กลุ่มซีเจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ซีเจ จำกัด
ชื่อเดิม
  • บริษัท ซีเจ ซูการ์ จำกัด (1953–1979)
  • บริษัท เชอิลเจดัง จำกัด (1979–2002)
  • บริษัท ซีเจ จำกัด (2002–2007)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
KRX: 001040
อุตสาหกรรมประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกัน
ก่อตั้ง1 สิงหาคม 1953; 70 ปีก่อน (1953-08-01)
ผู้ก่อตั้งอี บย็อง-ช็อล
สำนักงานใหญ่
33 ซีเจ เชอิลเจดัง เซ็นเตอร์, ทงโฮ-โร, จุง-กู, กรุงโซล
,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ลี แจ-ฮยอน (ประธาน)
ซอน คยุง-ชิก (ประธาน)
มิกี้ ลี (รองประธาน)
อี แช-อุค (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
ชาร์ลีส์ จูเนียร์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
รายได้เพิ่มขึ้น 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 1.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 62.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.cj.net

กลุ่มซีเจ (อังกฤษ: CJ Group; เกาหลี씨제이㈜) เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโซล ประกอบด้วยธุรกิจจำนวนมากในอุตสาหกรรมอาหารและการบริการอาหาร, เภสัชศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ, บันเทิงและสื่อ, การแนะนำสินค้า และโลจิสติกส์[1] เดิมกลุ่มซีเจเป็นบริษัทย่อยของซัมซุง จนกระทั่งแยกออกจากกันในปี 1990[2]

"ซีเจ" มาจาก "เชอิลเจดัง" (อังกฤษ: Cheil Jedang; Hangul: 제일 제당) ซึ่งอาจหมายถึง "การผลิตน้ำตาลครั้งแรก" ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เริ่มต้นครั้งแรกของกลุ่มซีเจ

บริษัท ในกลุ่มซีเจที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ซีเจ เชอิลเจดัง (อาหารและเครื่องดื่ม), ซีเจ โคเรีย เอ็กซ์เพรส (โลจิสติกส์), ซีเจ ออลิฟ เน็ตเวิร์คส์ (ร้านค้าเพื่อสุขภาพ ความงาม และไอที), ซีเจ อีเอ็นเอ็ม (ความบันเทิงและการค้าปลีก) และ ซีเจ ซีจีวี (เครือโรงภาพยนตร์)

ประวัติ[แก้]

1953-1970[แก้]

ซีเจก่อตั้งขึ้นในชื่อ "เชอิลเจดัง" ในเดือนสิงหาคม 1953 ในฐานะผู้ผลิตน้ำตาลและแป้ง และเดิมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มซัมซุง เป็นธุรกิจการผลิตแห่งแรก ในปี 1955 ได้เปิดโรงงานแป้งแห่งแรกในเกาหลีใต้ และในปี 1962 เริ่มส่งออกน้ำตาลไปยังจังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1965 ธุรกิจน้ำตาลของเชอิลเจดังมีชื่อตราสินค้าคือ "Beksul"[3][4] จากนั้นบริษัทฯ เข้าสู่ตลาดเครื่องปรุงรสเทียมในปี 1963 ด้วยการผลิต "Mipoong" ออกมาแข่งขันกับ Miwon ซึ่งขายดีที่สุดในขณะนั้นโดยแดซัง[3]

ยุค 70[แก้]

ในทศวรรษ 1970 ซีเจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะบริษัทอาหารหลากรูปแบบ[4] ในปี 1973 ซีเจเข้าสู่ธุรกิจอาหารสัตว์โดยเปิดตัว "Pungnyeon Feed"[4] ในปี 1975 ซีเจได้พัฒนาเทคนิคการผลิตจำนวนมากสำหรับ "Dashida" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรส ตลอดจนเทคโนโลยีสำหรับการผลิตกรดนิวคลีอิกจำนวนมากเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ในปี 1977 โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ปรุงรสกรดนิวคลีอิกครั้งแรกด้วยตราสินค้า "Imi"[4] ในปี 1979 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท เชอิลเจดัง จำกัด" และเริ่มผลิตน้ำมันปรุงอาหารภายใต้ตราสินค้า Beksul

ยุค 80[แก้]

