ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาลาเรีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 103: บรรทัด 103:


== การป้องกัน ==
== การป้องกัน ==
วิธีซึ่งใช้ป้องกันมาลาเรีย ได้แก่ โอสถบำบัด การกำจัดยุงและการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ไม่มีวัคซีนมาลาเรีย มาลาเรียจะมีในพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรมนุษย์สูง มีความหนาแน่นของประชากรยุงก้นปล่องสูงและอัตราการส่งผ่านจากมนุษย์สู่ยุงและจากยุงสู่มนุษย์สูง หากปัจจัยข้อหนึ่งข้อใดลดลงมากพอ ปรสิตมาลาเรียจะหายไปจากพื้นที่นั้นในที่สุด ดังที่เกิดขึ้นแล้วในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรปและตะวันออกกลางบาส่วน ทว่า แม้ว่าปรสิตมาลาเรียจะถูกกำจัดหมดไปจากโลกแล้ว ปรสิตก็อาจกลับมาหากสภาวะต่าง ๆ กลับเอื้ออำนวยต่อการสืบพันธุ์ของปรสิตอีก ยิ่งไปกว่านั้น ราคาต่อคนของการกำจัดยุงก้นปล่องเพิ่มขึ้นเมื่อความหนาแน่นของประชากรลดลง ทำให้วิธีดังกล่าวไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่
วิธีซึ่งใช้ป้องกันมาลาเรีย ได้แก่ ยากรักษาโรค การกำจัดยุงและการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ไม่มีวัคซีนมาลาเรีย มาลาเรียจะมีในพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรมนุษย์สูง มีความหนาแน่นของประชากรยุงก้นปล่องสูงและอัตราการส่งผ่านจากมนุษย์สู่ยุงและจากยุงสู่มนุษย์สูง หากปัจจัยข้อหนึ่งข้อใดลดลงมากพอ ปรสิตมาลาเรียจะหายไปจากพื้นที่นั้นในที่สุด ดังที่เกิดขึ้นแล้วในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรปและตะวันออกกลางบาส่วน ทว่า แม้ว่าปรสิตมาลาเรียจะถูกกำจัดหมดไปจากโลกแล้ว ปรสิตก็อาจกลับมาหากสภาวะต่าง ๆ กลับเอื้ออำนวยต่อการสืบพันธุ์ของปรสิตอีก ยิ่งไปกว่านั้น ราคาต่อคนของการกำจัดยุงก้นปล่องเพิ่มขึ้นเมื่อความหนาแน่นของประชากรลดลง ทำให้วิธีดังกล่าวไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่<ref name="whqlibdoc"/>


การป้องกันมาลาเรียอาจคุ้มค่ากว่าการรักษาโรคในระยะยาว แต่ประชากรยากจนที่สุดของโลกไม่สามารถจ่ายราคาเริ่มต้นได้ ราคาการควบคุม (ให้ความประจำถิ่นต่ำ) และโครงการกำจัดในแต่ละประเทศมีผลต่างกว้าง ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลในปี 2553 ประกาศยุทธศาสตร์ในการกำจัดมาลาเรียในจีน การลงทุนที่กำหนดเป็นสัดส่วนน้อยของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุข ในทางตรงข้าม โครงการคล้ายกันใน[[ประเทศแทนซาเนีย]]จะมีมูลค่าประเมินไว้หนึ่งในห้าของงบประมาณสาธารณสุข
การป้องกันมาลาเรียอาจคุ้มค่ากว่าการรักษาโรคในระยะยาว แต่ประชากรยากจนที่สุดของโลกไม่สามารถจ่ายราคาเริ่มต้นได้ ราคาการควบคุม (ให้ความประจำถิ่นต่ำ) และโครงการกำจัดในแต่ละประเทศมีผลต่างกว้าง ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลในปี 2553 ประกาศยุทธศาสตร์ในการกำจัดมาลาเรียในจีน การลงทุนที่กำหนดเป็นสัดส่วนน้อยของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุข ในทางตรงข้าม โครงการคล้ายกันใน[[ประเทศแทนซาเนีย]]จะมีมูลค่าประเมินไว้หนึ่งในห้าของงบประมาณสาธารณสุข<ref name="Sabot 2010"/>


=== การควบคุมตัวนำโรค ===
=== การควบคุมตัวนำโรค ===
การควบคุมตัวนำโรค หมายถึง วิธีซึ่งใช้ลดมาลาเรียด้วยการลดระดับการส่งผ่านโดยยุง สำหรับการป้องกันส่วนบุคคล [[สารขับไล่แมลง]]อันทรงประสิทธิภาพที่สุดอาศัยดีอีอีทีหรือพิคาริดิน มีการแสดงแล้วว่า [[มุ้ง]]ชุบยาฆ่าแมลงและ[[การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง]] (indoor residual spraying) มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันมาลาเรียในเด็กในพื้นที่ซึ่งพบมาลาเรียทั่วไป การรักษาผู้ป่วยยืนยันแล้วอย่างทันท่วงทีด้วยการรักษาแบบผสมที่อาศัยอาร์ติมิซินินยังอาจลดการส่งผ่านได้
การควบคุมตัวนำโรค หมายถึง วิธีซึ่งใช้ลดมาลาเรียด้วยการลดระดับการส่งผ่านโดยยุง สำหรับการป้องกันส่วนบุคคล [[สารขับไล่แมลง]]อันทรงประสิทธิภาพที่สุดอาศัยดีอีอีทีหรือพิคาริดิน<ref name="Kajfasz 2009"/> มีการแสดงแล้วว่า [[มุ้ง]]ชุบยาฆ่าแมลงและ[[การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง]] (indoor residual spraying) มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันมาลาเรียในเด็กในพื้นที่ซึ่งพบมาลาเรียทั่วไป<ref name="Lengeler 2004"/><ref name="Pluess 2010"/> การรักษาผู้ป่วยยืนยันแล้วอย่างทันท่วงทีด้วยการรักษาแบบผสมที่อาศัยอาร์ติมิซินินยังอาจลดการส่งผ่านได้<ref>{{cite web|last=Palmer|first=J.|title=WHO gives indoor use of DDT a clean bill of health for controlling malaria|url=http://www.who.int/mediacentre/news/releases/2006/pr50/en/|publisher=WHO}}</ref>


มุ้งช่วยกันยุงจากมนุษย์และลดอัตราการติดเชื้อและส่งผ่านมาลาเรีย มักชุบมุ้งด้วยยาฆ่าแมลงซึ่งออกแบบมาเพื่อฆ่ายุงก่อนยุงหาทางผ่านมุ้งได้ มีการประเมินว่ามุ้งชุบยาฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของมุ้งที่ไม่ได้ชุบยาและให้การป้องกันดีกว่าการไม่ใช้มุ้ง 70% ระหว่างปี 2543 ถึง 2551 มุ้งชุบยาฆ่าแมลงช่วยชีวิตทารก 250,000 คนโดยประมาณใน[[แอฟริกาใต้สะฮารา]] ครัวเรือนราว 13% ในประเทศใต้สะฮารามีมุ้งชุบยาฆ่าแมลง ในปี 2543 มุ้งป้องกันเด็กแอฟริกา 1.7 ล้านคน (1.8%) ที่อาศัยอยู่ในสภาวะมาลาเรียประจำถิ่นคงตัว จำนวนเด็กแอฟริกาที่ใช้มุ้งชุบยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็น 20.3 ล้านคน (18.5%) ในปี 2550 ทว่าอีก 89.6 ล้านคนยังไม่ได้รับการป้องกัน ในปี 2551 มีการประเมินว่าครัวเรือนแอฟริกา 31% มีมุ้งชุบยาฆ่าแมลงอย่างน้อยหนึ่งหลัง มุ้งส่วนมากถูกชุบด้วย[[ไพรีทรอยด์]] ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดมีพิษต่ำ การใช้ที่แนะนำคือให้แขวนมุ้งไว้เหนือกลางเตียงให้แขวนอยู่เหนือเตียงทั้งหมดโดยพับขอบเข้า มุ้งชุบไพรีทรอยต์และมุ้งชุบยาฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์นานให้การป้องกันอย่างดีที่สุด และมีประสิทธิถาะมากที่สุดเมื่อใช้ตั้งแต่เย็นถึงเช้า
มุ้งช่วยกันยุงจากมนุษย์และลดอัตราการติดเชื้อและส่งผ่านมาลาเรีย มักชุบมุ้งด้วยยาฆ่าแมลงซึ่งออกแบบมาเพื่อฆ่ายุงก่อนยุงหาทางผ่านมุ้งได้ มีการประเมินว่ามุ้งชุบยาฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของมุ้งที่ไม่ได้ชุบยาและให้การป้องกันดีกว่าการไม่ใช้มุ้ง 70%<ref name="Raghavendra 2011"/> ระหว่างปี 2543 ถึง 2551 มุ้งชุบยาฆ่าแมลงช่วยชีวิตทารก 250,000 คนโดยประมาณใน[[แอฟริกาใต้สะฮารา]]<ref name="Howitt 2012"/> ครัวเรือนราว 13% ในประเทศใต้สะฮารามีมุ้งชุบยาฆ่าแมลง<ref name="Miller 2007"/> ในปี 2543 มุ้งป้องกันเด็กแอฟริกา 1.7 ล้านคน (1.8%) ที่อาศัยอยู่ในสภาวะมาลาเรียประจำถิ่นคงตัว จำนวนเด็กแอฟริกาที่ใช้มุ้งชุบยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็น 20.3 ล้านคน (18.5%) ในปี 2550 ทว่าอีก 89.6 ล้านคนยังไม่ได้รับการป้องกัน<ref>{{cite journal |author= Noor AM, Mutheu JJ, Tatem AJ, Hay SI, Snow RW|title= Insecticide-treated net coverage in Africa: mapping progress in 2000–07 |journal=Lancet |volume=373|issue=9657 |pages=58–67|year=2009 |pmid=19019422 |doi= 10.1016/S0140-6736(08)61596-2 |pmc= 2652031}}</ref> ในปี 2551 มีการประเมินว่าครัวเรือนแอฟริกา 31% มีมุ้งชุบยาฆ่าแมลงอย่างน้อยหนึ่งหลัง มุ้งส่วนมากถูกชุบด้วย[[ไพรีทรอยด์]] ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดมีพิษต่ำ การใช้ที่แนะนำคือให้แขวนมุ้งไว้เหนือกลางเตียงให้แขวนอยู่เหนือเตียงทั้งหมดโดยพับขอบเข้า มุ้งชุบไพรีทรอยต์และมุ้งชุบยาฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์นานให้การป้องกันอย่างดีที่สุด และมีประสิทธิถาะมากที่สุดเมื่อใช้ตั้งแต่เย็นถึงเช้า<ref>{{harvnb|Schlagenhauf-Lawlor|2008|pp=[http://books.google.com/books?id=54Dza0UHyngC&pg=PA215 215]}}</ref>


การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างเป็นการพ่นยาฆ่าแมลงบนผนังภายในบ้าน หลังดูดเลือดแล้ว ยุงจำนวนมากจะพักบนพื้นผิวใกล้เคียงขณะย่อย ฉะนั้นหากฉาบผนังบ้านด้วยยาฆ่าแมลง ยุงที่พักอยู่จะตายก่อนที่จะทันได้กัดคนอื่นและส่งผ่านปรสิตมาลาเรีย ในปี 2549 องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาฆ่าแมลง 12 ชนิดในการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง รวมถึง[[ดีดีที]]และ[[ไซฟลูทริน]]และ[[เดลตาเมทริน]]ในกลุ่มไพรีทรอยด์ [[อนุสัญญาสตอกโฮล์ม]]อนุญาตให้ใช้ดีดีทีปริมาณน้อยในทางสาธารณสุข แต่ห้ามการใช้ในทางการเกษตร ปัญหาหนึ่งของการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างทุกรูปแบบ คือ การดื้อยาฆ่าแมลง ยุงที่ได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างมีแนวโน้มพักและอาศัยอยู่ในอาคาร และเนื่องจากการระคายเคืองอันเกิดจากการฉีดพ่น ลูกหลานของมันมีแนวโน้มจะพักและอาศัยอยู่นอกอาคารมากกว่า หมายความว่า พวกมันจะได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างน้อยกว่า
การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างเป็นการพ่นยาฆ่าแมลงบนผนังภายในบ้าน หลังดูดเลือดแล้ว ยุงจำนวนมากจะพักบนพื้นผิวใกล้เคียงขณะย่อย ฉะนั้นหากฉาบผนังบ้านด้วยยาฆ่าแมลง ยุงที่พักอยู่จะตายก่อนที่จะทันได้กัดคนอื่นและส่งผ่านปรสิตมาลาเรีย<ref name="Enayati 2010"/> ในปี 2549 องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาฆ่าแมลง 12 ชนิดในการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง รวมถึง[[ดีดีที]]และ[[ไซฟลูทริน]]และ[[เดลตาเมทริน]]ในกลุ่มไพรีทรอยด์<ref name="WHO Indoor Residual Spraying"/> [[อนุสัญญาสตอกโฮล์ม]]อนุญาตให้ใช้ดีดีทีปริมาณน้อยในทางสาธารณสุข แต่ห้ามการใช้ในทางการเกษตร<ref name="van den Berg 2009"/> ปัญหาหนึ่งของการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างทุกรูปแบบ คือ การดื้อยาฆ่าแมลง ยุงที่ได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างมีแนวโน้มพักและอาศัยอยู่ในอาคาร และเนื่องจากการระคายเคืองอันเกิดจากการฉีดพ่น ลูกหลานของมันมีแนวโน้มจะพักและอาศัยอยู่นอกอาคารมากกว่า หมายความว่า พวกมันจะได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างน้อยกว่า<ref name="Pates 2005"/>


มีวิธีอื่นอีกหลายวิธีในการลดยุงกัดและชะลอการระบาดของมาลาเรีย ความพยายามลดลูกน้ำโดยลดการเข้าถึงแหล่งน้ำเปิดซึ่งเป็นที่เจริญของยุงหรือโดยการเพิ่มสารเพื่อลดการเจริญของยุงนั้นมีประสิทธิภาพในบางที่ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนอุปกรณ์ขับไล่ยุงอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสร้างเสียงความถี่สูงมากซึ่งน่าจะช่วยไล่ยุงเพศเมีย
มีวิธีอื่นอีกหลายวิธีในการลดยุงกัดและชะลอการระบาดของมาลาเรีย ความพยายามลดลูกน้ำโดยลดการเข้าถึงแหล่งน้ำเปิดซึ่งเป็นที่เจริญของยุงหรือโดยการเพิ่มสารเพื่อลดการเจริญของยุงนั้นมีประสิทธิภาพในบางที่<ref>{{cite journal|last=Tusting|first=LS|coauthors=Thwing, J; Sinclair, D; Fillinger, U; Gimnig, J; Bonner, KE; Bottomley, C; Lindsay, SW|title=Mosquito larval source management for controlling malaria.|journal=The Cochrane database of systematic reviews|date=Aug 29, 2013|volume=8|pages=CD008923|pmid=23986463|doi=10.1002/14651858.CD008923.pub2}}</ref> ไม่มีหลักฐานสนับสนุนอุปกรณ์ขับไล่ยุงอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสร้างเสียงความถี่สูงมากซึ่งน่าจะช่วยไล่ยุงเพศเมีย<ref name="Enayati 2007"/>


=== วิธีการอื่น ===
=== วิธีการอื่น ===
มีการใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนและยุทธศาสตร์สุขศึกษาซึ่งเสริมสร้างความตระหนักมาลาเรียและความสำคัญของมาตรการควบคุมเพื่อลดอุบัติการณ์ของมาลาเรียในโลกกำลังพัฒนาบางพื้นที่อย่างได้ผล การรับรู้โรคในระยะต้น ๆ สามารถหยุดไม่ให้โรคถึงตายได้ การศึกษายังสามารถแจ้งประชาชนให้ปิดบริเวณน้ำนิ่ง เช่น แทงก์น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งผสมพันธุ์ชั้นดีสำหรับปรสิตและยุง ฉะนั้นจึงลดความเสี่ยงของการส่งผ่านระหว่างมนุษย์ได้ วิธีการนี้โดยทั่วไปใช้ในเขตเมืองซึ่งมีศูนย์ประชากรขนาดใหญ่ในพื้นที่จำกัดและมีแนวโน้มการส่งผ่านในพื้นที่เหล่านี้มาก การบำบัดป้องกันมีเว้นระยะ (intermittent preventive therapy) เป็นอีกการช่วยเหลือหนึ่งที่ใช้เพื่อควบคุมมาลาเรียในสตรีมีครรภ์และทารก และเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งการส่งผ่านเป็นแบบตามฤดูกาลได้สำเร็จ
มีการใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนและยุทธศาสตร์สุขศึกษาซึ่งเสริมสร้างความตระหนักมาลาเรียและความสำคัญของมาตรการควบคุมเพื่อลดอุบัติการณ์ของมาลาเรียในโลกกำลังพัฒนาบางพื้นที่อย่างได้ผล<ref name="Lalloo 2006"/> การรับรู้โรคในระยะต้น ๆ สามารถหยุดไม่ให้โรคถึงตายได้ การศึกษายังสามารถแจ้งประชาชนให้ปิดบริเวณน้ำนิ่ง เช่น แทงก์น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งผสมพันธุ์ชั้นดีสำหรับปรสิตและยุง ฉะนั้นจึงลดความเสี่ยงของการส่งผ่านระหว่างมนุษย์ได้ วิธีการนี้โดยทั่วไปใช้ในเขตเมืองซึ่งมีศูนย์ประชากรขนาดใหญ่ในพื้นที่จำกัดและมีแนวโน้มการส่งผ่านในพื้นที่เหล่านี้มาก<ref name="Mehlhorn 2008"/> การบำบัดป้องกันมีเว้นระยะ (intermittent preventive therapy) เป็นอีกการช่วยเหลือหนึ่งที่ใช้เพื่อควบคุมมาลาเรียในสตรีมีครรภ์และทารก<ref name="Bardají 2012"/> และเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งการส่งผ่านเป็นแบบตามฤดูกาลได้สำเร็จ<ref name="Meremikwu 2012"/>


โครงการควบคุมโรคที่มีตัวนำโรคแห่งชาติ (National Vector Borne Disease Control Programme) ของประเทศอินเดียกำหนดให้เดือนมิถุนายนเป็นเดือนต่อต้านมาลาเรีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่มความร่วมมือหลายภาคส่วนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมมาลาเรีย
โครงการควบคุมโรคที่มีตัวนำโรคแห่งชาติ (National Vector Borne Disease Control Programme) ของประเทศอินเดียกำหนดให้เดือนมิถุนายนเป็นเดือนต่อต้านมาลาเรีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่มความร่วมมือหลายภาคส่วนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมมาลาเรีย<ref name="pmid9914675">{{cite journal|last=Lal|first=S|coauthors=Phukan, PK; Sharma, SN; Dhillon, GP; Kaul, SM; Saxena, NB|title='Anti-malaria month'--a step forward in multisectoral collaboration and community involvement in malaria control.|journal=The Journal of communicable diseases|date=Jun 1998|volume=30|issue=2|pages=93–101|pmid=9914675}}</ref><ref>{{cite journal|title=Anti-Malaria month campaign: Operational guide|url=http://nvbdcp.gov.in/Doc/AMM-Preamble%20-100405.doc|publisher=National Vector Borne Disease Control Programme (NVBDCP)|accessdate=19 January 2014}}</ref>


