีการการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับมหาวิทยาลัย โดยใช้ห้อง M101 อาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นสถานที่ในการติดตั้งเครื่องแม่ข่าย นับว่าเป็นคณะแรกของประเทศไทยที่มีการติดตั้งระบบนี้ และในอีกห้าปีต่อมาคณะได้เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

เนื่องด้วยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์จึงได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ในปี พ.ศ. 2534 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2536 สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม วิทยาเขตภูเก็ต มาศึกษาที่วิทยาเขตหาดใหญ่ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาควิชาดังกล่าวจึงเป็นภาควิชาเดียวในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาจาก 2 วิทยาเขต เรียนร่วมกัน

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรี 12 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 19 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 11 สาขาวิชา[1]

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของวิทยาเขตหาดใหญ่ นักศึกษาทุกคณะจะเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ที่อาคารของคณะ และนักศึกษาทุกคณะยกเว้นวิศวกรรมศาสตร์ จะเรียนวิชาพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่คณะเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ คณะยังให้บริการการเรียนการสอนในรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรมเกษตร และการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

สัญลักษณ์ประจำคณะวิทยาศาสตร์[แก้]

  • ตราสัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์
    ตราประจำคณะ ได้แก่
    • คลี่ลายจากโครงสร้างของศูนย์ปาฐกถา ประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) สัญลักษณ์อันโดดเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. อีกมุมมองหนึ่งเป็นภาพของดวงตาที่เปล่งประกาย สื่อถึงการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
    • แถบโค้งที่เคลื่อนไหวประกอบรวมกันเป็นอักษร S จากคำว่า Science สื่อถึงความก้าวหน้าของคณะวิทยาศาสตร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง สร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัยเฉพาะทาง และมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล
    • เส้นโค้งที่เกี่ยวตวัดขึ้นไปสู่รูปทรงกลม สื่อถึงองค์รวมความรู้สูความสำเร็จ โลกของการศึกษาค้นคว้าสู่การเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าวิจัย การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมสมัยใหม่ สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริการแก่สังคม
    • สีเหลือง เป็นสีประจำคณะวิทยาศาสตร์
    • สีน้ำเงิน เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • สีส้ม สื่อถึงความทันสมัย ความกระตือรือร้น และพลังความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  • ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกบานบุรี
  • สีประจำคณะ คือ สีเหลือง หมายถึง การเป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรือง ทางปัญญาความรู้ควบคู่กับมีศีลธรรม คุณธรรมอันล้ำเลิศ

ทำเนียบคณบดี[แก้]

คณบดี ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
เรือเอก รศ.ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร ร.น. พ.ศ. 2510 - 2517
รศ.ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ พ.ศ. 2517 - 2522
พันโท ศ.ดร.บุญพฤกษ์ จาฏามระ พ.ศ. 2522 - 2530
ผศ.ดร.เมธี สรรพานิช พ.ศ. 2530 - 2534
ผศ.จำนงค์ สุภัทราวิวัฒน์ พ.ศ. 2534 - 2538
ศ.พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ พ.ศ. 2538 - 2542
รศ.ดร.ธวัช ชิตตระการ พ.ศ. 2542 - 2549
รศ.ดร.จุฑามาส ศตสุข พ.ศ. 2549 - 2555
รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ พ.ศ. 2555 - 2561
รศ.ลัดดา เอกสมทราเมษฐ์ พ.ศ. 2561 - 2562 (รักษาการ)
ศ.ดร.อัญชนา ประเทพ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

ภาควิชาและหลักสูตรการศึกษา[แก้]

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี
(วิทยาศาสตรบัณฑิต)
ระดับปริญญาโท
(วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
ระดับปริญญาเอก
(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

-
  • กายวิภาคศาสตร์
-

ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • คณิตศาสตร์
  • สถิติ
  • คณิตศาสตร์และสถิติ
  • คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์
ภาควิชาเคมี
  • เคมี
  • เคมี
  • เคมี

ภาควิชาจุลชีววิทยา

  • จุลชีววิทยา
  • จุลชีววิทยา (นานาชาติ)
  • จุลชีววิทยา (นานาชาติ)
ภาควิชาชีวเคมี เก็บถาวร 2006-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน -
  • ชีวเคมี
  • ชีวเคมี