ในช่วงทศวรรษ 1980 ซีเจได้ขยายกิจการไปสู่การผลิตอาหารแปรรูป เช่น เครื่องดื่ม และอาหารแช่แข็ง และเข้าสู่ธุรกิจยาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงใหม่ ๆ [5] ในปี 1984 ซีเจได้ก่อตั้ง ETI ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในท้องถิ่นในรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ เป็นโครงการร่วมทุน [3] ในปี 1986 แผนกเทคโนโลยีชีวภาพและเภสัชกรรมของซีเจประสบความสำเร็จในการเป็นอันดับสามของโลกในการพัฒนาอินเตอร์เฟียรอนแระเภทอัลฟา รวมถึงยาต้านมะเร็ง เช่นเดียวกับการเปิดตัววัคซีน "Hepaccine-B" ซึ่งเป็นวัคซีนไวรัสตับอักเสบ[4] ก่อตั้ง "เชอิล โฟรเซ่น ฟู้ด" และเปิดตัวธุรกิจเครื่องดื่มในปี 1987[4] และด้วยการก่อตั้ง "เชอิลเจดัง อินโดนีเซีย" ในปี 1988 และการสร้างโรงงานผลิตไลซีนและเครื่องปรุงรสสังเคราะห์ในประเทศอินโดนีเซียในปี 1990 [4] ทำให้ซีเจเริ่มเข้าถึงตลาดการผลิตนอกเกาหลีใต้

ยุค 90[แก้]

ในช่วงทศวรรษ 1990 CJ ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต ในขณะนั้นได้เปลี่ยนไปสู่ชีวิตและวัฒนธรรมเป็นหลักแทนการมุ่งเน้นอุตสาหกรรมอาหารและยา[4] อย่างไรก็ตามยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ เช่น "Condition" ซึ่งเป็นเครื่องดื่มเสริมที่ช่วยบรรเทาอาการเมาค้างในปี 1992 และ "Hetbahn" ซึ่งเป็นข้าวบรรจุปลอดเชื้อในปี 1996[4] ในเดือนกรกฎาคม 1993 เชอิลเจดังได้แยกตัวออกจากซัมซุง เพื่อมาบริหารงานอิสระ และเปลี่ยนธุรกิจเป็นกลุ่มชีวิตและวัฒนธรรม โดยเข้าสู่อุตสาหกรรมบริการอาหารและความบันเทิง ก่อนที่ในปี 1996 จะกลายเป็น "กลุ่มเชอิลเจดัง" และเสร็จสิ้นการแยกตัวจากกลุ่มซัมซุงอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ 1997[5] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซีเจได้เข้าสู่ธุรกิจด้านสื่อ บันเทิง การเงิน และข้อมูลและการสื่อสาร ผ่านการควบรวมและเข้าซื้อกิจการของบริษัทต่าง ๆ เช่น เอ็มเน็ต ช่องเคเบิลทีวีเกี่ยวกับเพลง และ "เชอิล การลงทุนและหลักทรัพย์" ในปี 1997 และจัดตั้งบริษัท ย่อยใหม่ เช่น เชอิล โกลเดน วิลเลจ (ปัจจุบันคือ ซีจีวี) ในปี 1996, Dreamline (ซึ่งขายในปี 2001) ร่วมกับ โคเรีย เอ็กซ์เพรสเวย์ ในปี 1997, ซีเจ จีแอลเอส ในปี 1998, ซีเจ โอ ช็อปปิ้ง, ซีเจ ยุโรป และ ซีเจ เอฟดี (ในฐานะจัดจำหน่ายอาหาร) ในปี 1999 นอกจากนี้ซีเจได้เปิด VIPS ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านอาหารของครอบครัวในปี 1997 และเปิดตัวโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์แห่งแรกของเกาหลีใต้ในปี 1998[4]

ยุค 2000 - ปัจจุบัน[แก้]

ในเดือนตุลาคม 2002 กลุ่มซีเจได้เปิดตัวและเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของบริษัทเป็น "บริษัท ซีเจ จำกัด" ในเดือนกันยายน 2550 บจก.ซีเจ ในฐานะบริษัทโฮลดิ้งทางธุรกิจ ได้แยกกิจการดั้งเดิมคืออุตสาหกรรม และเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ซีเจ เชอิลเจดัง จำกัด" และกลุ่มซีเจกลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งสำหรับบริษัทย่อยที่เกี่ยวข้องกับอาหารและความบันเทิงหลายแห่งซึ่งตั้งอยู่ในเกาหลีใต้ ประกอบด้วยธุรกิจหลัก 4 ประเภท ได้แก่: อาหารและบริการอาหาร, ชีวเภสัชศาสตร์, สื่อและบันเทิง, การแนะนำสินค้าและโลจิสติกส์[3]

