การเสริมสร้างกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเสริมสร้างกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแนวโน้มที่สังเกตได้ชัด แม้ไม่จำเป็นที่ว่าจะต้องมีเจตจำนงทางการเมืองในการพัฒนาประสิทธิภาพกองทัพเสมอไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผู้อธิบายว่ามาจากหลายปัจจัย รวมทั้งเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ การพึ่งพาตัวเองที่เพิ่มขึ้นหลังสหรัฐลดอิทธิพลในภูมิภาค ความตึงเครียดทั้งในประเทศและรหว่างประเทศ ตลอดจนความจำเป็นต้องเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอาณานิคมให้ทันสมัย แต่ยังมีปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องทางทหารรวมอยู่ด้วย เช่น เพื่อเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ และการทุจริตทางการเมือง เป็นต้น

ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกประเทศปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตั้งแต่ปี 2518 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม และดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะช้าลงบ้างหลังวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ในช่วงนี้ จำนวนกำลังพล รถถัง ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) ฮาวอิตเซอร์พิสัยกลาง เรือติดขีปนาวุธ เฮลิคอปเตอร์รบ และเครื่องบินรบเพิ่มจำนวนขึ้นและได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า สถานการณ์ยังไม่เข้ากับบทนิยามของการแข่งขันในทางอาวุธ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีงบประมาณด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นในรูปตัวเงิน และเป็นภูมิภาคที่มีรายจ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในโลก อย่างไรก็ดี รายจ่ายดังกล่าวเมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีประเทศนั้น ๆ แล้วส่วนใหญ่ยังคงที่ นักวิเคราะห์บางคนอ้างกรณีพิพาททะเลจีนใต้เป็นแรงจูงใจของการสะสมกำลังทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 21 แต่บางคนแย้งว่า รายจ่ายทางทหารของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อหัวยังคงที่ และยุทโธปกรณ์ของหลายประเทศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับการทดแทนยุทโธปกรณ์เก่าที่ปลดระวาง

สถิติ[แก้]

ทำเนียบกำลังพลกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ธง ประเทศ กำลังพลประจำการ กำลังพลสำรอง กำลังพลกึ่งทหาร รวม รวม
(ต่อ 1,000 ประชากร)
ประจำการ
(ต่อ 1,000 ประชากร)
บรูไน บรูไน[1] 7,201 700 500 8,401 18.6 16
กัมพูชา กัมพูชา[2] 124,300 0 67,000 191,300 11.6 7.6
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย[3] 395,500 400,000 280,000 1,075,500 4.1 1.5
ลาว ลาว[4] 29,100 0 100,000 129,100 17.8 4
มาเลเซีย มาเลเซีย[5][a] 113,000 51,600 267,200 431,800 13.6 3.6
ประเทศพม่า พม่า[6] 406,000 0 107,000 513,000 9.2 7.3
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์[7] 142,350 131,000 61,100 334,450 3.2 1.3
สิงคโปร์ สิงคโปร์[8] 72,500 312,500 8,400 393,400 65.6 12.1
ไทย ไทย[9] 360,850 200,000 138,700 699,550 10.2 5.3
ติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต[10] 2,280 0 0 2,280 1.7 1.7
เวียดนาม เวียดนาม[11] 482,000 0 5,040,000 5,522,000 56.9 5
ทำเนียบยุทโธปกรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศ
งบประมาณทางทหาร
(หน่วย: พันล้าน US$)
อ้างอิง
ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน 0
.573 0 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0 0 0 [13]
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 0
.446 200 0 0 0 0 0 0 0 0 5 14 0 0 [14]
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 7
.09 378 0 5 0 0 11 18 0 5 97 45 0 0 [15]
ธงของประเทศลาว ลาว 0
.024 25 0 0 0 0 0 0 0 0 0 12 0 0 [16]
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 5
.03 48 0 0 0 0 10 4 0 2 67 32 0 0 [17]
ธงของประเทศพม่า พม่า 2
.43 185 0 0 0 0 4 2 0 1 155 27 TC 0 [18]
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 2
.09 0 0 0 0 0 1 0 0 0 22 27 0 0 [19]
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ 10
.0 96 0 4 0 0 6 6 0 6 126 25 0 0 [20]
 ไทย 5
.69 288 1 1 0 0 10 7 0 0 143 47 0 0 [21]
 ติมอร์-เลสเต 0
.072 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 [22]
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม 6
.2 1800 0 0 0 0 2 6 0 6 97 47 0 0 [23]