ภาควิชาชีววิทยา

  • ชีววิทยา
  • ชีววิทยา (นานาชาติ)
  • นิเวศวิทยา (นานาชาติ)
  • พฤกษศาสตร์
  • สัตววิทยา
  • ชีววิทยา (นานาชาติ)
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (นานาชาติ)
  • ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (นานาชาติ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรต่อเนื่อง)
- -
ภาควิชาฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์ (นานาชาติ)
  • ธรณีฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์ (นานาชาติ)
  • ธรณีฟิสิกส์
ภาควิชาเภสัชวิทยา -
  • เภสัชวิทยา
-
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • เคมี-ชีววิทยา
  • นิติวิทยาศาสตร์
-
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ
  • วัสดุศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
  • วัสดุศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
ภาควิชาสรีรวิทยา

-

  • สรีรวิทยา
  • สรีรวิทยา

หน่วยวิจัย[แก้]

สถานที่ภายใน[แก้]

  • อาคารสำนักงานบริหารคณะ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี แต่เมื่อมีการสร้างสำนักงานอธิการบดีบริเวณด้านหลังพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก อาคารดังกล่าวจึงได้รับการโอนเป็นสมบัติของคณะวิทยาศาสตร์ ภายในมีห้องประชุม, ห้องสัมมนา, หน่วยงานต่างๆ ของคณะ และห้องพักคณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี[2]
  • อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นสถาปัตยกรรมประธานของคณะ ออกแบบโดยอาจารย์ อมร ศรีวงศ์ ภายในประกอบด้วยห้องบรรยาย 5 ห้อง คือห้องบรรยาย L1 ความจุ 500 ที่นั่ง และห้องบรรยาย L2-L5 ความจุห้องละ 300 ที่นั่ง อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตรใช้เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะในวิทยาเขตหาดใหญ่ โดยบริเวณชั้นล่างของอาคารเป็นที่ตั้งของหน่วยกิจการนักศึกษา, สมาคมนักศึกษาเก่า, หน่วยอาคารและสถานที่ และหน่วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
  • อาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ แต่เมื่อภาควิชาดังกล่าวโอนไปสังกัดคณะศิลปศาสตร์ และย้ายสำนักงานของภาควิชาไปยังอาคารของคณะ อาคารดังกล่าวจึงได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งย้ายมาจากอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ ภายในมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาทั้งภายในคณะและต่างคณะ
  • อาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกพื้นสูงจากระดับปกติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ โดยบริเวณลานใต้อาคารเป็นที่ตั้งของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์, ชุมนุมวิชาการ, ชุมนุมคอมพิวเตอร์, ชุมนุมคณิตศาสตร์และสถิติ, ชุมนุมดนตรีสากล และสำนักงานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย
  • อาคารกิจกรรมนักศึกษา ตั้งอยู่ระหว่างอาคารคณิตศาสตร์และอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นที่ตั้งของชุมนุมสังกัดคณะ รวม 6 ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมผู้นำเชียร์, ชุมนุมภาษาต่างประเทศ, ชุมนุมกีฬา, ชุมนุมเทคโนโลยีชีวภาพ, ชุมนุมศิลปวัฒนธรรมและการดนตรี และชุมนุมโสตทัศนศึกษา
  • อาคารฟิสิกส์ เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาฟิสิกส์ โดยบริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาฟิสิกส์ และบริเวณชั้น 4 เป็นที่ตั้งของสถานวิจัยการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์
  • ลานบานบุรี อยู่ระหว่างอาคารฟิสิกส์กับอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เดิมเรียกว่า "ลานฟิสิกส์" เป็นที่จัดกิจกรรมภายในคณะ
  • อาคารเคมี เป็นอาคาร 5 ชั้น ทอดตัวยาวจากอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์จนถึงอาคารชีววิทยา เป็นที่ตั้งของภาควิชาเคมี โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารเป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาเคมี, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะ, หน่วยคอมพิวเตอร์ และชุมนุมเคมีสัมพันธ์อีกด้วย
  • อาคารชีววิทยา เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่ข้างสนามวิดยาดินแดง เชื่อมต่อกับอาคารเคมี เป็นที่ตั้งของภาควิชาชีววิทยา โดยบริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาชีววิทยา, ห้องหัวหน้าภาควิชา, ห้องบรรยาย B101 และห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธานของพืช, บริเวณชั้น 2 เป็นที่ตั้งห้องประชุมภาควิชา, ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาของพืช และหน่วยวิจัยแพลงก์ตอน, บริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของชุมนุมชีววิทยา, ห้องบรรยาย B307, หน่วยวิจัยสาหร่ายและหญ้าทะเล และหน่วยวิจัยแมลง และบริเวณชั้น 4 เป็นที่ตั้งของพิพิทธภัณฑ์พืช หน่วยวิจัยพรรณพฤกษชาติในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ และห้องปฏิบัติการสัณฐานวิทยาของพืชและสาหร่ายอีกด้วย
