การปฏิวัติราชวงศ์อับบาซียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติราชวงศ์อับบาซียะฮ์
วันที่9 มิถุนายน ค.ศ. 747 – กรกฎาคม ค.ศ. 750
สถานที่
เกรตเตอร์โฆรอซอนและบริเวณที่เป็นประเทศอิหร่านและอิรักในปัจจุบัน
ผล

ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ชนะ

  • ฝ่ายอับบาซียะฮ์จัดสรรดินแดนส่วนใหญ่ของฝ่ายอุมัยยะฮ์
  • การก่อตั้งเอมิเรตแห่งกอร์โดบาในที่สุด
  • สิทธิพิเศษของชาวอาหรับสิ้นสุดลง
  • การเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มิใช่ชาวอาหรับสิ้นสุดลง
คู่สงคราม

อับบาซียะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

ผู้สนับสนุน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อัสซัฟฟาฮ์
อะบูมุสลิม
เกาะฮ์เฏาะบะฮ์ อิบน์ ชะบีบ อัฏฏออี 
อัลฮะซัน อิบน์ เกาะฮ์เฏาะบะฮ์
อับดุลลอฮ์ อิบน์ อะลี
มัรวานที่ 2 โทษประหารชีวิต
นัศร์ อิบน์ ซัยยาร 
ยะซีด อิบน์ อุมัร โทษประหารชีวิต
มะอัน อิบน์ ซาอิดะฮ์ อัชชัยบานี

การปฏิวัติราชวงศ์อับบาซียะฮ์ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ขบวนการชายชุดดำ[2] เป็นการโค่นล้มรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ค.ศ. 661–750) รัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐที่ 2 จากสี่รัฐสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลามตอนต้น โดยรัฐที่ 3 คือรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 750–1258) ฝ่ายอุมัยยะฮ์ก้าวขึ้นสู่อำนาจต่อจากรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนและหลังจากศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลาสามทศวรรษ จักรวรรดิของพวกเขาเป็นจักรวรรดิอาหรับที่ใช้ระบบเจ้าขุนมูลนาย ปกครองประชากรซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวอาหรับรวมทั้งไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ไม่ใช่ชาวอาหรับถูกปฏิบัติอย่างพลเมืองชั้นสอง ไม่ว่าพวกเขาจะหันมานับถือศาสนาอิสลามหรือไม่ ความไม่พอใจต่อสภาวะนี้แบ่งแยกความศรัทธาและกลุ่มชาติพันธุ์อย่างมาก จนนำไปสู่การโค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในที่สุด[3] ราชวงศ์อับบาซียะฮ์อ้างว่าตนสืบเชื้อสายมาจากอับบาส ลุงของท่านศาสดา

การปฏิวัติราชวงศ์อับบาซียะฮ์ถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิอาหรับและจุดเริ่มต้นของรัฐรวมหลายเชื้อชาติในตะวันออกกลาง[4] การปฏิวัตินี้ยังเป็นที่จดจำว่าเป็นหนึ่งในการปฏิวัติที่มีการจัดระเบียบได้ดีที่สุดในสมัยนั้น และกำหนดทิศทางของจุดรวมโลกมุสลิมสู่เบื้องตะวันออก[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Abbasids had been aided in their ascent by the Shia, with whom they had a common cause in revolt." Confounding Powers - Anarchy and International Society from the Assassins to Al Qaeda, Cambridge University Press, 2016, page 72.
  2. Frye, R. N.; Fisher, William Bayne; Frye, Richard Nelson; Avery, Peter; Boyle, John Andrew; Gershevitch, Ilya; Jackson, Peter (1975-06-26). The Cambridge History of Iran (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9780521200936.
  3. Paul Rivlin, Arab Economies in the Twenty-First Century, p. 86. Cambridge: Cambridge University Press, 2009. ISBN 9780521895002
  4. Saïd Amir Arjomand, Abd Allah Ibn al-Muqaffa and the Abbasid Revolution. Iranian Studies, vol. 27, Nos. 1–4. London: Routledge, 1994.
  5. Hala Mundhir Fattah, A Brief History of Iraq, p. 77. New York: Infobase Publishing, 2009. ISBN 9780816057672

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]