คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Dentistry
Naresuan University
สถาปนา19 สิงหาคม พ.ศ. 2543; 23 ปีก่อน (2543-08-19)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พีรยา ภูอภิชาติดำรง
ที่อยู่
สี███ สีม่วง
มาสคอต
รูปช้างศึกอยู่ในโล่กลมแบบโบราณล้อมรอบด้วยชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อคณะในป้ายชายธง
สถานปฏิบัติhttps://www.dent.nu.ac.th/dentalhospital/
เว็บไซต์www.dent.nu.ac.th
อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ด้านขวาสุด) อาคารกลางคือคณะสหเวชศาสตร์ อาคารด้านซ้ายคือคณะพยาบาลศาสตร์
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณหลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ: Faculty of Dentistry, Naresuan University) เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ในฐานะโครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และได้เปิดรับนิสิตทันตแพทย์รุ่นแรกในปี พ.ศ. 2540 และได้รับการจัดตั้งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติ[แก้]

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เริ่มจัดตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 โดยในระยะแรกเป็นโครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ในปีการศึกษา 2540 โครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เริ่มรับนิสิตทันตแพทย์รุ่นแรก เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ระยะแรกรับจำนวน 30 คน ในปีการศึกษาต่อๆมาจนถึงปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนนิสิตทันตแพทย์เป็น รับจำนวน 45 คนต่อปี

โครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีสถานภาพเป็น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543[1]

ภาควิชา[แก้]

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งส่วนราชการในการเรียนการสอน โดยประกอบไปด้วย 5 ภาควิชา ดังต่อไปนี้

  1. ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ
  2. ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
  3. ภาควิชาทันตกรรมวินิจฉัย
  4. ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
  5. ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน[แก้]

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีการบริการทางทันตกรรมเคลื่อนที่แก่ประชาชนในเขตภาคเหนือตอนล่างโดยไม่มีค่าบริการในหลายโอกาส เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน เป็นหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ เพื่อให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย ผ่าฟันคุด ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคภายในช่องปาก การใส่ฟันปลอม การให้ความรู้ด้านทันตสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยอาจารย์ทันตแพทย์และนิสิตทันตแพทย์ โดยจะจัดให้มีปฏิบัติการประมาณ 6 ครั้ง ใน 1 ปีการศึกษา

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินกิจกรรมโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน "หน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" และได้รับการสนับสนุนงบดำเนินการจากมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ

ในด้านงานวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนให้อาจารย์ทันตแพทย์ทำวิจัยโดยเลือกปัญหาของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการออกหน่วยบริการทัตกรรมเคลื่อนที่ การออกศึกษาทันตกรรมชุมชน และพัฒนานักวิจัยโดยการสนับสนุนให้นิสิตทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 และ 6 เรียนรู้การวิจัยและสามารถศึกษาและวิจัยโครงการวิจัย เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตามหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[2]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประกาศนียบัตร[3]
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต[4]

  • สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก

โรงพยาบาลทันตกรรม[แก้]

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นแหล่งทำการเรียนการสอนภาคปฏิบัติให้แก่นิสิตทันตแพทย์ในชั้นคลินิก และเพื่อให้การรักษาทางด้านทันตกรรมแก่ประชาชนทั่วไป โดยตั้งอยู่บริเวณหลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มน. เก็บถาวร 2019-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  3. "หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร".
  4. "หลักสูตรปริญญาตรี – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]