=== ยารักษาโรค ===
=== ยารักษาโรค ===
มียาหลายชนิดที่สามารถช่วยป้องกันมาลาเรียขณะเดินทางไปยังถิ่นระบาดได้ ยาเหล่านี้ส่วนมากบางครั้งใช้ในการรักษาด้วย คลอโรควินอาจใช้ได้ในที่ซึ่งปรสิตยังไวต่อยา เนื่องจาก ''Plasmodium'' ส่วนใหญ่ดื้อต่อยารักษาโรคตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป จึงมักใช้ยาหนึ่งในสามชนิดนี้ เมโฟลควิน (ลาเรียม) [[ดอกซีไซคลีน]] หรือการรวมอะโตวาโควนและโพรกวานิลไฮโดรคลอไรด์ (มาลาโรน) ผู้ป่วยสามารถทนฤทธิ์ยาดอกซีไซคลินและการรวมอะโตวาโควนและโพรกวานิลได้ดีที่สุด เมโฟลควินสัมพันธ์กับการเสียชีวิต การฆ่าตัวตาย และอาการทางประสาทวิทยาและจิตเวช
มียาหลายชนิดที่สามารถช่วยป้องกันมาลาเรียขณะเดินทางไปยังถิ่นระบาดได้ ยาเหล่านี้ส่วนมากบางครั้งใช้ในการรักษาด้วย คลอโรควินอาจใช้ได้ในที่ซึ่งปรสิตยังไวต่อยา<ref name="Jacquerioz 2009"/> เนื่องจาก ''Plasmodium'' ส่วนใหญ่ดื้อต่อยารักษาโรคตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป จึงมักใช้ยาหนึ่งในสามชนิดนี้ เมโฟลควิน (ลาเรียม) [[ดอกซีไซคลีน]] หรือการรวมอะโตวาโควนและโพรกวานิลไฮโดรคลอไรด์ (มาลาโรน)<ref name="Jacquerioz 2009"/> ผู้ป่วยสามารถทนฤทธิ์ยาดอกซีไซคลินและการรวมอะโตวาโควนและโพรกวานิลได้ดีที่สุด เมโฟลควินสัมพันธ์กับการเสียชีวิต การฆ่าตัวตาย และอาการทางประสาทวิทยาและจิตเวช<ref name="Jacquerioz 2009"/>


ผลคุ้มครองยังไม่เริ่มทันที และผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ถิ่นระบาดของมาลาเรียปกติทานยาหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก่อนเดินทางไปและยังทานต่อไปสี่ถึงหกสัปดาห์หลังเดินทางกลับ (ยกเว้นอะโตวาโควน/โพรกวานิล ซึ่งต้องเริ่มสองวันก่อนเดินทางและทานต่อเนื่องเป็นเวลาเจ็ดวันจากนั้น) การใช้ยาคุ้มครองแทบไม่ได้ผลสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมาลาเรียอยู่แล้ว และปกติใช้เฉพาะในผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากราคายา ผลข้างเคียงจากการใช้ระยะยาว และความยากในการได้มาซึ่งยาต้านมาลาเรียในประเทศยากจน การใช้ยาคุ้มครองในที่ซึ่งมียุงที่เป็นตัวนำโรคมาลาเรียอาจส่งเสริมให้มีการพัฒนาการดื้อยาบางส่วน (partial resistance)
ผลคุ้มครองยังไม่เริ่มทันที และผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ถิ่นระบาดของมาลาเรียปกติทานยาหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก่อนเดินทางไปและยังทานต่อไปสี่ถึงหกสัปดาห์หลังเดินทางกลับ (ยกเว้นอะโตวาโควน/โพรกวานิล ซึ่งต้องเริ่มสองวันก่อนเดินทางและทานต่อเนื่องเป็นเวลาเจ็ดวันจากนั้น)<ref name="Freedman 2008"/> การใช้ยาคุ้มครองแทบไม่ได้ผลสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมาลาเรียอยู่แล้ว และปกติใช้เฉพาะในผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากราคายา ผลข้างเคียงจากการใช้ระยะยาว และความยากในการได้มาซึ่งยาต้านมาลาเรียในประเทศยากจน<ref name="Fernando 2011"/> การใช้ยาคุ้มครองในที่ซึ่งมียุงที่เป็นตัวนำโรคมาลาเรียอาจส่งเสริมให้มีการพัฒนาการดื้อยาบางส่วน (partial resistance)<ref name="Turschner 2009"/>


== การรักษา ==
== การรักษา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:44, 8 พฤษภาคม 2557

มาลาเรีย
(Malaria)
Plasmodium ในรูปที่เข้าสู่มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นจากน้ำลายของยุงเพศเมีย (สปอโรซอยท์) ตัดขวางกับไซโทพลาสซึมของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารส่วนกลางของยุง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B50-B54
ICD-9084
OMIM248310
DiseasesDB7728
MedlinePlus000621
eMedicinemed/1385 emerg/305 ped/1357
MeSHC03.752.250.552

มาลาเรีย (อังกฤษ: Malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ สาเหตุคือ ปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) โดยทั่วไป โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดจากยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) ที่มีเชื้ออยู่ โดยยุงจะนำเชื้อ Plasmodium จากน้ำลายเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของผู้ถูกกัด จากนั้นเชื้อในเลือดจะเดินทางไปยังตับเพื่อเจริญและสืบพันธุ์ โรคมาลาเรียก่อให้เกิดอาการทั่วไป ซึ่งรวมไข้และปวดศีรษะ ซึ่งในกรณีที่รุนแรงสามารถดำเนินไปเป็นโคม่าหรือเสียชีวิตได้

Plasmodium ห้าสปีชีส์สามารถติดต่อและส่งผ่านโดยมนุษย์ได้ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum และ P. vivax ขณะที่ P. ovale และ P. malariae ก่อให้เกิดโรคมาลาเรียแบบที่โดยทั่วไปรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งไม่ค่อยมีผู้เสียชีวิต สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดโรคมาลาเรียในลิงแม็กแคก แต่ก็สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงในมนุษย์ได้เช่นกัน โรคมาลาเรียพบมากในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเพราะปริมาณฝน อุณหภูมิอบอุ่นและน้ำนิ่งซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ที่ดีสำหรับตัวอ่อนของยุง การตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคมาลาเรียตามปกติ มีการพัฒนาเทคนิคสมัยใหม่ซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของ Plasmodium แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งโรคมาลาเรียเป็นโรคประจำถิ่นเนื่องจากมีราคาแพงและซับซ้อน

การส่งผ่านโรคสามารถลดได้ด้วยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แม้กำลังมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ในปัจจุบัน มียาหลายชนิดที่ใช้ป้องกันมาลาเรียในนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศซึ่งโรคมาลาเรียเป็นโรคประจำถิ่น นอกจากนี้มียาต้านมาลาเรียหลายชนิด โรคมาลาเรียรุนแรงรักษาด้วยการฉีดควินินเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ หรือ ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 2000 อาร์ทีซูเนต อนุพันธ์ของอาร์ตีมิซินิน ซึ่งให้ผลดีกว่าควินินทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และให้ร่วมกับยาต้านมาลาเรียตัวที่สอง เช่น เมโฟลควิน เชื้อมีการดื้อยาต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการเริ่มดื้อยาอาร์ทีมิซินินได้กลายมาเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

องค์การอนามัยโลกประเมินว่าในปี พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยโรคมาลาเรียที่มีการบันทึก 219 ล้านคน ในปีนั้น มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียระหว่าง 660,000 คน ถึง 1.2 ล้านคน[1] จำนวนมากเป็นเด็กในทวีปแอฟริกา จำนวนผู้เสียชีวิตแท้จริงนั้นไม่อาจทราบได้แน่ชัด เพราะไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดในพื้นที่ชนบทหลายแห่ง และไม่มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจำนวนมาก โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

อาการและอาการแสดง

อาการแสดงหลักของมาลาเรีย[2]

ปกติอาการและอาการแสดงของมาลาเรียจะเริ่มต้น 8–25 วันหลังการติดเชื้อ[2] อย่างไรก็ดี อาการอาจเกิดขึ้นหลังจากนี้ในผู้ที่ทานยาต้านมาลาเรียป้องกันไว้ก่อน[3] การแสดงเริ่มต้นของโรคเป็นอาการคล้ายหวัด[4] ซึ่งเหมือนกันในมาลาเรียทุกสปีชีส์ และสามารถเหมือนกับสภาพอื่น เช่น ภาวะเลือดเป็นพิษ กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ และโรคไวรัส[3] การแสดงอาการอาจรวมปวดศีรษะ เป็นไข้ สั่น ปวดในข้อ อาเจียน โลหิตจางเพราะเม็ดเลือดแดงแตก ดีซ่าน มีฮีโมโกลบินในปัสสาวะ จอตาเสียหายและการชัก[5]

อาการตรงต้นแบบของมาลาเรีย คือ อาการกำเริบ ซึ่งเป็นการเกิดการหนาวฉับพลัน ตามด้วยการสั่น และไข้และเหงื่อออกเป็นวัฏจักร แต่ละสปีชีส์มีความถี่ต่างกัน ในการติดเชื้อ P. vivax และ P. ovale อาการกำเริบทุกสองวัน P. malariae อาการกำเริบทุกสามวัน การติดเชื้อ P. falciparum สามารถเกิดไข้กลับทุก 36–48 ชั่วโมงหรือไข้แทบไม่สร่าง[6]

มาลาเรียรุนแรงปกติเกิดจาก P. falciparum อาการแสดงของมาลาเรียประเภทนี้เริ่มขึ้น 9–30 วันหลังการติดเชื้อ[4] บุคคลที่มีมาลาเรียขึ้นสมอง (cerebral malaria) มักแสดงอาการทางระบบประสาทบ่อยครั้ง ซึ่งรวมถึงท่าร่างผิดปกติ อาการตากระตุกแกว่ง อัมพาตเมื่อดูด้วยสองตา (ตาไม่สามารถกลอกไปในทิศทางเดียวกัน) อาการเกร็งหลังแอ่น ชักหรือโคม่า[4]