ลี เจ-ฮยอน มหาเศรษฐีชาวเกาหลีใต้ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มซีเจตั้งแต่เดือนมีนาคม 2002[6] ลี มิ-คย็อง พี่สาวของเขาเป็นรองประธานบริษัท[7]

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2007 กลุ่มซีเจประกาศว่าจ้างผู้หญิงเพิ่มในบริษัท นอกจากนี้ยังประกาศว่าจะเพิ่มเวลาลากิจให้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นสองเท่าในช่วงเวลาใกล้คลอด[8] (การลาคลอด) ทั้งนี้กฎหมายเกาหลีใต้กำหนดให้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน อย่างไรก็ตาม ซีเจได้ขยายเวลานี้เป็น 1 ปี[8]

ในปี 2010 ซีเจ มีเดีย, ซีเจ เอ็นเตอร์เทนเมนต์, เอ็มเน็ต, ออนมีเดีย และซีเจ อินเทอร์เน็ต พวกเขารวมตัวกันเป็น โอ มีเดีย โฮลดิ้งส์ ซึ่งกลายเป็น ซีเจ อีแอนด์เอ็ม (อังกฤษ: CJ E&M) ในเดือนมีนาคม 2011 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซีเจ อีแอนด์เอ็ม มีอิทธิพลอย่างมากในการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมเคป็อป และ "กระแสเกาหลี" (เกาหลี: Hallyu) รวมถึงปรากฏการณ์การแพร่กระจายของวัฒนธรรมเกาหลี ผ่านการสร้างรายการโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จเช่น "Superstar K", "Respond 1997" และภาพยนตร์เช่น "Masquerade"[5] นับตั้งแต่เปิดตัวโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์แห่งแรก CGV ในปี 1998 ที่เกาหลีใต้ บริษัทได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า "คัลเจอร์เพล็กซ์" ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ร้านอาหาร ห้องโถงการแสดง ร้านค้า และโรงภาพยนตร์ระบบมัลติเพล็กซ์ มารวมกัน เพื่อมอบประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายยิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค "ซีจีวี ชองดัม ซีน ซิตี้" ซึ่งเปิดในปี 2011 เป็นตัวอย่าง[3]

ในเดือนกรกฎาคม 2018 ซีเจ อีแอนด์เอ็ม และ ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง ควบรวมกันเป็นบริษัทใหม่ ซีเจ อีเอ็นเอ็ม (อังกฤษ: CJ ENM; มาจาก CJ Entertainment and Merchandising)[9][10]

นอกจากนี้ในปี 2018 ซีเจ เชอิลเจดัง ได้เข้าซื้อกิจการ "คาฮิกิฟู้ดส์" ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารสัญชาติอเมริกันที่ตั้งอยู่ในเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ

อ้างอิง[แก้]

  1. "History – About CJ – CJ For Better Life". english.cj.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-17. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  2. Park, Soo-mee. "Korea's CJ Group Reorganizes Six Divisions into CJ Entertainment & Media". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 14 May 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Kim, So-hyun (2013-03-04). "CJ rises as beacon of Korean food, shopping, pop culture". Korea Herald. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 "CJ history". English.cj.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-17. สืบค้นเมื่อ 2014-02-23.
  5. 5.0 5.1 5.2 Kim, So-hyun (4 March 2013). "CJ rises as beacon of Korean food, shopping, pop culture". Korea Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-04. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013.
  6. "이재현: 네이버 통합검색". Search.naver.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-23.
  7. "이미경 :: 네이버 인물검색". people.search.naver.com. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  8. 8.0 8.1 "씨제이, 여성간부 두배 늘린다: 경제일반: 경제: 뉴스: 한겨레". hani.co.kr. 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  9. "CJ오쇼핑·CJ E&M 합병법인 사명 'CJ ENM'으로". www.cj.net.
  10. Kwon, Do-yeon (January 17, 2018). "CJ 오쇼핑-CJ E&M 합병, "글로벌 미디어커머스 플랫폼으로"". Bloter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-17. สืบค้นเมื่อ January 17, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]