รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา

แผ่นดินสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา[แก้]

  1. สมเด็จพระนารายณ์ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[1]

แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[แก้]

  1. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็น กรมหลวงโยธาทิพ[2]
  2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี เป็น กรมหลวงโยธาเทพ[2]

แผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา[แก้]

  1. หลวงสรศักดิ์ พระราชโอรสเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช ภายหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าเสือ[3]
  2. นายจบคชประสิทธิ์ ทรงบาศขวา กรมช้าง (เป็นคู่คิดเอาราชสมบัติ) เป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข[4]
  3. พระอัครมเหสีเดิม (กัน) เป็น พระอัครมเหสีกลาง[4]
  4. กรมหลวงโยธาทิพ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็น พระอัครมเหสีฝ่ายขวา[4]
  5. กรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็น พระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย[4]
  6. พระองค์เจ้าชายแก้ว พระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้าน้อยเป็น กรมขุนเสนาบริรักษ์[4]

แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ[แก้]

  1. เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ (พระเจ้าท้ายสระ) เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช[5]
  2. เจ้าฟ้าพร พระราชโอรสพระองค์น้อย เป็น พระบัณทูรน้อย[5]
  3. เจ้าแม่วัดดุสิต พระอัครมเหสีกลางในสมเด็จพระเพทราชาที่เป็นพระราชมารดาเลี้ยง เป็น กรมพระเทพามาตย์ [6]

แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ[แก้]

  1. เจ้าฟ้าพร พระอนุชาธิราชในพระองค์ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช (ภายหลัง คือ พระเจ้าบรมโกศ)[7]
  2. เจ้าท้าวทองสุก พระราชชายาเดิม ยกเป็นพระอัครมเหสีที่ กรมหลวงราชานุรักษ์[8]
  3. เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ เจ้าราชนิกูลในสมเด็จพระเพทราชาที่มีความชอบครั้งถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าเสือ เป็น กรมหมื่นอินทรภักดี[9]: 216 [10]: 83 

แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[แก้]

  1. พระองค์ขาว พระราชชายาเดิม ยกเป็นพระอัครมเหสีขวา ทรงกรมเป็น กรมหลวงอภัยนุชิต[11]
  2. พระองค์พลับ พระราชชายาเดิม ยกเป็นพระอัครมเหสีซ้าย ทรงกรมเป็น กรมหลวงพิพิธมนตรี[11]
  3. เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) พระราชโอรสที่ประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต เป็น กรมขุนเสนาพิทักษ์[11] ภายหลังเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช[12]
  4. เจ้าฟ้าเอกทัศ พระราชโอรสที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี เป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี[11] (ภายหลัง คือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์)
  5. เจ้าฟ้าอุทุมพร พระราชโอรสที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี เป็น กรมขุนพรพินิต[11] และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[13] ตามลำดับ (ภายหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)
  6. เจ้าฟ้าพระนเรนทร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เป็น กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์[11]
  7. พระองค์เจ้าแขก พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นเทพพิพิธ[11]
  8. พระองค์เจ้ามังคุด พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นจิตรสุนทร[11]
  9. พระองค์เจ้ารถ พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นสุนทรเทพ[11]
  10. พระองค์เจ้าปาน พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นเสพภักดี[11]
  11. เจ้าฟ้าบรม พระราชธิดา เป็น กรมขุนเสนีย์นุรักษ์
  12. เจ้าฟ้าอินทสุดาวดี พระราชธิดา ภายหลังพระราชทานให้เป็นพระอัครมเหสีในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ เป็น กรมขุนยิสารเสนี[12] บ้างว่าเป็น เจ้าฟ้านุ่ม ภายหลังพระราชทานให้เป็น กรมขุนพิศาลเสนี
  13. เจ้าฟ้าจีด พระองค์เจ้าดำพระเจ้าลูกยาเธอสมเด็จพระเพทราชาเป็นพระบิดา[14] เจ้าฟ้าเทพพระธิดาพระเจ้าท้ายสระ เป็นพระมารดา เป็น กรมขุนสุรินทรสงคราม

รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[แก้]

ปี พระนามเดิม เฉลิมพระยศ หมายเหตุ อ้างอิง
ปีใดไม่ปรากฏ กรมหลวงพิพิธมนตรี พระราชชนนี สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตุ [15]
เจ้าอาทิตย์ กรมหมื่นพิทักษ์ภูเบศร์ พระโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ [16]
พระองค์เจ้าแมงเม่า พระอัครมเหสี กรมขุนวิมลพัตร

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 19
  2. 2.0 2.1 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 103
  3. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 121
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 126
  5. 5.0 5.1 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 172
  6. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 175
  7. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 196
  8. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 203
  9. นริศรานุวัตติวงศ์, สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2534). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์. ISBN 978-974-0056-57-7
  10. ประยูร พิศนาคะ. (2515). สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง 09. 472 หน้า.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 218
  12. 12.0 12.1 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 226
  13. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 245
  14. นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงเแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 104
  15. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 251
  16. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 252

บรรณานุกรม[แก้]

  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.