ภาวะแทรกซ้อน

โรคมาลาเรียมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนหนึ่งคือการพัฒนาการหายใจอึดอัก ซึ่งเกิดขึ้นมากถึง 25% ในผู้ใหญ่ และ 40% ในเด็กที่ป่วยด้วยมาลาเรียชนิด P. falciparum รุนแรง สาเหตุอาจเนื่องจากการชดเชยภาวะเลือดเป็นกรดเมตะบอลิกด้วยการหายใจ ปอดบวมน้ำที่ไม่ได้มีสาเหตุจากโรคหัวใจ ปอดบวมเกิดร่วม และโลหิตจางรุนแรง กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลันพบได้ 5–25% ของผู้ใหญ่ และมากถึง 29% ของสตรีมีครรภ์ ทว่าพบน้อยในเด็กเล็กที่ป่วยเป็นโรคมาลาเรียรุนแรง[7] การติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับมาลาเรียเพิ่มอัตราตาย[8] ภาวะไตล้มเหลวเป็นลักษณะของไข้น้ำดำ ซึ่งฮีโมโกลบินจากเม็ดเลือดแดงที่แตกรั่วออกสู่ปัสสาวะ[4]

การติดเชื้อ P. falciparum อาจส่งผลให้เกิดมาลาเรียขึ้นสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบของมาลาเรียรุนแรงที่มีโรคสมองร่วมด้วย ภาวะดังกล่าวสัมพันธ์กับจอตาขาว (retinal whitening) ซึ่งอาจเป็นอาการแสดงทางคลินิกที่มีประโยชน์ในการแยกมาลาเรียจากสาเหตุอื่นของไข้[9] นอกจากนี้ยังอาจเกิดม้ามโต ปวดศีรษะรุนแรง ตับโต น้ำตาลในเลือดต่ำ และมีฮีโมโกลบินในปัสสาวะร่วมกับไตล้มเหลวได้[4]

มาลาเรียในสตรีมีครรภ์เป็นสาเหตุสำคัญของการตายคลอด ทารกตายและมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ[10] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการติดเชื้อ P. falciparum แต่การติดเชื้อ P. vivax ก็พบได้[11]

สาเหตุ

ปรสิตมาลาเรียเป็นสิ่งมีชีวิตในสกุล Plasmodium (ไฟลัม Apicomplexa) P. falciparum, P. malariae, P. ovale, P. vivax และ P. knowlesi[12][13] เป็นสาเหตุของมาลาเรียในมนุษย์ ซึ่งในสปีชีส์เหล่านี้ P. falciparum เป็นสปีชีส์ที่พบมากที่สุด (~75%) รองลงมาคือ P. vivax (~20%)[3] แม้ว่าเดิม P. falciparum เป็นชนิดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด[14] แต่หลักฐานปัจจุบันเสนอว่า มาลาเรีย P. vivax สัมพันธ์กับสภาพที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้บ่อยครั้งเท่ากับการวินิจฉัยการติดเชื้อ P. falciparum[15] มาลาเรีย P. vivax พบนอกทวีปแอฟริกามากกว่าโดยสัดส่วน[16] มีการบันทึกการติดเชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมสปีชีส์ที่มาจากลิงไม่มีหางชั้นสูงในมนุษย์ อย่างไรก็ดี สปีชีส์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีความสำคัญทางสาธารณสุขน้อย[17] โดยยกเว้น P. knowlesi ซึ่งเป็นสปีชีส์รับจากสัตว์ที่ก่อโรคมาลาเรียในลิงแม็กแคก[13]

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตของปรสิตมาลาเรีย ยุงก่อให้เกิดการติดเชื้อโดยการดูดเลือด ขั้นแรก สปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือด และเดินทางไปยังตับ สปอโรซอยต์เหล่านี้เข้าไปติดเชื้อเซลล์ตับ ที่ซึ่งมีการเพิ่มจำนวนเป็นเมอโรซอยต์ ทำให้เซลล์ตับแตก และกลับเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้น เมอโรซอยต์ติดเชื้อเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่ซึ่งเจริญเป็นระยะวงแหวน (ring form) ซึ่งโทรโพซอยต์และชิซอนต์จะผลิตเมอโรซอยต์มากขึ้นอีก นอกจากนี้มีการผลิตแกมีโทไซต์เช่นกัน ซึ่งหากยุงได้รับระยะนี้เข้าไป จะไปติดเชื้อในตัวยุงและมีการเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป

ในวงจรชีวิตของ Plasmodium ยุงก้นปล่องเพศเมีย (ตัวถูกเบียนแท้) ส่งผ่านระยะติดต่อที่เคลื่อนที่ได้ (เรียก สปอโรซอยต์) มายังตัวถูกเบียนสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น มนุษย์ (ตัวถูกเบียนมัธยันตร์) ฉะนั้นยุงก้นปล่องจึงเป็นเสมือนตัวนำโรคแพร่เชื้อ สปอโรซอยต์เดินทางผ่านเส้นเลือดไปยังเซลล์ตับ ที่ซึ่งมันจะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (เรียกว่า tissue schizogony) ทำให้ได้เมอโรซอยต์นับหลายพันเซลล์ เมอโรซอยต์เหล่านี้เข้าไปติดเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่และเริ่มต้นวงจรการเพิ่มจำนวนแบบไม่อาศัยเพศ (เรียกว่า blood schizogony) ซึ่งทำให้ได้เมอโรซอยต์ที่สามารถติดเชื้อได้ใหม่ 8 ถึง 24 เซลล์ ในระยะนี้ เซลล์จะระเบิดและวงจรการติดเชื้อเริ่มต้นใหม่[18]

เมอโรซอยต์อื่นเจริญไปเป็นแกมีโตไซต์ที่ยังเจริญไม่เต็มที่ (immature gametocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงกัดมนุษย์ แกมีโตไซต์จะถูกดูดจากเลือดและไปเจริญในทางเดินอาหารของยุง แกมีโตไซต์เพศผู้และเพศเมียผสมกันและก่อเป็นโอโอไคนีต (ookinete) ซึ่งเป็นไซโกตที่ได้รับการผสมและเคลื่อนที่ได้ จากนั้นโอโอไคนีตเจริญไปเป็นสปอโรซอยต์ใหม่ที่จะเคลื่อนที่ไปยังต่อมน้ำลายของยุง และพร้อมที่จะติดเชื้อตัวถูกเบียนสัตว์มีกระดูกสันหลังใหม่ เมื่อยุงดูดเลือดอีก สปอโรซอยต์ในน้ำลายจะถูกฉีดเข้าสู่ผิวหนัง[19]

เฉพาะยุงเพศเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด ส่วนยุงเพศผู้กอนน้ำต้อยของพืชเป็นอาหาร ฉะนั้นจึงไม่ส่งต่อโรค ยุงก้นปล่องเพศเมียมักดูดเลือดในยามกลางคืน โดยปกติเริ่มค้นหาอาหารในช่วงเย็น และจะค้นหาต่อไปทั้งคืนจนกว่าจะได้ดูดเลือด[20] ปรสิตมาลาเรียยังสามารถส่งผ่านได้โดยการถ่ายเลือด แม้จะพบน้อยก็ตาม[21]

มาลาเรียกลับเป็นซ้ำ

อาการแสดงของมาลาเรียสามารถกลับเป็นซ้ำได้หลังจากช่วงที่ไม่มีอาการแสดงต่าง ๆ กัน การกลับเป็นซ้ำนี้สามารถจำแนกตามสาเหตุได้เป็นการกลับกำเริบ การเป็นโรคกลับหรือการติดเชื้อซ้ำ การกลับกำเริบคือ การที่กลับแสดงอาการอีกครั้งหลังช่วงที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งเกิดจากปรสิตที่ยังหลงเหลืออยู่ในเลือดซึ่งเป็นผลจากการรักษาที่ไม่เพียงพอหรือไม่มีประสิทธิภาพ[22] การเป็นโรคกลับคือการที่กลับแสดงอาการหลังปรสิตถูกกำจัดหมดไปจากเลือดแล้วแต่ยังคงอยู่เป็นฮิพโนซอยต์แฝงในเซลล์ตับ การเป็นโรคกลับมักเกิดระหว่าง 8–24 สัปดาห์และมักพบในการติดเชื้อ P. vivax และ P. ovale[3] ผู้ป่วยมาลาเรียชนิด P. vivax ในเขตอบอุ่นมักสัมพันธ์กับการที่ฮิพโนซอยต์มีชีวิตอยู่ในฤดูหนาว โดยการเป็นโรคกลับเริ่มต้นในปีถัดจากปีที่ถูกยุงกัด[23] การติดเชื้อซ้ำหมายถึงปรสิตที่ก่อการติดเชื้อครั้งก่อนได้ถูกกำจัดหมดไปจากร่างกายแล้ว แต่มีการได้รับปรสิตใหม่เข้ามา การติดเชื้อซ้ำไม่สามารถแยกจากการกลับกำเริบได้ทันที แม้ว่าการกลับติดเชื้อซ้ำภายในสองสัปดาห์ของการรักษาการติดเชื้อครั้งแรกมักมีสาเหตุจากความล้มเหลวในการรักษา[24] บุคคลอาจแสดงภูมิคุ้มกันระยะสั้น (premunity) ในกรณีการติดเชื้อซ้ำได้[25]

พยาธิกำเนิด

โรคมาลาเรียในมนุษย์มีสองระยะ ระยะหนึ่งอยู่นอกเม็ดเลือดแดง คืออยู่ในเซลล์ตับ อีกระยะหนึ่งอยู่ในเม็ดเลือดแดง เมื่อยุงที่ติดเชื้อมาลาเรียไปดูดเลือดจากมนุษย์ สปอโรซอยต์ในน้ำลายของยุงตัวนั้นจะเข้าไปสู่กระแสเลือด แล้วเชื้อจะเดินทางไปตับ เมื่อไปถึงแล้ว เชื้อจะเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับ และจะเพิ่มจำนวนแบบไม่อาศัยเพศโดยไม่แสดงอาการเป็นเวลา 8–30 วัน[26]