ภาพรวมของภูมิภาค[แก้]

แนวโน้มการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สังเกตได้ ได้แก่ การยกระดับเทคโนโลยี เช่น การซื้อกระสุนนำวิถี และการลงทุนในด้านการบังคับบัญชา การควบคุม การสื่อสารและการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนระบบข่าวกรอง สอดแนม ลาดตระเวน (C4ISR) เครื่องบินรบหลายบทบาท เครื่องบินลาดตระเวนสมุทร ขีปนาวุธสมัยใหม่ (รวมทั้งขีปนาวุธต่อสู้เรือ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพ้นวิสัยการมองเห็น ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น ขีปนาวุธพื้นสู่พื้นทางยุทธวิธี) ระบบปืนใหญ่สมัยใมห่ เรือดำน้ำและเรือรบที่มีเครื่องมือิเล็กโทรนิกส์ใหม่และขีปนาวุธต่อสู้เรือ เช่น ขีปนาวุธสกั๊ด เครื่องบินขับไล่เจ็ตแบบล่าสุด มิก 29, เอฟ16, เอฟ18 และซู27 ระบบ MRLS และเรือฟิรเกตสมัยใหม่ที่มีขีปนาวุธฮาร์พูนและเอ็กโซเซ็ตได้แพร่หลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่น่ามีชาติใดในภูมิภาคที่สามารถรับแนวคิดการปฏฺัวัติในกิจการทหาร (Revolution in military affairs, RMA) ได้ เนื่องจากทรัพยากรทางทหาร เทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญจำนวนจำกัด เกือบทุกประเทศพัฒนาขีดความสามารถตามแบบ ส่วนชาติที่เป็นกลุ่มเกาะพัฒนาการวางกำลังพลอย่างรวดเร็ว (rapid deployment) กองทัพเรือส่วนใหญ่พยายามชดเชยจุดอ่อนในมาตรการรับมือทุ่นระเบิด การสอดแนมสมุทร การลาดตระเวนนอกชายฝั่งและขีดความสามารถต่อสู้เรือดำน้ำ แนวโน้มสำคัญอีกอย่างหนึ่งได้แก่การซื้อเครื่องบินขับไล่ขั้นสูง โดยสิงคโปร์เป็นชาติแรกที่ใช้เครือ่งบินขับไล่เจ็ตรุ่นที่ 4[24]: 24–8 

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีรายจ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในโลกระหว่างปี 2552 ถึง 2561[25]: ix  ระหว่างปี 2552 ถึง 2561 รายจ่ายในภูมิภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จาก 30,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดมูลค่าดอลลาร์สหรัฐปี 2560) สัดส่วนการนำเข้าอาวุธของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เทียบกับโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในช่วงปี 2542–50 เป็นร้อยละ 8.1 ในช่วง 2542–61[25]: 10  อำนาจทางทหารของจีนที่เพิ่มขึ้นและความก้าวร้าวในทะเลจีนใต้มักอ้างว่าเป็นแรงจูงใจของการเพิ่มงบประมาณทางทหารในช่วงนี้ โดยพบว่าประเทศที่เป็นภาคีความขัดแย้งนี้มีงบประมาณทางทหารเพิ่มขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้แม้สัดส่วนรายจ่ายทางทหารเมื่อเทียบกับจีดีพีของแต่ละประเทศยังค่อนข้างคงที่ และไม่เข้าบทนิยามของการแข่งขันในทางอาวุธ แต่รูปแบบกิริยา-ปฏิกิริยา และความเชื่อมั่นที่ต่ำในบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีกลไกระงับข้อพิพาทในภูมิภาค หมายความว่า มีความเสี่ยงความเข้าใจผิดต่อกันในอนาคต[25]: ix–x 