  • สนามวิดยาดินแดง เป็นสนามหญ้าที่สามารถใช้เล่นกีฬาได้ เช่น ฟุตบอล เป็นสนามหญ้าที่รายล้อมด้วยอาคาร 4 อาคาร ได้แก่ อาคารฟิสิกส์, อาคารเคมี, อาคารชีววิทยา และอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ และบริเวณกลางสนามมีต้นไม้ใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ เป็นที่จัดกิจกรรมของคณะ โดยเฉพาะกิจกรรมประชุมเชียร์ และกีฬาภายในภาควิชา
  • อาคารพรีคลินิก เป็นอาคารสูง 5 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารเคมี โดยมีทางเชื่อมระหว่างอาคาร เป็นที่ตั้งของภาควิชา ได้แก่ ชั้น 1 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, ชั้น 2 ภาควิชาเภสัชวิทยา, ชั้น 3 ภาควิชาสรีรวิทยา, ชั้น 4 ภาควิชาชีวเคมี และชั้น 5 ภาควิชาจุลชีววิทยา
  • อาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นอาคารสูง 6 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารพรีคลินิก โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารเป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย วท 1-3, บริเวณชั้นที่ 2 ที่ตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุและภาควิชาชีววิทยา (บางส่วน) ห้องปฏิบัติการสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและนิเวศวิทยา, ห้องปฏิบัติการสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก, หน่วยวิจัยปะการังและสัตว์พื้นทะเล, บริษัท มารีน อีโคเสิร์ช แมเนจเมนท์ จำกัด และหน่วยวิจัยค้างคาว, ชั้นที่ 3 ที่ตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ, ชั้นที่ 4 ที่ตั้งภาควิชาชีวเคมี และชั้นที่ 5-6 ที่ตั้งภาควิชาจุลชีววิทยา
  • พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นอาคารเชื่อมระหว่างอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับอาคารปฏิบัติการรวมใหม่ ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ, การกำเนิดของโลก, พืช, สัตว์ในประเทศไทย และกลไกการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ นอกจากนี้บริเวณหน้าอาคารยังจัดแสดงหินชนิดต่างๆ และมีประติมากรรมไดโนเสาร์รูปแบบจำลอง 3 ตัว
  • อาคารปฏิบัติการรวม (ML) เป็นอาคาร 3 ชั้น ภายในมีห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการทางพรีคลินิกและวัสดุศาสตร์ หน่วยรับบริจาตร่างกายเพื่อการศึกษา และศูนย์ฝึกผ่าตัดอาจารย์ใหญ่ อยู่ด้านหลังอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอยู่ติดกับอาคารบ่อดองผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "อาจารย์ใหญ่" ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์
  • อาคารปฏิบัติการรวมใหม่ (NML) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น โดยบริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย NML 1-3 และห้องเก็บตัวอย่างอ้างอิงของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี, บริเวณชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการทางมหกายวิภาคศาสตร์, บริเวณชั้น 3 เป็นห้องปฏิบัติการทางสรีรวิทยาและห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยา, บริเวณชั้น 4 เป็นห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา และชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีและห้องปฏิบัติการทางเคมีอินทรีย์ โดยเฉพาะบริเวณชั้น 2 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการทางมหกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาทางด้านสายวิทยาศาสตร์สุขภาพจะมีโอกาสศึกษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "อาจารย์ใหญ่" และคณะวิทยาศาสตร์จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติทุกปี
  • อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc) เป็นอาคารสูง 10 ชั้น เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 แล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารมีห้องกระจกสำหรับแสดงนิทรรศการต่างๆของคณะ, ลานอเนกประสงค์ และเซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven), ชั้น 2 ห้องบรรยาย และที่ตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและสารสนเทศ, ชั้น 3 ห้องบรรยาย, บริเวณชั้น 4 ห้องบรรยายและห้องเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ชั้น 5 ห้องเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสำนักงานภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์, ชั้น 6 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ชั้น 7 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์, ชั้น 8 ห้องปฏิบัติการชีววิทยา และห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์, ชั้น 9 ห้องปฏิบัติการเคมี และชั้น 10 ที่ตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและสารสนเทศ

กิจกรรมที่สำคัญ[แก้]

กิจกรรมประชุมเชียร์[แก้]

จัดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์แรกของภาคการศึกษาที่ 1 โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์[3] ได้แก่

  • การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และมีเจตนาที่ดีระหว่างกัน
  • การปรับตัวเข้าหากันในสถานการณ์ และโอกาสที่ต่างกัน
  • การทำงานร่วมกันภายใต้อิทธิพลกลุ่ม
  • การสร้างความคุ้นเคย และความไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่นักศึกษา
  • การสร้างความสามัคคี และการช่วยเหลือกันในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
  • การได้รู้จักกับนักศึกษาใหม่ซึ่งอาจจะไม่รู้จักกันมาก่อนและพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกัน คอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ตักเตือน และสนับสนุนกัน

โดยใช้ห้อง L1 อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร, ลานด้านล่างอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร และสนามวิดยาดินแดงในการจัดกิจกรรม

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ[แก้]

จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งตรงกับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยคณะวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์ในการจัดงานของภาคใต้ กิจกรรมภายในงาน[4] ได้แก่

กิจกรรมวันเปิดกระปุกออมสิน[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการโครงการวันละสิบบาทเพื่อน้อง ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2546 และได้จัดงานเปิดกระปุกออมสิน เป็นประจำทุกปี โดยเริ่มครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2547 และนำเงินที่ได้จัดตั้งเป็นกองทุนย่อย “วันละสิบบาทเพื่อน้อง” เงินกองทุนฯ นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเงินทุนสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมฯ โดยทางสมาคมฯ สามารถยืมเงินเพื่อนำไปเป็นเงินทดรองจ่ายในการจัดกิจกรรมของสมาคมฯ ได้โดยไม่คิดดอกเบี้ย[9]

ค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท[แก้]

เริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยจัดขึ้นในช่วงปิดภาคการศึกษาที่ 1[10] มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ ฝึกการทำงานโดยการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านวิชาและด้านการปฏิบัติ
  • สร้างค่านิยมด้านความร่วมมือ ความสามัคคีในหมู่คณะ รู้และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
  • ฝึกให้นักศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนและขั้นตอนในการทำงานตลอดจนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในงานที่ทำร่วมกัน
  • เสริมสร้างพื้นฐานทางการศึกษาของชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ ทั้งในด้านวิชาการและอุปกรณ์การเรียนการสอน

โดยกิจกรรมหลักของค่ายคือการสร้างสาธารณสมบัติ เช่น อาคาร สื่อการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลน รวมถึงกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับนักศึกษา

งานลอยกระทง[แก้]

มหาวิทยาลัยกำหนดให้สระหน้าอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร เป็นสถานที่ในการลอยกระทง[11]

กีฬาประเพณีวิดยา-ศึกษา-วิดยา[แก้]

เดิมเรียกว่า กีฬาสัมพันธ์ ม.อ.- มศว เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ) ต่อมาเมื่อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน จึงมีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็นชื่อที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยทั้งสามคณะจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพทุกปี[12]

โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน[แก้]

เป็นการจัดฝึกอบรมเสริมความรู้ให้กับว่าที่บัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ชีวิตคนทำงาน[13]

งานเลี้ยงอำลาพี่ปี 4[แก้]

จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อแสดงความยินดีแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา โดยในระยะแรกใช้สถานที่บริเวณลานหินแตก (ลานด้านบนอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร ) บริเวณหน้าตึกเคมี สลับกับลานบานบุรี เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ต่อมาเมื่อมีการสร้างเวทีถาวรที่ลานบานบุรี จึงใช้ลานดังกล่าวเป็นสถานที่จัดกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน โดยในงานจะมีการแสดงจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แต่ละภาควิชา การแสดงจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวมถึงการประกวดชุดแต่งกายสวยงามของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมงาน[14]

ผลงานวิจัยและประดิษฐ์ที่สำคัญ[แก้]

สาขาวิชาเคมี[แก้]

การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยโดย รศ.ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา ภาควิชาเคมี[15]

สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์[แก้]

การค้นพบสารเอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อน โดย รศ.ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด ภาควิชากายวิภาคศาสตร์[16]

สาขาวิชาชีวเคมี[แก้]

ครีมผิวขาวจากน้ำยางพารา โดย ศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล ภาควิชาชีวเคมี[17]

สาขาวิชาฟิสิกส์[แก้]

  • หุ่นยนต์กู้ระเบิด โดย ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ ภาควิชาฟิสิกส์[18]
  • งานวิจัยเรื่อง สมบัติให้ความร้อนเอ็นทีซี พีพีซี การเก็บประจุไฟฟ้าของอิเล็กทรอนิกส์เซรามิกส์และการประยุกต์ใช้ โดย รศ.ธงชัย พันธ์เมธาฤทธิ์ ภาควิชาฟิสิกส์ (รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2549[19])
  • การพัฒนาชุดตรวจน้ำปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์ โดย รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร ภาควิชาฟิสิกส์[20]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • พล.ต.ต.นพ.พงศ์ธร สุโฆสิต (เคมี) ศัลยแพทย์เชี่ยวชาญ สาขากุมารศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ
  • พล.ต.ต.สุเมธ พงษ์ลิมานนท์ (เคมี) อดีตผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10
  • จารุวรรณ จันทิมาพงษ์ (เคมี รุ่น 1) รองอธิบดีกรมธนารักษ์
  • ดร.นพวรรณ ตันพิพัฒน์ (เคมี รุ่น 10) รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • ผศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ (ฟิสิกส์ รุ่น 24) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ วิชาการ.คอม
  • ดร.รอยล จิตรดอน (คณิตศาสตร์ รุ่น 2) ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ปฐมา จันทรักษ์ (คณิตศาสตร์ รุ่น 17) รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  • สาธิต วงศ์สัมพันธ์ (โบ้) (ชีววิทยา รุ่น 25) นักดนตรีวงลำดวน
  • ศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น (เคมี) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2548 และประจำปี พ.ศ. 2546
  • ผศ.ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง (เคมี) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2547
  • “ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ (ฟิสิกส์) ครูวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาผู้มีบุตรยากและผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ/พันธกิจ/วิสัยทัศน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-28. สืบค้นเมื่อ 2018-06-01.
  2. "ประมวลภาพย้อนรำลึกถึงอดีต..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  3. ข่าวกิจกรรมประชุมเชียร์ จากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์[ลิงก์เสีย]
  4. เว็บไซต์งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2548[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  6. "การบรรยาย :"เศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  7. "การบรรยาย : "จะอยู่อย่างไรกับโลกร้อน?"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  8. "การบรรยาย : "เตรียมตัวอย่างไรกับการเรียนคณะวิทยาศาสตร์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  9. "งานเปิดกระปุกออมสิน ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  10. ข่าวค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 30[ลิงก์เสีย]
  11. ข่าวงานประเพณีลอยกระทง[ลิงก์เสีย]
  12. ข่าวกิจกรรมกีฬาประเพณีวิดยา-ศึกษา-วิดยา จากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์[ลิงก์เสีย]
  13. "โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  14. ข่าวงานเลี้ยงอำลาพี่ปี 4[ลิงก์เสีย]
  15. [1][ลิงก์เสีย]
  16. ค้นพบ เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อนชะลอ อัลไซเมอร์ จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549[ลิงก์เสีย]
  17. ครีมผิวขาวจากน้ำยางพารา[ลิงก์เสีย]
  18. มอ.สร้างหุ่นกู้ระเบิด 3 จว.ภาคใต้ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ[ลิงก์เสีย]
  19. นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับรางวัลผลงานวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  20. การพัฒนาชุดตรวจน้ำปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์[ลิงก์เสีย]