ข้ามไปเนื้อหา

ระบบกึ่งประธานาธิบดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กึ่งประธานาธิบดี)
วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย
วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย

สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี (อังกฤษ: semi-presidential republic), ระบบกึ่งประธานาธิบดี (semi-presidential system), ระบบบริหารคู่ (dual executive system), ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา หรือ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ระบบกึ่งประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในฝรั่งเศส

ประวัติของระบบกึ่งประธานาธิบดี

[แก้]

ระบอบกึ่งประธานาธิบดีนั้นเกิดขึ้นครั้งแรก ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยมี เป็น ทั้งนี้เพราะไม่ว่าผู้ใดจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ก็ทำให้เกิดความวุ่นวาย มีข้อขัดแย้งมากและต้องยุบสภาบ่อย รัฐบาลหรือรัฐสภาต้องออกจากตำแหน่งและมีการเลือกตั้งใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เสียงบประมาณ ดังนั้นนักรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์ของจึงได้พัฒนารูปแบบการปกครองโดยผสมผสานกันระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี ทั้งนี้ได้มีการบัญญัติไว้ใน และมีการแก้ไขในปี อีกด้วย

หลักการปกครอง

[แก้]

อำนาจบริหาร

[แก้]

อำนาจบริหาร ประธานาธิบดีมีอำนาจในการบริหารสูงสุด และเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเสนอรายชื่อรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี และประธานาธิบดีจะลงนามอนุมัติ ประธานาธิบดีจึงเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าอำนาจบริหาร ส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

อำนาจนิติบัญญัติ

[แก้]

อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) และวุฒิสภา (สภาสูง) เป็นผู้ใช้อำนาจและยังทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของรัฐบาลให้เป็นไปตามที่เสนอไว้ต่อสภา ทั้งยังมีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลด้วย แต่ขณะเดียวกันประธานาธิบดีก็มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้เช่นกัน

อำนาจตุลาการ

[แก้]

อำนาจตุลาการ ศาลมีอำนาจตุลาการและแยกเป็นอิสระจากอำนาจทุกฝ่าย

รายชื่อประเทศที่ปกครองแบบระบบกึ่งประธานาธิบดี

[แก้]

ระบบประธานาธิบดี-รัฐสภา

[แก้]

ระบบนายกรัฐมนตรี-ประธานาธิบดี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]