ในเอกสารนโยบายกลาโหมอย่างเป็นทางการมักอ้างการก่อการร้าย กบฏติดอาวุธ โจรสลัด ผู้ลักลอบนำเข้าและอาชญากรรมมีการจัดตั้ง รวมทั้งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัยเป็นเหตุผลของการจัดซื้ออาวุธ อย่างไรก็ดี การจัดซื้ออากาศยานเติมเชื้อเพลิง เครื่องบินรบ เครื่องบินการต่อสู้เรือดำน้ำ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น ระบบการป้องกันภัยทางอากาศ ระบบการป้องกันชายฝั่ง เรือดำน้ำ และเรือรบผิวน้ำ เช่นเดียวกับเรือขึ้นฝั่งโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นหลักฐานว่าชาติต่าง ๆ มองภัยคุกคามจากต่างชาติมากกว่า ยุทโธปกรณ์ทั้งหลายมีลักษณะสามารถเข้าปะทะกับภัยคุกคามต่างประเทศไกลจากประเทศแม่ และประเทศเพื่อนบ้านอาจมองว่า "ก้าวร้าว"[25]: 7–8 

นอกจากนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการสะสมกำลังทหารยังมีปัจจัยที่ไม่มีเหตุผลด้วย ดังเช่นในประเทศที่กองทัพมีอิทธิพลสูงในการเมือง รายจ่ายทางทหารของเมียนมาร์ลดลงหลังการปฏิรูปการเมืองในปี 2558 แต่ของไทยกลับตรงกันข้ามหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557[25]: 8–9 

รายจ่ายทางทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2552–61[25]: 11 
ประเทศ %เปลี่ยนแปลง จำนวนปีที่รายจ่ายเพิ่ม และลด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 33.1 33.1
 
เพิ่มขึ้น 7, ลดลง 3
ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน -7.9
 
เพิ่มขึ้น 2, ลดลง 8
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 190.6 190.6
 
เพิ่มขึ้น 10, ลดลง 0
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 99.5 99.5
 
เพิ่มขึ้น 7, ลดลง 3
ธงของประเทศลาว ลาว N/A เพิ่มขึ้น 4, ลดลง 1 (ข้อมูลไม่สมบูรณ์)
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย -18.5
 
เพิ่มขึ้น 4, ลดลง 6
ธงของประเทศพม่า พม่า N/A เพิ่มขึ้น 3, ลดลง 3 (ข้อมูลไม่สมบูรณ์)
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 50.3 50.3
 
เพิ่มขึ้น 6, ลดลง 4
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ 14.3 14.3
 
เพิ่มขึ้น 6, ลดลง 4
 ไทย 15.6 15.6
 
เพิ่มขึ้น 8, ลดลง 2
 ติมอร์-เลสเต -63.4
 
เพิ่มขึ้น 3, ลดลง 7
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม 75.5 75.5
 
เพิ่มขึ้น 8, ลดลง 2

แบ่งตามประเทศ[แก้]

บรูไน[แก้]

ประเทศบรูไนมีสัดส่วนรายจ่ายทางทหารเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีสูงกว่าชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ แต่ความผันผวนของราคาน้ำมันทำให้บางปีต้องปรับลดรายจ่ายลง ส่วนใหญ่นำเข้าเรือและอาวุธทางทะเล[25]: 20 

กัมพูชา[แก้]