หลังระยะสงบอยู่ในตับ เชื้อมาลาเรียจะเปลี่ยนแปลงไปให้เมอโรซอยต์หลายพันเซลล์ เมื่อเซลล์ตัวถูกเบียนแตก เมอโรซอยต์เหล่านี้จะเล็ดรอดเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อเริ่มวงจรชีวิตระยะในเม็ดเลือดแดง[26] เชื้อนี้ออกจากตับโดยเอาเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ตับคลุมตัวเองไว้ ภูมิคุ้มกันจึงไม่สามารถตรวจจับได้[27]

ในเม็ดเลือดแดง เชื้อจะเพิ่มจำนวนแบบไม่อาศัยเพศอีกครั้ง เมื่อได้จำนวนมากถึงระดับหนึ่งก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกออก และเชื้อจำนวนมากก็จะถูกแพร่เข้าสู่กระแสเลือดไปสู่เม็ดเลือดแดงใหม่ต่อไป แต่ละครั้งที่เม็ดเลือดแดงแตกออกและมีเชื้อจำนวนมากเข้าสู่กระแสเลือดพร้อมกัน ผู้ป่วยจะมีไข้เป็นระยะ[26] ซึ่งช่วงของการเกิดไข้จะเป็นไปแล้วแต่ชนิดของเชื้อ การมีไข้จับเป็นระยะนี้เอง ที่เรียกว่า "จับไข้"

สปอโรซอยต์ P. vivax บางตัวไม่เจริญไปเป็นเมอโรซอตยต์ระยะนอกเม็ดเลือดแดงทันที แต่จะผลิตฮิปโนซอยต์ (hypnozoite) ซึ่งสงบอยู่ระยะหนึ่งตั้งแต่หลายเดือน (ปกติ 7–10 เดือน) ถึงหลายปี หลังระยะสงบอยู่ ฮิปโนซอยต์จะกลับมาพัฒนาไปเป็นเมอโรซอนต์อีก ฮิปโนซอยต์เป็นสาเหตุที่การติดเชื้อ P. vivax มีระยะฟักนานและการเป็นโรคกลับภายหลัง[23] ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า P. ovale มีระยะฮิปโนซอยต์ด้วยหรือไม่ [28]

ปรสิตมาลาเรียแทบไม่ถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัด เพราะวงจรชีวิตในมนุษย์ส่วนใหญ่อยู่ในเซลล์ตับและเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจไม่พบ อย่างไรก็ดี เซลล์เม็ดเลือดที่ติดเชื้อจะถูกกรองและทำลายทิ้งที่ม้าม ซึ่งเป็นการทำลายเชื้อได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี เชื้อ P. falciparum มีวิธีหลบหลีกจากกระบวนการของร่างกายดังกล่าวโดยปรสิตจะมีการสร้างโปรตีนยึดเกาะบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อไปติดอยู่กับผนังหลอดเลือดขนาดเล็ก ซึ่งทำให้เม็ดเลือดติดเชื้อนั้นไม่ถูกกำจัดที่ม้าม การอุดกั้นหลอดเลือดขนาดเล็กก่อให้เกิดอาการ เช่น ในมาลาเรียรก (placental malaria)[29] เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดผนังหลอดเลือดขนาดเล็กนี้สามารถเจาะผ่าน blood–brain barrier และทำให้เกิดมาลาเรียขึ้นสมอง (cerebral malaria) ได้[30]

แม้ว่าโปรตีนยึดเกาะนี้ (PfEMP1 ย่อมาจาก Plasmodium falciparum erythrocyte membrane protein 1) จะถูกนำไปแทรกไว้ที่ผิวเม็ดเลือดแดงก็ตาม โปรตีนนี้ไม่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีนัก เนื่องจากโปรตีนนี้มีความหลากหลายมาก ลักษณะนี้อาจเปรียบเทียบได้กับคนร้ายปลอมตัวที่เมื่อถูกจับได้ครั้งหนึ่งก็เปลี่ยนหน้ากากเป็นอีกแบบหนึ่ง จึงทำให้ไม่ถูกตรวจจับได้โดยง่าย

เมอโรซอยต์บางตัวจะกลายเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย (gametocyte) หากยุงมากัดคนที่ติดเชื้อและดูดเอาเลือดที่มีเม็ดเลือดที่ติดเชื้อมาลาเรียในระยะ gametocyte นี้ไป เซลล์เพศผู้และเพศเมียจะผสมพันธุ์กันในทางเดินอาหารของยุง (เนื่องจากการที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศในยุงนี้เอง จึงทำให้ถือว่ายุงเป็น definitive host ของเชื้อมาลาเรีย) เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะทำให้ได้สปอโรซอยต์ใหม่เดินทางไปอยู่ในต่อมน้ำลายของยุง และเมื่อยุงไปกัดคนอื่นต่อไป ก็จะนำเชื้อมาลาเรียระยะสปอโรซอยต์ไปติดคนใหม่

ความต้านทานทางพันธุกรรม

ตามการทบทวนในปี 2548 โรคมาลาเรียได้สร้างความกดดันการคัดเลือกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อจีโนมมนุษย์ในประวัติศาสตร์ล่าสุด เนื่องจากระดับอัตราตายและอัตราการเกิดโรคจากมาลาเรียสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด P. falciparum ปัจจัยทางพันธุกรรมหลายอย่างให้ความต้านทานมาลาเรียบ้าง เช่น ลักษณะเซลล์รูปเคียว ลักษณะธาลัสซีเมีย ภาวะพร่องกลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส และการขาดแอนติเจนดัฟฟีบนเม็ดเลือดแดง[31][32]

ผลกระทบของลักษณะเซลล์รูปเคียวต่อภูมิคุ้มกันมาลาเรียแสดงถึงการแลกเปลี่ยนทางวิวัฒนาการซึ่งเกิดขึ้นเพราะมาลาเรียประจำถิ่น ลักษณะเซลล์รูปเคียวก่อให้เกิดความบกพร่องในโมเลกุลฮีโมโกลบินในเลือด โมเลกุลเอสที่เปลี่ยนแปลงของฮีโมโกลบินทำให้เซลล์กลายเป็นรูปเคียวหรือบิดเบี้ยวเป็นทรงโค้ง ขณะที่เม็ดเลือดแดงปกติจะคงทรงเว้าเข้าหากัน เนื่องจากทรงรูปเคียว เม็ดเลือดแดงจึงมีประสิทธิภาพรับหรือปล่อยออกซิเจนด้อยกว่าปกติ การติดเชื้อมาลาเรียทำให้เม็ดเลือดแดงเป็นทรงเคี้ยวยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงถูกขจัดออกจากระบบไหลเวียนโลหิตเร็วขึ้น จึงเป็นการลดความถี่ซึ่งปรสิตมาลาเรียจะครบวงจรชีวิตในเซลล์ บุคคลที่เป็นฮอโมไซกัส (คือ มีแอลลีลฮีโมโกลบินบีตาที่ผิดปกติสองแอลลีล) จะเป็นโลหิตจางเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ขณะที่ผู้ที่เป็นเฮเทอโรไซกัส (คือ มีแอลลีลปกติและผิดปกติอย่างละหนึ่ง) จะมีความต้านทานต่อมาลาเรีย แม้ว่าความคาดหมายการคงชีพของผู้มีสภาพฮอโมไซกัสจะไม่ดำรงความอยู่รอดของลักษณะดังกล่าว แต่ลักษณะนี้ยังสืบทอดมาเพราะประโยชน์จากแบบเฮเทอโรไซกัส[32][33]

การทำหน้าที่ผิดปรกติของตับ

การทำหน้าที่ผิดปรกติของตับอันเป็นผลจากมาลาเรียนั้นพบไม่บ่อยและโดยปกติเกิดเฉพาะในผู้ที่มีภาวะของตับอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น ตับอักเสบจากไวรัสหรือโรคตับเรื้อรัง กลุ่มอาการดังกล่าวบางครั้งเรียก ตับอักเสบมาลาเรีย (malarial hepatitis) แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้อย แต่พบโรคตับมาลาเรียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ความไวของตับในผู้ป่วยมาลาเรียสัมพันธ์กับโอกาสมีภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตมากขึ้น[34]

การวินิจฉัย

ฟิล์มเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐานของการวินิจฉัยมาลาเรีย
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงระยะวงแหวนและเซลล์สืบพันธุ์ของ Plasmodium falciparum ในเลือดมนุษย์

เนื่องจากมาลาเรียแสดงอาการไม่จำเพาะ การวินิจฉัยมาลาเรียนอกพื้นที่ประจำถิ่นต้องมีความสงสัยระดับสูง ซึ่งอาจค้นหาได้จากต่อไปนี้ ประวัติเดินทางล่าสุด ม้ามโต มีไข้ เกล็ดเลือดในเลือดต่ำ และมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงกว่าปกติร่วมกับระดับเม็ดเลือดขาวปกติ[3]

มักยืนยันมาลาเรียด้วยการตรวจฟิล์มเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือด้วยการทดสอบวินิจฉัยรวดเร็ว (RDT) โดยใช้แอนติเจน[35][36] จุลทรรศนศาสตร์เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดเพื่อตรวจจับปรสิตมาลาเรีย โดยในปี 2553 มีการตรวจฟิล์มเลือดเพื่อหามาลาเรียราว 165 ล้านฟิล์ม[37] แม้ว่าจะมีการใช้แพร่หลาย การวินิจฉัยด้วยจุลทรรศนศาสตร์มีข้อเสียหลักสองประการ คือ หลายสถานที่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท) ไม่มีเครื่องมือเพียงพอที่จะดำเนินการทดสอบ และความแม่นของผลขึ้นอยู่กับทั้งทักษะของผู้ตรวจฟิล์มเลือดและระดับปรสิตในเลือด ความไวของฟิล์มเลือดมีพิสัยตั้งแต่ 75–90% ในสภาพเหมาะที่สุด ไปจนถึง 50% ชุดน้ำยาตรวจอย่างรวดเร็วที่มีขายเชิงพาณิชย์มักทำนายการมีปรสิตมาลาเรียได้แม่นกว่าฟิล์มเลือด แต่ชุดน้ำยาตรวจดังกล่าวมีความไวและความจำเพาะวินิจฉัยแปรผันขึ้นอยู่กับผู้ผลิต และไม่สามารถบอกได้ว่ามีปรสิตมากเท่าใด[37]

