คณวัฒน์ วศินสังวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณวัฒน์ วศินสังวร
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2551 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายคณวัฒน์ วศินสังวร อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย อดีตประธานอนุกรรมการจัดเตรียมข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง

ประวัติ[แก้]

คณวัฒน์ วศินสังวร เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 จบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และนิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 51 รุ่นน้องของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีเพื่อนร่วมรุ่น วปอ.51 ที่เป็นนายทหารระดับคุมกำลัง เช่น พลตรีอุดมเดช สีตบุตร และผ่านการอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครอง รุ่น 8 สถาบันพระปกเกล้า อีกทั้งยังเป็น Candidate for Phd หลักสูตรปริญญาเอกด้านการบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย โดยศึกษาและสอบผ่านรายวิชาตามหลักสูตรปริญญาเอก แต่ไม่ได้ทำดุษฎีนิพนธ์จนเสร็จ เนื่องจากต้องลาออกมารับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันนายคณวัฒน์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1] ดูแลด้านเศรษฐกิจ การจัดทำนโยบายพรรค และวางยุทธศาสตร์ campaign การหาเสียง

ประวัติการทำงาน[แก้]

ประสบการณ์ทางการเมือง[แก้]

คณวัฒน์ วศินสังวร ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2548 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ประสบการณ์อื่น[แก้]

  • ที่ปรึกษาประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดำเนินการศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
  • ประธานอนุกรรมการจัดเตรียมข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
  • กรรมการในคณะกรรมการรัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
  • กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ
  • คณะอนุกรรมการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณและการเงิน (คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ)
  • คณะอนุกรรมการกำหนดชุมชนเมือง (สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ)
  • ผู้แทนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
  • คณะทำงานประชารัฐ (สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ)
  • คณะทำงานโครงการวิจัยและประเมินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ที่ปรึกษาประธานสภากรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย "สึนามิ", เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๗๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]