ระหว่างปี 2552 ถึง 2561 ประเทศกัมพูชาเพิ่มรายจ่ายทางทหารทุกปี คิดเป็นเฉลี่ยร้อยละ 2.1 ของจีดีพีในปี 2558–61 ปัญหาข้อพิพาทชายแดนกับไทยในปี 2551 และ 2554 เป็นแรงจูงใจสำหรับการพัฒนากองทัพ ยิ่งไปกว่านั้น อิทธิพลทางการเมืองของกองทัพที่เพิ่มขึ้นหลังปี 2560 อาจมีส่วนด้วย ยุทโธปกรณ์ของกองทัพไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงนี้ เพราะเป็นการทดแทนอาวุธเก่าที่ปลดประจำการเท่านั้น ในปี 2561 ประเทศได้หันไปถืออาวุธทางบกมากขึ้น แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต[25]: 21–3 

อินโดนีเซีย[แก้]

ประเทศอินโดนีเซียมองว่าประเทศจำเป็นต้องพัฒนากองทัพให้ทันสมัยหลังคอมมิวนิสต์ชนะสงครามเวียดนาม และความสามารถสู้รบที่เลวในการบุกครองติมอร์ตะวันออกในปี 2519 หลังการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะในคริสต์ทศวรรษ 1980 กระบวนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยมุ่งเน้นการพัฒนาความมั่นคงทางทะเลโดยการพัฒนาขีดความสามารถกองทัพเรือ กองทัพอากาศและการวางกำลังอย่างรวดเร็ว เมื่อพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ มีเส้นทางเดินเรือและทางน้ำกว้างใหญ่ ในช่วงแรกสัดส่วนรายจ่ายด้านกลาโหมยังค่อนข้างต่ำ โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของจีดีพี ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแสดงถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและความเสื่อมของสถานภาพของกองทัพในยุคหลังซูฮาร์โต ความพยายามในช่วงหลังเน้นเหล่านาวิกโยธินและกองทัพเรือ โดยมีการสร้างฐานทัพเรือขนาดใหญ่ใน Teluk Rate[24]: 15–8 

ประเทศเพิ่มรายจ่ายอยา่งมากในปี 2552–56 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 109 อยา่งไรก็ดี สัดส่วนรายจ่ายทางทหารต่ตอจีดีพีลดลงเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาขาดดุลงบประมาณ ลำดับความสำคัญเป็นไปเพื่อทดแทนระบบอาวุธเก่า ส่วนใหญ่เป็นการซื้ออากาศยานและเรือรบใหม่ และเป้าหมายนโยบายกลาโหมหนึ่งของประเทศคือการขยายการผลิตอาวุธในประเท โดยมีข้อตกลงผลิตภัณฑ์แบบได้รับอนุญาตและการถ่ายโอนเทคโนโลยีบางส่วน[25]: 23–5  แผนการระยะยาวมีแผนซื้อเครื่องบินรบใหม่ถึง 230 เครื่อง เรือฟริเกตหลายสิบลำ และเรือดำน้ำมากถึง 12 ลำภายในปี 2573 แต่คงเป็นไปได้ยากเมื่อดูจากอัตรารายจ่ายปัจจุบัน[25]: 26–7 

ในปี 2559 ประเทศอินโดนีเซียมีกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอันดับสูงกว่าออสเตรเลียในการจัดอันดับโกลบอลไฟเออร์พาวเวอร์ (Global Firepower) ยุทโธปกรณ์มีอาวุธทันสมัยจากประเทศตะวันตกและรัสเซีย รวมทั้งเครื่องบินเจ็ตรัสเซีย ซุคฮอย-27/30, เอฟ-16 ของสหรัฐ, เรือดำน้ำชนิด 209 ของเยอรมัน, รถถังรบหลักเลพเพิร์ด 22 อาร์ไอของเยอรมัน, และยานลำเลียงพลหุ้นเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกบีทีอาร์-4เอ็มของยูเครน[26]