ในท้องที่ที่การทดสอบทางห้องปฏิบัติการมีพร้อมแล้ว ควรมีการสงสัยหรือทดสอบหามาลาเรียในผู้ป่วยทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีมาลาเรียประจำถิ่น ในพื้นที่ซึ่งไม่สามารถจ่ายการทสอบวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ การใช้เพียงประวัติไข้เพื่อเป็นการบ่งชี้การรักษามาลาเรียกลายเป็นปกติ ซึ่งเป็นคำสอนปกติ "ไข้เท่ากับมาลาเรียเว้นแต่พิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น" ข้อเสียของการปฏิบัตินี้คือ การวินิจฉัยมาลาเรียเกินความเป็นจริงและการจัดการกับไข้ที่ไม่ได้สาเหตุจากมาลาเรียอย่างผิด ๆ ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรอันจำกัด บั่นทอนความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขและส่งเสริมการดื้อยา[38] แม้จะมีการพัฒนาการทดสอบที่ใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสขึ้น แต่ในปี 2555 การทดสอบดังกล่าวยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งพบมาลาเรียเป็นปกติ เนื่องจากเป็นวิธีที่ซับซ้อน[3]

การจำแนก

องค์การอนามัยโลกจำแนกมาลาเรียเป็น "มีอาการรุนแรง" หรือ "ไม่มีอาการแทรกซ้อน"[3] หากเข้าข่ายเกณฑ์ด้านล่างนี้แม้แต่ข้อหนึ่งให้เป็นมาลาเรียที่มีอาการรุนแรง มิฉะนั้นให้ถือเป็นมาลาเรียที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน[39]

มาลาเรียขึ้นสมองนิยามว่าเป็นมาลาเรียชนิด P. falciparum ที่มีอาการรุนแรงซึ่งแสดงด้วยอาการทางประสาทวิทยา รวมถึงโคม่า (โดยมีแบบประเมินความรู้สึกตัวของกลาสโกวน้อยกว่า 11 หรือแบบประเมินความรู้สึกตัวแบลนไทร์มากกว่า 3) หรือโคม่าที่กินเวลานานกว่า 30 นาทีหลังชัก[40]

การป้องกัน

วิธีซึ่งใช้ป้องกันมาลาเรีย ได้แก่ ยากรักษาโรค การกำจัดยุงและการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ไม่มีวัคซีนมาลาเรีย มาลาเรียจะมีในพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรมนุษย์สูง มีความหนาแน่นของประชากรยุงก้นปล่องสูงและอัตราการส่งผ่านจากมนุษย์สู่ยุงและจากยุงสู่มนุษย์สูง หากปัจจัยข้อหนึ่งข้อใดลดลงมากพอ ปรสิตมาลาเรียจะหายไปจากพื้นที่นั้นในที่สุด ดังที่เกิดขึ้นแล้วในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรปและตะวันออกกลางบาส่วน ทว่า แม้ว่าปรสิตมาลาเรียจะถูกกำจัดหมดไปจากโลกแล้ว ปรสิตก็อาจกลับมาหากสภาวะต่าง ๆ กลับเอื้ออำนวยต่อการสืบพันธุ์ของปรสิตอีก ยิ่งไปกว่านั้น ราคาต่อคนของการกำจัดยุงก้นปล่องเพิ่มขึ้นเมื่อความหนาแน่นของประชากรลดลง ทำให้วิธีดังกล่าวไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่[41]

การป้องกันมาลาเรียอาจคุ้มค่ากว่าการรักษาโรคในระยะยาว แต่ประชากรยากจนที่สุดของโลกไม่สามารถจ่ายราคาเริ่มต้นได้ ราคาการควบคุม (ให้ความประจำถิ่นต่ำ) และโครงการกำจัดในแต่ละประเทศมีผลต่างกว้าง ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลในปี 2553 ประกาศยุทธศาสตร์ในการกำจัดมาลาเรียในจีน การลงทุนที่กำหนดเป็นสัดส่วนน้อยของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุข ในทางตรงข้าม โครงการคล้ายกันในประเทศแทนซาเนียจะมีมูลค่าประเมินไว้หนึ่งในห้าของงบประมาณสาธารณสุข[42]

การควบคุมตัวนำโรค

การควบคุมตัวนำโรค หมายถึง วิธีซึ่งใช้ลดมาลาเรียด้วยการลดระดับการส่งผ่านโดยยุง สำหรับการป้องกันส่วนบุคคล สารขับไล่แมลงอันทรงประสิทธิภาพที่สุดอาศัยดีอีอีทีหรือพิคาริดิน[43] มีการแสดงแล้วว่า มุ้งชุบยาฆ่าแมลงและการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง (indoor residual spraying) มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันมาลาเรียในเด็กในพื้นที่ซึ่งพบมาลาเรียทั่วไป[44][45] การรักษาผู้ป่วยยืนยันแล้วอย่างทันท่วงทีด้วยการรักษาแบบผสมที่อาศัยอาร์ติมิซินินยังอาจลดการส่งผ่านได้[46]

มุ้งช่วยกันยุงจากมนุษย์และลดอัตราการติดเชื้อและส่งผ่านมาลาเรีย มักชุบมุ้งด้วยยาฆ่าแมลงซึ่งออกแบบมาเพื่อฆ่ายุงก่อนยุงหาทางผ่านมุ้งได้ มีการประเมินว่ามุ้งชุบยาฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของมุ้งที่ไม่ได้ชุบยาและให้การป้องกันดีกว่าการไม่ใช้มุ้ง 70%[47] ระหว่างปี 2543 ถึง 2551 มุ้งชุบยาฆ่าแมลงช่วยชีวิตทารก 250,000 คนโดยประมาณในแอฟริกาใต้สะฮารา[48] ครัวเรือนราว 13% ในประเทศใต้สะฮารามีมุ้งชุบยาฆ่าแมลง[49] ในปี 2543 มุ้งป้องกันเด็กแอฟริกา 1.7 ล้านคน (1.8%) ที่อาศัยอยู่ในสภาวะมาลาเรียประจำถิ่นคงตัว จำนวนเด็กแอฟริกาที่ใช้มุ้งชุบยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็น 20.3 ล้านคน (18.5%) ในปี 2550 ทว่าอีก 89.6 ล้านคนยังไม่ได้รับการป้องกัน[50] ในปี 2551 มีการประเมินว่าครัวเรือนแอฟริกา 31% มีมุ้งชุบยาฆ่าแมลงอย่างน้อยหนึ่งหลัง มุ้งส่วนมากถูกชุบด้วยไพรีทรอยด์ ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดมีพิษต่ำ การใช้ที่แนะนำคือให้แขวนมุ้งไว้เหนือกลางเตียงให้แขวนอยู่เหนือเตียงทั้งหมดโดยพับขอบเข้า มุ้งชุบไพรีทรอยต์และมุ้งชุบยาฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์นานให้การป้องกันอย่างดีที่สุด และมีประสิทธิถาะมากที่สุดเมื่อใช้ตั้งแต่เย็นถึงเช้า[51]

การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างเป็นการพ่นยาฆ่าแมลงบนผนังภายในบ้าน หลังดูดเลือดแล้ว ยุงจำนวนมากจะพักบนพื้นผิวใกล้เคียงขณะย่อย ฉะนั้นหากฉาบผนังบ้านด้วยยาฆ่าแมลง ยุงที่พักอยู่จะตายก่อนที่จะทันได้กัดคนอื่นและส่งผ่านปรสิตมาลาเรีย[52] ในปี 2549 องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาฆ่าแมลง 12 ชนิดในการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง รวมถึงดีดีทีและไซฟลูทรินและเดลตาเมทรินในกลุ่มไพรีทรอยด์[53] อนุสัญญาสตอกโฮล์มอนุญาตให้ใช้ดีดีทีปริมาณน้อยในทางสาธารณสุข แต่ห้ามการใช้ในทางการเกษตร[54] ปัญหาหนึ่งของการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างทุกรูปแบบ คือ การดื้อยาฆ่าแมลง ยุงที่ได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างมีแนวโน้มพักและอาศัยอยู่ในอาคาร และเนื่องจากการระคายเคืองอันเกิดจากการฉีดพ่น ลูกหลานของมันมีแนวโน้มจะพักและอาศัยอยู่นอกอาคารมากกว่า หมายความว่า พวกมันจะได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างน้อยกว่า[55]

มีวิธีอื่นอีกหลายวิธีในการลดยุงกัดและชะลอการระบาดของมาลาเรีย ความพยายามลดลูกน้ำโดยลดการเข้าถึงแหล่งน้ำเปิดซึ่งเป็นที่เจริญของยุงหรือโดยการเพิ่มสารเพื่อลดการเจริญของยุงนั้นมีประสิทธิภาพในบางที่[56] ไม่มีหลักฐานสนับสนุนอุปกรณ์ขับไล่ยุงอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสร้างเสียงความถี่สูงมากซึ่งน่าจะช่วยไล่ยุงเพศเมีย[57]

วิธีการอื่น

มีการใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนและยุทธศาสตร์สุขศึกษาซึ่งเสริมสร้างความตระหนักมาลาเรียและความสำคัญของมาตรการควบคุมเพื่อลดอุบัติการณ์ของมาลาเรียในโลกกำลังพัฒนาบางพื้นที่อย่างได้ผล[58] การรับรู้โรคในระยะต้น ๆ สามารถหยุดไม่ให้โรคถึงตายได้ การศึกษายังสามารถแจ้งประชาชนให้ปิดบริเวณน้ำนิ่ง เช่น แทงก์น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งผสมพันธุ์ชั้นดีสำหรับปรสิตและยุง ฉะนั้นจึงลดความเสี่ยงของการส่งผ่านระหว่างมนุษย์ได้ วิธีการนี้โดยทั่วไปใช้ในเขตเมืองซึ่งมีศูนย์ประชากรขนาดใหญ่ในพื้นที่จำกัดและมีแนวโน้มการส่งผ่านในพื้นที่เหล่านี้มาก[59] การบำบัดป้องกันมีเว้นระยะ (intermittent preventive therapy) เป็นอีกการช่วยเหลือหนึ่งที่ใช้เพื่อควบคุมมาลาเรียในสตรีมีครรภ์และทารก[60] และเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งการส่งผ่านเป็นแบบตามฤดูกาลได้สำเร็จ[61]

