กรมขุนสุรินทรสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมขุนสุรินทรสงคราม
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2309
เมืองพิษณุโลก อาณาจักรอยุธยา
พระราชบุตรหม่อมเจ้าฉิม
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาพระองค์เจ้าแก้ว (หรือ พระองค์เจ้าดำ)
พระราชมารดาเจ้าฟ้าเทพ

กรมขุนสุรินทรสงคราม (ไม่ปรากฏ – พ.ศ. 2309) มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจีด หรือ เจ้าฟ้าจิตร[3]: 339 [4]: 34  หรือ เจ้าฟ้าจิต[5] ประสูติแต่พระองค์เจ้าแก้ว[6]: 16  (พระราชพงศาวดารว่าเป็น พระองค์เจ้าดำ[7]: 265 [8]: 345 ) พระราชโอรสของสมเด็จพระเพทราชาเป็นพระบิดา กับเจ้าฟ้าเทพ พระราชธิดาของสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระเป็นพระมารดา เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเพทราชา[9]: 396  มีพระกนิษฐาชื่อเจ้าฟ้าสังวาลย์และเจ้าฟ้านิ่ม[5] และเป็นพระญาติกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)[10]

กรมขุนสุรินทรสงครามเสด็จลี้ภัยพร้อมพรรคพวกเข้ายึดเมืองพิษณุโลกก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้วถูกเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จับถ่วงน้ำจนสิ้นพระชนม์ ณ เมืองพิษณุโลก[3]: 339 

พระประวัติ[แก้]

เมื่อปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรมขุนสุรินทรสงครามต้องโทษพระราชอาญาถูกจำอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้ช่วยพาหนีออกจากที่คุมขัง[11]: 94 

เมื่อ พ.ศ. 2309 รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง กรมขุนสุรินทรสงครามต้องโทษพระราชอาญาถูกจำคุกอยู่ในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยาได้เสด็จลี้ภัยไปยังเมืองพระพิษณุโลกโดยการช่วยเหลือของหลวงโกษา (ยัง) ในระหว่างที่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กำลังติดศึกกับพม่าที่เมืองสุโขทัย กรมขุนสุรินทรสงครามกับพรรคพวกได้เข้ายึดเมืองพิษณุโลก กวาดเอาทรัพย์สินแล้วจึงจุดเพลิงเผาจวนเจ้าเมือง กวาดผู้คนแล้วจึงตั้งรักษาเมืองพิษณุโลกไว้[12]: 185 

เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทราบข่าวจากท่านผู้หญิงเชียงจึงเลิกทัพกลับมาปราบกรมขุนสุรินทรสงคราม เมื่อจับตัวได้จึงส่งตัวกรมขุนสุรินทรสงครามไปรับโทษในกรุงศรีอยุธยาแต่มีพม่าตั้งทัพที่บ้านกูบและที่เมืองนครสวรรค์จึงไม่สามารถไปยังกรุงศรีอยุธยาได้ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงใช้อำนาจตามพระแสงราชศัตราอาญาสิทธิ์เพื่อสำเร็จโทษเชื้อพระวงศ์[13]: 70  โดยสั่งให้ทหารนำกรมขุนสุรินทรสงครามไปถ่วงน้ำที่เกยชัยบริเวณน้ำน่าน และน้ำยมจนสิ้นพระชนม์ พรรคพวกถูกประหารสิ้นโทษฐานก่อกบฏ ยกเว้นหม่อมเจ้าหญิงฉิมพระธิดาให้อยู่ในความปกครองของเจ้าเมืองพิษณุโลก[14]: 96 [15] ใน จดหมายเหตุความทรงจำ ของกรมหลวงนรินทรเทวี ว่า "ไปตีพิษณุโลก ได้หม่อมฉิมลูกเจ้าฟ้าจิตร"[16]: 2  เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) แต่ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวขัดแย้งว่า "...หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจืดหนึ่ง เจ้าทั้งนี้ตกอยู่กับพระนายกอง ณ ค่ายโพธิ์สามต้น"[17]: 306–307  เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปตีค่ายโพธิ์สามต้น

พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน กล่าวว่า :-

ขณะนั้นจึ่งเชียงภรรยาเจ้าพญาพิศณุโลก หนีลงเรือน้อยกับพักพวกบ่าวไพร่ขึ้นไป ณะ เมืองโศกโขไทย แจ้งความแก่เจ้าพญาพิศณุโลกๆ ก็โกรธจึ่งเลิกทัพลงมาชุมพล ณะ หลังเมืองพิจิตร แล้วยกไปตั้งค่าย ณะ ท้ายเมืองพิศณุโลก ได้รบกับพวกจ้าวฟ้าจีดหลายเพลา จ้าวฟ้าจีดจึ่งแตกหนีออกจากเมืองตามไปจับตัวได้ จึ่งจำจ้าวฟ้าจีดใส่กรงลงเรือส่งลงมา ณะ กรุง มาถึงท้ายทุ่งสากเหล็กผู้คุมรู้ว่าทับพม่ามาตั้งอยู่ ณะ เมืองนครสวรรค์ จึ่งคุมจ้าวกลับขึ้นไป เจ้าพญาพิศณุโลกก็ให้เอาจ้าวฟ้าจีดถ่วงน้ำเสีย[8]: 345 

พระโอรสธิดา[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • เจ้าฟ้าจีด
  • กรมขุนสุรินทรสงคราม[6]: 16 [19]: 25  หรือ กรมขุนสิรินทรสงคราม[5]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มติชน. 615 หน้า. ISBN 974-323-056-4 อ้างใน "บัญชีช้างหลวงปีวอกอัฐศก พ.ศ. ๒๓๑๙", ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๐ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ - ๖๖) พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, 2512. 324 หน้า. หน้า 159.
  2. กรมศิลปากร. (2511). เพลงยาวคารมเก่า. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงอรรถกมลยบุตยานุวัตร ป.ม., ท.ช. (สง่า กมลยะบุตร) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑. กรุงเทพฯ: มงคลการพิมพ์. 146 หน้า.
  3. 3.0 3.1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๒ เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2537. 423 หน้า. ISBN 978-974-4-19025-3
  4. สายชล สัตยานุรักษ์ และนิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒). กรุงเทพฯ: มติชน. 295 หน้า. ISBN 974-322-884-5
  5. 5.0 5.1 5.2 "ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย", คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  6. 6.0 6.1 "พระนามเจ้านายที่ได้เฉลิมอิสริยยศครั้งกรุงศรีอยุธยา (แผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ)" ใน เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าพ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๖. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2476.
  7. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2505). พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ พระอธิบายประกอบ. พระนคร: โอเดียนสโตร์. 622 หน้า.
  8. 8.0 8.1 ศานติ ภักดีคำ (บก.), สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (เผยแพร่). (2558). พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 558 หน้า. ISBN 978-616-9-23510-1
  9. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2534). ชุมนุมพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. 425 หน้า.
  10. ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2463). "สงครามครั้งที่ ๒๔ คราวเสียกรุง ฯ ครั้งหลัง ปีกุญ พ.ศ. ๒๓๑๐", พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงศรีอยุทธยา. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เปนตอนต้นของหนังสือเรื่องรบพม่าครั้งกรุงธนแลกรุงเทพ ฯ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธินทร์ โปรดให้พิมพ์ครั้งแรก ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาวาดรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓. พระนคร: โรงพิมพ์ไทย.
  11. วิบูล วิจิตรวาทการ และสุดาพร (ช่วยบำรุง) เทศนะนาวิน (บก.). (2540, มกราคม). "หม่อมฉิมและหม่อมอุบล มเหสีคู่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี", ใน เรื่องสนุกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมึกจีน. 248 หน้า.
  12. เพลิง ภูผา. (2557). รัฐประหารยึดบัลลังก์กษัตริย์บนแผ่นดินอยุธยา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา. 192 หน้า. ISBN 978-616-15-2160-8
  13. กระทรวงมหาดไทย. (2509). "ข้อสังเกตในการพระราชทานพระแสงราชศัสตรา", ใน พระแสงราชศัสตรา. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก มังกร พรหมโยธี ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง. 172 หน้า.
  14. สุจิตต์ วงเทศ. (2551). ศิลปวัฒนธรรม, 29 (4-6).
  15. โรม บุนนาค. (2558). รักหลังราชบัลลังก์พระเจ้าตากสิน ตัดแขน-ผ่าอกสนม ฐาน “แอบกินฝรั่ง”. เรื่องเก่า เล่าสนุก. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566.
  16. นรินทรเทวี, พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวง และจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2501). จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๘๑) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลลอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๖๓). พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์. 37 หน้า.
  17. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2505). พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค ๒. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนคร: โอเดียนสโตร์.
  18. ดนัย ไชยโยธา และบุญเทียม พลายชมภู. (2543). 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 562 หน้า. ISBN 974-277-751-9
  19. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2513). อธิบายว่าด้วยยศเจ้า. ธนบุรี: เฉลิมชัยการพิมพ์. 86 หน้า.