ลาว[แก้]

ข้อมูลรายจ่ายทางทหารของลาวเป็นความลับ แต่ยังถือว่าต่ำสุดเป็นอันดับสองในภูมิภาค รายจ่ายดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2560 และ 2561 โดยการสั่งซื้อเครื่องบินและรถถังใหม่เมื่อถูกคุกคามจากกัมพูชา[26]: 27–8 

มาเลเซีย[แก้]

กองทัพมาเลเซียมีประสบการณ์ในการปราบปรามการก่อกบฏและการสงครามป่าจากการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์นานหลายทศวรรษ กองทัพมองเห็นจุดอ่อนจากนแวชายฝั่งที่ยาวและทรัพยากรนอกชายฝั่งอย่างน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ตลอดจนสถานการณ์ในภูมิภาค ประเทศจึงเริ่มโครงการสะสมทางทหาร PERISTA ในปี 2522 นอกจากพักไปช่วงหนึ่งหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กระบวนการดำเนินต่อและแสดงเจตจำนงในการพัฒนาขีดความสามารถรอบด้านและตอบโต้การสะสมกำลังของสิงคโปร์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางทะเลและขีดความสามารถในการแสดงอำนาจ (power projection)[24]: 8–12 

มาเลเซียจัดสรรงบประมาณกองทัพตามภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนในช่วงปีหลัง กองทัพยังมุ่งเน้นการสะสมกองทัพเรือ และตีพิมพ์แผนระยะยาวในการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพอากาศ[25]: 28–32 

เมียนมาร์[แก้]

กองทัพเมียนมาร์ถูกละเลยจนหลังรัฐประหารปี 2531 คณะรัฐประหารดำเนินโครงการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยซึ่งมุ่งปิดจุดอ่อนเรื่องอาวุธล้าสมัยและเพิ่มกำลังพล อย่างไรก็ดี โครงการนี้เป็นการเพิ่มจำนวนไม่ใช่การพัฒนาคุณภาพ แม้กองทัพได้กำราบการก่อการกำเริบของชาติพันธุ์ได้มากแล้ว กองทัพยังถือว่าอ่อนแอเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กองทัพให้ความสำคัญกับการซื้อระบบอาวุธราคาถูก แต่การลงทุนในอุตสาหกรรมอาวุธท้องถิ่นทำให้สามารถผลิตอาวุธเบา พาหนะหุ้มเกราะเบา ทุ่นระเบิดบก ปืนครกและเครื่องกระสุนได้ ในสมัยหลังกองทัพให้ความสนใจภายนอกกับขีดความสามารถทางทหารที่เพิ่มขึ้นของไทยและอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ[24]: 18–9 

ข้อมูลรายจ่ายของพม่าไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกับลาว และคาดว่าลดลงหลังรัฐบาลพลเรือนตั้งแต่ปี 2558 ถึงแม้ประเทศตะวันตกไม่ค่อยบังคับการคว่ำบาตรอาวุธมากเท่าเก่าแล้ว ปัญหาความมั่นคงหลักของประเทศยังเป็นความขัดแย้งชาติพันธุ์ที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ความขัดแย้งทางทะเลกับประเทศบังกลาเทศทำให้รายจ่ายกองทัพเรือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธภายในและการถ่ายโอนเทคโนโลยี[25]: 31–2 

ฟิลิปปินส์[แก้]

ประเทศฟิลิปปินส์หมกมุ่นอยู่กับการก่อการกำเริบในประเทศและการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายภายใน และเมื่อมีพันธมิตรทางทหารกับสหรัฐและมีฐานทัพเรือและอากาศของสหรัฐในประเทศทำให้ไม่มีความกดดันเรื่องการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย แต่หลังจากความช่วยเหลือของสหรัฐลดลงและมีความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ทำให้มีการผ่านกฎหมายปรับรุงกองทัพให้ทันสมัยในปี 2538 แต่โครงการจริงเริ่มต้นในปี 2542 หลังวิกฤตเศรษฐกิจ[24]: 23–4 

รายจ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3 ระหว่างปี 2552 และ 2561 ในจำนวนจริง แต่ภาระต่อเศรษฐกิจยังประมาณเท่าเดิม การเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่กำลังพล ลำดับความสำคัญของประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เตได้แก่การรักษาดินแดน เนื่องจากข้อวิจารณ์นโยบายดูแตร์เต ทำให้ประเทศตะวันตกบางประเทศปฏิเสธส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศ ทำให้รัฐบาลหันความสนใจไปทำ้อตกลงกับรัสเซีย จีนและอิสราเอล ยุทโธปกรณ์ของประเทศถือว่าล้าสมัยมากเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค และรัฐบัญญัติปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยฉบับทบทวนปี 2556 วางโครงการพยายามปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยภายในปี 2570 ร้อยละ 87 ของการนำเข้าอาวุธเป็นอากาศยานหรือเรือ[25]: 32–5 

สิงคโปร์[แก้]

สิงคโปร์พัฒนากองทัพอย่างต่อเนื่อง ไม่ถูกหยุดด้วยวิกฤตปี 2540 ผู้นำถือว่ากองทัพมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อสกัดกั้น เมื่อพิจารณาสถานะของประเทศที่เป็นนครรัฐในภูมิภาคที่ผันผวน ประเทศรับแนวคิด RMA และเสริมเทคโนโลยีทหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีกองทัพเข้มแข็งที่สุดในภูมิภาคในปี 2547 และมีเจตจำนงทางการเมืองในการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการนำเข้าพาหนะใหม่เข้าสู่กองทัพทุกเหล่าทัพแล้ว กองทัพยังริเริ่มนำพาหนะต่อสู้ทหารราบที่สร้างึข้นเองในประเทศเข้าประจำการด้วย[24]: 5–8 

ระหว่างช่วงปี 2552 ถึง 2561 ประเทศจัดสรรงบประมาณร้อยละ 1 ของจีดีพีให้แก่กองทัพมาโดยตลอด เป็นประเทศผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และจัดเป็นหนึ่งในสี่ในดัชนีประเทศที่มีความเป็นทหารมากที่สุดจัดโดยศูนย์การอนุรักษ์ระหว่างประเทศบอนน์ตั้งแต่ปี 2550 ประเทศมีอุตสาหกรรมอาวุธที่พัฒนาสูง และสามารถผลิตพาหนะหุ้มเกราะ ปืนใหญ่และเรือได้เอง และยังส่งออกยุทโธปกรณ์บางส่วนด้วย กองทัพอากาศสิงคโปร์มีความสามารถปฏิบัตการทางไกลสูงสุด สิงคโปร์เป็นผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเอฟ-35 ของสหรัฐตั้งแต่ปี 2546[25]: 37–8 

ไทย[แก้]

ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางทหารอย่างมากจากสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม แต่หลังคอมมิวนิสต์ชนะในปี 2518 และสหรัฐถอนฐานทัพออกจากประเทศได้เพิ่มความพยายามปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย ปัจจัยในประเทศยังมีบทบาทได้ คือ ประเทศเผชิญกับการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ และความแตกแยกทั้งในและระหว่างเหล่าทัพต่าง ๆ ที่แย่งชิงงบประมาณกัน นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ประเทศมุ่งเน้นการพัฒนากองทัพเรือเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ การซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือหลวงจักรีนฤเบศร บ่งชี้ถึงความทะเยอทะยานในการพัฒนาขีดความสามารถน้ำลึก (blue-water) แม้ว่าเกียรติภูมิจะเป็นปัจจัยส่งเสริม กำลังมีความพยายามปฏิรูปกองทัพ ซึ่งเหล่าทัพต่าง ๆ พยายามปรับลดขนาดและปรับปรุงการฝึกให้ดีขึ้น กองทัพดูให้ความสำคัญกับการซื้อปืนใหญ่ พาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถัง เรือดำน้ำ เครื่องบินขับไล่และเรือฟริเกต ประเทศมักเลือกซื้อระบบอาวุธมือสองหรืออัปเกรตยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่แล้วเดิมซึ่งเป็นตัวเลือกที่ถูกกว่า ความพยายามส่วนหนึ่งเป็นเพราะกังวลว่าอาจตามมาเลเซียไม่ทัน[24]: 12–5 

การฉ้อราษฎร์บังหลวงของกองทัพมีบันทึกไว้มากในประเทศไทย มีรายงานคิดค่านายหน้าเฉลี่ยร้อยละ 15–20 ในการขายอาวุธ[24]: 34  ปัจจัยการเมืองภายในยังมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เช่น ในคราวรัฐบาลพลเรือนได้เพิ่มงบประมาณให้กองทัพเรือเพื่อตอบแทนที่ไม่ได้เข้าร่วมคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[24]: 33 

ระหว่างปี 2552 ถึง 2561 รายจ่ายทางทหารของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในรูปตัวเงิน แต่สัดส่วนต่อจีดีพีลดลง อย่างไรก็ดี หลังรัฐประหารปี 2557 รายจ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีซึ่งผูกพันทุกรัฐบาลต่อจากนี้ ประเทศตะวันตกไม่ค่อยเต็มใจส่งออกอาวุธสู่ประเทศไทยหลังรัฐประหาร ทำให้หันไปตอบรับข้อตกลงจากประเทศจีน แม้ว่าประเทศตะวันตกยังไม่คว่ำบาตรอาวุธอย่างเป็นทากงาร การลงทุนใหญ่สุดในอาวุธหลักตั้งแต่ปี 2553 ได้แก่ การซื้อเรือดำน้ำเอส-26ที จากประเทศจีนสามลำตามกำหนด รัฐมนตรีกลาโหมหลายคนมักอ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านต่างมีเรือดำน้ำกันหมดเป็นสาเหตุว่าประเทศไทยสมควรมีเรือดำน้ำของตนเองบ้าง[25]: 8  ทั้งนี้ ปริมาณยุทโธปกรณ์ของไทยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงนี้ เนื่องจากอาวุธเก่า ๆ ถูกปลดประจำการ[25]: 39–41  อย่างไรก็ดี ยุทโธปกรณ์สมัยใหม่มีเอฟ-16 และอากาศยานหลายบทบาทเจเอเอส 39 กริพเพน รถถังรบหลักที-84 อ็อบล็อต-เอ็ม เรือฟริเกตขีปนาวุธชั้นน็อกซ์และชนิด 025ที และชนิด 053เอชที[26]

ติมอร์-เลสเต[แก้]

ติมอร์-เลสเตจัดงบประมาณกองทัพไว้ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของจีดีพี และลดลงมากในปี 2561 การส่งมอบอาวุธใหญ่เท่าที่ทราบได้แก่เรือลาดตระเวนจากจีนและเกาหลีใต้ในปี 2553–54[25]: 41–2 

เวียดนาม[แก้]

หลังสงครามเวียดนามยุติใหม่ ๆ ประเทศเวียดนามเพิ่มขีดความสามารถหลังยึดยุทโธปกรณ์สหรัฐที่ทิ้งไว้ได้เป็นอันมาก อย่างไรก็ดี เมื่อสหภาพโซเวียตซึ่งสนับสนุนยุทโธปกรณ์และเครื่องกระสุนให้แก่ประเทศช้านานได้ตัดการสนับสนุน และภาวะไม่รู้ผลแพ้ชนะในสงครามกลางเมืองกัมพูชา ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเลิกระดมพล และหันเหจากการวางกำลังส่วนหน้า ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ประเทศไม่ได้มีกระบวนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยมากเท่ากับสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทยและเมียนมาร์[24]: 19–22 

ตัวเลขรายจ่ายทางทหารเป็นความลับของชาติ แต่ประมาณการพบว่ารายจ่ายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นเพิ่มร้อยละ 75 ในรูปตัวเงินระหว่างปี 2552 ถึง 2561 อย่างไรก็ดี มีรายงานว่ามีรายจ่ายนอกงบประมาณด้วย เวียดนามมีความร่วมมือทางทหารกับอินเดียและซื้ออาวุธจำนวนมาก ประเทศเวียดนามมีความกรำศึกมาก และจัดเป็นกองทัพที่มีความเข้มแข็งอันดับต้น ๆ ของโลก การป้องกันภัยทางอากาศของเวียดนามถือว่ามีชื่อเสียง[26] ออสเตรเลียและญี่ปุ่นกำลังฝึกกำลังพลให้แก่เวียดนาม อุตสาหกรรมอาวุธท้องถิ่นได้รับการสนับสุนนจากต่างประทเศ และสามารถผลิตเรือรบที่ต่างชาติออกแบบได้ ภัยคุกคามจากจีนเป็นความสนใจหลักของความพยายามปรับปรุงกองทัพ เวียดนามได้ขยายและปรับปรุงกองทัพเรือ ซึ่งได้เปลี่ยนกองทัพเรือใหม่เกือบทั้งหมด เรือดำน้ำและเรือฟริเกตใหม่ทำให้กองทัพเรือมีขีดความสามารถในทะเลลึก[25]: 42–5 

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. The paramilitary forces of Malaysia includes 240,000 reservists from the People's Volunteer Corps.
  2. Fixed-wing aircraft with combat capability
  3. Includes helicopters that have some attacking capabilities i.e. 'multi-role helicopters'

อ้างอิง[แก้]

  1. IISS 2019, p. 253
  2. IISS 2019, pp. 254
  3. IISS 2019, pp. 272
  4. IISS 2019, pp. 287
  5. IISS 2019, pp. 288
  6. IISS 2019, pp. 292
  7. IISS 2019, pp. 300
  8. IISS 2019, pp. 303
  9. IISS 2019, pp. 310
  10. IISS 2019, p. 313
  11. IISS 2019, pp. 314
  12. "Nuclear Weapons: Who Has What at a Glance". Arms Control Association. July 2019. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  13. Chapter Six: Asia (2015), pp. 234–235.
  14. Chapter Six: Asia (2015), pp. 235–237.
  15. Chapter Six: Asia (2015), pp. 253–257.
  16. Chapter Six: Asia (2015), pp. 267–268.
  17. Chapter Six: Asia (2015), pp. 268–271.
  18. Chapter Six: Asia (2015), pp. 272–274.
  19. Chapter Six: Asia (2015), pp. 280–282.
  20. Chapter Six: Asia (2015), pp. 282–285.
  21. Chapter Six: Asia (2015), pp. 290–293.
  22. Complex crises call for adaptable and durable capabilities (2015), pp. 5–8.
  23. Chapter Six: Asia (2015), pp. 293–296.
  24. 24.00 24.01 24.02 24.03 24.04 24.05 24.06 24.07 24.08 24.09 Tan, Andrew (January 2004). "Force Modernisation Trends in Southeast Asia" (PDF). RSIS Working Papers (59). สืบค้นเมื่อ 2020-08-25.
  25. 25.00 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.06 25.07 25.08 25.09 25.10 25.11 25.12 25.13 25.14 25.15 25.16 25.17 Wezeman, Siemon T. (December 2019). ARMS FLOWS TO SOUTH EAST ASIA (PDF). Stockholm International Peace Reserach Institute. สืบค้นเมื่อ 26 August 2020.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 "Which Military Ranks Southeast Asia's Strongest? | Seasia.co". Good News from Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 August 2020.

บรรณานุกรม[แก้]