โครงการควบคุมโรคที่มีตัวนำโรคแห่งชาติ (National Vector Borne Disease Control Programme) ของประเทศอินเดียกำหนดให้เดือนมิถุนายนเป็นเดือนต่อต้านมาลาเรีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่มความร่วมมือหลายภาคส่วนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมมาลาเรีย[62][63]

ยารักษาโรค

มียาหลายชนิดที่สามารถช่วยป้องกันมาลาเรียขณะเดินทางไปยังถิ่นระบาดได้ ยาเหล่านี้ส่วนมากบางครั้งใช้ในการรักษาด้วย คลอโรควินอาจใช้ได้ในที่ซึ่งปรสิตยังไวต่อยา[64] เนื่องจาก Plasmodium ส่วนใหญ่ดื้อต่อยารักษาโรคตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป จึงมักใช้ยาหนึ่งในสามชนิดนี้ เมโฟลควิน (ลาเรียม) ดอกซีไซคลีน หรือการรวมอะโตวาโควนและโพรกวานิลไฮโดรคลอไรด์ (มาลาโรน)[64] ผู้ป่วยสามารถทนฤทธิ์ยาดอกซีไซคลินและการรวมอะโตวาโควนและโพรกวานิลได้ดีที่สุด เมโฟลควินสัมพันธ์กับการเสียชีวิต การฆ่าตัวตาย และอาการทางประสาทวิทยาและจิตเวช[64]

ผลคุ้มครองยังไม่เริ่มทันที และผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ถิ่นระบาดของมาลาเรียปกติทานยาหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก่อนเดินทางไปและยังทานต่อไปสี่ถึงหกสัปดาห์หลังเดินทางกลับ (ยกเว้นอะโตวาโควน/โพรกวานิล ซึ่งต้องเริ่มสองวันก่อนเดินทางและทานต่อเนื่องเป็นเวลาเจ็ดวันจากนั้น)[65] การใช้ยาคุ้มครองแทบไม่ได้ผลสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมาลาเรียอยู่แล้ว และปกติใช้เฉพาะในผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากราคายา ผลข้างเคียงจากการใช้ระยะยาว และความยากในการได้มาซึ่งยาต้านมาลาเรียในประเทศยากจน[66] การใช้ยาคุ้มครองในที่ซึ่งมียุงที่เป็นตัวนำโรคมาลาเรียอาจส่งเสริมให้มีการพัฒนาการดื้อยาบางส่วน (partial resistance)[67]

การรักษา

มาลาเรียเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ยารักษามาลาเรียชนิดแรกทำจากเปลือกของต้นซิงโคนา และเรียกชื่อว่า ควินิน ตัวยายับยั้งการแบ่งตัวของปรสิต ส่วนยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาที่มีใช้อยู่มีดังนี้คือ

  1. Chloroquine
  2. Mefloquine
  3. Doxycycline
  4. Proguanil

ประเทศแซมเบียใช้ยารักษามาลาเรียที่ทำจากสมุนไพรชื่ออาดเทค ยาอาร์ทีมิซินินมีประสิทธิภาพเทียบเท่าควินิน แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า[68]

ยาอาร์ทีมิซินินมีประสิทธิภาพเทียบเท่าควินิน แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า นับเป็นยารักษามาลาเรียชนิดสุดท้ายที่มีอยู่ เพราะปรสิตได้พัฒนาจนดื้อยาทุกตัวที่ใช้รักษา รวมทั้งควินินด้วย จึงมีการนำอนุพันธ์ของยาอาร์ทีมิซินินไปให้ร่วมกับยาอื่น เพื่อลดโอกาสในการดื้อยาอาร์ทีมิซินินของปรสิต กลายเป็นยาชุดต้านมาลาเรียเอซีที (ACT: artemisinin-based combination therapy)

ระบาดวิทยา

การติดต่อสู่คนโดยการถูกยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด ยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะของมาลาเรียที่สำคัญ ในเมืองไทย มีสองชนิด คือ

  1. Anopheles Dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมาก ๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้ เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นในประเทศไทย
  2. Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใส ไหลเอื่อย ๆ

พ.ศ. 2550 นี้ มีการประเมินว่าจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียกว่า 500 ล้านคน โดยจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้อย่างน้อยหนึ่งล้านคน[68]

แหล่งระบาดของมาลาเรียในประเทศไทยอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร อันเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง จังหวัดที่พบผู้ป่วยมาลาเรียส่วนใหญ่ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก ตราด ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และชุมพร

ประวัติ

ตามหลักฐานการบันทึกได้มีการรายงานว่า การติดเชื้อโรคมาลาเรียในประชากรมนุษย์นั้น มีมานานกว่า 50,000 ปีแล้ว และเชื้อดังกล่าวอาจเป็นเชื้อก่อโรคในมนุษย์ที่มีการกำเนิดมาพร้อมกับการมีมนุษย์บนโลกก็เป็นได้[69] พบว่าเชื้อที่มีความใกล้เคียงกับมาลาเรียสามารถเป็นปรสิตในลิงชิมแปนซีซึ่งมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มาก[70] ในช่วงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การติดเชื้อมาลาเรียได้มีการถูกบันทึกไว้อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ในประเทศจีนเมื่อ 2700 ปีก่อนคริสตกาล[71] คำว่ามาลาเรียมีที่มาจากภาษาอิตาลีโบราณคำว่า mala aria ซึ่งแปลว่า อากาศที่ไม่ดี

การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ก่อเกิดความก้าวหน้าที่มีสำคัญต่อองค์ความรู้เรื่องโรคมาลาเรียในปี พ.ศ. 2423 เมื่อแพทย์ทหารชาวฝรั่งเศสที่ทำงานในประเทศอัลจีเรียชื่อ Charles Louis Alphonse Laveran ได้สังเกตเห็นปรสิตในเม็ดเลือดแดงของคนที่ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จึงเสนอแนวคิดว่าสาเหตุก่อโรคมาลาเรียคือเชื้อโปรโตซัว ซึ่งการตั้งสมมุติฐานนี้เป็นครั้งแรกที่มีการระบุว่าเชื้อโปรโตซัวเป็นสาเหตุของโรค[72] จากการค้นพบครั้งนี้และงานอื่นๆ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี พ.ศ. 2450 เชื้อโปรโตซัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Plasmodium (พลาสโมเดียม) โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Ettore Marchiafava และ Angelo Celli[73] ในปีต่อมา แพทย์ชาวคิวบาชื่อ Carlos Finley ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยโรคไข้เหลืองในฮาวานาได้เสนอว่ามาลาเรียสามารถติดต่อได้โดยมียุงเป็นพาหะ อย่างไรก็ดี แพทย์ชาวอังกฤษชื่อ Sir Ronald Ross ที่ทำงานอยู่ในประเทศอินเดียได้พิสูจน์ในปี พ.ศ. 2441 ว่าเชื้อมาลาเรียติดต่อผ่านทางยุงได้จริง เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่ายุงชนิดหนึ่งได้นำเชื้อโรคนี้ติดต่อไปยังนก และสามารถสกัดปรสิตมาลาเรียจากต่อมน้ำลายของยุงที่ไปกัดนกที่ติดเชื้อตัวนั้นได้[74] จากการวิจัยนี้ทำให้ Ross ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี พ.ศ. 2445 หลังจากลาออกจากการปฏิบัติงานทางการแพทย์ในประเทศอินเดีย Ross ได้เข้าทำงานใน Liverpool School of Tropical Medicine ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ และมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคมาลาเรียในประเทศอียิปต์ ปานามา กรีซ และ มอริเชียส[75] การค้นพบของ Finlay และ Ross ได้รับการยืนยันในเวลาต่อมาโดย medical board นำโดย Walter Reed ในปี พ.ศ. 2443 และได้รับการนำไปใช้ William C. Gorgas ในหน่วยงานสาธารณสุขระหว่างการก่อสร้างคลองปานามา การปฏิบัติงานทางสาธารณสุขนี้ได้ช่วยชีวิตคนงานนับพันและได้เริ่มสร้างวิธีการในการต่อสู้กับโรคมาลาเรียในปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. Nayyar GML, Breman JG, Newton PN, Herrington J (2012). "Poor-quality antimalarial drugs in southeast Asia and sub-Saharan Africa". Lancet Infectious Diseases. 12 (6): 488–96. doi:10.1016/S1473-3099(12)70064-6. PMID 22632187.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Fairhurst RM, Wellems TE (2010). "Chapter 275. Plasmodium species (malaria)". ใน Mandell GL, Bennett JE, Dolin R (eds) (บ.ก.). Mandell, Douglas, and Bennett's Principles and Practice of Infectious Diseases. Vol. 2 (7th ed.). Philadelphia, Pennsylvania: Churchill Livingstone/Elsevier. pp. 3437–3462. ISBN 978-0-443-06839-3. {{cite book}}: |editor-last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Nadjm B, Behrens RH (2012). "Malaria: An update for physicians". Infectious Disease Clinics of North America. 26 (2): 243–59. doi:10.1016/j.idc.2012.03.010. PMID 22632637.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Bartoloni A, Zammarchi L (2012). "Clinical aspects of uncomplicated and severe malaria". Mediterranean Journal of Hematology and Infectious Diseases. 4 (1): e2012026. doi:10.4084/MJHID.2012.026. PMC 3375727. PMID 22708041. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  5. Beare NA, Taylor TE, Harding SP, Lewallen S, Molyneux ME (2006). "Malarial retinopathy: A newly established diagnostic sign in severe malaria". American Journal of Tropical Medicine and Hygiene. 75 (5): 790–7. PMC 2367432. PMID 17123967.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  6. Ferri FF (2009). "Chapter 332. Protozoal infections". Ferri's Color Atlas and Text of Clinical Medicine. Elsevier Health Sciences. p. 1159. ISBN 978-1-4160-4919-7.
  7. Taylor WR, Hanson J, Turner GD, White NJ, Dondorp AM (2012). "Respiratory manifestations of malaria". Chest. 142 (2): 492–505. doi:10.1378/chest.11-2655. PMID 22871759.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  8. Korenromp E, Williams B, de Vlas S, Gouws E, Gilks C, Ghys P, Nahlen B (2005). "Malaria attributable to the HIV-1 epidemic, sub-Saharan Africa". Emerging Infectious Diseases. 11 (9): 1410–9. doi:10.3201/eid1109.050337. PMC 3310631. PMID 16229771.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  9. Beare NA, Lewallen S, Taylor TE, Molyneux ME (2011). "Redefining cerebral malaria by including malaria retinopathy". Future Microbiology. 6 (3): 349–55. doi:10.2217/fmb.11.3. PMC 3139111. PMID 21449844.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  10. Hartman TK, Rogerson SJ, Fischer PR (2010). "The impact of maternal malaria on newborns". Annals of Tropical Paediatrics. 30 (4): 271–82. doi:10.1179/146532810X12858955921032. PMID 21118620.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Rijken MJ, McGready R, Boel ME, Poespoprodjo R, Singh N, Syafruddin D, Rogerson S, Nosten F (2012). "Malaria in pregnancy in the Asia-Pacific region". Lancet Infectious Diseases. 12 (1): 75–88. doi:10.1016/S1473-3099(11)70315-2. PMID 22192132.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Mueller I, Zimmerman PA, Reeder JC (2007). "Plasmodium malariae and Plasmodium ovale—the "bashful" malaria parasites". Trends in Parasitology. 23 (6): 278–83. doi:10.1016/j.pt.2007.04.009. PMC 3728836. PMID 17459775.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 Collins WE (2012). "Plasmodium knowlesi: A malaria parasite of monkeys and humans". Annual Review of Entomology. 57: 107–21. doi:10.1146/annurev-ento-121510-133540. PMID 22149265.
  14. Sarkar PK, Ahluwalia G, Vijayan VK, Talwar A (2009). "Critical care aspects of malaria". Journal of Intensive Care Medicine. 25 (2): 93–103. doi:10.1177/0885066609356052. PMID 20018606.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Baird JK (2013). "Evidence and implications of mortality associated with acute Plasmodium vivax malaria". Clinical Microbiology Reviews. 26 (1): 36–57. doi:10.1128/CMR.00074-12. PMC 3553673. PMID 23297258.
  16. Arnott A, Barry AE, Reeder JC (2012). "Understanding the population genetics of Plasmodium vivax is essential for malaria control and elimination". Malaria Journal. 11: 14. doi:10.1186/1475-2875-11-14. PMC 3298510. PMID 22233585.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  17. Collins WE, Barnwell JW (2009). "Plasmodium knowlesi: finally being recognized". Journal of Infectious Diseases. 199 (8): 1107–8. doi:10.1086/597415. PMID 19284287. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  18. Schlagenhauf-Lawlor 2008, pp. 70–1
  19. Cowman AF, Berry D, Baum J (2012). "The cellular and molecular basis for malaria parasite invasion of the human red blood cell". Journal of Cell Biology. 198 (6): 961–71. doi:10.1083/jcb.201206112. PMC 3444787. PMID 22986493.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  20. Arrow KJ, Panosian C, Gelband H, Institute of Medicine (U.S.). Committee on the Economics of Antimalarial Drugs (2004). Saving Lives, Buying Time: Economics of Malaria Drugs in an Age of Resistance. National Academies Press. p. 141. ISBN 978-0-309-09218-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Owusu-Ofori AK, Parry C, Bates I (2010). "Transfusion-transmitted malaria in countries where malaria is endemic: A review of the literature from sub-Saharan Africa". Clinical Infectious Diseases. 51 (10): 1192–8. doi:10.1086/656806. PMID 20929356.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  22. WHO 2010, p. vi
  23. 23.0 23.1 White NJ (2011). "Determinants of relapse periodicity in Plasmodium vivax malaria". Malaria Journal. 10: 297. doi:10.1186/1475-2875-10-297. PMC 3228849. PMID 21989376. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  24. WHO 2010, p. 17
  25. Maegraith, BG (1973). "Tropical Pathology". Spezielle pathologische Anatomie. 8: 319–349. doi:10.1007/978-3-662-00226-1_11. ISBN 978-3-662-00228-5. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); |chapter= ถูกละเว้น (help)
  26. 26.0 26.1 26.2 Bledsoe GH (2005). "Malaria primer for clinicians in the United States". Southern Medical Journal. 98 (12): 1197–204, quiz 1205, 1230. doi:10.1097/01.smj.0000189904.50838.eb. PMID 16440920.
  27. Vaughan AM, Aly AS, Kappe SH (2008). "Malaria parasite pre-erythrocytic stage infection: Gliding and hiding". Cell Host & Microbe. 4 (3): 209–18. doi:10.1016/j.chom.2008.08.010. PMC 2610487. PMID 18779047.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  28. Richter J, Franken G, Mehlhorn H, Labisch A, Häussinger D (2010). "What is the evidence for the existence of Plasmodium ovale hypnozoites?". Parasitology Research. 107 (6): 1285–90. doi:10.1007/s00436-010-2071-z. PMID 20922429.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Mens PF, Bojtor EC, Schallig HDFH (2012). "Molecular interactions in the placenta during malaria infection". European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology. 152 (2): 126–32. doi:10.1016/j.ejogrb.2010.05.013. PMID 20933151.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Rénia L, Wu Howland S, Claser C, Charlotte Gruner A, Suwanarusk R, Hui Teo T, Russell B, Ng LF (2012). "Cerebral malaria: mysteries at the blood-brain barrier". Virulence. 3 (2): 193–201. doi:10.4161/viru.19013. PMC 3396698. PMID 22460644.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  31. Kwiatkowski DP (2005). "How malaria has affected the human genome and what human genetics can teach us about malaria". American Journal of Human Genetics. 77 (2): 171–92. doi:10.1086/432519. PMC 1224522. PMID 16001361. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  32. 32.0 32.1 Hedrick PW (2011). "Population genetics of malaria resistance in humans". Heredity. 107 (4): 283–304. doi:10.1038/hdy.2011.16. PMC 3182497. PMID 21427751. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  33. Weatherall DJ (2008). "Genetic variation and susceptibility to infection: The red cell and malaria". British Journal of Haematology. 141 (3): 276–86. doi:10.1111/j.1365-2141.2008.07085.x. PMID 18410566.
  34. Bhalla A, Suri V, Singh V (2006). "Malarial hepatopathy". Journal of Postgraduate Medicine. 52 (4): 315–20. PMID 17102560.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  35. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Abba 2011
  36. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kattenberg 2011
  37. 37.0 37.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Wilson 2012
  38. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Perkins 2008
  39. WHO 2010, p. 35
  40. WHO 2010, p. v
  41. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ whqlibdoc
  42. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Sabot 2010
  43. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kajfasz 2009
  44. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lengeler 2004
  45. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Pluess 2010
  46. Palmer, J. "WHO gives indoor use of DDT a clean bill of health for controlling malaria". WHO.
  47. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Raghavendra 2011
  48. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Howitt 2012
  49. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Miller 2007
  50. Noor AM, Mutheu JJ, Tatem AJ, Hay SI, Snow RW (2009). "Insecticide-treated net coverage in Africa: mapping progress in 2000–07". Lancet. 373 (9657): 58–67. doi:10.1016/S0140-6736(08)61596-2. PMC 2652031. PMID 19019422.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  51. Schlagenhauf-Lawlor 2008, pp. 215
  52. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Enayati 2010
  53. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO Indoor Residual Spraying
  54. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ van den Berg 2009
  55. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Pates 2005
  56. Tusting, LS (Aug 29, 2013). "Mosquito larval source management for controlling malaria". The Cochrane database of systematic reviews. 8: CD008923. doi:10.1002/14651858.CD008923.pub2. PMID 23986463. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  57. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Enayati 2007
  58. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lalloo 2006
  59. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mehlhorn 2008
  60. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bardají 2012
  61. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Meremikwu 2012
  62. Lal, S (Jun 1998). "'Anti-malaria month'--a step forward in multisectoral collaboration and community involvement in malaria control". The Journal of communicable diseases. 30 (2): 93–101. PMID 9914675. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  63. "Anti-Malaria month campaign: Operational guide". National Vector Borne Disease Control Programme (NVBDCP). สืบค้นเมื่อ 19 January 2014. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  64. 64.0 64.1 64.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jacquerioz 2009
  65. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Freedman 2008
  66. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Fernando 2011
  67. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Turschner 2009
  68. 68.0 68.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ m1
  69. Joy D, Feng X, Mu J, Furuya T, Chotivanich K, Krettli A, Ho M, Wang A, White N, Suh E, Beerli P, Su X (2003). "Early origin and recent expansion of Plasmodium falciparum". Science. 300 (5617): 318–21. PMID 12690197.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  70. Escalante A, Freeland D, Collins W, Lal A (1998). "The evolution of primate malaria parasites based on the gene encoding cytochrome b from the linear mitochondrial genome". Proc Natl Acad Sci U S A. 95 (14): 8124–9. PMID 9653151.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  71. Cox F (2002). "History of human parasitology". Clin Microbiol Rev. 15 (4): 595–612. PMID 12364371.
  72. "Biography of Alphonse Laveran". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15. ] Nobel foundation. Accessed 25 Oct 2006
  73. "Ettore Marchiafava". สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
  74. "Biography of Ronald Ross". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
  75. "Ross and the Discovery that Mosquitoes Transmit Malaria Parasites". CDC Malaria website. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA